ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พรบ)
ความคุ้มครอง ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พรบ)
ประกันภัยรถยนต์ มี 2 ประเภท คือ
1. ภาคบังคับ (หรือพรบ.)
2. ภาคสมัครใจ
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พรบ.)
ตารางความคุ้มครอง ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พรบ.)
ความคุ้มครอง วงเงินคุ้มครอง(บาท)
1. ค่าเสียหายเบื้องต้น ได้รับโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด
– ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ 15,000
– การเสียชีวิตภายหลังการรักษา 35,000
2. ค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น ผู้ประสบภัยจะได้รับภายหลังจากการพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้เป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดตามกฎหมาย มีวงเงินคุ้มครองรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นดังนี้
-ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ 50,000
-การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ ไม่ว่าจะมีการรักษาหรือไม่ 100,000
ส่วนลดเบี้ยประกันภัย
1.ผู้เอาประกันภัยต้องมีบุคคลค้ำประกันต่อบริษัทไม่น้อยกว่า 10% ของค่าเบี้ยประกันภัย
2.ผู้เอาประกันภัยมีหลักทรัพย์วางประกันรวมลดลงตามสัดส่วนราคาหลักประกัน
หมายเหตุ
1. จำนวนเงินจำกัดความรับผิดชอบ ต่อกรรมธรรม์ขั้นต่ำ 100,000 บาทสูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท
2. เบี้ยประกันภัยขั้นต่ำ ต่อกรรมธรรม์ 500 บาท
เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในเวลาซื้อประกัน
กรณีก่อนกระทำความผิด
1. สำเนาบัตรประชาชนหรือเสาเนาบัตรประจำตัวอื่นๆ
2. ต้องการกรอกรายละอียดในใบคำขอเอาประกัน
กรณีหลังกระทำความผิด
1. เอกสารแจ้งข้อกล่าวหา/สำเนาคำฟ้อง/คำพิพากษา
2. สำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาบัตรประจำตัวอื่นๆของผู้ต้องหาหรือจำเลย
3. ต้องกรอกรายละเอียดในใบคำขอเอาประกัน
4. สำเนาทะเบียนบ้าน
5. ใบรับรองการทำงานจากเจ้านาย
6. เอกสารลักษณะทางการเงิน (สมุดบัญชีเงินฝากเป็นต้น)
7. เอกสารแสดงสถานะทางครอบครัว (ทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนบ้านของคู่สมรส และ/หรือของบุตรเป็นต้น)
การคืนเบี้ย สามารถทำได้ดังนี้
1. ในกรณีซื้อประกันก่อนกระทำความผิด ต่อมาผู้เอาประกันเสียชีวิตลงและในระหว่างระยะเวลาเอาประกันไม่มีการเรียกร้องให้ตัวประกันตัว บริษัทฯจะคืนเบี้ยประกันภัยให้ตามอัตราเบี้ยประกันภัยระยะสั้นที่กำหนดใน
ตารางกรมธรรม์
2. ในกรณีซื้อประกันหลังกระทำความผิด มีระเบียบวิธีการคืนเบี้ยดังนี้
2.1 กรณีผู้เอาประกันภัยไม่ผิดสัญญาจนสิ้นสุดระยะเวลาเอาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยจะต้องขอรับหนังสือรับรองคืนจากศาลเพื่อนำไปแสดงขอรับค่าเบี้ยประกันภัยคืนจำนวนร้อยละ 20
2.2 กรณีผู้เอาประกันภัยไม่ผิดสัญญา แต่ได้เสียชีวิตก่อนสิ้นระยะเวลาประกันภัย ทายาทจะต้องขอรับหนังสือรับรองคืนจากศาลและนำไปแสดงต่อบริษัทฯ พร้อมใบมรณะบัตรเพื่อขอรับค่าเบี้ยคืนจำนวนร้อยละ 50
2.3 หากเจ้าพนักงานอนุญาตให้ประกันตัว แต่ภายหลังในระหว่างระยะเวลาประกันภัย เจ้าพนักงานในลำดับนั้น หรือในลำดับถัดมาได้มีคำสั่งให้ถอนหรือยกเลิกการให้ประกันตัวหรือผู้เอาประกันภัยไม่ประสงค์จะประกันตัว อีกต่อไปให้ผู้ประกันภัยนำหนังสือรับรองฉบับนั้นแสดงต่อบริษัทฯ เพื่อขอรับเบี้ยประกันภัยคืนจำนวนร้อยละ 20
2.4 กรณีเจ้าพนักงานไม่อนุญาตให้ประกันตัว บริษัทฯจะคืนเบี้ยให้แก่ผู้เอาประกัน โดยหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการไว้ 500 บาท
หมายเหตุ
1. การขอรับเบี้ยคืนทุกครั้งจะต้องนำหนังสือรับรองส่งคืนให้บริษัทฯ
2. ในกรณีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิต จะต้องนำใบมรณะบัตรมาด้วย
3. เมื่อหนังสือรับรองการประกันตัวถูกนำไปใช้ในการประกันตัวผู้เอาประกันแล้วบริษัทฯ จะยกเลิกหนังสือรับรองไม่ได้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด
4. ในกรณีที่ซื้อกรมธรรม์หลังกระทำความผิดผู้เอาประกันสามารถทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาซื้อประกันภัยได้