INSURANCETHAI.NET
Thu 21/11/2024 20:09:45
Home » ประกันอิสระภาพ » การประกันอิสระภาพ\"you

การประกันอิสระภาพ

2012/05/21 6046👁️‍🗨️

การประกันอิสระภาพคืออะไร
การประกันอิสระภาพเป็นกรรมธรรม์ประเภทหนึ่ง สำหรับผู้ที่ต้องการนำไปใช้ประกันตัว แทนการวางทรัพย์ หรือแทนการใช้บุคคลค้ำประกัน สามารถซื้อได้ทั้งก่อนและหลังกระทำความผิด เบี้ยประกันขั้นต่ำค่า 500 บาท หรือวงเงินประกันสูงสุด 300,000 บาท

freedom-ins

ความคุ้มครองระยะคุ้มครองฐานความผิดอัตราเบี้ย
1.การประกันภัยอิสระภาพก่อนกระทำความผิด
หมายเหตุ : ซื้อไว้ก่อนมีการกระทำความผิด
ตามที่ระบุในหน้าตาราง กรมธรรม์จนกว่าคดีจะถึงที่สุดประมาท1%
2.การประกันภัยอิสรภาพหลังกระทำความผิด
หมายเหต
ซื้อไว้หลังจากกระทำความผิดหรือตกเป็นผู้ต้องหา หรือจำเลยในคดีอาญา
นับแต่เวลาที่ได้เริ่มประกันตัว จนศาลขั้นต้นมีคำพิพากษา
นับแต่เวลาที่ไดเริ่มประกันตัว เฉพาะในศาลอุธรณ์
นับแต่เวลาที่ไดเริ่มประกันตัว เฉพาะในศาลฎีกา
นับแต่เวลาที่ไดเริ่มประกันตัว จนคดีถึงที่สุด
นับแต่เวลาที่ไดเริ่มประกันตัว จนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา
ประมาทและพนัน
ความผิดทุกลักษณะ
ความผิดทุกลักษณะ
ความผิดทุกลักษณะ
ความผิดอื่นนอกจาก ประมาทและพนัน
10%
10%
10%
20%
15%

ส่วนลดเบี้ยประกันภัย

1.ผู้เอาประกันภัยต้องมีบุคคลค้ำประกันต่อบริษัทไม่น้อยกว่า 10% ของค่าเบี้ยประกันภัย
2.ผู้เอาประกันภัยมีหลักทรัพย์วางประกันรวมลดลงตามสัดส่วนราคาหลักประกัน

หมายเหตุ
1. จำนวนเงินจำกัดความรับผิดชอบ ต่อกรรมธรรม์ขั้นต่ำ 100,000 บาทสูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท
2. เบี้ยประกันภัยขั้นต่ำ ต่อกรรมธรรม์ 500 บาท

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในเวลาซื้อประกัน

กรณีก่อนกระทำความผิด
1. สำเนาบัตรประชาชนหรือเสาเนาบัตรประจำตัวอื่นๆ
2. ต้องการกรอกรายละอียดในใบคำขอเอาประกัน

กรณีหลังกระทำความผิด
1. เอกสารแจ้งข้อกล่าวหา/สำเนาคำฟ้อง/คำพิพากษา
2. สำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาบัตรประจำตัวอื่นๆของผู้ต้องหาหรือจำเลย
3. ต้องกรอกรายละเอียดในใบคำขอเอาประกัน
4. สำเนาทะเบียนบ้าน
5. ใบรับรองการทำงานจากเจ้านาย
6. เอกสารลักษณะทางการเงิน (สมุดบัญชีเงินฝากเป็นต้น)
7. เอกสารแสดงสถานะทางครอบครัว (ทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนบ้านของคู่สมรส และ/หรือของบุตรเป็นต้น)

การคืนเบี้ย สามารถทำได้ดังนี้
1. ในกรณีซื้อประกันก่อนกระทำความผิด ต่อมาผู้เอาประกันเสียชีวิตลงและในระหว่างระยะเวลาเอาประกันไม่มีการเรียกร้องให้ตัวประกันตัว บริษัทฯจะคืนเบี้ยประกันภัยให้ตามอัตราเบี้ยประกันภัยระยะสั้นที่กำหนดใน

ตารางกรมธรรม์
2. ในกรณีซื้อประกันหลังกระทำความผิด มีระเบียบวิธีการคืนเบี้ยดังนี้
2.1 กรณีผู้เอาประกันภัยไม่ผิดสัญญาจนสิ้นสุดระยะเวลาเอาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยจะต้องขอรับหนังสือรับรองคืนจากศาลเพื่อนำไปแสดงขอรับค่าเบี้ยประกันภัยคืนจำนวนร้อยละ 20
2.2 กรณีผู้เอาประกันภัยไม่ผิดสัญญา แต่ได้เสียชีวิตก่อนสิ้นระยะเวลาประกันภัย ทายาทจะต้องขอรับหนังสือรับรองคืนจากศาลและนำไปแสดงต่อบริษัทฯ พร้อมใบมรณะบัตรเพื่อขอรับค่าเบี้ยคืนจำนวนร้อยละ 50
2.3 หากเจ้าพนักงานอนุญาตให้ประกันตัว แต่ภายหลังในระหว่างระยะเวลาประกันภัย เจ้าพนักงานในลำดับนั้น หรือในลำดับถัดมาได้มีคำสั่งให้ถอนหรือยกเลิกการให้ประกันตัวหรือผู้เอาประกันภัยไม่ประสงค์จะประกันตัว อีกต่อไปให้ผู้ประกันภัยนำหนังสือรับรองฉบับนั้นแสดงต่อบริษัทฯ เพื่อขอรับเบี้ยประกันภัยคืนจำนวนร้อยละ 20
2.4 กรณีเจ้าพนักงานไม่อนุญาตให้ประกันตัว บริษัทฯจะคืนเบี้ยให้แก่ผู้เอาประกัน โดยหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการไว้ 500 บาท

หมายเหตุ
1. การขอรับเบี้ยคืนทุกครั้งจะต้องนำหนังสือรับรองส่งคืนให้บริษัทฯ
2. ในกรณีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิต จะต้องนำใบมรณะบัตรมาด้วย
3. เมื่อหนังสือรับรองการประกันตัวถูกนำไปใช้ในการประกันตัวผู้เอาประกันแล้วบริษัทฯ จะยกเลิกหนังสือรับรองไม่ได้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด
4. ในกรณีที่ซื้อกรมธรรม์หลังกระทำความผิดผู้เอาประกันสามารถทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาซื้อประกันภัยได้

ทำไมประกันอิสรภาพ หาซื้อยาก

ประกันอิสระภาพ ถือว่าเป็นประกันที่คนต้องการซื้อ เเต่บริษัทไม่อยากขาย

ผู้ช่วยผู้อำนวยการ บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริมการ ประกันภัย อิสรภาพ สมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์การขายกรมธรรม์ ประกันภัย อิสรภาพในขณะนี้ว่า บริษัท ประกันภัย ที่ขายกรมธรรม์ ประกันภัย อิสรภาพในช่วงที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะขาดทุน เนื่องจากมีผู้ต้องหาหนีคดีเยอะมาก คือ ในผู้ต้องหา 10 รายจะหนีคดี 1 ราย ขณะที่อัตราเบี้ย ประกันภัย ไม่เพียงพอ โดยศาลกำหนดให้ขายอัตรา 7% ของทุน ประกันภัย แต่อัตราเบี้ย ประกันภัย ที่คุ้มทุน ซึ่งไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นอยู่ที่ 10% ของทุน ประกันภัย ทำให้บริษัท ประกันภัย ถอนออกไปเกือบหมด

“แม้ตอนนี้บริษัท ประกันภัย ที่ลงเอ็มโอยูไว้ในตอนแรกจะยังอยู่ แต่จำนวนลดลงไปมาก บางศาลเคยมีบริษัท ประกันภัย เวียนกันมาขาย 5-6 บริษัทลดลงเหลือ 2 บริษัท”

สมาคมฯ ได้นำข้อเท็จจริงหารือกับทางศาล เพื่อทบทวนเรื่องอัตราเบี้ย ประกันภัย ใหม่ ซึ่งเหตุที่ศาลไม่ให้ขึ้นเบี้ยประกันภัย เพราะไม่ต้องการให้ประชาชนเดือดร้อน โดยที่อาจจะไม่เข้าใจในเรื่องราคา และวิธีการคำนวณเบี้ย ประกันภัย สมาคมฯ ได้ทำเรื่องแสดงตัวเลขอัตราเบี้ย ประกันภัย ไปที่ คปภ. ซึ่งถ้าคำนวณด้วยหลักวิชาการ อัตราเบี้ย ประกันภัย ที่ 10% ยังไม่เพียงพอ เพราะคำนวณเฉพาะค่าสินไหมทดแทนเท่านั้น ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่น ขณะที่อัตราเบี้ยประกันภัย อิสรภาพ ทางคปภ.กำหนดอัตราขั้นสูงสุดไม่เกิน 15% ของทุน ประกันภัย ซึ่งตัวเลขที่สมาคมฯ ขอเข้าไปใกล้เคียงกับ 15%

ทั้งนี้ ตลอด 8 ปีที่เริ่มโครงการประกันอิสรภาพ ถือว่ามีประโยชน์กับประชาชนมาก มีผู้ต้องหาต้องการซื้อ ประกันภัยอิสรภาพเยอะ เพราะถ้าไปใช้ระบบประกันของนายประกันตามตีนโรง ตีนศาล จะเสียค่าใช้จ่ายแพงมากเมื่อเทียบกับเบี้ยประกันภัย และมีความเสี่ยงตรงที่นายประกันพวกนี้ อาจจะถอนการเป็นนายประกันไปเมื่อไรก็ได้

เทียบกับการซื้อกรมธรรม์ ประกันภัย อิสรภาพ จะมีข้อกำหนดในกรมธรรม์ห้ามถอนประกันลูกค้า จะถูกศาลปรับทันที อัตราเบี้ย ประกันภัย ก็ถูกกว่า ความปลอดภัยมีมากกว่า ศาลได้ประโยชน์มากกว่า เพราะถ้าผู้ต้องหาหนีคดี บริษัทประกันภัย ต้องจ่ายเงินประกัน ซึ่งกำหนดเป็นเงินสดให้กับศาลทันที

“แต่การมีกรมธรรม์ ประกันภัย อิสรภาพ ทำให้คดีค้างอยู่ที่ศาลน้อยลงไปเยอะ ไม่รกศาล แต่เมื่อเบี้ย ประกันภัย ที่ขายทำให้บริษัท ประกันภัย อยู่ไม่ได้ ต้องถอยออกไป คนเดือดร้อนก็คือประชาชน ทุกอย่างจะกลับไปอยู่ที่นายประกันเหมือนในอดีต”

ด้าน ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัทที่ขาย ประกันภัยอิสรภาพมากที่สุด เปิดเผยว่า ระเบียบของศาลค่อนข้างเข้มงวด ที่ให้บริษัท ประกันภัย ต้องจ่ายเงิน ประกันภัย ให้กับศาลทันที หลังผู้ต้องหาหนีคดี ซึ่งเดิมไม่มีระเบียบข้อนี้ ศาลเพิ่งประกาศใช้ กระทบกับบริษัท ประกันภัย หลายแห่ง โดยเฉพาะบริษัทที่ไม่มีระบบติดตามตัวผู้ต้องหา กระทบกับอัตราค่าสินไหมทดแทน (Loss Ratio)

“ถ้ายังไม่มีการปรับเบี้ย ประกันภัย เพิ่มขึ้นขณะที่ศาลใช้กฎนี้ ทำให้บริษัท ประกันภัย ต้องจ่ายสินไหมเร็วขึ้น เท่ากับมีความเสี่ยงสูง จากเดิมไม่มีกฎข้อนี้”

ในส่วนของ สินมั่นคงประกันภัย สินไหมทรงๆ ตัว Loss Ratio 60% กว่า ใกล้เคียงกับ ประกันภัยรถยนต์ เฉลี่ยกำไรประมาณ 1% แต่บางทีไม่มีกำไร ถ้าเทียบกับ ประกันภัยรถยนต์ แต่ ประกันภัย อิสรภาพกำไรน้อยกว่า เนื่องจากมีผู้ต้องหาหนีเยอะ โดยเบี้ย ประกันภัย อิสรภาพของสินมั่นคงฯ เติบโตเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกปี คาดว่าปีนี้จะมีเบี้ยประมาณ 80 ล้านบาท เติบโตประมาณ 10% ส่วนแนวโน้มตลาด ประกันภัย อิสรภาพ ในภาพรวมยังไปได้ แต่ต้องควบคุม Loss Ratio ให้ดี กำไรยังพอมี การพิจารณารับ ประกันภัย ต้องทำอย่างระมัดระวัง

ประกันอิสรภาพ (ผู้ต้องหา)

การประกันภัยอิสรภาพ คืออะไร
การประกันภัยอิสรภาพ เป็นการประกันภัยที่จัดขึ้นโดยมีแนวความคิดมาจากการที่ศาลยุติธรรมจะจัดระบบ การประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย โดยเพิ่มทางเลือกให้ประชาชนสามารถใช้หนังสือรับรองความรับผิดของบริษัท ประกันภัยเป็นหลักประกันมาวางศาลได้

ศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการประกันภัย และสมาคมประกันวินาศภัย จึงได้ร่วมกันจัดทำกรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพขึ้น เมื่อประชาชนได้ซื้อประกันภัยอิสรภาพแล้ว บริษัทประกันภัยจะออกหนังสือรับรองให้ผู้เอาประกันภัยถือไว้ หากผู้เอาประกันภัยได้ทำความผิดและตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยระหว่างระยะเวลา ประกันภัย ผู้เอาประกันภัยจะได้รับความสะดวกอย่างยิ่งจากการที่สามารถใช้หนังสือรับรอง นี้ ยื่นแก่เจ้าพนักงานเพื่อใช้ในการประกันตัว โดยไม่ต้องหาหลักทรัพย์อื่นใดมาวางเป็นหลักประกัน

การทำประกันภัยอิสรภาพมี 2 รูปแบบ

แบบที่ 1 กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพก่อนกระทำความผิด (ใช้กับบุคคลทั่วไป)
ให้ความคุ้มครองกรณีที่ผู้เอาประกันภัยถูกดำเนินคดีและถูกควบคุมตัวในคดีอาญาในฐานความผิดอันเนื่องมาจากการกระทำโดยประมาท

บริษัทประกันภัยจะออกหนังสือรับรองตามจำนวนเงินเอาประกันภัยพร้อมกับ กรมธรรม์ประกันภัย เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยนำไปใช้เป็นหลักประกันในการขอประกันตัวต่อเจ้า พนักงาน และหากผู้เอาประกันภัยได้ใช้หนังสือรับรองเพื่อประกันตัวไปแล้ว แต่ยังไม่เต็มวงเงินที่ระบุไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัย ผู้เอาประกันภัยสามารถขอหนังสือรับรองฉบับใหม่ ซึ่งมีวงเงินประกันตัวเท่ากับจำนวนเงินเอาประกันภัยที่คงเหลืออยู่จากบริษัท ประกันภัยได้

แบบที่ 2 กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพหลังกระทำความผิด (ใช้กับผู้ตกเป็นผู้ต้องหา หรือ จำเลย)
ให้ความคุ้มครองกรณีที่ผู้เอาประกันภัยถูกดำเนินคดีและถูกควบคุมตัวในคดีอาญาในทุกลักษณะฐานความผิด

บริษัทประกันภัยจะออกหนังสือรับรองตามจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้เอา ประกันภัย เพื่อนำไปใช้เป็นหลักประกันในการขอประกันตัวต่อเจ้าพนักงานตามคดีที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย

ผู้สามารถซื้อประกันภัย
1. กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพก่อนกระทำความผิด ผู้สามารถซื้อประกันภัย คือ บุคคลทั่วไป เช่น ครู ทนายความ นักบัญชี พยาบาล แม่บ้าน พนักงานขับรถ เป็นต้น
2. กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพหลังกระทำความผิด ผู้สามารถซื้อประกันภัย คือ ผู้ตกเป็นผู้ต้องหา หรือจำเลย

ระยะเวลาความคุ้มครอง
แบบที่ 1 กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพก่อนกระทำความผิด
– ตามที่ระบุในหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัย หรือ
– จนกว่าคดีจะถึงที่สุด

แบบที่ 2 กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพหลังกระทำความผิด
– นับแต่เวลาที่ได้เริ่มประกันตัวจนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา หรือ
– นับแต่เวลาที่ได้เริ่มประกันตัวจนศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษา หรือ
– นับแต่เวลาที่ได้เริ่มประกันตัวจนศาลฎีกามีคำพิพากษา หรือ
– นับแต่เวลาที่ได้เริ่มประกันตัวจนคดีถึงที่สุด

เบี้ยประกันภัย
แบบที่ 1 กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพก่อนกระทำความผิด
อัตราเบี้ยประกันภัย ขั้นต่ำ 0.5% ขั้นสูง 1% ตัวอย่างเช่น จำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท ผู้เอาประกันภัยจะจ่ายเบี้ยประกันภัยอยู่ระหว่าง 500 – 1,000 บาท

แบบที่ 2 กรมธรรมประกันภัยอิสรภาพหลังกระทำความผิด
เบี้ยประกันภัยแบ่งตามชั้นศาลที่มีคำพิพากษาและฐานความผิด อัตราเบี้ยประกันภัยขั้นต่ำ 5% ขั้นสูง 20% ตัวอย่างเช่น จำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท ผู้เอาประกันภัยจะจ่ายเบี้ยประกันภัยอยู่ระหว่าง 5,000 – 20,000 บาท

ส่วนลดเบี้ยประกันภัย
– หากผู้เอาประกันภัยมีบุคคลค้ำประกันต่อบริษัท จะได้รับส่วนลด 10% ของเบี้ยประกันภัย
– หากผู้เอาประกันภัยมีหลักทรัพย์มาวางประกันร่วม จะได้รับส่วนลดค่าเบี้ยประกันภัยลดลงตามสัดส่วนราคาหลักประกัน

การบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย
ทั้งฝ่ายผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยไม่สามารถบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยในระหว่างระยะเวลาประกันภัย

การคืนเบี้ยประกันภัย
บริษัทจะคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย ในกรณี ดังนี้
แบบที่ 1 กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพก่อนกระทำความผิด
– เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ในระหว่าง ระยะเวลาประกันภัยไม่มีการเรียกร้องให้ประกันตัว บริษัทประกันภัยจะคืนเบี้ยประกันภัยให้ตามอัตราเบี้ยประกันภัยระยะสั้นที่ กำหนดในกรมธรรม์ประกันภัย

แบบที่ 2 กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพหลังกระทำความผิด
– เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในระหว่างระยะเวลาประกันภัย โดยไม่ผิดสัญญาประกันตัว บริษัทประกันภัยจะคืนเบี้ยประกันภัยครึ่งหนึ่งให้แก่ทายาทของผู้เอาประกัน ภัย หรือ
– เมื่อเจ้าพนักงานไม่อนุญาตให้ประกันตัว บริษัทประกันภัยจะคืนเบี้ยประกันภัยให้เต็มจำนวนโดยหักค่าใช้จ่ายในการ ดำเนินการ 500 บาท หรือ
– เมื่อเจ้าพนักงานอนุญาตให้ประกันตัว แต่ภายหลังมีคำสั่งถอนหรือยกเลิกการให้ประกันตัว หรือ ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องการที่จะประกันตัวอีกต่อไป บริษัทประกันภัยจะคืนเบี้ยประกันภัยให้ร้อยละ 20 หรือ
– ผู้เอาประกันภัยไม่ผิดสัญญาประกันตัวจนสิ้นสุดระยะเวลาประกันภัย บริษัทประกันภัยจะคืนเบี้ยประกันภัยให้ร้อยละ 20

การใช้หนังสือรับรอง
แบบที่ 1 กรมธรรม์ประกันภัยก่อนกระทำความผิด
– กรณีไม่มีการกระทำความผิดในระหว่างระยะเวลาประกันภัย หนังสือรับรองจะสิ้นอายุตามระยะเวลาประกันภัยที่ระบุไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัย
– กรณีมีการกระทำความผิด ผู้เอาประกันภัยกระทำความผิดในระหว่างระยะเวลาประกันภัย แต่ยังไม่ได้ถูกควบคุมตัว บริษัทประกันภัยจะขยายเวลาการใช้หนังสือรับรองที่แนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัย ออกไป 1 ปี นับจากวันสิ้นสุดระยะเวลาประกันภัยที่ระบุไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัย เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยนำไปใช้ประกันตัวในความผิดที่ได้กระทำขึ้นภายในระยะ เวลาประกันภัยนั้น และเมื่อหนังสือรับรองได้ใช้เป็นหลักประกันแล้วจะมีผลผูกพันบริษัทจนกว่าคดี จะถึงที่สุด

แบบที่ 2 กรมธรรม์ประกันภัยหลังกระทำความผิด
จะมีผลผูกพันบริษัทและใช้เป็นหลักประกันสำหรับการประกันตัวในฐานความผิดทางคดีอาญาจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา

การซื้อประกันภัยอิสรภาพ
หากต้องการซื้อประกันภัยอิสรภาพ สามารถติดต่อได้ที่บริษัทประกันวินาศภัยทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 เป็นต้นไป

ขอศาลขึ้นเบี้ยประกันอิสรภาพ (2553)

ศาลยังเงียบ บริษัทประกันขอขึ้นเบี้ยประกันอิสรภาพ เหตุเสี่ยงสูงผู้ต้องหาหนีประกันแหล่งข่าวจากคณะทำงานส่งเสริมการประกันภัยอิสรภาพ สมาคมประกันวินาศภัย เปิดเผยว่า หลังจากที่บริษัทประกันภัยได้ทำหนังสือถึงศาลอาญา เพื่อขออนุมัติปรับขึ้นเบี้ยประกันอิสรภาพ เพราะมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากผู้ต้องการที่ซื้อประกันหนีคดีสูงมากขึ้น ทำให้บริษัทที่รับประกันขาดทุนมาก

ปัจจุบันเบี้ยประกันอิสรภาพอยู่ที่ 7% ของวงเงินความคุ้มครอง ถือว่าต่ำมาก และยังมีส่วนลด 10% หากลูกค้ามีผู้ค้ำประกัน และถ้าคดีสิ้นสุดและลูกค้าเป็นฝ่ายถูกจะคืนเบี้ยให้อีก 20% แต่เนื่องจาก ที่ผ่านมาอัตราค่าสินไหมทดแทนของประกันอิสรภาพทั้งระบบและค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมกันแล้วสูงถึง 200% ของเบี้ยประกันภัยที่เก็บได้ ทำให้บริษัทประกันภัยประสบกับการขาดทุน

คณะทำงานส่งเสริมการประกันภัยอิสรภาพ สมาคมประกันวินาศภัย ได้ทำรายงานเรื่องต้นทุนและค่าใช้จ่ายเสนอต่อศาล เพื่อขอปรับราคาเบี้ยประกันภัยขึ้นให้ครอบคลุมต้นทุนที่เป็นจริง ศาลได้ให้ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) พิจารณาเรื่องอัตราเบี้ยประกันภัยใหม่ให้เหมาะสม ซึ่งคาดว่าจะทราบผลภายในสิ้นเดือนม.ค.นี้ แต่ขณะนี้เรื่องนี้เงียบไป จนน่าเป็นห่วงว่าถ้าอนุมัติล่าช้า อาจจะทำให้บริษัทที่รับประกันอิสรภาพมีน้อยลงเรื่อยๆ

การประกันภัยอิสรภาพเริ่มเปิดฉากทำตลาดเมื่อเดือนเม.ย. 2547 ซึ่งยอดขายในแต่ละปียังคงเพิ่มขึ้น โดยในปี 2551 ที่ผ่านมาจากข้อมูลจากคปภ. ระบุว่า ยอดจำหน่ายกรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพ มียอดผู้ซื้อกรมธรรม์ทั้งสิ้น 118,700 กรมธรรม์ เพิ่มขึ้น 0.56% เมื่อเทียบกับยอด ณ วันที่ 30 พ.ย. 2551 ซึ่งหากเทียบกับยอด ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2550 ที่มียอดผู้ซื้อกรมธรรม์ทั้งสิ้น 104,900 กรมธรรม์ ถือว่าเพิ่มขึ้นถึง 13.15% ดังนั้น ส่วนใหญ่ของการซื้อประกันภัยอิสรภาพยังเป็นยอดซื้อหลังกระทำความผิดมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วน 98% ของจำนวนกรมธรรม์ทั้งหมด ขณะที่การซื้อก่อนกระทำความผิดยังคงอยู่ที่สัดส่วน 2%

ปัญหาที่พบคือ นายประกันหรือผู้ที่เข้าไปหากินกับผู้ต้องหามีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสูง 10-15% และยังมีการเรียกเก็บค่ากรอกเอกสาร 500-1,000 บาท เรียกโฉนดที่ดินเป็นหลักประกัน หากลูกค้าหนีก็จะยึดหลักทรัพย์ที่นำมาค้ำประกันทันที ไม่มีการติดตามลูกค้า ทำให้มีกำไรจากการดำเนินการดังกล่าว

ฟินิกซ์ร้องถอยดีกว่า ลดขายประกันอิสรภาพ (2554)
ผู้ถือหุ้นใหม่ฟีนิกซ์ฯสั่งถอยตลาดประกันภัยอิสรภาพหลังรัฐส่งสัญญาณเลิกคนค้ำประกันทำความเสี่ยงตกที่บริษัทประกัน 100% เลิกรับรถสาธารณ จัดพอร์ตใหม่ เล็กๆ แต่มั่นคง

นายธีรชัย นิธิภัทรารัตน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทฟินิกซ์ ประกันภัย(ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ปี 2554 จะลดการรับประกันภัยอิสรภาพ ลง 50% เพื่อรองรับเงื่อนไขใหม่ของทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) ที่ส่งสัญญาณออกมาแล้วว่าจะทำการปรับเงื่อนไขการรับประกันภัย โดยจะไม่ให้มีคนค้ำประกันแก่ลูกค้าที่ซื้อประกันภัยอิสรภาพ ซึ่งจะทำให้บริษัทต้องรับความเสี่ยง 100% จากเดิมที่จะต้องมีคนค้ำประกัน ที่ต้องร่วมรับความเสี่ยงจากการที่ผู้ต้องหาหนีคดี ก็สามารถเรียกร้องค่าเสียหายนั้นจากผู้ค้ำประกันได้

ประกันภัยอิสรภาพหลังกระทำความผิด

เริ่มคุ้มครองนับตั้งแต่เริ่มประกันตัวจน ศาลชั้นต้น อุทธรณ์ ฎีกา ตัดสิน หรือจนคดีสิ้นสุด

คดีที่ไม่รับประกันภัย (ตัวอย่าง)

คดีพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาต่อองค์พระมหากษัตริย์
คดีจี้ ปล้น โดยใช้อาวุธ
คดีข่มขืน กระทำชำเรา และ อนาจาร
วิ่งราวทรัพย์
คดีฆ่าคนตายโดยมีหลักฐานชัดเจน

คดีที่รับประกันภัย (ตัวอย่าง)

ขับรถยนต์โดยประมาท
คดีละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น เพลง ภาพยนตร์
คดีปล้นทรัพย์ทางอากาศ เช่น แอบติดตั้งเสารับสัญญาณ
คดีประมาททางวิชาชีพ
คดีหมิ่นประมาท
คดีปลอมแปลงเอกสาร
คดีบุกรุกสถานที่
คดี พรบ.การพนัน

เอกสารประกอบการทำประกันภัย

ใบคำขอเอาประกันภัย และ รูปถ่ายผู้ต้องหา
สำเนาบัตรประชาชนผู้ต้องหา และ สำเนาบัตรประชาชน ผู้ถือกรมธรรม์ (กรณีไม่ใช่ผู้ต้องหาซื้อ)
หนังสือยินยอมเปิดเผยข้อมูล
เอกสารประกอบคดี
หนังสือสัญญาค้ำประกัน (อย่างน้อย 2 คน)
ใบข้อมูลเพิ่มเติม (ของผู้ต้องหา/ ผู้ถือกรมธรรม์/ ผู้ค้ำประกัน1/ ผู้ค้ำประกัน2)





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ

no related articles to display.




up arrow