คปภ.ออก 5 มาตรการเชิงรุก เพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านประกันภัย
คปภ.ดูแล ลูกค้า ประกันภัย
คปภ.ออก 5 มาตรการเชิงรุก เพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านประกันภัย
เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า…
ที่ประชุมคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและการมีส่วนร่วมด้านการ ประกันภัย ได้ออกมาตรการที่สำคัญ 5 ด้าน
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองผู้บริโภคด้าน ประกันภัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งตามแผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 3 และแผนกลยุทธ์องค์กร ในการเสริมสร้างความรู้ด้าน ประกันภัย แก่ประชาชน
1.ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยให้กับประชาชน
โดยเพิ่มกลไกการมีส่วนร่วมผ่านเครือข่ายให้มากขึ้น เน้นการทำงานแบบบูรณาการ รวมทั้งการลงพื้นที่ เพื่อสร้างความเข้าใจ และรับทราบสภาพปัญหาจากประชาชน ด้านการ ประกันภัย
2.ด้านการกำกับดูแลโฆษณาที่เกี่ยวกับประกันภัย เกินจริง
ซึ่งแม้จะมีกฎหมายคอยกำกับดูแลไว้แล้ว แต่เพื่อให้การกำกับดูแลการโฆษณาด้านการ ประกันภัย เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเห็นควรตั้งคณะทำงาน โดยเฉพาะเพื่อช่วยตรวจสอบประเด็นว่าจะเป็นการ โฆษณาเกินจริง หรือไม่ และพิจารณาเรื่องร้องเรียนในประเด็นที่เกี่ยวข้องด้วย นอกจากนี้ยังเห็นควรให้มีการทบทวนหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขตามประกาศ คปภ. หากเห็นว่ามีประเด็นที่ไม่ชัดเจน ก็ให้เสนอแก้ไขปรับปรุง รวมทั้งเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนด้วย
3.ด้านการแก้ไขปัญหาการร้องเรียนซ้ำซ้อน
กรณีเมื่อมีการร้องเรียนที่ คปภ. แล้วผู้ร้องเรียนไปร้องเรียนที่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ด้วย โดยเห็นควรให้ตั้งคณะทำงานร่วมระหว่าง คปภ. กับ สคบ. เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ และให้สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ คปภ. เป็นฝ่ายเลขานุการและผู้ประสานงาน
4.ด้านการคุ้มครองผู้พิการด้านการประกันภัย
เห็นควรให้สายตรวจสอบ คนกลางประกันภัย จัดทำคู่มือการเสนอขายผลิตภัณฑ์ ประกันภัย และปรับปรุงข้อสอบตัวแทน นายหน้าประกันภัย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้พิการ รวมทั้งประสานกับภาคอุตสาหกรรม ประกันภัย ในการส่งเสริมโอกาส ผู้พิการ ให้สามารถเข้าสู่อาชีพคนกลาง ประกันภัย เพิ่มขึ้น อีกทั้งมอบหมายให้สายกำกับผลิตภัณฑ์ ประกันภัย ส่งเสริมแบบผลิตภัณฑ์ ประกันภัย ใหม่ๆ สำหรับผู้พิการ
5.เน้นเรื่องการสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัย
มอบหมายให้สายส่งเสริมและ ประกันภัย ภูมิภาค รวมทั้งสายกลยุทธ์องค์กร ประสานกับผู้แทน กรมประชาสัมพันธ์ และสมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เพื่อแนะนำแนวทางการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้มีรูปแบบ และเนื้อหาการนำเสนอที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย มีรูปแบบที่เข้าถึง และเข้าใจได้ง่าย