INSURANCETHAI.NET
Wed 15/01/2025 18:02:27
Home » การเงิน การลงทุน ธุรกิจ » วางแผนเกษียณอายุ\"you

วางแผนเกษียณอายุ

2012/04/22 2266👁️‍🗨️

สมัยก่อนฝากเงินธนาคารเป็นการลงทุนที่ดี ดบ.18%  ปัจจุบัน 0.5%+ ต่อปี  และในบางประเทศ ฝากเงินธนาคาร ต้องเสียค่าฝาก แนวโน้มจะเป็นไปในทิศทางนั้น ปัจจุบันดอกเบี้ยที่ได้รับจากธนาคาร ยังแพ้ อัตราเงินเฟ้อ เช่น อัตราเงินเฟ้อ 5% ดบ.ธนาคาร 1%

ประชากรไทย 70  ล้านคน
วัยเกษียณอายุ 60 ปีขึ้นไป   10  ล้านคน ไม่ถึง  10%  หรือ  1,000,000  คน   ที่มีชีวิตความเป็นอยู่ในวัยเกษียณแบบค่อนข้างสบาย  อยากซื้อ  อยากทานอะไร  มีเงินให้ซื้อ ให้ใช้

คนที่เหลือ  มีชีวิตความเป็นอยู่ต่ำกว่ามาตรฐาน  หลายคนยังต้องทำงานเพื่อยังชีพ  ขณะที่หลายคนต้องอาศัยเงินจุนเจือจากรัฐบาล

จะเกษียณที่อายุเท่าไร ตอนนั้นจะใช้เงินเดือนละเท่าไร

ลูกหลานเลี้ยงดู

อดีต เราอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่  พี่น้องผูกพันพึ่งพากัน  เมื่อวัฒนธรรมตะวันตกแพร่เข้ามา  วิถีชีวิต อาหารการกิน  เปลี่ยนไป  ลูกๆเมื่อแต่งงานมีครอบครัวจะแยกไปอยู่กันตามลำพัง  ในจังหวัดบ้าง กรุงเทพบ้าง กลับมาเยี่ยมพ่อแม่ เฉพาะเทศกาล  ปีละ  2-3 ครั้ง แต่ละคนมีภาระรัดตัวตามภาวะเศรษฐกิจ การจุนเจือช่วยเหลือกันก็น้อยลง การคาดหวังให้ลูกหลานเลี้ยงดูจึงมีความเสี่ยง ทำไมไม่เก็บเงินของเราเองละ ถ้าทำได้

ค่าครองชีพ

ภาวะดอกเบี้ยต่ำอัตราเงินเฟ้อมักจะต่ำไปด้วย โดยทั่วไปอัตราดอกเบี้ยจะสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ  2-3%  และ  20 ปีข้างหน้า อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นประมาณ 100% จากฐานปัจจุบัน นั่นคือ ค่าครองชีพจะเป็น 2 เท่าของปัจจุบัน

ถึงตอนนั้น  ค่าใช้จ่ายจะเป็นเท่าไร 

ตัวเลขจะอยู่บนสมมติฐานที่ว่า  ภาระหนี้สินต่างๆได้ชำระหมดแล้ว  ไม่ว่า  จะเป็นค่าผ่อนบ้าน , ผ่อนรถ หรือทรัพย์สินอื่นๆ
ถ้ายังมีหลักทรัพย์ที่ติดจำนองยังต้องผ่อนชำระอยู่ เช่นที่ดิน ควรจะขายทิ้งไป เพราะอายุปูนนั้นแล้ว คุณยังจะสะสมหลักทรัพย์ให้ใครอีก ลูกๆก็โตหมดแล้ว    ยกเว้นถ้าลูกยังเรียนไม่จบ    ภาระการส่งเสียลูก และลูกๆก็เป็นหลักทรัพย์ทางจิตใจที่ทรงคุณค่าที่สุดของคุณ

เมื่อไม่มีหนี้สิน

มีแต่ค่าใช้จ่ายประจำ เช่น  อาหาร , ค่าน้ำ , ค่าไฟ , ค่าโทรศัพท์ , อินเตอร์เน็ต ,ภาษีสังคมฯลฯ คงการดำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรี  และสถานภาพเดิมๆของชนชั้นกลางเอาไว้  อย่างน้อยเรายังต้องใช้รถยนต์ส่วนตัว , มีเครื่องปรับอากาศที่ห้องนอน

ค่าน้ำมันรถ, ค่าซ่อมบำรุง , ค่าเบี้ยประกันรถ  , ค่าเช่ารายเดือน
ค่าใช้จ่ายอย่างน้อยเดือนละ  20,000  บาทต่อคน
ถ้าสามีภรรยาอยู่ด้วยกัน  ค่าใช้จ่ายรวมอาจลดเป็น  30,000  บาท/2คน

ปีละประมาณ 250,000 ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายมาตรฐาน ยังไม่รวม ความต้องการมีคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้นไปอีก  เช่น  ต้องการเป็นสมาชิกสปอร์ตคลับ  มีการสังสรรกับเพื่อนทุกสัปดาห์ล่ะ?

เมื่อเกษียณอายุ  เราไม่ได้ทำงานแล้ว  รายได้หลักจึงมาจากดอกเบี้ยและเงินปันผล และ ผลตอบแทนการลงทุนที่น่าพอใจ  และยอมรับได้ทั่วโลก  อยู่ที่ 5% ต่อปี อย่างไรก็ตาม ยังมีอาชีพที่สามารถทำเงินให้เราได้ตลอดชีวิต เป็นลักษณะ passive income หรือ ที่คล้ายๆกัน เช่น งานด้านประกันชีวิต ประกันกันวินาศภัย งานเครือข่าย ฯลฯ

ลงทุน  100  บาท  ได้ผลตอบแทน 5 %
หากต้องการผลตอบแทนที่  250,000  บาทต่อปี ต้องมีเงินต้น  5,000,000  บาท 

5 ล้านบาท คือ คำตอบ ที่คุณจะต้องมี เมื่อยามเกษียณและใช้เงินได้ ปีละ 250,000 ตลอดไป
อย่างไรก็ตาม หากใช้อายุเฉลี่ย การมีชีวิตอยู่ของคนทั่วไป ประมาณ 80ปี ก็สามารถคำนวณ การใช้เงินทั้งหมด ก่อนตายได้ โดยตัวเลขอาจจะไม่สูงกว่า 5ล้านนั้น

(โดยสถิติของคนไทยหากมีอายุอยู่ถึง 60 ปี จะมีโอกาสอยู่ได้อีก 20 ปี หรืออยู่ถึงอายุ 80 ปี)

สำหรับคนทำงานกินเงินเดือน  นักวางแผนทางการเงิน  มักจะแนะนำให้คุณประมาณการเงินเดือนสุดท้าย  ณ  วันที่จะเกษียณอายุ   แล้วหารด้วยสอง   ตัวเลขนั้นจะเป็นค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยที่คุณต้องใช้หลังเกษียณ

แนวคิด1

ถ้าต้องการยอดเงินที่  5  ล้านบาท  มีเวลาเก็บ  20 ปี  ก็ต้องเก็บปีละ  250,000  หรือเดือนละ  20,830  บาท
หากคุณเริ่มเก็บเงินเมื่ออายุ  40 ปี  ต้องการเกษียณที่อายุ  60 ปี
คุณต้องเริ่มเก็บเดือนละ  20,830  บาททุกเดือน  โดยไม่หยุดไป  20 ปี  คุณก็จะมีเงินเตรียมพร้อมสำหรับการเกษียณ

แนวคิด2

ในทางปฎิบัติ  การลงทุนย่อมได้ผลตอบแทนหรือดอกเบี้ยทบต้นไปด้วย  ยิ่งเป็นการลงทุนระยะยาวเป็น  20-30 ปี  ดอกผลที่ได้จะยิ่งสูง  จึงลดภาระเงินต้นไปได้เยอะ

หากมีเวลาเก็บเงิน  20 ปี  และผลตอบแทนจากการลงทุนเฉลี่ยอยู่ที่  5%  คุณจะต้องเก็บเงินเพียงเดือนละ  12,500  บาท   หรือปีละ  150,000  บาทเท่านั้น  แล้วดอกผลที่งอกเงยจะพอกพูนเป็นเงิน  5  ล้านบาท  ณ  สิ้นปีที่  20   ตัวเลขนี้ค่อยทำให้มีกำลังใจเก็บกันหน่อย  อย่างไรก็ตามคุณยังต้องบังคับตัวเองให้เก็บเงินถึง  20 ปี  ถึงจะบรรลุสิ่งที่ต้องการ

แนวคิด3

ไม่ได้ระบุยอดเงินต้นที่ต้องการ  แต่ให้แปรเปลี่ยนไปตามฐานเงินเดือนของแต่ละคนแล้วสรุปออกมาเป็นเงินบำนาญต่อ เดือนที่จะได้ใช้ยามเกษียณไปจนเสียชีวิต บนสมมติฐานว่าเงินเดือนเพิ่มปีละ 5%  ผลตอบแทนการออม 7% เกษียณที่อายุ  60 ปี  โดยหลังอายุ 60 ปี  เงินออมของเราจะเน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ   ผลตอบแทนจะได้เพียง 5 %  ต่อปี  และเรายังมีชีวิตอยู่ได้อีก 20  ปี

แผนการเก็บออมต่อเดือน ณ อายุเริ่มต้นที่ต่างกัน

เริ่มอายุ สัดส่วนที่ต้องเก็บออมในแต่ละเดือนไปจนถึงอายุ 60 ปี รายได้ที่จะได้รับเมื่อเกษียณเทียบกับเงินเดือนสุดท้ายก่อนเกษียณ
30 40 50 55 12% 21% 45% 91% 40% 40% 40% 40%

หมายเหตุ  แนวคิดนี้  เป็นแบบทยอยใช้เงินต้นและดอกเบี้ย  ตัวเงินต้นจะหมดในปีที่ 20  ของการเกษียณอายุ ( เข้าลักษณะลดต้นลดดอก )

แนวทางการจัดสัดส่วนพอร์ตลงทุนเพื่อเกษียณอายุ 

ประเภทการลงทุนผลตอบแทนที่คาดแบบอนุรักษ์นิยมแบบสายกลางแบบชอบเสี่ยง
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/ประกันชีวิต/กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ 5% 40% 30% 30%
เงินสด/เงินฝาก/ตั๋วแลกเงิน/บัตรฝากเงิน 3-4% 30% 20% 10%
พันธบัตร/หุ้นกู้/กองทุนรวมตราสารหนี้ 5% 30% 20% 10%
หุ้น/กองทุนรวมหุ้น/ETF +/- 20% 15% 30%
บ้านเช่า/หอพัก/อาคารพานิชย์ให้เช่า/อพาร์ตเมนท์ 5-15% 15% 20%
รวม 5% 100% 100% 100%

1)กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ( รวมถึงกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ )

ข้อดี ข้อเสีย
– เก็บออมอย่างเป็นระบบ
– ได้รับเงินสมทบจากบริษัทอีกหนึ่งเท่าตัวทุกเดือน
– ผลตอบแทนจากการลงทุนได้รับการยกเว้นภาษี  หากสมาชิกทำงานจนเกษียณอายุ , พิการหรือเสียชีวิต
– เงินสะสมของพนักงานได้รับสิทธิลดหย่อนภาษี  และ  ยกเว้นภาษีสูงถึงปีละ 300,000 บาท   – เงินกองทุนแยกจากเงินทุนของบริษัทนายจ้าง  จึงไม่สูญหายแม้บริษัทล้มละลายไป – เป็นเงินก้อนใหญ่  จึงลงทุนได้หลากหลาย – มีกฎหมายให้ความคุ้มครอง  มีข้อกำหนดการลงทุนที่เข้มงวด  และต้องมีบริษัทผู้เชี่ยวชาญการลงทุนเป็นผู้บริหารกองทุน
– ไม่มีสภาพคล่อง  หากมีความจำเป็นใช้เงิน   ต้อง  กู้เงิน   โดยใช้เงินสะสมเป็นตัวอ้างอิง  ซึ่งขึ้นกับนโยบายของแต่ละกองทุน  หรือ  ต้องลาออกจากกองทุน  ซึ่งต้องรับภาระภาษีของเงินทั้งจำนวน   – หากมีการย้ายงาน  หรือออกจากงาน  ต้องออกจากกองทุนเดิม  ทำให้การเก็บเงินขาดตอน  เว้นแต่จะได้งานใหม่ทันที  และไม่มีระยะทดลองงาน เพื่อให้สามารถโอนเงินเดิมเข้าร่วมในกองทุนของบริษัทใหม่ได้ทันที  – เงินส่วนใหญ่ลงทุนในพันธบัตร  และหุ้นกู้  ดังนั้นผลตอบแทนการลงทุนอาจผันผวนตามภาวะดอกเบี้ยที่ขึ้นลงได้

2) ประกันชีวิต

ข้อดี ข้อเสีย
– เก็บออมอย่างเป็นระบบ
– ผลตอบแทนค่อนข้างแน่นอนตลอดสัญญา
– ได้รับการคุ้มครอง  เต็มวงเงินทันทีที่เก็บออม
– มีสวัสดิการต่างๆให้ เช่นการรักษาพยาบาล เงินชดเชยชนิดต่างๆ
– ไม่เสียภาษีทั้งเงินปันผล  และเงินสินไหม
– ได้สิทธิลดหย่อนภาษีปีละ 300,000  บาท
– กฎหมายให้ความคุ้มครองสูง  มีข้อกำหนดการลงทุนที่เข้มงวด     หรือสิทธิในกรณีที่เสียชีวิต     เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิ์ยึดเงินสินไหมเกินกว่าเบี้ยประกัน  ที่จ่ายไป
– สภาพคล่องต่ำ  หากมีความจำเป็นใช้เงิน  ต้องกู้เงินจากกรมธรรม์  หรือ  เวนคืนกรมธรรม์  มักจะขาดทุน ( ถ้ายังไม่ถึงจุดคุ้มทุน )
– ผู้ลงทุนต้องมีอายุและสุขภาพอยู่ในเกณฑ์ มาตรฐาน – มีภาระฝากเบี้ยประกันทุกปี ตามสัญญา – การเบิกสวัสดิการต่างๆ  มีเงื่อนไขและข้อกำหนดเฉพาะ  ผู้ลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจให้ดีเสียก่อน

3) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ

ข้อดี ข้อเสีย
– คนทุกสาขาอาชีพมีสิทธิ์เข้าร่วมกองทุนได้
– สามารถลงทุนได้ไม่จำกัดหน่วยลงทุน
– สามารถโอนย้ายการลงทุนจากกองทุนรวมเพื่อการ เลี้ยงชีพหนึ่งไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นได้
– เงินลงทุนจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้  สูงถึง  300,000  บาทต่อปี
– ผลตอบแทนจากการลงทุนได้รับการยกเว้นภาษี  หากมีการลงทุนตั้งแต่  5  ปีขึ้นไป  และผู้ลงทุนมีอายุถึง  55  ปี
–  ต้องเพิ่มเงินลงทุนสม่ำเสมออย่างน้อยปีละครั้ง   ไม่ต่ำกว่า  5,000  บาทต่อปี
– การลงทุนจะเป็นระยะยาวต่อเนื่อง  ไม่มีการจ่ายเงินปันผล  หรือ  ผลประโยชน์ใดๆระหว่างลงทุนจะจ่ายคืนแก่ผู้ลงทุนครั้งเดียว  เมื่อมีการไถ่ถอนหน่วยลงทุน
– หากไถ่ถอนก่อนผู้ลงทุนมีอายุ  55 ปี  จะต้องคืนภาษีที่ได้รับการลดหย่อนใน  5  ปีสุดท้ายและผลตอบแทนจากการลงทุนที่เกิดขึ้นทั้งหมดจะต้องนำมาคำนวณภาษีเงิน ได้  ณ  ปีที่ไถ่ถอน  – การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง  ขึ้นอยู่กับนโยบายการลงทุนของกองทุนนั้นๆว่า  ลงทุนหลักทรัพย์ประเภทใด

4) เงินสด

ข้อดี ข้อเสีย
– หยิบใช้ได้ตลอดเวลา
– ไม่กังวลเรื่องสถาบันการเงินล้ม
– ไม่มีภาระเก็บเงิน  จะเก็บเท่าไร  เมื่อไรก็ได้
– ยุ่งยากในการจัดเก็บ  เสี่ยงต่อการถูกโจรกรรม
– เงินไม่งอกเงย
– หากมีมากๆ ( มากกว่า  5  ล้านบาท )  เสี่ยงต่อการถูกเพ็งเล็งว่าฟอกเงิน

5) เงินฝาก (ออมทรัพย์/ประจำ)

ข้อดี ข้อเสีย
– เบิกถอนสะดวก
– มั่นคง (รับประกันเงินต้นไม่เกิน 1 ล้าน/บัญชี)
– ได้รับผลตอบแทนแน่นอน
– ใช้เป็นหลักทรัพย์  ค้ำประกันได้
– มีจำนวนเงินน้อยก็ฝากได้
-มีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง
– เมื่อครบรอบการฝากเงิน  (ROLLOVER)ในอนาคต  รัฐมีแนวโน้มจะยกเลิกการค้ำประกันเงินฝาก
– ผลตอบแทนต่ำ
– เสียภาษีดอกเบี้ย 15%  (ฝากประจำ)

6) ตั๋วแลกเงิน , บัตรเงินฝาก ( B/E , NCD )

ข้อดี ข้อเสีย
– ดอกเบี้ยสูง
– มั่นคงเนื่องจากธนาคารเป็นผู้ออกหรือค้ำประกัน
– สภาพคล่องต่ำ  ต้องฝาก  1 ปีขึ้นไป
– หากต้องการใช้เงินก่อนต้องขายลดราคา – เสียภาษีดอกเบี้ย  15%

7) พันธบัตร

ข้อดี ข้อเสีย
– มั่นคง  เนื่องจากรัฐเป็นผู้ออก  ( ถึงแม้จะกังวลใจ   บ้างว่า  รัฐบาลมีภาระหนี้สาธารณะสูงเหลือเกิน แต่  รัฐบาลก็ไม่ได้หนีหายตายจากไปไหนแน่นอน )
– โดยทั่วไปดอกเบี้ยจะสูงกว่าธนาคาร  และรับรอง ดอกเบี้ยในระยะเวลาที่ยาวกว่า
–    ใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้
– สภาพคล่องต่ำ
– ถ้าต้องการขายก่อนครบกำหนดสัญญา  จะมี ความเสี่ยงในเรื่องความผันผวนของราคาที่เกิดจาก การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย  เพราะถ้าหาก อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเพิ่มขึ้น  พันธบัตรที่ออกในช่วง ก่อนหน้าราคาจะลดลง
– ตลาดพันธบัตรไม่ได้เป็นตลาดที่มีประสิทธิภาพ  ถ้าต้องการใช้เงินเร็วๆ  ก่อนครบกำหนด  จะขายไม่ได้ราคา
– ใช้เงินลงทุนมาก – เสียภาษีดอกเบี้ย  15%

8) หุ้นกู้

ข้อดี ข้อเสีย
– ดอกเบี้ยสูง
– รับรองอัตราดอกเบี้ยที่สูง  หากเป็นหุ้นกู้แบบกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่
– สภาพคล่องต่ำ
– เป็นการกู้ยืมที่ไม่มีหลักประกัน   จึงมีความเสี่ยงในเรื่องการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย – มีความผันผวนของราคา  หากต้องการขายออก ก่อนครบกำหนด
– ตลาดหุ้นกู้  ยิ่งไร้ประสิทธิภาพ  โดยเฉพาะของ บริษัทที่มีพื้นฐานอ่อน  จะไม่ค่อยมีการซื้อขาย ทำให้ขายไม่ได้ราคา  หรือ  ไม่มีผู้รับซื้อ
– เสียภาษีดอกเบี้ย 15 %
– ใช้เงินลงทุนมาก

9) กองทุนตราสารหนี้

ข้อดี ข้อเสีย
– บริหารผ่านมืออาชีพ
– มีเงินน้อยก็สามารถลงทุนได้
– ไม่เสียภาษีหากขายหน่วยลงทุนแล้วได้กำไร ( CAPITAL  GAIN )
– ซื้อขายหน่วยลงทุนได้ตลอดเวลา  ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร,  ตู้ ATM  
– มีความเสี่ยงในเรื่องของราคาที่ผันผวนจากการ   เปลี่ยนแปลงของดอกเบี้ย
– เสียค่าใช้จ่ายในการบริหาร  ค่าโฆษณา  แต่มักต่ำกว่าการเสียภาษี  ถ้าลงทุนด้วยตัวเอง
– เงินปันผลต้องจ่ายภาษี  10%

10) หุ้นสามัญ

ข้อดี ข้อเสีย
– ผลตอบแทนสูงมาก  หากลงทุนได้ถูกจังหวะ  ทั้งในส่วนของกำไรจากราคาที่เพิ่มขึ้น  และเงินปันผล
– กำไรจากราคาซื้อขายหุ้นไม่ต้องเสียภาษี
– มีสินค้าให้เลือกลงทุนมากมาย  ทั้งประเภทธุรกิจ,ขนาดราคาหุ้น  หรือ   ลักษณะการเหวี่ยงตัวของราคาหุ้น
– มีสภาพคล่อง  ซื้อขายได้ทุกวันทำการ
–  เสี่ยงสูง  อาจไม่ได้รับเงินต้นคืน  หรือ  ขาดทุนจำนวนมาก
– จะได้รับเงินปันผล  ก็ต่อเมื่อบริษัทมีผลกำไร
– ต้องติดตามข่าวสารตลอดเวลา – ราคาหุ้นไม่ได้ขึ้นกับปัจจัยพื้นฐานอย่างเดียว แต่ขึ้นกับภาวะตลาดรวม  และ  จิตวิทยาฝูงชนด้วย
– เงินปันผลต้องเสียภาษี  10%  หัก  ณ  ที่จ่าย  แต่สามารถนำมาเครดิตภาษีคืนได้บางส่วน  เวลาเสียภาษีบุคคลธรรมดา

11) กองทันรวมตารสารทุน ( หุ้น/วอร์แร้นท์ )

ข้อดี ข้อเสีย
– ใช้เงินจำนวนน้อย  ก็ลงทุนได้
-ได้ผลตอบแทนสูง  หากภาวะตลาดหุ้นดี
– บริหารโดยมืออาชีพ  มีการกระจายลงทุนในหุ้น พื้นฐาน
-ไม่เสียภาษี  จากกำไรของราคาหน่วยลงทุน
– ซื้อขายหน่วยลงทุนได้ตลอดเวลา
– มีความเสี่ยง  เนื่องจากลงทุนในหุ้นสามัญเป็นหลัก
– เงินปันผลที่ได้รับต้องถูกหักภาษี  ณ  ที่จ่าย  10%
– ผลตอบแทนจากการลงทุนต้องหักค่าใช้จ่าย  ในการบริหารก่อน – เนื่องจากเน้นลงทุนในหุ้นพื้นฐาน  ดังนั้นผลตอบแทนจึงขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลัก

12) บ้านเช่า/หอพัก/แฟลต/อาคารพานิชย์ให้เช่า/อพาร์ตเมนต์

ข้อดี ข้อเสีย
– มีรายได้เข้ามาทุกเดือน  และราคาปรับขึ้นได้ในอนาคต
– ราคาอสังหาริมทรัพย์มีโอกาสสูงขึ้นได้ในอนาคต โดยเฉพาะการซื้อในช่วงนี้ที่ยังมีราคาต่ำ
– เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้
– ลงทุนสูง  หรือ  มีภาระผ่อนนาน
– สภาพคล่องต่ำ  ต้องรอจังหวะขาย  หากต้องการเงินต้นคืน
– มีความเสี่ยง  เรื่องหาคนมาเช่า
– มีภาระในการบริหาร  ตามเก็บค่าเช่า  หรือ  ซ่อมแซม  บำรุงรักษา

อสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อ  ต้องมั่นใจว่าอัตราการเข้าพักหรือเช่าต้อง  80%  ขึ้นไป

การลงทุนต้องซื้อด้วยเงินสด  หากใช้เงินดาวน์    ค่าเช่าที่ได้รับต้องใกล้เคียงกับเงินผ่อนในแต่ละเดือน  หรือมากกว่า

13) ทองคำ

ข้อดี ข้อเสีย
 – ซื้อขายง่าย
– เป็นหลักทรัพย์ที่ยอมรับกันทั่วโลก  ดังนั้นในกรณีที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก  ทองคำจะเป็นแหล่งพักเงิน  ทำราคาขยับสูงขึ้นได้
– ในช่วงอัตราเงินเฟ้อสูง  เช่น ภาวะสงคราม  จะมีราคาสูง
– มีแนวโน้มด้อยค่าลงเรื่อยๆ  เนื่องจาก  ประเทศต่างๆทั่วโลก ลดความนิยมในการใช้ทองคำ  เป็นทุนสำรองของประเทศ
– เสี่ยงต่อการถูกโจรกรรม

เมื่อได้ลงมือหว่านไถแล้ว  จากนั้นต้องคอยติดตามดูแลเป็นระยะๆ  รอคอยผลให้งอกเงยจนเมื่อมันเป็นไม้ผลยืนต้นใหญ่แล้ว  ท่านก็สามารถเก็บเกี่ยวผลไปได้ตลอดชีวิต





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow