INSURANCETHAI.NET
Mon 18/11/2024 2:48:08
Home » Uncategorized » ซื้อ พ.ร.บ. และ ต่อภาษีรถยนต์ ล่วงหน้า / ย้อนหลัง ได้ไหม ?\"you

ซื้อ พ.ร.บ. และ ต่อภาษีรถยนต์ ล่วงหน้า / ย้อนหลัง ได้ไหม ?

2023/05/06 651875👁️‍🗨️
  • พ.ร.บ. รถยนต์ ไม่สามารถซื้อคุ้มครองย้อนหลังได้ แต่สามารถซื้อและกำหนดวันคุ้มครองล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 วัน
  • การต่อภาษีรถยนต์ ต่อภาษีล่วงหน้า ได้ไม่เกิน 90 วัน และ ต่อย้อนหลังได้ กรณีที่จ่ายล่าช้า ค่าปรับ 1% ต่อเดือน จากค่าภาษีรายปีที่ต้องจ่าย เช่น ค่าภาษีรถปีละ 1000 บาท จะโดนค่าปรับล่าช้า เดือนละ 10 บาท แต่หากขาดต่อเกิน 3 ปี จะถูกยึดเลขทะเบียน ต้องติดต่อกับทางกรมขนส่ง เพื่อยื่นเรื่องทำป้ายทะเบียนใหม่

ค่าต่อภาษีรถยนต์ เท่าไร ?


การต่อภาษีรถยนต์ หรือ การชำระค่าภาษีรถยนต์ ประจำปี คำนวณจาก ประเภทรถยนต์ 3 ประเภทหลักๆ

1.รถยนต์ส่วนบุคคลนั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง, รถกระบะ 4 ประตู)
คำนวณจาก ขนาดเครื่องยนต์ (ซีซี) และ อายุรถ(อายุรถมาก ภาษีรถถูกลง โดย 5 ปีแรก จะต้องจ่ายค่าภาษีราคาเต็ม แบบไม่มีส่วนลด ปีที่ 6 -10 ค่าภาษีจะถูกลงเรื่อยๆ ลดลงไปปีละ 10% )
600 ซีซีแรก 0.50 บาท ต่อ ซีซี
601 – 1,800 ซีซี ละ 1 บาท 50 สตางค์
มากกว่า 1,800 ซีซี ละ 4 บาท
หากเป็นรถที่เราใช้มาเกิน 5 ปีแล้ว ในปีถัดไปสามารถนำมาลดหย่อนภาษีรถยนต์ได้ตามนี้
อายุรถปีที่ 6 ลดหย่อนได้ ร้อยละ 10
อายุรถปีที่ 7 ลดหย่อนได้ ร้อยละ 20
อายุรถปีที่ 8 ลดหย่อนได้ ร้อยละ 30
อายุรถปีที่ 9 ลดหย่อนได้ ร้อยละ 40
อายุรถปีที่ 10 และปีต่อ ๆ ไป ลดหย่อนได้ ร้อยละ 50
2.รถกระบะบรรทุก (รถกระบะ 2 ประตู) คำนวณจาก น้ำหนักรถ (kg)
3.รถยนต์ส่วนบุคคล นั่งเกิน 7 คน คำนวณจาก น้ำหนักรถ (kg)

ใบ ตรอ. (ใบตรวจสภาพรถ) ใช้กับรถประเภทไหน

ใบตรอ. คือ ใบตรวจสภาพรถ ที่ออกโดย สถานตรวจสภาพรถเอกชน (สัญลักษณ์กลมๆ มีรูปฟันเฟือง สีเหลืองๆ เขียนคำว่า ตรอ.) เป็นเอกสารที่ใช้แนบในการ ต่อภาษีรถยนต์ประจำปี สำหรับรถที่อยู่ในเงื่อนไขดังนี้
– รถยนต์ที่มีอายุ เกิน 7 ปี ขึ้นไป
– รถจักรยานยนต์ (มอเตอร์ไซค์) ที่มีอายุ เกิน 5 ปี ขึ้นไป
– รถที่ขาดต่อภาษี หรือ จ่ายภาษีล่าช้า เป็นระยะเวลาเกิน 1 ปี
– รถที่มีการติดตั้งใช้งานระบบแก๊ส (LPG , NGV)

การต่อภาษีรถยนต์ ต้องใช้เอกสารอะไร

การต่อภาษีรถยนต์ หรือ การชำระค่าภาษีรถยนต์ ประจำปี เอกสารหลักๆ 3 อย่าง

– สมุดคู่มือจดทะเบียน หรือ สำเนารายการจดทะเบียน
– พรบ รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ (วันหมดอายุ ต้องเหลือมากกว่า 90 วัน)
-ใบ ตรอ. หรือ ใบตรวจสภาพรถยนต์ (สำหรับรถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปี รวมถึง รถยนต์ที่ติดตั้งแก๊ส)

ป้ายภาษีรถยนต์ vs พรบ รถยนต์

ป้ายภาษีรถยนต์คืออะไร?
ป้ายภาษีรถยนต์ ต้องต่อทุกปีตามที่กฎหมาย หากไม่ต่อภาษีรถยนต์ติดต่อเกิน 3 ปี ถูกระงับทะเบียนรถ อาจจะต้องเสียเวลานำรถไปจดทะเบียนภาษีรถยนต์ใหม่อีกครั้ง จึงจะได้ป้ายภาษีเก่ากลับมา เมื่อนำรถไปจดทะเบียนภาษีใหม่อาจถูกเก็บภาษีย้อนหลัง (มีบางปีที่ กรมขนส่งประกาศให้ไม่ต้องเสียภาษีย้อนหลัง เพื่อจูงใจให้เข้ามาต่อภาษีเกิดรายได้กับรัฐ ) ต่อภาษีรถยนต์ได้ก่อนหมดอายุไม่เกิน 3 เดือนหรือ ต่อล่วงหน้าได้ 3 เดือนนั่นเอง และจะต้องทำ พรบ รถยนต์ ก่อนต่อภาษี เพราะถ้าหากโดนตรวจพบว่าไม่มีป้ายสี่เหลี่ยมติดที่รถ ปรับ 400-1,000 บาท

พ.ร.บ. รถยนต์ คืออะไร?
พ.ร.บ. รถยนต์  ประกันภัยภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ทุกคันต้องทำ (บังคับทำ ไม่ทำผิดกฏหมาย) หากรถคันไหนไม่มี พรบ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท  และ พรบ รถยนต์ เป็นเอกสารที่ต้องใช้ในการต่อภาษีรถยนต์

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้พูดถึงเหตุผลในการประกาศใช้กฎหมายว่า การที่รัฐออกกฎหมายกำหนดให้รถทุกคันต้องจัดให้มีประกันภัยอย่างน้อยที่สุด คือ การทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
– เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต เพราะเหตุ ประสบภัยจากรถ โดยให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที กรณีบาดเจ็บ หรือช่วยเป็นค่า ปลงศพ กรณีเสียชีวิต
– เป็นหลักประกันให้โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลในการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ
– เป็นสวัสดิสงเคราะห์ที่รัฐมอบให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความเสียหายเพราะเหตุประสบภัยจากรถ
– ส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกันภัยเข้ามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยและครอบครัว”

พรบ ใช้คุ้มครองค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ประสบภัยจากรถยนต์ โดยคุ้มครองเกี่ยวกับคนเท่านั้น ไม่คุ้มครองทรัพย์สิน
(ลักษณะของใบเอกสาร จะปริ้นท์อยู่บนกระดาษขนาด A4 ขอบข้างมีแถบสีเงิน) เป็นเอกสารที่ใช้ในการ “ต่อภาษีรถยนต์” ประจำปี ถ้าไม่มีใบ พรบ. ก็จะไม่สามารถต่ออายุของป้ายภาษีรถยนต์ได้

ป้ายภาษีรถยนต์ เป็นเอกสาร ที่แสดงให้เห็นถึงการต่อภาษีรถประจำปี อย่างถูกต้องกับทางกรมขนส่ง ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ โดยแผ่นป้ายภาษีรถยนต์ จะมีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมเล็กๆ มักติดอยู่ที่กระจกรถ

พรบ รถยนต์ แต่ละบริษัท ราคาต่างกัน คุ้มครองต่างกันหรือไม่ ?

ความคุ้มครองที่เหมือนกันทุกอย่าง เพราะถูกกำหนดด้วยกฎหมายเดียวกัน โดยมีการควบคุมราคามาตรฐานภายใต้หน่วยงานคปภ. ไม่ให้บริษัทประกันภัย หรือ ตัวแทนนายหน้าประกันภัย ขายเกินราคาที่กำหนด คือ จะขายถูกก็ได้ หรือ จะแจก ก็ไม่มีใครว่า เพราะ ประชาชนได้ประโยชน์

  • 645 บาท  สำหรับ รถเก๋ง, รถกระบะ 4 ประตู (รถยนต์ส่วนบุคคลนั่งไม่เกิน 7 คน)
  • 967 บาท  สำหรับ รถกระบะบรรทุก ไม่เกิน 3 ตัน
  • 1182 บาท สำหรับ รถตู้ (รถยนต์ส่วนบุคคลนั่งเกิน 7 คน)

ต้องทำ พ.ร.บ. รถยนต์ให้เสร็จก่อนต่อภาษี คุณจะได้ป้ายภาษีสีเหลี่ยมมาติดหน้ากระจกรถ หากเจ้าหน้าที่พบคุณไม่มีป้ายภาษีจะมีโทษปรับ 400-1,000 บาท ส่วนค่าภาษีที่จ่ายไปทางหน่วยรัฐจะนำไปพัฒนาและปรับปรุงท้องถนน

ต่อภาษีรถยนต์ เตรียมเอกสารอะไรบ้าง ?

  1. เล่มทะเบียนรถยนต์ของคุณ หรือ จะเป็นสำเนาการจดทะเบียนรถยนต์ก็ได้ครับ
  2. เอกสาร พ.ร.บ รถยนต์ของคุณ
  3. ใบตรวจสภาพรถยนต์ สำหรับรถที่มีอายุเกิน 7 ปี
  4. ใบติดตั้งแก๊สสำหรับรถที่มีการติดตั้งแก๊สครับ

ต่อภาษีรถยนต์ได้ที่ไหน ?

เมื่อมีเอกสารทั้งหมดเตรียมไว้ครบถ้วนแล้ว ขั้นต่อไปกับการต่อภาษีรถยนต์ประจำปีสามารถชำระภาษีได้ทั่วประเทศไทย มีให้เลือกตามความสะดวก ทั้งช่องทางออฟไลน์ ได้แก่

  • กรมขนส่งทางบกทั่วประเทศ ไม่ว่ารถยนต์ของเราจดทะเบียนจังหวัดไหน ก็สามารถจ่ายภาษีรถยนต์ประจำปีได้ทั้งหมดครับ เวลาทำการ 07.30 – 16.30 น.
  • สามารถต่อภาษีรถยนต์ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วไทย ให้บริการตามเวลาทำการ
  • ธนาคาร ธ.ก.ส. รับชำระรถที่ไม่มีภาษีค้างชำระ หรือค้างชำระไม่เกิน 1 ปี หรือมีภาษีค้างชำระเกิน 1 ปี ที่นายทะเบียนได้ประกาศยกเว้นการตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีรถยนต์ประจำปี
  • บิ๊กซี ทั้งหมด 14 สาขา ดังนี้ ลาดพร้าว, รามอินทรา, รัชดาภิเษก, บางปะกอก, เพชรเกษม, สุขาภิบาล 3, อ่อนนุช, แจ้งวัฒนะ, สำโรง, บางบอน, สุวินทวงศ์, สมุทรปราการ, บางใหญ่, บางนา เปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 09.00 – 17.00 น.
  • เซ็นทรัล สาขารามอินทรา เปิดเวลา 10.00 – 17.00 น.
  • พาราไดซ์ พาร์ค ถนนศรีนครินทร์ ให้บริการตั้งแต่เวลา 10.00 – 17.00 น.
  • เซ็นทรัลเวิลด์ เปิดเวลา 11.00 – 18.00 น.
  • นอกจากนี้ คุณยังสามารถชำระภาษีรถยนต์ประจำปีในร้านค้าที่มีสัญลักษณ์เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ เช่น เซเวนอีเลฟเว่น
  • ศูนย์บริการร่วมคมนาคม เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน เปิดให้บริการวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30 – 15.00 น.

หากไม่สะดวกสถานที่ดังกล่าวก็สามารถชำระภาษีรถยนต์ผ่านทางออนไลน์ ซึ่งช่องทางออนไลน์นั้น จะรับชำระภาษีรถยนต์ที่ค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี และชำระภาษีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน มีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

  • ลงทะเบียนขอรับรหัสผ่าน เข้าเว็บไซต์กรมขนส่งทางบก (e-Service) ตามลิงก์นี้ eservice.dlt.go.th กรอกข้อมูลชื่อ-นามสกุล, เลขบัตรประจำตัวประชาชน, วันเดือนปีเกิด, กรอกที่อยู่ให้จัดส่งเอกสาร และเบอร์โทรศัพท์
  • ลงทะเบียนเสร็จ กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถยนต์ พร้อมกับกรอกรายละเอียด พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535
  • เลือกวิธีชำระเงินที่ใช่และสะดวกใจที่จะจ่าย สามารถจ่ายหักบัญชีเงินฝาก โอนเงิน หรือจ่ายบัตรเครดิต บัตรเดบิตที่มีสัญลักษณ์ VISA และ MASTER




สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow