การแจ้งต่อประกัน ทำกันยังไง?
การแจ้งต่อประกัน ต้องทำให้ถูกต้อง จะได้ไม่มีปัญหากัน
ระเบียบวิธีขั้นตอนในการต่อประกัน ขึ้นกับ นโยบายแต่ละบริษัทประกันภัย และ ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
- กรณีลูกค้าต่อประกันด้วยตัวเอง หรือ เดิมซื้อประกันภัยไม่ได้ผ่านตัวแทน
ในแบบมาตรฐาน ต่อประกันโดย แจ้งทางอีเมลไปยังบริษัทประกัน หรือ สามารถกดต่อประกันใน Application ที่ได้โหลดมา หากมี ก็ได้
ซึ่งการต่อประกัน กรณี ลูกค้า<> บริษัทประกัน โดยตรงจะไม่มีปัญหาเรื่องการปฎิเสธ ความผิดพลาดจากลูกค้าเพราะ เป็นคนกระทำการด้วยตัวเอง - กรณีต่อประกันผ่านนายหน้า/ตัวแทน
ในแบบมาตรฐาน ต่อประกันโดยตัวแทนแจ้งอีเมลไปยังลูกค้า และ ลูกค้าตอบกลับอีเมลมา ยืนยัน หรือ ประสงค์จะต่อประกัน จากนั้นตัวแทน/นายหน้า ก็ต่อประกันให้กับลุกค้าโดย อ้างอิงอีเมลนี้ หรือ ลูกค้าเซ็นชื่อในใบต่อประกันแล้วตัวแทน/นายหน้าก็นำใบเอกสารต่อประกันที่มีการเซ็นชื่อดังกล่าว แจ้งต่อประกันให้ไปยังบริษัททางอีเมล
ปัญหาจะเกิดขึ้นมีออะไรบ้าง?
ในบางบริษัทประกัน ก็ไม่จำเป็นต้องให้ลูกค้ายืนยันมา โดยบริษัทประกันจะถือเอาคำสั่งของตัวกลาง (นายหน้า/ตัวแทน) เป็นหลัก โดย Assume เอาว่า ตัวกลางได้คุยกับลูกค้าเรียบร้อยเเล้ว ดังนั้น ตัวกลางก็เพียงส่งอีเมล แจ้งต่อประกัน ไปยังบริษัทประกัน
การอ้างอิงโดยใช้การสนทนาทางไลน์ไม่สามารถใช้ได้ เนื่องจากบริษัทประกันมองว่า เป็นไปได้ที่อาจมีการปลอมบัญชี สร้างบัญชีขึ้นมา ต่างจากอีเมลที่จะต้อง hack mail เพื่อเข้าระบบ ซึ่งทำให้ยังไงแล้ว อีเมลก็ยังน่าเชื่อถือกว่า account ไลน์ ถ้าจะทำจริงๆ ก็สามารถสร้างอีเมลปลอมขึ้นมาได้ ซึ่งบริษัทประกันจะไม่ทราบ แต่ก็ไม่มีประเด็นทางกฏหมาย
เหตุผลหลักที่บริษัทประกันภัย บางแห่งต้องทำมาตรฐานเรื่องการต่อประกันที่เคร่งครัด ถูกต้องนี้เพื่อให้ไม่เป็นเหตุอ้างปฏิเสธในอนาคตได้ เช่น .. ลูกค้าบอกว่า
เขาไม่ได้ยินยอมต่อตัวแทนต่อประกันโยพละการ
ตัวแทนปกปิดข้อความสำคัญบางอย่าง เขาไม่ได้รับทราบ เช่น เบี้ยปรับ เงื่อนไขยกเว้นเพิ่มเติม มีการเปลี่ยนแปลงวงเงินคุ้มครอง มีการลดสิทธิ์ ลดผลประโยชน์ ตัวอย่าง :
ประกันรถ ซ่อมห้างเป็นซ่อมอู่ มีค่าเสียหายส่วนแรก
ประกันสุขภาพ มีการปรับเบี้ย มีการลดวงเงินผลประโยชน์
เมื่อเกิดเหตุลูกค้าต้องเคลมประกัน แล้วพบว่า ประกันที่ต่อไป มีข้อมูลไม่ตรงกับของเดิม (อาจจะไม่ทราบจริง หรือ แกล้งไม่ทราบ) ก็จะเกิดปัญหากับบบริษัทประกันได้ แม้ว่า เดิมทีที่เข้าใจกันว่า บริษัทประกันจะยึดถือคำสั่งของตัวกลาง (นายหน้า/ตัวแทน) เป็นหลัก แต่ในความเป็นจริง ในสัญญากรมธรรม์เป็การทำข้อตกลงระหว่าง ลูกค้ากับบริษัทประกัน บริษัทประกันจึงไม่อาจปัดไปให้กับตัวกลางได้ นั่นเอง
ในทางปฏิบัติ หรือ ในทางลับแล้ว ก็อาจมีวิธีการที่ทำให้การทำงานร่วมกันง่ายขึ้น (ไม่ขอกล่าวถึง) ระหว่าง
บริษัทประกัน > underwrite > จนท การตลาด <> จนท การตลาดแต่ละสายผลิตภัณฑ์ < ตัวกลาง (ตัวแทน/นายหน้า) > ลูกค้าประกัน