INSURANCETHAI.NET
Wed 18/12/2024 15:31:42
Home » การเงิน การลงทุน ธุรกิจ » ทำไมต้องวางแผนภาษี\"you

ทำไมต้องวางแผนภาษี

2012/04/22 2362👁️‍🗨️

ทำไมต้องวางแผนภาษี

การวางแผนภาษี  คือ  การกำหนดแนวทางปฎิบัติในการเสียภาษี  เพื่อให้เสียภาษีได้อย่างถูกต้อง  และสามารถประหยัดภาษีได้สูงสุด

ทำไมต้องมีการวางแผนภาษี
1.  เพื่อให้เสียภาษีได้อย่างถูกต้อง
2.  เพื่อป้องกันโทษ  และความรับผิดจากการเสียภาษีที่ผิดพลาด
3.  เพื่อให้ได้รูปแบบแนวทางที่ประหยัดภาษีสูงสุด
4.  ช่วยลดต้นทุนทำให้สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.  เพื่อรักษาความมั่งคั่งของผู้เสียภาษี

ประเภทของภาษีอากร
1.  ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
2.  ภาษีเงินได้นิติบุคคล
3.  ภาษีมูลค่าเพิ่ม
4.  ภาษีธุรกิจเฉพาะ
5.  ภาษีศุลกากร
6.  ภาษีสรรพสามิต
7.  ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
8.  ภาษีบำรุงท้องที่
9.  ภาษีป้าย
10.  ค่าธรรมเนียม
11.  อากรแสตมป์
ภาษีอากรแต่ละประเภทมีอัตราและวิธีปฎิบัติในการเสียภาษีต่างกัน  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจึงต้องศึกษารายละเอียดของภาษีอากรแต่ละประเภท  เพื่อให้การเสียภาษีของเราได้รับประโยชน์สูงสุด

ประเภทของผู้เสียภาษี

1. ประเภทบุคคลธรรมดา
กฎหมายกำหนดให้นำรายได้  หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆแล้ว  มาเป็นฐานในการคำนวนภาษี โดยใช้เกณฑ์เงินสด  ( cash  basis)  เป็นตัวตั้ง  ขณะที่อัตราภาษีใช้อัตราก้าวหน้า
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  ได้แก่
1.  บุคคลธรรมดา
2.  ห้างหุ้นส่วนสามัญ
3.  คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
4.  ผู้ถึงแก่ความตายในระหว่าปีภาษี
5.  กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง     

2. ประเภทนิติบุคคล
โดยทั่วไปกำหนดให้เก็บภาษีจากกำไรสุทธิ  โดยเก็บรอบระยะเวลาบัญชีละ  2  ครั้ง  เสียภาษีในอัตราคงที่  30%  เว้นแต่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน  หรือกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น  กำไรที่เกิดขึ้นนี้ใช้เกณฑ์สิทธิ  หรือเกณฑ์ในการรับรู้รายได้ทันที  เมื่อมีการขายหรือการให้บริการ
โดยไม่คำนึงว่าจะมีการชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการหรือไม่
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล  ได้แก่
1.  บริษัทจำกัด
2.  บริษัทมหาชนจำกัด
3.  ห้างหุ้นส่วนจำกัด
4.  ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
5.  กิจการร่วมค้า  ( join  venture )
6.  มูลนิธิหรือสมาคม
ผู้เสียภาษีแต่ละประเภท  ยังแบ่งย่อยลงไปเป็น  องค์กรธุรกิจ  หรืออาชีพ  ที่แตกต่างกันออกไป  ซึ่งแต่ละธุรกิจแต่ละอาชีพ  มีอัตราภาษี  ค่าใช้จ่าย  และค่าลดหย่อนที่แตกต่างกัน     ผู้มีเงินได้  จึงควรศึกษาแต่ละธุรกิจ  แต่ละอาชีพให้ถ่องแท้ก่อนจะดำเนินธุรกิจ  เพื่อให้ได้ประโยชน์ทางภาษี  นำไปสู่การได้เปรียบทางต้นทุนเพื่อประโยชน์ในการแข่งขันในที่สุด

ผลกระทบจากการวางแผนภาษีที่ผิดพลาด
1.  ต้องเสียภาษีเพิ่มเติม
2.  ต้องเสียเบี้ยปรับ
3.  ต้องเสียเงินเพิ่ม  ( ดอกเบี้ยของข้อ 1.  และ  2. )
4.  ต้องรับโทษทางอาญา  ( ปรับ , จำคุก )
5.  อาจถึงขั้นสูญเสียธุรกิจที่สร้างสมมา





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow