INSURANCETHAI.NET
Sat 18/01/2025 17:12:11
Home » อัพเดทประกันภัย » ค่าต๋ง บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทประกันชีวิต !?\"you

ค่าต๋ง บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทประกันชีวิต !?

2008/07/29 1792👁️‍🗨️

ค่าต๋ง = ค่าธรรมเนียม

(2550)
คลังเคาะค่าต๋งบริษัทประกัน วินาศภัย 0.27% ประกันชีวิต 0.3%

คลังเร่งกำหนดค่าธรรมเนียมการจ่ายเงินสมทบกองทุนธุรกิจประกันภัย เล็งธุรกิจประกันวินาศภัย 0.27% ส่วนธุรกิจประกันชีวิต 0.1-0.3% ของเบี้ยประกันภัย แล้วแต่ประเภท ส่วนบอร์ด คปภ.สามารถตั้งภายใน 60 วัน

นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังเตรียมเสนอวาระเร่งด่วนในการกำหนดค่าธรรมเนียมการจ่ายเงินสมทบกองทุนคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) โดยธุรกิจรับประกันวินาศภัย มีภาระต้องจ่ายสมทบเงินเข้ากองทุนโดยเฉลี่ย 0.27% ขณะที่ธุรกิจประกันชีวิต มีภาระที่จะต้องจ่ายสมทบเงินกองทุนตั้งแต่ 0.1-0.3% ของเบี้ยประกันภัย แล้วแต่ประเภทของการประกันชีวิต

“เราได้ประชุมคณะเตรียมการจัดตั้งสำนักงาน คปภ.คาดว่า กฎหมายดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ในอีก 1-2 วัน หลังจากลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา และเรื่องเงินสมทบกองทุนตามกฎหมาย จะเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะพิจารณา” นายศุภรัตน์ กล่าวภายหลังประชุมร่วมกับ นางจันทรา บูรณฤกษ์ อธิบดีกรมการประกันภัย การพิจารณาวาระดังกล่าว จะมีขึ้นภายหลังการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ นอกเหนือจากคณะกรรมการโดยตำแหน่ง ซึ่งจะต้องสรรหาให้ครบตามจำนวนภายใน 60 วัน

“ในเบื้องต้นคณะกรรมการจะประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลังดำรงตำแหน่งเป็นประธาน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และธนาคารแห่งประเทศไทย จนกว่าจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะมีผู้ทรงคุณวุฒิ 6-8 คนมาเพิ่มเติม”

นางจันทรา บูรณฤกษ์ อธิบดีกรมการประกันภัย กล่าวว่า เงินสมทบกองทุน คปภ.ในส่วนธุรกิจประกันวินาศภัยจะมีภาระเฉลี่ยเพียง 0.27% จากที่กฎหมายให้อำนาจเก็บได้ถึง 0.5% โดยอยู่ภายใต้หลักการว่าจะต้องไม่เป็นภาระของผู้บริโภค แต่เป็นภาระของผู้ประกอบธุรกิจเอง

รายละเอียดภาระการจ่ายเงินสมทบเงินกองทุน คปภ.ในธุรกิจประกันวินาศภัย แบ่งเป็นการเก็บจากเบี้ยประกันไม่เกิน 1 พันล้านบาท อยู่ที่ 0.3% ของเบี้ยประกัน, มากกว่า 1 พันล้านบาท แต่ไม่เกิน 5 พันล้านบาท อยู่ที่ 0.25% และเก็บจากเบี้ยประกันที่รับตรงแต่เกิน 5 พันล้านบาทขึ้นไป อยู่ที่ 0.2% ธุรกิจประกันชีวิตจัดเก็บ 0.3% สำหรับเบี้ยประกันในปีแรก และ 0.15% ในปีถัดไป สำหรับการจ่ายเบี้ยประกันครั้งเดียวจะเรียกเก็บ 0.15% และ 0.1% สำหรับเบี้ยประกันประเภท universal life จะมีผลบังคับที่จะต้องส่งสมทบตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2551

ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ.คปภ.ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แล้ว และขณะนี้อยู่ระหว่างรอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะทำให้กรมการประกันภัยต้องแปลงสภาพเป็นองค์กร ขึ้นตรงกับกระทรวงการคลัง

(2559)
ประกันภัย ตื่นเล็งถกลดค่าต๋ง

สิ้นปีนี้เบี้ย ประกันภัย รับราว 2.05 แสนล้านบาท เงินสมทบสูงตามไปด้วย เงินสมทบเป็นค่าธรรมเนียม ส่งให้แก่ คปภ. สร้างต้นทุนแก่ธุรกิจประกันภัยมากขึ้น

ประกันภัย ตื่นถกส่งเงินสมทบเข้า คปภ. เตรียมหารือสมาคมประกันวินาศภัยขอลดค่าต๋งปีหน้า เหตุจัดเก็บเต็มแม็กซ์ในอัตรา 0.7-0.8% ดันเงินกองทุนฯ แตะ 600 ล้านบาท แต่ระยะ 2-3 ปีนี้ธุรกิจขยายตัวแบบก้าวกระโดด เพิ่มภาระนำส่งเงินสมทบสูงเกิน ยกเคสรายเล็กเกือบ 10 ล้านต่อปี รายกลาง-ใหญ่แตะพันถึงหลักหมื่น ดันต้นทุนมาก

ภายหลังจากกรมการ ประกันภัย ดำเนินการจัดตั้ง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) ขึ้นพร้อมกำหนดงบประมาณเบื้องต้นของการดำเนินงานไว้ที่ 600 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายประจำเดือนของ คปภ. ซึ่งที่มาของงบประมาณดังกล่าว ส่วนใหญ่มาจากการเรียกเก็บเงินสมทบจากบริษัทประกันวินาศภัยในอัตรา 0.7-0.8% ของขนาดเบี้ย ประกันภัย นั้น

ข่าวจากธุรกิจ ประกันภัย รายหนึ่งเปิดเผยว่า ที่ผ่านมา 2-3 ปี ธุรกิจประกันวินาศภัยเติบโตเฉลี่ยเกิน 10% ต่อปี และที่ชัดเจนในปี 2555 อัตราเติบโตกว่า 27% คาดว่าสิ้นปีนี้จะมีอัตราเติบโตที่ 15% เป็นเบี้ย ประกันภัย รับราว 2.05 แสนล้านบาท และหากดูผลประกอบการของบริษัท จะทำให้การนำส่งเงินสมทบสูงตามไปด้วย เช่น บริษัทรายเล็กจะมีการนำส่งเงินสมทบเข้า คปภ. อยู่ในระดับสูง 7-8 ล้านต่อปี ส่วนบริษัทขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มีสัดส่วนเบี้ย ประกันภัย นำส่งสมทบหลายพันล้าน หรือมากกว่าหมื่นล้านบาท ปัจจุบันเริ่มมีผู้ประกอบการหลายรายกังวลถึงอัตราการส่งเงินสมทบ โดยระบุว่าเป็นค่าธรรมเนียม หรือเงินปากถุงที่ต้องส่งให้แก่ คปภ.ทุกปี เมื่อประเมินแล้วหาก คปภ. ยังใช้อัตราการส่งเงินสมทบดังกล่าว เท่ากับเมื่อ 6-7 ปีที่ผ่านมา ตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัยปี 2551 ที่กำหนดให้เก็บเงินสมทบในอัตราดังกล่าวต่อไปนั้น เชื่อว่าจะสร้างต้นทุนให้แก่ธุรกิจประกันวินาศภัยมากขึ้น ซึ่งเร็วๆ นี้จะมีการเสนอเรื่องไปยังสมาคมประกันวินาศภัยไทย เพื่อเป็นตัวกลางในการเสนอแก่ คปภ. ให้พิจารณาปรับลดสัดส่วนเงินสมทบลง

ขณะที่ข้อมูลจากสมาคมประกันชีวิตไทย สะท้อนถึงอัตราการเติบโตของเบี้ยประกันชีวิตรับรายใหม่จาก 23 บริษัทประกันชีวิตในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-ต.ค. 56) คิดเป็นเบี้ย ประกันภัย รับปีแรก 7.72 หมื่นล้านบาท และเบี้ย ประกันภัย จ่ายครั้งเดียว 4.66 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้เบี้ยประกันชีวิตรายใหม่อยู่ที่ 1.23 แสนล้านบาทจากสัดส่วนเบี้ยประกันชีวิต ซึ่งการสมทบเป็นเงินให้แก่ คปภ.จะเฉลี่ยที่ 0.1-0.2% จากฐานเบี้ย ประกันภัย ใหม่ โดย 10 เดือนคาดว่ามีเบี้ย ประกันภัย ใหม่ไม่ตํ่ากว่า 1.5 แสนล้านบาทแล้ว

ชี้ข้อแตกต่างของธุรกิจประกันชีวิตและวินาศภัย คือ …
ประกันชีวิตมีสัดส่วน เบี้ยประกันภัยต่ออายุ มากกว่าเบี้ย ประกันภัย รับใหม่ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 30%
ประกันวินาศภัยมี เบี้ยประกันภัยรับใหม่ เกือบ 100% เนื่องจากเป็นสัญญา ประกันภัย แบบปีต่อปี
บริษัทประกันวินาศภัย ต้องส่งเงินสมทบหลายส่วน
– ส่งเข้า คปภ.
– กองทุนประกันวินาศภัย
– สมาคมประกันวินาศภัยไทย
– สำนักอัตราเบี้ย ประกันภัย

การนำส่งเงินเข้ากองทุนจะเป็นหลักประกัน เพราะที่ผ่านมาการเก็บสมทบในอัตราสูง ก็เพื่อป้องกันว่าหากมีบริษัท ประกันภัย รายใดล้ม หรือปิดกิจการ กองทุนฯ สามารถเข้าชดเชยความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยได้ อย่างไรก็ตาม วงในตั้งข้อสังเกตว่า การขอปรับลดอัตราเงินนำส่งสมทบนั้น อาจทำได้ค่อนข้างยาก





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ

no related articles to display.




up arrow