INSURANCETHAI.NET
Wed 15/01/2025 11:15:21
Home » Don't miss it ประวัติบริษัทประกันวินาศภัย สัมพันธ์ประกันภัย » สัมพันธ์ประกันภัย(ปิด)\"you

สัมพันธ์ประกันภัย(ปิด)

2011/09/15 3658👁️‍🗨️

สัมพันธ์ประกันภัย

สั่งปิดสัมพันธ์ประกันภัย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือคปภ.สั่งปิดสัมพันธ์ประกันภัย
ในที่สุด บริษัท สัมพันธ์ประกันภัย จำกัด ก็ถูกปิด และถูกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย

“ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มีคำสั่ง ให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของ บริษัท สัมพันธ์ประกันภัย จำกัด ตามคำสั่งกระทรวงการคลังที่ 380/2552ลงวันที่ 23 มีนาคม 2552 เรื่อง เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท สัมพันธ์ประกันภัย จำกัด นั้น
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.)ขอสรุปข้อเท็จจริง ดังนี้

1. บริษัท สัมพันธ์ประกันภัย จำกัด ประสบปัญหามีฐานะการเงินไม่มั่นคง มีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สินจำนวนเงิน 748.15 ล้านบาท มีค่าสินไหมทดแทนค้างจ่ายที่มาร้องเรียนต่อสำนักงาน คปภ. เป็นจำนวน 16,585 ราย เป็นเงิน 701.41 ล้านบาท และมีการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535

สำนักงาน คปภ. ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย และได้ให้เวลาบริษัทแก้ไขฐานะการเงินมาเป็นเวลานาน 1 ปี 8 เดือน นับตั้งแต่สั่งให้หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวตั้งแต่วันที่16 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นมา แต่บริษัทก็ไม่สามารถแก้ไขฐานะการเงินได้ เพียงแต่ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนไปเป็นจำนวน 1,757 ราย เป็นเงิน 12.78 ล้านบาท รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงใช้อำนาจตามมาตรา 59 สั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท สัมพันธ์ประกันภัย จำกัด

2. มาตรการในการคุ้มครองประชาชนตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 ได้กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนประกันวินาศภัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัย ในกรณีที่บริษัทถูกเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่งกองทุนประกันวินาศภัยจะได้ดำเนินการเพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนให้ได้รับเงินจากมูลหนี้ที่เกิดจากสัญญาประกันภัยของบริษัทสัมพันธ์ประกันภัย จำกัด

3. การเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท สัมพันธ์ประกันภัยจำกัด ในครั้งนี้ มิใช่เป็นผลสืบเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในรอบนี้ แต่เกิดจากการบริหารงานภายในของบริษัทที่บริษัทไม่สามารถแก้ไขปัญหาฐานะการเงินที่เกิดขึ้น รวมทั้งไม่สามารถหาผู้ร่วมทุนรายใหม่เพื่อนำเงินมาชำระหนี้สินที่มีต่อผู้เอาประกันภัย และเจ้าหนี้อื่นๆ ของบริษัทได้ และจะไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจประกันวินาศภัยโดยรวมแต่อย่างใด”

จากผู้ใช้บริการ

“เมื่อตอนรัตนโกสินทร์ประกันภัยล้ม ไม่มีอะไรในกอไผ่ เป็นศูนย์ไปเลยคือเหมือนไม่มีประกัน เรื่องคืนเงินเบี้ยประกันมันเป็นหลักเกณท์และหลักการ ขนาดมีใบเคลมอยู่1ใบยังไม่ได้ทำรถที่เกิดอุบัติเหตุมูลค่าสองหมื่นกว่าบาทที่เกิดอุบัติเหตุก่อนหน้าจนบัดนี้ยังเบิกไม่ได้เลย(ขึ้นศาลมาแล้ว2-3ครั้งให้ขายทรัพย์สินชดใช้โดยรัตนโกสินทร์ถูกสั่งล้มละลาย) ทำได้อย่างเดียวคือ ทำใจครับ ก่อนเลือกซื้อประกันจงเลือกที่ความมั่นคงด้วยไม่ใช่ที่ราคาอย่างเดียวต้องศึกษากรมธรรม์ให้ดีน่ะครับเพราะบริษัทเขามีฝ่ายกฏหมายเราตาสีตาสาต้องระวังให้ดีเพราะบ้างที่มีเงื่อนไขซ่อนเร้น ไม่รู้พวกล้มบนฟูกป่ะ”

ผมก็โดนสัมพันธ์ รถโดนชนมาไปประเมินราคาค่าซ่อมรถเพื่อรับค่าสินไหม ที่ สนง ใหญ่ วุ่นวายอย่างกะมีคอนเสิร์ต ถามพนักงานบอกวันนึงมีกี่ราย …..วันนี้ 160 รายครับ โอ้แม่เจ้า เฉพาะสนง ใหญ่ มาประเมินราคาค่าสินไหม แล้วที่สาขาอื่นๆอีกเท่าไหร่ แล้วที่เข้าอู่ในเครืออีกเท่าไหร่ วันๆมันจ่ายออกหลายล้านครับ เป็นบริษัทเดียวที่รับแท๊กซี่ มันโง่หรือมันบ้าก็ไม่รู้ 70 % ที่บริษัทเป็นแท๊กซี่ คนเยอะมากมาเบิกตังนะครับไม่ได้มาซื้อประกัน

ส่วนผมโดนไป 18000 บาท นัดโอนเงินค่าสินไหมแล้วมันก็ไม่โอน โทษทีครับกำหนดรับค่าสินไหม 2 เดือน ถึงกำหนดแล้วก็เงียบ

ทำใจแล้วซื้อประกันใหม่เถอะครับ

9 ปีก่อน รัตนโกสินทร์ประกันภัยเจ๊ง ผมเหลืออายุกรมธรรม์อีกกว่าครึ่งปี
ขณะนั้นบริษัทนี้เป็นหนึ่งในหลาย ๆ บริษัทที่ลงประกาศใน นสพ.ว่า รับโอนกรมธรรม์ จากรัตนโกสินทร์จนสิ้นอายุกรมธรรม์
พอเดินข้ามไปเขาจะขายแต่ของใหม่ โดยปฎิเสธไม่รับโอนกรมธรรม์ตามที่แจ้งกับสื่อมวลชนไว้ ทั้งที่เจ้าหน้าที่เหล่านั้นก็เห็นหน้ากันอยู่ประจำเพราะข้ามมากินข้าวกลางวันในโรงอาหารที่ทำงานผม

ผมทำของบริษัทลิเบอร์ตี้ เอารถไปเคลมทีต้องรอ2เดือนกว่าจะเสร็จอะไหล่ของปลอมอีกตะหากไม่รู้จะทำไงเซงเลยเตือนพี่น้องอย่าไปทำประกันบริษัทนี้นะคับ

รถชนมาวันนี้ครับ โทรไปไม่มีใครรับเลย รถชน5โมงเช้า คนเคลมประกันมาบ่ายสองครับพี่น้อง กว่าจะมาได้ต้องอ้วนวอนมันเกือบตายไห้ตังมันอีก500บาทครับมันบอกว่ายังไม่ได้เงินเดือนมาหกเดือนเเล้วครับ เคลมเสร็จโทรเข้าอู่ไม่มีอู่ไหนรับเลยครับพี่น้องมีเเต่บอกไห้สำรองจ่ายก่อน เเล้วเราสำรองจ่ายก่อนเราจะทำยังไงต่อไปครับพี่น้อง ใครรู้โทรมาบอกผมทีครับ (censor) จะเป็นพระคุนอย่างสูงครับสงสารคนไม่มีตังเถอะครับ

ผมเองก็โดนครับ ตอนแรกเป้นฝ่ายผิดน๊ะ แต่เจ้าหน้าที่เคลมมันเรียกเงิน อ้างว่าทำให้ถูกได้ ทำให้รถผมเอาเข้าซ่อมได้ด้วย (รถผมไม่มีประกันครับ) ไอ้เราก็หลงเชื่อ จ่ายไปแปดพัน เสร็จแล้วโทรไปอู่สัมพันธ์….พระเจ้าช่วย ไม่มีอู่ไหนรับเลย โชคดีมีเพื่อนทำอู่เลยให้มันซ่อมให้ ถูกดี แต่ตอ้งสำรองจ่ายไปก่อน แต่ตอนนี้ยื่นเรื่องเบิกไป …..พี่คร้าบ สามเดือนแล้วยังไม่มีวี่แววจะได้เงินเลย รู้งี้ให้ประกันมันมาเรียกเก็บเงินค่าซ่อมกะผมซะยังดีกว่า…ตอนคู่กรณีชนกัน โทรเข้าไปสายแทบไหม้ ไม่มีหมาสัมพันธ์ตัวไหนรับเลยครับ

ผมชื่อบิลลี่เป็นพนักงานเคลมอยู่ลำนารายณ์ยังไม่ได้รับเงินเดือนมาสองเดือนแล้วตอนนี้กินแกลบแทนข้าวอยู่แล้วลูกค้าบริษัทสัมพันธ์จะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายครับขอถามหน่อย

ใครก็ได้ช่วยผมทีเทำงานเป็นพนักงานเคลมบริษัทสัมพันธ์ไม่ได้รับเงินเดือนมาหกเดือนแล้วมีแต่รับแฟ็กจากสำนักงานใหญ่แจ้งว่าขอให้พนักงานตั้งใจทำงานตอนนี้สถานณการณ์ดีแล้วอยู่ช่วงขาขึ้น(สงสัยขาขึ้นบนหัวพ่อเจ้าของบริษัท)เคยไปสมัครงานที่บริษัทอื่นเขารู้ว่ามาจากสัมพันธ์เขาไม่รับเลยกลัวมาอยู่แล้วทำให้บริษัทเขาเจ้ง

ผู้บริหารสัมพันธ์ประกันภัย คือ ผู้บริหารทีมเดิมจาก บริษัท พิพัทธ์ประกันภัย ที่เจ๊งไปเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว เพราะโกงเหมือนกัน แล้วผู้บริหารสัมพันธ์ก็เป้นเครือญาติกับ พาณิชย์ประกันภัยที่เจ๊งไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว แล้วยังเป็นญาติกับผู้บริหารลิเบอร์ตี้ประกันภัยในปัจจุบันอีกด้วย สรุป เปิดมาเพื่อโกงโดยเฉพาะ

ไม่ต้องทำอะไรหรอกครับขนาดผมเป็นพนักงานยังไม่ได้เงินเดือนมา 5 เดือนแล้ว ลูกค้าบริษัทจะนำเงินที่ไหนมาจ่ายละครับ

ผู้บริโภคแห่ฟ้องสัมพันธ์ประกันภัยเรียกค่าเสียหายเป็นคดีผู้บริโภค
ลูกค้าสัมพันธ์ประกันภัย หมดหวังกับ คปภ. หลังปล่อยให้แบกรับความเสียหายจากการที่บริษัทสัมพันธ์ไม่ยอมจ่ายค่าสินไหมไม่มีกำหนด ตัดสินใจยื่นฟ้องศาลเป็นคดีผู้บริโภคเรียกค่าเสียหายด้วยตนเอง

สำหรับความวิตกกังวลของผู้เอาประกันภัยที่ว่า เมื่อยื่นฟ้องไปแล้วจะได้รับเงินคืนมากน้อยแค่ไหนนั้น นางสาวสารีกล่าวว่า การฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคตามกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคนี้ หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า บริษัทสัมพันธ์ประกันภัยฯ ถูกจัดตั้งขึ้นหรือดำเนินการโดยไม่สุจริต หรือมีพฤติการณ์ฉ้อฉลหลอกลวงผู้บริโภค หรือมีการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของบริษัทไปเป็นประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และทรัพย์สินของบริษัทไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้ตามฟ้อง หากผู้บริโภคที่ยื่นฟ้องร้องขอต่อศาลหรือศาลเห็นสมควร ศาลมีอำนาจเรียกหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้นหรือคณะกรรมการบริหารของบริษัทหรือผู้รับมอบทรัพย์สินจากบริษัทฯเข้ามาเป็นจำเลยร่วม และศาลมีอำนาจพิพากษาให้บุคคลเหล่านี้ร่วมรับผิดชอบในหนี้ที่ผู้บริโภคร้องขอได้

‘หากผู้บริโภคเห็นว่าขณะนี้ตนต้องแบกรับภาระความเสียหายแทนบริษัทสัมพันธ์ประกันภัย และ คปภ. มานานพอสมควรแล้ว และต้องการฟ้องสัมพันธ์ประกันภัยเป็นคดีผู้บริโภคก็สามารถมายื่นฟ้องต่อศาลได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องจ้างทนายความ และสามารถฟ้องด้วยวาจาได้ ซึ่งทางศาลจะมีเจ้าหน้าที่ช่วยเขียนคำฟ้องให้ หรือจะติดต่อขอความช่วยเหลือมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคก็ได้ ที่เลขที่ 4/2 ซ.วัฒนโยธิน(ราชวิถี 7 อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทร.02-248-3734-7 www.consumerthai.org ซึ่งขณะนี้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้จัดทำคู่มือฟ้องคดีผู้บริโภคแจกจ่ายให้ประชาชนที่สนใจด้วย”

สำหรับบริษัทประกันภัยโดยเฉพาะผู้บริหารชุดเดิม ที่ถูกสั่งปิดชั่วคราวไม่ว่าจะเป็นบริษัทธนสิน บริษัทสัมพันธ์ประกันภัย หรือแม้แต่บริษัท สหประกันชีวิต โดยทั้ง 3 บริษัทส่วนใหญ่มีปัญหาคล้ายกัน คือ ขาดสภาพคล่อง ไม่สามารถดำรงเงินกองทุนให้เป็นไปตามกฎหมายและมีปัญหาต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ขณะนื้ได้ประสานไปยัง ปปง. เพื่อดูกฎหมายว่าสามารถจะใช้กฎหมาย ปปง.เข้าไปตรวจสอบและอายัดทรัพย์สินของกลุ่มผู้บริหารเดิมได้หรือไม่ เพราะเป็นการกระทำที่ทำให้บริษัทขาดสภาพคล่องและสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้เอาประกันภัย

ดีเอสไอรับคดีสัมพันธ์ประกันภัยเป็นคดีพิเศษ เพราะมีความเสียหายกระทบวงกว้าง

ปิด ‘สัมพันธ์ประกันภัย’ บทเรียนซ้ำซาก เหยื่อผู้บริหาร….โกง
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2413 29 มี.ค. – 01 เม.ย. 2552

การ สั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของ บริษัท สัมพันธ์ประกันภัย จำกัด ตามคำสั่งกระทรวงการคลังที่ 380 / 2552 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2552

ไม่ใช่กรณีแรกที่เกิดขึ้นกับธุรกิจประกันวินาศภัยในไทย แต่เป็นปัญหาซ้ำซากที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า และยังอาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต ด้วยสาเหตุและต้นตอปัญหาคล้ายคลึงกัน คือ การบริหารงานที่ผิดพลาดภายในของบริษัท จนไม่สามารถแก้ไขปัญหาฐานะการเงิน ซึ่งเบื้องหลังของปัญหา ก็ไม่แตกต่าง คือ ผู้บริหารทุจริตยักยอกทรัพย์ ใช้เงินผิดวัตถุประสงค์

ย้อนรอยจากกรณีปิด ‘สัมพันธ์ประกันภัย’ นับย้อนไปเมื่อ 3 ปีก่อน กระทรวงพาณิชย์ มีคำสั่งที่ 214/2548 (ลงวันที่ 7 กรกฎาคม 2548) เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท พาณิชย์การประกันภัย จำกัด ก็ด้วยเหตุผลในลักษณะเดียวกับสัมพันธ์ประกันภัย คือ ไม่อาจเชื่อมั่นได้ว่าบริษัท จะสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างมั่นคง โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับประชาชนขึ้นอีกในอนาคต

****อุ้มลูกค้าสัมพันธ์ฯ16,585ราย

เหตุผลเบื้องหน้าของการสั่งปิด บริษัทสัมพันธ์ประกันภัยฯ จากปัญหาขาดเงินกองทุนที่ต้องดำรงไว้ตามกฎหมาย มีทรัพย์สินน้อยกว่าหนี้สิน และค้างจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัย

มีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน 748.15 ล้านบาท มีค่าสินไหมทดแทนค้างจ่ายที่มาร้องเรียนต่อสำนักงานคปภ. 16,585 ราย เป็นเงิน 701.41 ล้านบาท และมีการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 จนถึงขณะนี้บริษัทจ่ายค่าสินไหมทดแทนไปแล้วเพียง 1,757 ราย เป็นเงิน 12.78 ล้านบาท

โดยที่ในปี 2550 และปี 2549 เบี้ยรับจากธุรกิจประกันวินาศภัยของสัมพันธ์ประกันภัย อยู่ที่ 939.85 ล้านบาท และ 3,537 ล้านบาท ตามลำดับ หรือเบี้ยรับลดลงถึง 2,597.15 ล้านบาท ซึ่งลดลง 73.43%

แต่เบื้องหลังกรณีนี้ คือ การทุจริตทางบัญชี !!!!

ซึ่งไม่ใช่แค่ในสัมพันธ์ประกันภัยเพียงแห่งเดียวแน่ เพราะอาจโยงถึงบริษัทในเครือ และบุคคลภายนอกที่เกี่ยวโยงด้วย

ต้องถามกลับไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกัน ภัย (คปภ.) ที่มี ‘จันทรา บูรณฤกษ์’ เป็นเลขาฯ ที่จงใจลากเวลาให้สัมพันธ์ประกันภัย ทั้งที่เคยขู่ขีดเส้นตายมากกว่า 3 ครั้ง แต่ไม่เคยลงดาบจริงจัง

นับจากมีคำสั่งให้หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวตั้งแต่ 16 กรกฎาคม 2550 เพื่อให้บริษัทหาแนวทางแก้ปัญหา แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ไม่สามารถหาผู้ร่วมทุนรายใหม่เพื่อนำเงินมาชำระหนี้สินที่มีต่อผู้เอาประกัน ภัยและเจ้าหนี้อื่นๆได้ จนถึงวันที่สั่งปิด 23 มีนาคม 2552 กินเวลานานถึง 1 ปี 8 เดือน

ที่สุดแล้ว ‘ผู้ถือกรมธรรม์’ คือ ‘เหยื่อ’ บทเรียนความผิดพลาดในการบริหารงาน

บทเรียนปิดพาณิชย์การประกันภัยนั้น ผู้ถือกรมธรรม์และเจ้าหนี้ยังต้องรอจัดสรรชำระเงินคืนนาน 6-7 ปี เทียบกับกรณีสัมพันธ์ประกันภัย อาจโชคดีกว่า ตรงที่มีมาตรการในการคุ้มครองประชาชน ตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2551 โดยมีการตั้งกองทุนประกันวินาศภัย เข้ามารองรับช่วยจ่ายค่าสินไหม

โดยที่กองทุนประกันวินาศภัยดังกล่าว จะเรียกเก็บเงินฝากภาคเอกชน คิดจากอัตราขั้นต่ำ 0.1% ของเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงของทุก 6 เดือน และปีต่อๆไปจะเพิ่มเป็น 0.15% 0.20% 0.25% แต่หลังจากปีที่ 4 จะคงที่ที่ 0.25% โดยในปี 2552 จะเริ่มเก็บงวดแรกภายในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และงวดที่ 2 เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม คาดว่าจะมีรายได้เข้ากองทุน 100 ล้านบาทต่อปี ซึ่งผู้ที่เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัย และเจ้าหนี้ทั่วไป สามารถยื่นขอรับชำระหนี้ต่อผู้ชำระบัญชี และกองทุนประกันวินาศภัย ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2552

****เสียหายหลักพันล้านบาท

คดีทุจริตและยักยอกทรัพย์ในสัมพันธ์ประกันภัย ขณะนี้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) รับเรื่องดังกล่าวไว้เป็นคดีพิเศษตั้งแต่ปี 2550

หลังจากที่คปภ.ร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีกับผู้บริหารบริษัทสัมพันธ์ฯ และผู้ที่เกี่ยวข้อง กรณีมีพฤติการณ์ยักยอกทรัพย์สินของบริษัท ปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม เพื่อแสดงว่าบริษัทมีเงินกองทุนครบถ้วนตามกฎหมาย ซึ่งดีเอสไอรวบผู้ทุจริตดำเนินคดีแล้ว 15 ราย ในความผิด ตาม พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 และ ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานแอบโอนที่ดินให้กับบุคคลภายนอกอีก ซึ่งคดีมีมูลค่าความเสียหาย 1,000 ล้านบาทเศษ

ที่น่ากังวล คือ ข้อมูลจากผู้ชำระบัญชีรายหนึ่ง ระบุว่า พบข้อมูลที่เกี่ยวกับการทุจริตทางบัญชีว่า รายงานทางบัญชีของบริษัท สัมพันธ์ฯ อาจเป็นการแสดงทางบัญชีต่อ คปภ. เท่านั้น ไม่มีเอกสารสำคัญยืนยัน ซึ่งสุดท้ายแล้วอาจเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนหรือมีการโอนถ่ายทรัพย์สินไป ก่อนหน้านี้แล้ว

แสดงว่าที่ผ่านมา ผู้บริหารคปภ. ถูกตบตามาโดยตลอดใช่หรือไม่ ? หรือบางกระแสที่มีการกล่าวอ้างว่า งานนี้มีใต้โต๊ะ ก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์กันต่อไปอยู่
****อีก2บริษัทเข้าข่ายสีแดง

ไม่มีใครกล้ารับประกันว่า บทเรียนผู้บริหารขี้ฉ้อ จากกรณีของบริษัทพาณิชย์ประกันภัย จำกัด และ บริษัทสัมพันธ์ประกันภัย จำกัด จะไม่เกิดขึ้นอีก

แม้ ขณะนี้ คปภ.จะได้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและวิธีการกำกับบริษัทประกันภัย

โดยกำหนดให้บริษัทต้องมีทรัพย์สินคุณภาพเพียงพอต่อภาระหนี้สินของผู้เอา ประกันภัย การบริหารความเสี่ยงการดำรงเงินกองทุนตามกฎหมายมากกว่าหรือเทียบเท่า 150%

แต่จะมีประโยชน์อะไร หากมีเกณฑ์ที่เข้มงวดแล้ว แต่ผู้คุมกฎไม่ลงดาบจริงจัง ….

ล่าสุด ก็ยังพบว่า มีบริษัทที่เข้าข่ายสีแดง 2 ราย ได้แก่ บริษัท ธนสินประกันภัย จำกัด (มหาชน) ซึ่งขณะนี้ได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ยูเนี่ยนอินเตอร์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) มีปัญหาขาดเงินกองทุน 430 ล้านบาท มีหนี้เก่าค้างจ่าย 100 ล้านบาท และมีผู้ถือกรมธรรม์ 469 ราย และบริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด ยังขาดเงินกองทุนอีกมาก แต่ขณะนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมทุน คือ กองทุนจากประเทศเยอรมนี

บริษัทที่เข้าข่าย สีส้ม มีความน่าเป็นห่วงอาจมีปัญหาสภาพคล่องดำรงเงินกองทุนไม่ครบตามกฎหมายและ ประวิงจ่ายสินไหม ได้แก่ บริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จำกัด และบริษัท กมลประกันภัย จำกัด

Jul 2 2012 ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการของเจ้าพนักงานพิทักทรัพย์ สามารถตรวจสอบและเช็คไปได้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ที่คุณ(ผู้เอาประกัน)ยื่นขอเฉลี่ยหนี้ในคดีล้มละลายไว้





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow