INSURANCETHAI.NET
Sat 21/12/2024 18:50:28
Home » Uncategorized » กองทุนประกันวินาศภัยแทบหมดเกลี้ยง🤔\"you

กองทุนประกันวินาศภัยแทบหมดเกลี้ยง🤔

2024/04/05 209346👁️‍🗨️

กองทุนออกประกาศคำชี้แจง เรื่องการปรับเปลี่ยนรอบการขออนุมัติการจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้ฯ จนสื่อเศรษฐกิจต่างรายงานอ้างอิงคำสัมภาษณ์ของ นายชนะพล มหาวงษ์ ผู้จัดการกองทุนประกันวินาศภัย (กปว.) ที่กล่าวว่า

ปัจจุบันกองทุนฯ เหลือเงินเพียง 3-4 ล้านบาทเท่านั้น และต้องเลื่อนการจ่ายหนี้คืนให้ประชาชนออกไปจนกว่าจะหาเงินมาเพิ่มเติมได้

กองทุนฯ ชี้ถึงเหตุการเป็นหนี้ฉับพลันจากบริษัทที่ล้มลงในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 พร้อมแจกแจงว่า

นับตั้งแต่ปี 2566 จนถึงเดือน ก.พ. 2567 กองทุนฯ จ่ายเงินให้เจ้าหนี้เฉลี่ยเดือนละ 350 – 400 ล้านบาท คิดเป็น 7,000 – 8,000 กรมธรรม์ต่อเดือน

เมื่อย้อนกลับไปดูรายงานงบการเงินของกองทุนประกันวินาศภัยที่เผยแพร่เป็นสาธารณะ บีบีซีไทยพบว่า รายงานล่าสุดเป็นของ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2565 ซึ่งระบุว่า มีเงินกองทุนทั้งสิ้น 6,091 ล้านบาท โดยมีตัวเลขเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพียง 1,869 ล้านบาท

นับตั้งแต่ปี 2551 มีบริษัทประกันภัยที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยรวม 14 บริษัท ในจำนวนนี้มี 4 บริษัทสำคัญที่ปิดตัวลงอันเป็นผลจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 อย่าง ได้แก่

  • บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท เดอะ วัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน)

ถูกเพิกถอนใบอนุญาตในปี 2565 ทำให้กองทุนประกันวินาศภัยมีหนี้สินเพิ่มขึ้น 60,000 ล้านบาท เจ้าหนี้รวมเกือบ 700,000 ราย

ข้อมูลจากที่ประชุมรับฟังความคิดเห็น กรณีการแก้ปัญหาเชิงระบบของการประกันภัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และการจ่ายเงินตามกรมธรรม์ประกันภัยล่าช้า พบว่า ในช่วงปี 2563 – 2565 มีการขายกรมธรรม์ประกันภัยโควิดรวม 50 ล้านฉบับ ภายใต้รูปแบบที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “เจอ-จ่าย-จบ”

ข้อมูลล่าสุด

จากบริษัทที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตทั้งหมด 14 ราย กองทุนประกันวินาศภัยชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เสร็จสิ้นแล้ว 3 บริษัท ยังเหลืออีก 7 บริษัทที่อยู่ระหว่างการชำระหนี้ ขณะที่อีก 4 บริษัท อยู่ระหว่างการชำระบัญชีของบุคคลภายนอกและรอการนำส่งมาให้กองทุนประกันวินาศภัยชำระหนี้ต่อไป

เดือน มี.ค. 2567 ได้มีการรับรองมูลหนี้รอการจ่ายเงินทั้งสิ้นในเดือน มี.ค. จำนวน 4,777 คำขอ คิดเป็นจำนวน 6,368 กรมธรรม์ เป็นยอดมูลหนี้รอการจ่ายเงินของ 4 บริษัทที่ล้มลงในช่วงโรคโควิดระบาด ทั้งสิ้น 7,298 ล้านบาท

รัฐบาลมีแนวทางช่วยล้างหนี้อย่างไร

ความพยายามส่งเสียงให้ภาครัฐยื่นมือเข้ามาช่วยกองทุนฯ ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นในปีนี้ วันนี้ตอนที่กองทุนฯ ขาดสภาพคล่องอย่างสาหัส แต่ปะทุมาจริง ๆ ตั้งแต่ช่วงปี 2564 ตอนที่มียอดผู้ป่วยโควิดที่ติดเชื้อหรือเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว จนบริษัทประกันฯ ขาดสภาพคล่อง และต้องปิดตัวไปหลายราย

ปลายปี 2565 นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์สื่อหลายสำนักว่า กำลังมีการศึกษาเรื่องความเป็นไปได้ต่าง ๆ ในการร่วมแก้ปัญหาให้กับกองทุนฯ ซึ่งมีทั้งการเพิ่มยอดเงินส่งสมทบจากบริษัทประกันฯ สองทางคือ

1. สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

2. กองทุนประกันวินาศภัย โดยให้เปลี่ยนไปส่งเงินสมทบให้กับกองทุนทั้งหมดแทนระยะหนึ่งเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง

แนวทางอีกประการ คือการนำเงินสะสมส่วนหนึ่งของ คปภ. ออกมาปล่อยกู้ให้กับกองทุนประกันวินาศภัย โดยไม่คิดดอกเบี้ย

แนวทางสุดท้าย หลังจากเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ของกองทุนฯ ได้แล้ว ก็ให้กองทุนฯ กู้ยืมเงินกับสถาบันการเงินแทน

ปลายปี 2565 ถึงปลายปี 2566

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังอย่าง นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ออกมาประกาศว่า จะมีการหารือถึงแนวทางแก้ไขธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัยอีกครั้ง กับนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ซึ่งนั่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงการคลังด้วย

แนวทางช่วยเหลือเรื่องการปรับเพิ่มเงินทุนสมทบจาก 0.5% เป็น 2.50% ซึ่งยังไม่มีการหารือและการหาเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลอีกราว 3,000 – 4,000 ล้านบาท เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับกองทุนฯ ต่อมาฝั่งกองทุนฯ ชี้ว่าได้มีการยื่นแผนขอบรรจุวงเงินในแผนบริหารหนี้สาธารณะในวงเงิน 3,000 ล้านบาท ต่อสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

13 ก.พ. 2567 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติ การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 1 และรับทราบตามที่คณะกรรมการนโยบายและกำกับบริหารหนี้สาธารณะเสนอ แผนดังกล่าวอยู่ระหว่างดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง และกองทุนประกันวินาศภัยยังได้มีหนังสือถึงสำนักงบประมาณ เพื่อดำเนินการขอรับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลตามมาตรา 80 (11) เพิ่มเติม

เงินยังไม่เพียงพอต่อการจัดการหนี้สินหลายหมื่นล้านบาทให้เสร็จสิ้นได้ ผู้จัดการกองทุนประกันวินาศภัย กล่าวว่า หากจัดเก็บเงินสมทบที่ระดับ 0.5% อาจ “ต้องใช้เวลา 40-50 ปี ในการจ่ายคืนสินไหมทั้งหมด”

ทางเลือกเรื่องการไปกู้ธนาคารพาณิชย์ก็จะติดเรื่องการมีหนี้มูลค่ามหาศาลเมื่อเทียบกับความสามารถในการหารายได้ซึ่งไม่สมดุล นอกจากนี้ หากทางกองทุนฯ จะออกพันธบัตรเพื่อระดมทุน ก็ยังติดปัญหาเรื่องต้องแก้กฎเกณฑ์ให้บริษัทประกันภัยที่ซื้อพันธบัตรไป สามารถใช้พันธบัตรดังกล่าวมาเป็นทุนสำรองได้

นอกจากมติของ ครม. ที่ออกมาเมื่อวันที่ 13 ก.พ. ยังไม่พบว่า มีประกาศใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแนวทางช่วยเหลืออย่างเป็นรูปธรรมผ่านกระทรวงการคลัง

แกะโครงสร้างอุตสาหกรรมประกันวินาศภัย

แม้ปัญหาหนี้ที่กองทุนประกันประกันวินาศภัยต้องแบกอยู่นั้นเชื่อมโยงอยู่กับประกันที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอย่างประกันโควิด เจอ-จ่าย-จบ

ตัวเลขในปี 2565 จากสมาคมประกันวินาศภัย พบว่า อุตสาหกรรมนี้

ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ 49%

ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ อีก 7%

ประกันภัยความเสี่ยงด้านทรัพย์สิน อุบัติเหตุ และสุขภาพ ที่มีสัดส่วน 12%, 11% และ 6% ตามลำดับ

ประกันภัยรถยนต์ การประกันภัยเบ็ดเตล็ด ที่มีส่วนการประกันภัยสุขภาพอยู่ด้วยมีแนวโน้มเติบโต

ผู้เล่นรายใหญ่ของธุรกิจสามอันดับแรก

วิริยะประกันภัย ทิพยประกันภัย กรุงเทพประกันภัย มียอดเบี้ยประกันรับโดยตรง (Direct Premium) ในปี 2565

4.1 หมื่นล้านบาท

3.22 หมื่นล้านบาท

2.49 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ

ยังมีสุขภาพทางการเงินเข้มแข็งดี

รายงานประจำปีจากสมาคมประกันวินาศภัยไทย ในปี 2565 พบว่า ธุรกิจประกันวินาศภัยไทยขาดทุนจากการรับประกันภัยสูงถึง 4.96 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มีการขาดทุนจากการรับประกันภัยมูลค่า 8,609 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนประกันภัยเกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19

รายงานประมาณการการเติบโตของอุตสาหกรรมประกันโดยรวมของ GlobalData ปี 2023 ชี้ว่า ภายในปี 2027 อุตสาหกรรมประกันทั่วไปของไทยจะมีมูลค่าสูงขึ้นไปแตะ 3.73 แสนล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 5.7% ต่อปี ตัวเลขมูลค่าของธุรกิจประกันภัยทั่วไปของไทยในปี 2023 อยู่ที่ 2.85 แสนล้านบาท โดยมีแรงส่งจากฝั่งรถยนต์

หน้าที่ของกองทุนประกันวินาศภัยคืออะไร

สถิติเบี้ยประกันชีวิตและประกันวินาศภัย ตั้งแต่ปี 2512 – 2565 พบว่า เบี้ยประกันชีวิตเพิ่มขึ้นจาก 458 ล้านบาท เป็น 6.11 แสนล้านบาท (7,818 เท่า) และประกันวินาศภัย เพิ่มขึ้นจาก 78 ล้านบาท เป็น 2.74 แสนล้านบาท (599 เท่า)

เงินเกือบเก้าแสนล้านบาท เป็นของภาคประชาชนและเอกชนได้รับการปกป้องและคุ้มครองโดยรัฐบาลผ่านกฎหมายสองฉบับคือ พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535

กฎหมายทั้งสองฉบับมีใจความเรื่องความมั่นคงและเสถียรภาพที่ใกล้เคียงกันคือ การให้จัดตั้งกองทุนขึ้นมาเพื่อเป็นทุนในการใช้จ่ายในธุรกิจประกัน ทั้งสองกองทุนต่างมีกลไกการได้มาซึ่งเงินทุนเหมือนกันในช่วงต้นคือ หากผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่ได้เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจนพ้นอายุความแล้ว ให้บริษัทต่าง ๆ นำส่งเงินดังกล่าวเข้ากองทุน ก่อนจะมีเงื่อนไขเงินอื่น ๆ อาทิ เงินที่ได้จากการกู้ยืมหรือการออกตราสารทางการเงิน ไปจนถึงเงินสนับสนุนของรัฐบาล

ทั้งกองทุนประกันชีวิตและกองทุนประกันวินาศภัยต่างมีอีกหน้าที่สำคัญคือ คุ้มครองประชาชนหรือภาคเอกชนที่ซื้อประกันในฐานะ “เจ้าหนี้” ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ ในกรณีที่บริษัทประกันถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจ





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow