ตัวแทนขายประกันชีวิต vs แบงก์แอสชัวรันส์ กับสองมาตรฐานช่องทางการจำหน่ายขายประกัน
(2011)
ตัวแทนขายประกันชีวิต สุดเอือมระอา ช่องทางการจำหน่ายขายประกันสองมาตรฐาน
ทางคปภ.ยืนยันว่ากฎหมายไม่มีข้อกำหนดว่าด้วยเรื่องห้ามนายหน้าลดแลกแจกแถม
ส่วนด้านสมาคมตัวแทนฯ เดินหน้าร้องเพิ่มหวังใช้มาตรฐานเดียวกัน
การแก้ไขปัญหาสองมาตรฐาน การขายประกัน โดย
ช่องทางขายผ่านแบงก์แอสชัวรันซ์ ลดแลกแจกแถม ซึ่งถือว่ามีได้สิทธิ์พิเศษกว่าตัวแทนธรรมดาทั่วไป หรือที่เรียกกันว่า อภิสิทธิ์เหนือตัวแทน ซึ่ง่กอให้เกิดความไม่เป็นธรรมในช่องทางการจำหน่ายประกัน
ทางสมาคมตัวแทนประกันชีวิต ได้ร้องเรียนอย่างต่อเนื่อง ถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหา
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ยังรู้ข้อมูลที่ทางสมาคม ส่งไปให้น้อยมาก หรือพูดง่ายๆ ไม่ทันเล่ห์ของธุรกิจสมัยใหม่ ขณะที่ตัวแทนประกัน พยายามจะบอกกล่าวว่าอย่าขายประกันโดยการใช้ของแถมมาล่อ
เมื่อตัวแทนร้องเรียนไป ก็จะมีผู้บริหารของสมาคมประกันชีวิตไทย หรือผู้บริหารบริษัทต่างๆ มักเข้ามาปราม บอกว่าอย่าไปยุ่งกับกลุ่มลูกค้าของแบงก์ ยังไงช่องทางตัวแทนก็ขายไม่ได้อยู่แล้ว หรือพูดง่ายๆ อาจจะมีผลประโยชน์ทับซ้อนกันหรือไม่
เช่นเดียวกับคปภ. ก็ไม่สามารถกำกับแต่ละช่องทางจำหน่ายได้อย่างเป็นธรรม เพราะการโฆษณาจากช่องทางแบงก์แอสชัวรันซ์ ช่วยให้ยอดขายประกันเติบโตขึ้นจริง ซึ่ง คปภ. จะได้รับ 2 ส่วน คือ
1. ผลงานยอดขายเบี้ยรับรวมทั้งระบบโตขึ้น
2. ส่วนแบ่งรายได้จากเบี้ยประกัน 0.2%
ด้าน คปภ.
ในกฎหมายไม่มีข้อกำหนดว่าด้วยเรื่องห้ามนายหน้าลดแลกแจกแถม จึงทำได้เพียงเรียกตัวแทนแบงก์มาเตือนเท่านั้น เพราะถือว่าผิดจรรยาบรรณ (แต่ไม่ได้ผิดกฏหมาย)
แต่เมื่อถึงเทศกาลปลายปี ต้องปิดยอดทำยอด ลดหย่อนภาษีหรือเทศกาลต่างๆที่แบงก์จัดแคมเปญ แบงก์ต่างๆ ก็ยังกระทำอีกโดยไม่สนใจคำเตือนของคปภ. (ก็เเค่เตือน เเละมันก็ไม่ผิดกฏหมายและไม่มีบทลงโทษ แล้วใครจะไปสนใจละ ! หาเงินทำกำไรดีกว่าตั้งเเยะ !)
สมาคมรวบรวมข้อมูลโฆษณาที่ธนาคารแจกทอง หรือซื้อประกันชีวิตด้วยวิธีผ่อนผ่านบัตรเครดิตโดยไม่มีดอกเบี้ย โดยการซื้อผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตเดี่ยวๆ มอบให้กับนางสาววราวรรณ เวชชสัสถ์ ผู่ช่วยเลขาธิการ คปภ.
ทางผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายของ คปภ. ชี้แจงกลับมายังสมาคมด้วยว่า ที่ธนาคารใช้วิธีขายร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่น เช่นกองทุนรวมหรือเงินฝาก แล้วใช้งบในส่วนอื่นๆ มาลดราคาให้ ล่าสุดทางสมาคมได้มอบข้อมูลการลดแลกแจกแถม โดยการซื้อประกันเดี่ยวๆที่ไม่ใช่ bundle product ไปให้คปภ.อีก ซึ่งก็ได้แต่หวังว่า คปภ.จะแก้กฎหมายให้ใช้กติกาเดียวกันในทุกช่องทางการขาย ซึ่งทางคปภ. บอกเพียงว่ากำลังจะทบทวนก.ม.ใหม่ทั้งหมดอยู่
บริษัทโตเกียวมารีนประกันชีวิต จำกัด
กฎหมายของตัวแทน คปภ. ควรต้องมีการสังคายนาใหม่ ทุกวันนี้ตัวแทนไม่สามารถเรียกร้องสิทธิตัวเองได้ ขณะที่บริษัทนายหน้าประกันภัยหรือโบรกเกอร์ กลับสามารถขายได้หลายบริษัทโดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ก็ขายให้กับหลายบริษัท ประกันได้ รวมทั้งการห้ามแจกสิ่งของต่างๆขณะที่ซื้อกับธนาคาร ซึ่งมีการโฆษณาชวนเชิญให้ซื้อประกัน มีการจับสลากแจกรางวัลเป็นรถยนต์ ประเด็นนี้เป็นสองมาตรฐาน ทั้งที่ตัวแทนทำไม่ได้แต่นายหน้าหรือโบรกเกอร์กลับทำได้
บมจ. พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย)
บริษัทไม่กลัวผลกระทบใด ๆ เนื่องจากการซื้อสินค้าประกันนั้น ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของลูกค้าเป็นหลักว่า ลูกค้าต้องการบริการตัวเองก็ไปซื้อที่แบงก์หรือถ้าต้องการให้มีตัวแทนบริการ ก็ซื้อจากตัวแทนได้เลย ล่าสุดทางพรูเด็นเชียล ประกาศแผนรุกช่องทางตัวแทนปี 2554 เป็นครั้งแรก ตั้งเป้ารีครูตเพิ่มตัวแทนรายย่อย Part time กว่าเท่าตัวจากปัจจุบันอยู่ที่กว่า 1,000 คน มียอดขายเฉลี่ยต่อราย 3-5 ล้านบาทต่อปี สิ้นปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 2-3% ของเบี้ยรับรวม แบงก์แอสชัวรันซ์ 65% และ telemarketing 28%
ในความเป็นจริงแล้ว วงการขายประกันในไทย ตัวแทนเองก็สามารถลดแลกแจกแถม กันได้อยู่เเล้ว ก้มีให้เห็นกันมากมาย ไม่ว่าจะลดคอมมิสชั่น ให้ของขวัญ กำนัล เเล้วแต่จะสรรหา อาจจะเรียกว่า คือ การจูงใจให้ซื้อ ก็เเล้วจะเเต่จะเรียก หรือ หากคิดว่า เป็นน้ำใจที่ให้ ก็แล้วเเต่จะคิดเหมือนกัน
ทุกธุรกิจย่อมมีทางของมัน ธุรกิจต่างๆหวังซึ่งการทำกำไร หวังซึ่งสิ่งตอบเเทนด้วยกันทั้งนั้น เพราะมันคือธุรกิจ แต่อย่าให้มันมากเกินไป แค่นั้นก็เพียงพอเเล้ว สำหรับอาชีพตัวแทนอย่างเราๆ
บริษัทประกันขายประกันลดราคา หากบริษัททำและไม่เกินอัตราทีกฎหมายกำหนดก็สามารถทำได้ ค่ะ