INSURANCETHAI.NET
Mon 18/11/2024 2:35:35
Home » Uncategorized » ขับชนแล้วหนี! คดีอาญา\"you

ขับชนแล้วหนี! คดีอาญา

2022/12/30 53600👁️‍🗨️

การชนแล้วหนีถือเป็นความผิดทางอาญา มีอายุความยาวนานถึง 15 ปีเลย
ส่วนมากมักออกมาอ้างภายหลัง ว่า กลับไปตั้งหลักที่บ้านเฉยๆ และมีอีกหลายกรณีที่ไม่สามารถตามหาผู้กระทำผิดได้อีกเลย

เมื่อขับรถประสบอุบัติเหตุ สิ่งที่จะต้องทำคือ หยุดรถเพื่อตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิด หากขับรถหลบหนีออกจากที่เกิดเหตุ
– อาจถูกสันนิษฐานว่าเป็นฝ่ายผิด หรือ ครอบครองสิ่งผิดกฎหมายใดๆ อยู่ภายในรถ
– เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.จราจรทางบก มาตรา 78 ที่ระบุว่า

“ผู้ใดขับรถหรือขี่หรือควบคุมสัตว์ ในทางซึ่งก่อให้เกิดความ เสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นความผิดของผู้ขับขี่ หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์หรือไม่ก็ตาม ต้องหยุดรถ หรือสัตว์ และให้ความช่วยเหลือตามสมควร พร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที กับต้องแจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของตน และหมายเลขทะเบียนรถแก่ผู้ได้รับความเสียหายด้วย”

พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 ระบุว่า
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน 78
กรณีที่ไม่มีผู้บาดเจ็บ หรือถึงแก่ชีวิต
จำคุก 3 เดือน หรือ ปรับ 2,000 – 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ- ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 2,000 – 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
– หากเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัส หรือตาย ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

กรณีมีผู้บาดเจ็บ หรือถึงแก่ชีวิต
จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ ปรับ 5,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การชนแล้วหนียังถือเป็นความผิดทางอาญา อายุความ15 ปี เจ้าหน้าที่ยังมีอำนาจยึดรถคันที่ใช้ขับหลบหนีได้ หากผู้ครอบครองรถยนต์คันเกิดเหตุไม่แสดงตัวต่อเจ้าหน้าที่ภายใน 6 เดือนนับแต่วันเกิดเหตุ ให้ถือว่ารถนั้นเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ใช้กระทำความผิดหรือเกี่ยวกับการกระทำความผิดและให้ตกเป็นของรัฐโดยทันที

การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บโทษหนักเป็นเบา มีประโยชน์ตอนขึ้นศาลอีกด้วย

เมื่อถูกชนแล้วหนี

  • เมื่อรถของคุณเกิดอุบัติเหตุแล้วคู่กรณีมีท่าทีว่าจะหนี ให้จำเลขทะเบียนรถไว้ใช้เป็นหลักฐาน / ใช้วีดีโอจากกล้องติดรถยนต์ของตัวเองเป็นหลักฐานได้
  • ให้โทรแจ้งไปยังบริษัทประกัน หากสามารถระบุหมายเลขทะเบียนของคู่กรณีได้ ทางบริษัทประกันจะทำการค้นหาและติดตามรถคันที่ก่อเหตุให้เอง และให้คุณเข้าแจ้งความที่สถานีตำรวจเพื่อนำใบบันทึกประจำวันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้เป็นหลักฐานประกอบการเคลม

สาเหตุที่ต้องแจ้งความ เพราะทางบริษัทประกันต้องระบุว่ามีเหตุการณ์ชนแล้วหนีเกิดขึ้นจริง คุณจึงจำเป็นต้องแจ้งความเพื่อลงบันทึกประจำวันไว้

จำเลขทะเบียนของคู่กรณีไม่ได้ และรถยนต์ของคุณไม่มีกล้องติดรถยนต์ ให้ตรวจสอบกล้องวงจรปิดในบริเวณที่เกิดเหตุ แล้วประสานงานไปยังหน่วยงานที่ดูแลกล้องวงจรปิดบริเวณนั้น เพื่อนำหลักฐานจากกล้องวงจรปิดไปแจ้งความที่สถานีตำรวจและแจ้งไปยังบริษัทประกัน

กรณีที่หาหลักฐานแล้วก็ยังไม่ทราบเลขทะเบียนของคู่กรณี คุณจะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกแบบ Excess เพราะถือว่าเป็นการชนแบบไม่มีคู่กรณี

(อาจมีบางกรณีคุณจำทะเบียนไม่ได้ ก็ให้ไปแจ้งความด้วย แม้จะไม่ครบเงื่อนไขการเคลมแต่พอคุยกับประกันได้ ขึ้นอยู่กับบริษัทประกันและตัวแทน/นายหน้า ที่จะช่วยเหลือคุณ ซึ่งแน่นอนว่าประวัติการเคลม และ ประวัติการทำประกันภัยกับบริษัทประกันอาจมีส่วนช่วยได้บ้าง แต่ก็อีกนั่นเเหละบางบริษัทประกันภัยที่เขี้ยวก็จะไม่ใช้ในการพิจารณา ดังนั้นเลือกบริษัทประกันภัยให้ดี และ จะดีมากถ้ามีตัวกลาง (ตัวแทน/นายหน้า) ที่ดูแลและให้คำปรึกษาเรา)

โดนชนแล้วหนี ประกันจ่ายไหม?

  • ประกันชั้น 1 รถยนต์ของคุณได้รับความคุ้มครองทุกกรณี ไม่ว่าจะระบุตัวคู่กรณีได้หรือไม่ได้ ระบุไม่ได้เสียค่า excess (บางกรณีอนุโลมได้ ขึ้นอยู่กับบริษัทประกันภัย ตัวกลางประกันภัย (นายหน้า/ตัวแทน))

    ไม่มีคู่กรณี เช่น รถยนต์เกิดความเสียหายขึ้นมาเองไมไ่ด้เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น เกิดรอยขีดข่วนที่หาสาเหตุหรือผู้กระทำไม่ได้ รวมถึงเหตุการณ์ทางธรรมชาติที่ส่งผลให้รถยนต์ของเราเกิดความเสียหาย ต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกภาคบังคับ (Excess) เพิ่มเติมเมื่อทำการเคลมประกันภัยชั้น 1 โดยส่วนใหญ่แล้วค่า Excess จะเริ่มต้นที่ประมาณ 1,000 บาท ต่อจุด หรือ ต่อเหตุการณ์ หากเยอะก็อาจเหมาจ่ายกันไปได้
  • ประกันชั้น 2+ คุ้มครองกรณีรถชนรถ หากเป็นยานหาพนะอื่นจะไม่คุ้มครอง และต้องระบุเลขทะเบียนรถของรถคู่กรณีให้ได้ จึงเคลมได้
  • ประกันชั้น 3+ คุ้มครองเช่นเดียวกับ 2+
  • ประกันชั้น 3 คุ้มครองเฉพาะรถของคู่กรณี รถคุณซ่อมเอง เพราะชั้น3 เบี้ยถูกมาก รถเก๋งพันปลายๆ – -“

ประเทศไทยอุบัติเหตุทางถนนสูงที่สุดในเอเชีย และเป็นอันดับ 2 ของโลก
สถิติ กระทรวงคมนาคม ปี 2563-2564 อุบัติเหตุบนถนน 32,190 ครั้ง
ปี 2563 จำนวน 21,052 ครั้ง
ปี 2564 จำนวน 11,138 ครั้ง

ถูกชนแล้วหนี ทำ 3 อย่างนี้

  1. ตั้งสติและจำทะเบียนของคู่กรณีให้ได้
    ตั้งสติ และลงมาดูสภาพรอยจุดที่โดนชน มากน้อยเพียงใด แต่ถ้าหากพบคู่กรณีกำลังจะขับหนี ให้จำทะเบียนรถของคู่กรณีหรือรายละเอียดต่าง ๆ ของคู่กรณีให้มากที่สุด ยี่ห้อรถ สีรถ ลักษณะของรถ เพราะจะมีส่วนช่วยให้เราติดตามได้ในภายหลัง หรือ จากกล้องติดรถ
  2. โทรหาบริษัทประกัน
    บริษัทประกันภัยจะสอบถามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อออกใบเคลมรถให้กับเรา
  3. ไปสถานีตำรวจ เพื่อลงบันทึกประจำวัน
    เพราะว่าทางบริษัทประกัน จะต้องระบุว่ามีเหตุการณ์ชนแล้วหนีเกิดขึ้นจริงๆ จึงจำเป็นต้องแจ้งความเพื่อลงบันทึกประจำวันไว้ ให้แจ้งรายละเอียดให้ชัดเจน เช่น ชนที่ไหน ชนเมื่อไหร่ ชนอย่างไร เป็นต้น

การเคลมประกันรถยนต์แบบไม่มีคู่กรณี หรือเรียกว่าการเคลมแห้ง ก็คือ การเคลมความเสียหายที่เกิดกับรถยนต์ของเราหลังจากที่เกิดเหตุไปแล้วสักช่วงเวลาหนึ่ง ส่วนใหญ่มักเป็นการเคลมแบบไม่มีคู่กรณี เช่น เฉี่ยวชนกำแพง ฟุตบาท ต้นไม้หรือเสาไฟฟ้าหรือเป็นการขูดขีดเล็กๆ น้อยๆ และไม่มีคู่กรณี  ที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ของเรา หรือตกลงกับคู่กรณีได้และแลกเอกสารชนแล้วแยกกับคู่กรณีแล้ว หรือรับใบหลักฐานยอมรับผิดจากคู่กรณีแล้ว

เคลมแห้ง หมายถึง การเคลมประกันภัยรถยนต์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมานานแล้ว เช่น เฉี่ยวชนประตูบ้าน ต้นไม้ ฟุตบาธ แต่ไม่ได้แจ้งกับบริษัทประกันในทันที ปล่อยให้เวลาเลยมาซักพักแล้วค่อยมาแจ้ง ปกติแล้วเคลมแห้งจะเป็นการเคลมแบบไม่มีคู่กรณี ต้องเสียค่า Excess ไม่ว่าเหตุที่เกิดขึ้นจะเกิดมาจากความประมาทของตนเอง หรือเกิดขึ้นจากผู้อื่น และไม่สามารถระบุตัวผู้ทำ การเคลมแห้งนั้นจะสามารถทำได้แค่เฉพาะประกันรถยนต์ชั่น 1 เท่านั้น

เคลมแห้งแบบไหนที่ ต้อง จ่ายค่าเสียหายส่วนแรก (Excess)

  • ขับรถเหยียบน๊อต ตะปู หรือของมีคมต่าง ๆ ทำให้ยางแตกหรือระเบิด
  • ก้อนหินหรือมีวัตถุต่าง ๆ ที่กระเด็ดมาโดนรถจนทำให้เกิดรอย
  • เฉี่ยวโดนกิ่งไม้ครูดหรือโดนกิ่งไม้ตกใส่รถจนทำให้เกิดความเสียหาย
  • ถูกกลั่นแกล้งโดยผู้ไม่ประสงค์ดี ขูด ขีด รถทำให้เกิดความเสียหาย
  • ถูกละอองสีไม่ทราบที่มาปลิวโดนรถ ต้องทำสีตัวถังใหม่
  • ขับรถตามหลังรถบรรทุกแล้ว ของจากรถบรรทุกนั้น ตกลงมาทำให้รถเสียหาย
  • รถลื่นไถลตกข้างทาง หรือตกหลุมครูดกับพื้นจนทำให้ได้รับความเสียหาย
  • เกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่ไม่สามารถระบุคู่กรณีได้

เคลมแห้งแบบไหนที่ ไม่ต้อง จ่ายค่าเสียหายส่วนแรก (Excess)

  • โดนชนแล้วหนีแต่สามารถแจ้งรายละเอียดคู่กรณีได้
  • ชนเสาบ้าน ประตูบ้าน กำแพง
  • ชนต้นไม้ เสาไฟฟ้า ราวสะพาน ทางเท้า
  • ชนคน ชนสัตว์ ชนสิ่งของ ป้าย

ค่าดีดัก (Deductible)

ค่าเสียหายส่วนแรกภาคสมัครใจ หรือค่าเสียหายส่วนแรกที่ระบุไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์ของผู้ทำประกันเฉพาะราย ตั้งแต่ 1,000-5,000 บาท (สามารถระบุได้) เมื่อแจ้งเคลมรถเสียหายแบบมีคู่กรณี และเป็นฝ่ายผิด ซึ่งจะได้ส่วนลดค่าเบี้ยประกันตามค่ารับผิดส่วนแรกที่ตกลงจ่าย ยกเว้นกรณีเป็นฝ่ายถูก และระบุตัวฝ่ายผิดได้ จะไม่ต้องจ่ายค่าดีดัก 

ค่าเอ็กเซส Excess

ค่าเอ็กเซส (Excess) คือ ค่าเสียหายส่วนแรกแบบบังคับ 1,000 บาท/เหตุการณ์ หรือ ต่อจุด
จ่ายเมื่อเคลมแบบไม่มีคู่กรณีหรือระบุคู่กรณีไม่ได้ หรือเกิดความเสียหายที่ไม่ใช่การชน/คว่ำตามประกาศ คปภ.

Excess กรณีรถได้รับความเสียหายที่ไม่ได้เกิดจากการชน/คว่ำ และ ไม่สามารถระบุรายละเอียดคู่กรณีได้ ยกเว้นกรณีรถชนกับคู่กรณีที่ไม่ใช่รถยนต์ และแจ้งรายละเอียดการเกิดเหตุได้ชัดเจน เช่น ชนรั้ว ต้นไม้ สัตว์ ก้อนหิน สิ่งของต่างๆ

ค่าดีดัก (Deductible) คือ ค่าเสียหายส่วนแรกแบบสมัครใจ
จ่ายตามตกลงกับบริษัทประกัน จ่ายเมื่อเคลมแบบมีคู่กรณี และเป็นฝ่ายผิด แต่จะได้รับส่วนลดเบี้ยประกันตามค่าดีดักที่ตกลงจ่าย

กรณีรถได้รับความเสียหายที่ไม่ได้เกิดจากการชน/คว่ำ

ความเสียหายจากการมุ่งร้าย/กลั่นแกล้ง

จ่ายค่า Excess ประกันกรณีรถได้รับความเสียหายจากร่องรอยการกระทำของบุคคล แต่ไม่สามารถระบุตัวผู้กระทำผิด รวมถึงวันเวลาเกิดเหตุ และสถานที่ที่รถได้รับความเสียหายได้อย่างชัดเจน

  • รถถูกบุคคลอื่นทุบทำลาย/ขูดขีดเสียหาย 

ความเสียหายจากการกระทบกับวัตถุ/สิ่งของ

จ่ายค่า Excess เมื่อรถได้รับความเสียหายเฉพาะพื้นผิวของสีรถ ไม่รวมกรณีความเสียหายบุบ แตก หรือร้าวของส่วนหนึ่งส่วนใดของตัวรถ หรืออุปกรณ์ในรถ และไม่รวมกรณีความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่ทำให้ส่วนหนึ่งส่วนใดของตัวรถ (ยกเว้นสีรถ) เสียหาย เช่น ความเสียหายจากเหตุน้ำท่วม ลมพายุพัดต้นไม้หรือกิ่งไม้หล่นใส่รถ เป็นต้น

  • รถถูกหินหรือวัสดุใดๆ กระเด็นใส่ 
  • รถเฉี่ยวกิ่งไม้ สายไฟฟ้า หรือลวดหนาม 
  • รถตกหลุมถนน 
  • รถครูดพื้นถนน
  • รถเหยียบตะปู หรือวัสดุมีคม
  • รถโดนละอองสีหรือวัสดุใดๆ
  • รถถูกวัสดุในตัวรถกระแทกหรือกรีดโดน
  • รถถูกสัตว์กัดแทะหรือขีดข่วน

กรณีรถได้รับความเสียหายจากการชน หรืออื่นๆ ที่ระบุคู่กรณีไม่ได้

  • รถถูกรถคันอื่นเฉี่ยวชน/ชนแล้วหนี
  • รถชนรถคันอื่นเสียหาย
  • รถลื่นไถลตกข้างทางแต่ไม่พลิกคว่ำ

เคลมแบบไหนต้องจ่ายค่าดีดัก (Deductible)?

ค่าเสียหายส่วนแรกแบบสมัครใจจ่าย (Deductible) จะจ่ายตามที่ตกลงไว้กับบริษัทประกันภัยและมีระบุไว้ในกรมธรรม์กรณีที่แจ้งเคลมความเสียหายอุบัติเหตุที่เป็นฝ่ายผิด หรือไม่มีคู่กรณี โดยอาจเป็นความเสียหายส่วนแรกจ่ายการใช้รถผิดเงื่อนไขกรมธรรม์ (ใช้รถผิดประเภท, ชื่อคนขับไม่ตรงกับที่ระบุไว้) การเคลมสีรอบคัน หรือการเปลี่ยนอะไหล่ที่มีการเสื่อมสภาพ

ค่าเสียหายส่วนแรก หรือค่า Excess ประกันคิดยังไง?

การคิดคำนวณค่าเสียหายส่วนแรกจะคิดตามจำนวนเหตุการณ์ความเสียหายที่เกิดขึ้น 1,000 บาทต่อเหตุการณ์ ไม่ใช่จำนวนชิ้นส่วนที่ได้รับความเสียหาย ตัวอย่างเช่น รถเฉี่ยวชน 1 ครั้ง เกิดความเสียหาย 2-3 จุด ต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก 1,000 บาท แต่หากรถบุบเสียหายจากหินกระเด็นใส่ และมีรอยถลอกจากการครูดพื้นถนน ต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก 2,000 บาท (2 เหตุการณ์)

กรณีรถได้รับความเสียหายที่ไม่ได้เกิดจากการชน/คว่ำ

ความเสียหายจากการมุ่งร้าย/กลั่นแกล้ง

จ่ายค่า Excess ประกันกรณีรถได้รับความเสียหายจากร่องรอยการกระทำของบุคคล แต่ไม่สามารถระบุตัวผู้กระทำผิด รวมถึงวันเวลาเกิดเหตุ และสถานที่ที่รถได้รับความเสียหายได้อย่างชัดเจน

  • รถถูกบุคคลอื่นทุบทำลาย/ขูดขีดเสียหาย 

ความเสียหายจากการกระทบกับวัตถุ/สิ่งของ

จ่ายค่า Excess เมื่อรถได้รับความเสียหายเฉพาะพื้นผิวของสีรถ ไม่รวมกรณีความเสียหายบุบ แตก หรือร้าวของส่วนหนึ่งส่วนใดของตัวรถ หรืออุปกรณ์ในรถ และไม่รวมกรณีความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่ทำให้ส่วนหนึ่งส่วนใดของตัวรถ (ยกเว้นสีรถ) เสียหาย เช่น ความเสียหายจากเหตุน้ำท่วม ลมพายุพัดต้นไม้หรือกิ่งไม้หล่นใส่รถ เป็นต้น

  • รถถูกหินหรือวัสดุใดๆ กระเด็นใส่ 
  • รถเฉี่ยวกิ่งไม้ สายไฟฟ้า หรือลวดหนาม 
  • รถตกหลุมถนน 
  • รถครูดพื้นถนน
  • รถเหยียบตะปู หรือวัสดุมีคม
  • รถโดนละอองสีหรือวัสดุใดๆ
  • รถถูกวัสดุในตัวรถกระแทกหรือกรีดโดน
  • รถถูกสัตว์กัดแทะหรือขีดข่วน

กรณีรถได้รับความเสียหายจากการชน หรืออื่นๆ ที่ระบุคู่กรณีไม่ได้

  • รถถูกรถคันอื่นเฉี่ยวชน/ชนแล้วหนี
  • รถชนรถคันอื่นเสียหาย
  • รถลื่นไถลตกข้างทางแต่ไม่พลิกคว่ำ

เคลมแบบไหนต้องจ่ายค่า Deductible

Deductible จะจ่ายตามที่ตกลงไว้กับบริษัทประกันภัยและมีระบุไว้ในกรมธรรม์
ฝ่ายผิด หรือไม่มีคู่กรณี เช่น การใช้รถผิดเงื่อนไขกรมธรรม์ (ใช้รถผิดประเภท, ชื่อคนขับไม่ตรงกับที่ระบุไว้) การเคลมสีรอบคัน การเปลี่ยนอะไหล่ที่มีการเสื่อมสภาพ

เคลมประกันไม่เสียค่า Excess ทำอย่างไร

ค่าเสียหายส่วนแรกทั้งแบบบังคับ (Excess) หรือแบบสมัครใจ (Deductible) ไม่ต้องจ่ายเมื่อแจ้งเคลมประกันจากการชนที่ทำให้รถความเสียหาย ระดับ บุบ แตก ร้าว อธิบายเหตุการณ์ได้ชัดเจน หรือระบุตัวคู่กรณีเพื่อให้บริษัทฯ ตามเรียกเก็บค่าเสียหายได้ และเป็นฝ่ายถูก เช่น ชนกับรถทั่วไป ชนเสาไฟฟ้า ชนคนวิ่งตัดหน้า รถพลิกคว่ำ (พลิกคว่ำเอง เคลมได้เฉพาะชั้น1)

การขออนุโลมค่า Excess

แจ้งขออนุโลมจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก หรือ ค่าเอ็กเซส (Excess) ได้ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงตามเงื่อนไขความคุ้มครองของกรมธรรม์ หรือความเสียหายที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง ตามเงื่อนไขแต่ละบริษัทฯ โดยต้องเป็นลูกค้าประวัติดี ไม่เคยเคลมมาก่อน และต่อประกันกับบริษัทฯ มาอย่างต่อเนื่อง แต่ต้องทำหนังสือขออนุโลมค่าเสียหายส่วนแรกไว้เป็นหลักฐานให้กับบริษัทฯ

ค่าเสียหายส่วนแรก ต้อง หัก ณ ที่จ่าย

ค่าเสียหายส่วนแรก หรือ เงินค่าซ่อมรถยนต์เป็นรายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์ที่จ่ายให้แก่บริษัทรับประกัน เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทค่าจ้างทำของตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร อันอยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 (3%) ตามข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 บริษัทฯ จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

รถจอดกีดขวาง ไม่มีความผิดฐานชนแล้วหลบหนี คือ จะมีความผิดฐานนี้ได้ ต้องขับรถ ไม่ใช่จอดรถ





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow