ข้าราชการรวมกลุ่มซื้อ ประกันสุขภาพ พ่วงลดภาษี
ขรก. 2 หมื่น รวมกลุ่มชง ส.วินาศฯ หาซื้อ ประกันสุขภาพ เอง ใช้บริการ รพ.เอกชน แถมใช้หักลดหย่อนภาษี
หลังจากที่ ครม.เห็นชอบให้สามารถ นำเบี้ย ประกันสุขภาพ หักลดหย่อนได้ 1.5 หมื่น ทำให้ข้าราชการบางกลุ่มสบช่อง เกิดการรวมกลุ่มจากหลายหน่วยงาน เบื้องต้นร่วม 2-3 หมื่นคน เตรียมควักเงินซื้อ ประกันสุขภาพ เองแล้ว หวังนำเบี้ย ประกันสุขภาพ มาลดภาษีได้ แถมยังได้เข้ารักษาตัว นอน รพ.เอกชนได้ เหตุสุดทนกับการใช้บริการ รพ.ของรัฐ ล่าสุดตั้งโจทย์ให้ สมาคมประกันวินาศภัยไทย ไปศึกษาหาแบบ ประกันภัย ที่เหมาะสม
แหล่งข่าวจากสมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ข้าราชการประมาณ 4-5 หน่วยงานราชการ ได้รวมกลุ่มกันในลักษณะสมาคมข้าราชการ ได้ติดต่อเข้ามายังสมาคมฯ เพื่อขอให้ศึกษาและจัดทำผลิตภัณฑ์ ประกันสุขภาพ ให้ โดยได้แจ้งว่ามีสมาชิกข้าราชการอยู่ประมาณ 20,000-30,000 ราย ที่ยินดีจะซื้อหรือจ่ายค่าเบี้ย ประกันสุขภาพ เอง เพื่อจะได้เป็นสวัสดิการใน การรักษาพยาบาล ให้กับตัวข้าราชการเอง โดยข้าราชการไม่อยากจะใช้บริการโรงพยาบาลของรัฐบาล ซึ่งค่อนข้างยุ่งยากในการเบิกจ่าย จึงอยากจะได้สิทธิสวัสดิการในเรื่องของ ค่ารักษาพยาบาล เพิ่มเติม โดยเฉพาะอยากจะนอนรักษาตัวใน โรงพยาบาลเอกชน ได้ อีกทั้งการซื้อ ประกันสุขภาพ ยังได้รับสิทธินำมาหักลดหย่อน ภาษีรายได้ เพิ่มเติมได้อีกด้วย หลังจากล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้ผ่านความเห็นชอบให้นำเบี้ย ประกันสุขภาพ มาหักลดหย่อน ภาษี ได้ในวงเงิน 15,000 บาท
“ทางกลุ่มข้าราชการที่รวมตัวกันครั้งนี้ อยากให้ทางสมาคมฯ ไปศึกษาและจัดทำโปรดักส์ออกมาให้พวกเขา เพราะเขาอยากทำและอยากจ่ายเบี้ย ประกันภัยเอง โดยไม่อยากไปติดต่อ บริษัทประกันภัย เจ้าใดเจ้าหนึ่งเดี๋ยวจะมีปัญหา เลยรวมตัวกันแล้วมาขอให้ทางสมาคมฯ ช่วยเรื่องนี้ โดยรูปแบบโปรดักส์ก็เอาเหมือนที่ ประกันสุขภาพ ขายทั่วไปในท้องตลาด เพียงแต่ถ้าซื้อกันเป็นกลุ่มและมีเบี้ย ประกันภัย พอร์ต ลูกค้าพอร์ตใหญ่ ประมาณ 2-3 หมื่นคน ค่าเบี้ย ประกันสุขภาพ ก็น่าจะถูกลงซึ่งเรื่องนี้ทางประธานกรรมการ ประกันภัย อุบัติเหตุส่วนบุคคลหรือพีเอ คงจะนำโจทย์ข้อนี้เข้าที่ประชุมคณะกรรมการ เพื่อหารือกันอย่างเร่งด่วนต่อไป”
ข้อสรุปร่วมระหว่าง สมาคมประกันวินาศภัยไทย กับทาง กรมสรรพากร
ประเด็นการนำเบี้ย ประกันสุขภาพ มาหักลดหย่อนได้ 1.5 หมื่นเพื่อจัดทำร่างประกาศกรมสรรพากรออกมา ในแนวทางเดียวกับการ ประกันสุขภาพบิดามารดา (ประกันภัยลูกกตัญญู) โดยมีหลักเกณฑ์ การให้ความคุ้มครองครอบคลุมทั้งหมด 4 ข้อ
1. ค่ารักษาพยาบาล อันเกิดจากการเจ็บป่วย การบาดเจ็บ การชดเชยทุพพลภาพ
2. การ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) ให้ความคุ้มครอง ค่ารักษาพยาบาล
3. การ ประกันภัย โรคร้ายแรง
4. การ ประกันภัย การดูแลระยะยาว
การชดเชยรายวันจะไม่อยู่ใน 4 เงื่อนไขนี้
ประกันสุขภาพ ที่มีการขายพ่วงอยู่แล้ว จะมีการแยกเบี้ยตามหมวดความคุ้มครอง
กรณีที่ บริษัทเอกชน ซื้อ ประกันสุขภาพ ให้กลุ่มพนักงาน โดยกรมสรรพากรได้ระบุให้ภาคเอกชนหรือ บริษัทประกันภัย ทุกบริษัท จะต้องจัดทำข้อมูลในส่วนของ เลขที่กรมธรรม์ ชื่อผู้เอา ประกันภัย และค่าเบี้ย ประกันสุขภาพ ที่ลูกค้าซื้อ และนำส่ง หรือแจ้ง ให้กรมสรรพากรรับทราบด้วย
เครดิต: เส้นทางนักขาย