INSURANCETHAI.NET
Mon 18/11/2024 2:25:53
Home » Uncategorized » ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ\"you

ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ

2021/03/24 3468👁️‍🗨️

การเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ

ปัญหาการเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ มียอดร้องเรียนมากเป็นอันดับ 1 เพราะบริษัทประกันไม่ยอมจ่ายค่าขาดประโยชน์ ประชาชนขาดความรู้ หรือมีการจ่ายในอัตราที่ต่ำ จึงเป็นสาเหตุให้ต้องมีการปรับเกณฑ์ใหม่

  • รถยนต์ส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 ที่นั่ง ขั้นต่ำวันละ 500 บาท
  • รถยนต์รับจ้างสาธารณะ ไม่เกิน 7 ที่นั่ง ชั้นต่ำวันละ 700 บาท
  • รถยนต์ เกินกว่า 7 ที่นั่ง ขั้นต่ำวันละ 1,000 บาท 

“หากฝ่าฝืน มีความผิดฐานขัดคำสั่งนายทะเบียน ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย อาจถือได้ว่าบริษัทจงใจฝ่าฝืนข้อตกลงแห่งสัญญาประกันภัย หรือข้อกำหนดหรือกฏเกณฑ์ใดๆ ที่มีความชัดเจนให้บริษัทมีหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหม ทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์หรือบุคคลผู้มีสิทธิ์เรียกร้องหรือได้รับความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัย

อันอาจเข้าข่ายเป็นความผิดตามสัญญาประกันภัย อันอาจเข้าข่ายเป็นความผิดฐานประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทน ซึ่งมีบทลงโทษในอัตราที่สูง ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท และถ้าเป็นกรณีการกระทำผิดต่อเนื่องให้ปรับอีกไม่เกินวันละ 2 หมื่นบาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่”


วิธีเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ

  1. ติดต่อบริษัทประกันของคู่กรณี (ฝ่ายผิด)
  2. บริษัทประกันคู่กรณีจะแจ้งเอกสารที่ต้องการ ให้ส่งไปยังบริษัทประกันของเขา เช่น

    ใบรายการความเสียหาย (ใบเสนอรายการความเสียหายของรถยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุ)
    ใบเคลม (ใบรับรองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สิน)
    เล่มทะเบียนรถยนต์ (สำเนา)
    ตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ (สำเนา) / พรบ (สำเนา)
    ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ (สำเนา)
    ใบรับรถ (หนังสือส่งมอบรถเมื่อเสร็จ)
    รูปถ่ายในขณะที่รถกำลังถูกซ่อม
    หนังสือเรียกร้องเกี่ยวกับสินไหม ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
    หน้าสมุดบัญชีธนาคาร (สำเนา)
  3. เจ้าหน้าที่บริษัทประกันฝ่ายคู่กรณี ทำการตรวจสอบ หากเรียบร้อยจะติดต่อกลับมาเพื่อแจ้งการพิจารณา หรือ เจรจา โดยทั่วไปจะให้ที่ ขั้นต่ำ
  4. หลังการตกลงต่าง ๆ จบลงใช้เวลาราว 7 วัน ก็จะได้ ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ

เอกสารประกอบการเรียกค่าขาดประโยชน์

1. ใบนำรถยนต์เข้าจัดซ่อม และ ใบรับรถยนต์ (ขอจากอู่)
2. สำเนาการจดทะเบียนรถ
3. สำเนาบัตรประชาชน
4. ใบเคลม
5. เอกสารประกอบการใช้รถยนต์แต่ละวัน (ถ้ามี)
6. ใบเสร็จค่าเช่ารถ (ถ้ามี)
7. กรมธรรม์ประกันภัย ของเรา
8. รูปถ่ายความเสียหาย
9. สำเนาใบขับขี่
10. สำเนาหน้าบัญชีธนาคาร
11. หนังสือค่าเสียประโยชน์จากการใช้รถ

cr.cymiz

รถจอดในอาคาร คู่กรณีขับชนกระชากป้ายทะเบียนหลุด กันชนเสียหาย รูน็อตฉีกขาด แล้วก็แอบเอากาวร้อน หรือ กาวช้าง มาติด

รถยนต์จอดไว้ในอาคารจอดรถ รถคู่กรณีมาเฉี่ยวชน ตรงกันชนหน้าเสียหาย กระชากป้ายทะเบียนหลุด รูน็อตที่กันชนป้ายทะเบียนฉีกขาดไม่สามารถใส่กลับคืนได้

  • ขณะเกิดเหตุการณ์ เจ้าของรถคันที่ได้รับความเสียหายไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุ
  • คู่กรณีใช้กาวช้าง หรือ กาวร้อนทาละเลงหวังจะติดป้ายที่หลุดฉีกขาดจากกันชนหน้า แต่ไม่สามารถติดเข้าไปได้ เพราะ รูน็อตป้ายทะเบียนฉีกขาด กาวดังกล่าวเลอะบริเวณกันชนโดยรอบ
  • รปภ แจ้งเจ้าหน้าที่อาคารติดต่อเจ้าของรถผู้เสียหาย / คู่กรณีแจ้งประกันของตัวเอง (ประกันชั้น1)
  • เจ้าของรถไปถึงที่เกิดเหตุ พบกันชนรถเสียหาย ป้ายหลุด
  • คู่กรณีขอเบอร์มือถือผู้เสียหาย เพื่อจะได้โทรตามเมื่อประกันของตัวเองมาถึง / ผู้เสียหายขึ้นไปบนที่พัก และโทรเเจ้งประกัน (ประกันชั้น3)
  • คู่กรณีโทรมาบอก ประกันของตัวเองมาถึงแล้ว (ชับบ์ประกันภัย) ผู้เสียหายลงไปที่ลานจอดรถ จังหวะนั้น ฝ่ายประกันของผู้เสียหายมาถึงพอดี (คุ้มภัยโตเกียวมารีน)
  • คู่กรณียอมรับผิด ประกันคู่กรณีออกใบเคลมให้ ความเสียหาย เป็นดังนี้
    – กันชนหน้า (มีรอยเดิม)
    – ป้ายบิดงอ (ประกันเปลี่ยนให้)
  • ประกันของผู้เสียหาย ถ่ายรูปและบันทึกข้อมูล
    (แม้ว่าเราจะทำประกันที่ไม่ใช่ชั้น3 ก็ควรโทรไป เพราะอาจจะมีประโยชน์ในภายหลังได้)
  • การเคลมชิ้นส่วนรถยนต์ที่เสียหาย ที่มีรอยเดิมประกันบริษัทดังกล่าวนี้ให้ ผู้เสียหายต้องจ่ายส่วนร่วม ซึ่งยังไม่ทราบว่าเท่าไร ต้องให้อู่ซ่อม ส่งเรื่องประเมินตีราคาเสนอซ่อม จึงจะทราบ
  • ผู้เสียหาย สอบถามประกันคู่กรณี มีอู่ใกล้ๆ แถวนี้ที่ไหนบ้าง
    ซึ่งต้องนำรถไปเข้าซ่อมที่อู่คู่กรณี ใช้สิทธิ์ประกันคู่กรณี
  • ผู้เสียหายขับไปอู่แรก ซึ่งดูเหมือนอู่พยายามจะไม่รับ และ อู่ของตนตอนนี้คิวยาวถึง มิถุนายน2021 แต่ก็ได้แนะนำว่า สามารถเรียกเป็นเงินสดได้ แทนการซ่อม แล้ว จ่ายส่วนร่วม โดยหักค่าส่วนร่วมออกไป รับเงินสดส่วนที่บริษัทประกันจะให้
  • ผู้เสียหายโทรสอบถามอู่ในเครืออื่นๆ ของประกันดังกล่าว จนได้ข้อมูลแล้วเดินทางไปที่อู่นั้น อู่ดังกล่าวก็ดูเหมือนว่า จะไม่อยากรับเหมือนกัน แต่หลังจากพูดคุยกันก็ทราบว่า ที่ไม่เป็นเช่นนี้เพราะ อู่มักจะไม่รับเคสที่มีรอยเดิม เนื่องจาก ไม่อยากจะทะเลาะกับลูกค้า ผู้เสียหายก็เข้าใจและทราบขั้นตอนดี เจ้าหน้าที่ของอู่ ก็ตกลง จึงถ่ายรูปความเสียหายรถและดำเนินการขอเอกสาร ส่งต่อให้น้องในออฟฟิศทำต่อไป
  • สองวันต่อมา อู่ติดต่อแจ้งผล ต้องจ่ายส่วนร่วม 900 และ ประกันอนุมัติกันชนหน้ามือหนึ่งของเทียบไต้หวัน
    (ช่วงนี้ ส่วนมากลูกค้าอู่จะโวยวายแล้วทะเลาะกับอู่ เป็นเหตุผลว่าทำไมอู่ไม่ค่อยอยากรับ)
  • ผู้เสียหายโทรไปบริษัทประกันคู่กรณี เพื่อคุยเรื่องของ ชิ้นส่วนอะไหล่ ที่เป็นของเทียบไต้หวัน สรุปได้ ของแท้ศูนย์ แต่ต้องเพิ่มเงินอีก 800 โดยประกันจะจ่ายเพิ่มให้ 1000 เพราะ กันชนมือหนึ่งของเทียบไต้หวัน 1000 ของแท้ 2800

รถเข้าซ่อมวันที่ 19/3/2021
https://www.insurancethai.net/3rd-class-hit-by-1st-class-insurance/

สรุป

  • เจ้าหน้าที่สำรวจภัยของ โตเกียวมารียนคุ้มภัย มาเร็วกว่า ของชับบ์ เพราะโทรช้ากว่า แต่ประกันทั้งสองก็ถือว่าไม่ช้า
  • เวลาจอดรถ เราสามารถลดความเสี่ยงการถูกชนโดยจอดในจุดที่มีการถอยเข้าออกหรือรถขับผ่านน้อยที่สุด
  • แม้เราจะไม่มีประกัน ถ้าเราเป็นฝ่ายถูก เราย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฏหมาย ว่าด้วยเรื่องของการละเมิด แต่หากคู่กรณีมีประกัน และยอมรับผิด ก็จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหาย
  • แม้เราจะเป็นฝ่ายถูกและคู่กรณียอมรับผิด และเรามีประกันชั้น3 ก็ควรโทรให้มาที่เกิดเหตุ ซึ่งถ้าเป็นบริษัทที่บริการดีมีคุณภาพ เขาจะมาดูให้ อย่างน้อยก็จะเก็บข้อมูลที่เกิดเหตุอันจะเป็นประโยชน์ในภายหลังได้ ( แต่ก็อาจมีประกันบางแห่งไม่ยอมมาก็ได้ ประกันยี่ห้อนั้น อย่าไปทำนะ)




สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow