บริษัทประกันไม่รับสุขภาพและเพิ่มเบี้ยประกันชีวิต เพราะ มีค่าความดันโลหิตสูง
เคสผู้ขอเอาประกันชีวิต อายุ 30 ชายร่างกายแข็งแรง หลังแจ้งงาน สมัครทำประกันชีวิต และ สุขภาพ กับบริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันพิจารณารับประกันชีวิต แต่เพิ่มเบี้ย และ ไม่รับประกันสุขภาพ , ชดเชยรายได้ต่อวัน
เพิ่มเบี้ยประกันภัย อัตรา 4.41 บาท / ทุนประกันชีวิต 1000 บาท หมายความว่า ถ้าทำประกันชีวิตด้วยทุนประกัน 1 ล้าน จะต้องจ่ายเบี้ยเพิ่ม 4,410 บาท
ประกันชีวิต ทุนประกัน 100,000 เป็นแบบตลอดชีพ (ห่วงรักพรีเมียร์) เบี้ยประกัน 2,145 บาท / ปี จะต้องจ่ายเพิ่ม 441 บาท ซึ่งเป็น ข้อเสนอใหม่จากบริษัทประกันชีวิต และ ไม่รับสุขภาพ รวมถึง ชดเชยรายได้ต่อวัน
เคสดังกล่าว ตัวแทนสอบถามไปยังบริษัทฯ ขอทราบรายละเอียดในการพิจารณา เพื่อเก็บเป็นข้อมูลในการทำงานต่อไป ..
จากการสนทนาพบว่า บริษัทฯ พิจารณาไม่รับประกันสุขภาพและเพิ่มเบี้ย ด้วยเหุตุผลหลักเรื่องของ ค่าความดันโลหิต ที่สูงเกินปกติ ซึ่งเป็นเรื่องไม่ปกติสำหรับวัย 30 ซึ่งอาจอันตรายกว่า ผู้สูงวัย เพราะ ไม่ทราบว่าเกิดจากอะไร อาจจะต้องไปปรึกษาแพทย์และหาสาเหตุรักษาต่อไป ซึ่งการรักษาต้องดูแนวโน้ม ผลการรักษาว่าเป็นอย่างไร อาจจะใช้เวลาสัก 6 เดือนแล้ว จึงสมัครใหม่ก็ได้
ตัวแทนได้สอบพูดคุยถึงกรณีมีอาการชนิดหนึ่งที่จะมีค่าความดันเลือดสูงทุกครั้งเมื่อไปตรวจที่โรงพยาบาล จนท บริษัทประกัน ตอบว่า หากเป็นกรณีดังกล่าว ทางแพทย์ก็ต้องมีการระบุในประวัติ หรือ ต้องหาสาเหตุให้เจอ ถ้าไม่มีข้อมูลก็ไม่สามารถจะอ้างอิงใช้ได้ จะใช้ได้เฉพาะ สิ่งที่ได้เห็นเป็นหลักฐานอยู่ และที่เห็นคือ มีค่าคามดันเลือดสูงผิดปกติ ในอายุยังน้อย (กรณีผู้หญิง เคสค่าความดันสูงในสาเหตุอื่นที่เคยเจอเช่น เป็นผังผืดที่มดลูก ตัดออกก็หาย)
ผลประวัติการรักษา : ค่าความดันเลือดสูง 14x – 149
ผลตรวจสุขภาพ : ค่าความดันเลือดสูงสุดที่วัดได้ ถึง 158
ผลเลือด เกี่ยวกับตับ : ปกติ
ความดันเลือด (blood pressure : BP)
ความดันเลือดสำหรับผู้ใหญ่
หมวดหมู่ | ความดันช่วงหัวใจบีบ, mm Hg | ความดันช่วงหัวใจคลาย, mm Hg |
---|---|---|
ความดันเลือดต่ำ | < 90 | < 60 |
ปกติ | 90–119 | 60–79 |
ก่อนความดันเลือดสูง | 120–139 | 80–89 |
ความดันเลือดสูงระยะที่ 1 | 140–159 | 90–99 |
ความดันเลือดสูงระยะที่ 2 | 160–179 | 100–109 |
ภาวะฉุกเฉินเหตุความดันเลือดสูง | ≥ 180 | ≥ 110 |
ความดันเลือด หรือ ความดันเลือดแดง เป็นความดันที่เกิดจากเลือดหมุนเวียนกระทำต่อผนังหลอดเลือด และเป็นหนึ่งในอาการแสดงชีพที่สำคัญ
ความดันเลือด โดยไม่เจาะจง หมายถึง ความดันเลือดแดงของการไหลเวียนเลือดทั่วกาย ระหว่างหัวใจเต้นแต่ละครั้ง ความดันเลือดแปรผันระหว่างความดันสูงสุด (ช่วงการบีบตัวของหัวใจ) และความดันต่ำสุด (ช่วงหัวใจคลายตัว)
ความดันเลือดในการไหลเวียนเลือด เกิดจากการสูบของหัวใจเป็นหลัก ผลต่างของความดันเลือดเฉลี่ยเป็นผลให้เลือดไหลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในการไหลเวียนเลือด อัตราการไหลของเลือดเฉลี่ยขึ้นอยู่กับทั้งความดันเลือดและความต้านทานต่อการไหลของหลอดเลือด ความดันเลือดเฉลี่ยลดลงเมื่อเลือดไหลเวียนเคลื่อนห่างจากหัวใจผ่านหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดฝอย
การสูญเสียพลังงานกับความหนืด ทำให้ความดันเลือดเฉลี่ยลดลงตลอดทั้งการไหลเวียนเลือด แม้ส่วนมากจะตกลงในหลอดเลือดแดงเล็กและหลอดเลือดแดงจิ๋ว (arteriole) ความโน้มถ่วงมีผลต่อความดันเลือดผ่านแรงอุทกสถิต (คือ ระหว่างยืน) และลิ้นในหลอดเลือดดำ การหายใจและการสูบจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อลายยังผลต่อความดันในหลอดเลือดดำ
ความดันโลหิตสูงต่อหน้าชุดขาว (White Coat Hypertention)
ประชากรทั่วไปมีโอกาสจะพบภาวะโรคความดันโลหิตสูงขึ้นเมื่ออยู่ต่อหน้าหมอและพยาบาล ประมาณ 10% และอาจพบในผู้ป่วยอีก 30% และ แม้จะเป็นผู้ที่มีความดันโลหิตสูงขึ้นเมื่ออยู่ต่อหน้าหมอและพยาบาลก็ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาการโรคหลอดเลือดและการเสียชีวิตได้มากกว่าประชากรที่มีความดันโลหิตปกติอยู่ดี
ภาวะความดันโลหิตสูงเฉพาะเมื่อวัดต่อหน้าหมอ เพราะมีตัวแปรจากหลายสาเหตุ เช่น ช่วงเวลาการวัดความดัน ความเครียดความวิตกกังวล เฉพาะหน้า ทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานทันทีเพื่อเตรียมพร้อมที่จะต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลง เหมือนเรา ถูกตำรวจเรียก หรือครูเรียกไปว่ากล่าวตักเตือน เราก็จะตื่นเต้น ทำให้ มีความดันโลหิตสูงได้
เราจะรู้ได้ว่าเป็น White coat โดยการให้นั่งสงบสติอารมณ์ แยกออกมาสัก 5-10 นาที ร่างกายจะปรับตัวให้หัวใจเต้นช้าลง เพราะไม่ตื่นเต้นแล้ว หรือมีการพูดคุยกับ คนรอบข้างเพื่อคลายความวิตกกังวล ความดันโลหิตก็กลับลดลงได้เองเป็นปกติที่ควรเป็นโดยไม่ต้องทานยาลดความดัน ถ้าเข้าองค์ประกอบแบบนี้ ทางการแพทย์เราเรียกว่า White coat hypertension ได้
บางคนวัดที่โรงพยาบาลความดันโลหิตสูงตลอด แต่เมื่อวัดที่บ้านปกติ เรียกว่าเป็น White coat hypertension หมอชอบเรียกว่ายๆว่า โรคกลัวเสื้อกาวน์ กลุ่มนี้ก็คงต้องมีเครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้านว่ามากกว่าเท่ากับ 135/85 มม.ปรอท หรือไม่ (ความคลาดเคลื่อนของเครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติเกณฑ์จึงต่ำกว่า 5 มม.ปรอท)
ความดันโลหิตสูงในคนอายุน้อย
40 ปีขึ้นไป หลอดเลือดแดงขนาดเล็กเริ่มเสื่อม แต่ Lifestyle ทำงานนั่งโต๊ะ ไม่ออกแรง เครียด ไม่ออกกำลังกาย กินอาหารเค็มมัน กินผักผลไม้น้อย น้ำหนักตัวมาก และดื่มเหล้า โดยเฉพาะมีประวัติความดันโลหิตสูงในครอบครัวอยู่แล้ว ความดันโลหิตสูงจึงพบบ่อยขึ้นในคนอายุน้อย
สาเหตุของความดันโลหิตสูง ทั้งพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมข้างต้น ผู้ป่วยส่วนน้อย 5-10% เกิดจากโรคที่มีสาเหตุ ซึ่งกลุ่มนี้เมื่อรักษาโรคที่เป็นสาเหตุแล้ว จะทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ และอาจไม่ต้องกินยาลดความดันอีก เรียกว่า Secondary hypertension
อ่านเพิ่ม praram9.com/articles/ความดันโลหิตสูงในคนอาย/