INSURANCETHAI.NET
Mon 18/11/2024 0:50:53
Home » ข่าวประกันภัย นิวแฮมพ์เชอร์อินชัวรันส์ มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์ ศรีอยุธยาเจนเนอรัลประกันภัย ไอเอจีประกันภัย » บริษัทประกันภัย แห่ควบรวม\"you

บริษัทประกันภัย แห่ควบรวม

2017/09/09 3060👁️‍🗨️

ค่ายประกันภัยต่างชาติ ที่มี บริษัทแม่เดียวกันแห่ควบรวม คปภ.ไฟเขียว เอไอจี-นิวแฮมพ์เชอร์ ควบรวมกันแล้ว ชงคลังอนุมัติเหตุต่างชาติถือหุ้นเกิน 49% ประเดิมประกาศฉบับใหม่เป็นรายแรก และ ประกันวินาศภัย ในเครือเดียวกันรอยื่นควบรวมอีกหลายค่าย

จากนโยบายของกระทรวงการคลัง ที่ส่งเสริม บริษัทประกันภัย ควบรวมกิจการกันให้มีขนาดใหญ่มากขึ้นมีฐานะการเงินแข็งแกร่งเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์หรือมาเลเซีย โดยพุ่งเป้าไปที่บริษัทประกันวินาศภัยที่มองว่ามีจำนวนมากเกินไป และส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดเล็ก ที่อ่อนแอ

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
ขานรับพร้อมกับแก้ไขกฎระเบียบใหม่รองรับทันที คือประกาศกระทรวงการคลังเรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข หรือเงื่อนเวลาการขอผ่อนผันให้มีบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย ถือหุ้นเกินกว่า 49% ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมด หรือมีกรรมการเป็นบุคคลซึ่งไม่ใช่สัญชาติไทย ถือหุ้นได้เกินกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด ในกรณีเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของบริษัท ประกันภัย ที่มีผลบังคับใช้ไป ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2559 แล้ว

บริษัทประกันภัย ที่เป็นเป้าหมายกลุ่มแรกๆ ที่ คปภ.ส่งเสริมให้ควบรวมกันนอกจากไซส์เล็กแล้ว คือ
บริษัทประกันภัย ที่มีเจ้าของหรือมีบริษัทแม่เดียวกัน

หลังจากประกาศฉบับใหม่ออกมา บริษัทประกันภัย ในกลุ่มนี้มีความเคลื่อนไหว โดยเฉพาะกลุ่มบริษัท ประกันภัยต่างชาติที่มีนโยบายให้ บริษัทประกันภัย ลูกควบรวมเป็นบริษัทเดียว เช่น
บริษัท เอไอจีประกันภัย (ประเทศไทย)จำกัด
บริษัท นิวแฮมพ์เชอร์ อินชัวรันส์ สาขาประเทศไทย
 ที่อยู่ในเครือ “เอไอจี กรุ๊ป” ที่ได้เสนอเรื่องควบรวมทั้ง 2 บริษัทเข้ามาระยะหนึ่งแล้ว และ คปภ.ได้เห็นชอบในหลักการไปแล้ว แต่เนื่องจากเมื่อควบรวมกันแล้วทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของชาวต่างชาติเกิน 49% ที่เข้าหลักเกณฑ์ตามประกาศใหม่ ต้องนำเสนอความขอความเห็นชอบจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นรายแรกที่เข้าหลักเกณฑ์ตามประกาศใหม่

อีกหลายรายที่เตรียมจะควบรวม
บริษัท มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันส์ สาขาประเทศไทย
บริษัท เอ็มเอสไอจี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
บริษัท ไอโออิ กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)
ที่มีผู้ถือหุ้นญี่ปุ่นกลุ่มเดียวกัน ซึ่งที่ผ่านมาได้เข้ามาพูดคุยกับ คปภ.หลายครั้งถึงการควบรวมทั้ง 3 บริษัทเข้าด้วยกัน แต่ระยะหลังเงียบไป ซึ่งในส่วนของ ไอโออิ กรุงเทพประกันภัย ทางญี่ปุ่นถือหุ้นอยู่ไม่มาก

บริษัท อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันภัย จำกัด (มหาชน)
บริษัท ศรีอยุธยา เจนเนอรัล ประกันภัย จำกัด (มหาชน) 
ที่มีกลุ่มอลิอันซ์ถือหุ้นอยู่

กลุ่ม
บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด (มหาชน)
บริษัท สยามซิตี้ประกันภัย จำกัด (มหาชน
)

บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย
ซึ่งก็มีความเป็นไปได้ที่ทางกลุ่มผู้ถือหุ้น อาจจะนำ บริษัทประกันภัย ทั้งหมดควบรวมเป็นบริษัทเดียว

บริษัท ชับบ์ประกันภัย (เดิม สามัคคีประกันภัย)
บริษัท เอซ ไอเอ็นเอ โอเวอร์ซีส์ อินชัวรันส์ จำกัด สาขาประเทศไทย ที่อยู่ในเครือ “เอช กรุ๊ป” ได้ควบรวมเป็นบริษัทเดียว คือ ซับบ์ประกันภัย ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2559 ที่ผ่านมา โดยส่วนที่ยังรวมเข้ามาไม่หมด อยู่ระหว่างทยอยรวมให้ครบทั้ง 100%

คปภ.ให้ความเห็นชอบในหลักการในการควบรวมทั้ง 2 บริษัทแล้ว แต่เนื่องจากการควบรวมจะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของชาวต่างชาติเกิน 49% ต้องขออนุมัติจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อยู่ในกระบวนการที่ คปภ.จะนำเรื่องส่งไปที่กระทรวงการคลัง

เบี้ยประกันภัย ของทั้ง 2 บริษัท จากข้อมูลของสำนักงาน คปภ.ในปี 2559

บริษัท นิวแฮมพ์เชอร์
มีเบี้ย ประกันภัยรับโดยตรงรวม 2,457.78 ล้านบาท ส่วนแบ่งการตลาด 1.16% ลำดับที่ 27 ของอุตสาหกรรมประกันวินาศภัยไทย ที่มีบริษัทประกันวินาศภัยทั้งหมด 59 บริษัท (ไม่รวม บมจ.ไทยรับประกันภัยต่อ เนื่องจากเป็นบริษัทรับ ประกันภัย ต่อ และบมจ.สัจจะประกันภัย ที่เพิ่งถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจไป)

บริษัท เอไอจีประกันภัย
มีเบี้ย ประกันภัย รับโดยตรงรวม 637.31 ล้านบาท ส่วนแบ่งการตลาด 0.30% ลำดับที่ 43

หากทั้ง 2 บริษัทควบรวมเป็นบริษัทเดียว จะมีเบี้ย ประกันภัย รับโดยตรงรวม 3,095.09 ล้านบาท ขยับขึ้นไปอยู่อันดับที่ 19

นอกจากการควบรวมของกลุ่ม บริษัทประกันภัย ที่มีเจ้าของเดียวกันแล้ว บริษัทประกันภัย ที่มีขนาดเล็กและขนาดกลางอื่นๆ ที่ไม่ได้มีเจ้าของเดียวกัน อาจจะหันมามองแนวทางการควบรวมกิจการกันมากขึ้นก็เป็นได้ เพื่อให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และอยู่รอดได้

ประกาศกระทรวงการคลังฉบับดังกล่าว ออกมารองรับบริษัทที่มีฐานะการเงินดีแต่ต้องการเพิ่มทุน หรือควบรวมกัน เพื่อส่งเสริมความแข็งแกร่งให้กับบริษัทมากขึ้นไปอีก ซึ่งจะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของชาวต่างชาติเกิน 49% ซึ่งในอดีตภาครัฐไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติถือหุ้นเกิน 49% ในกรณีนี้ได้ โดยอนุญาตให้เฉพาะ บริษัทประกันภัย ที่มีปัญหาด้านฐานะการเงินเท่านั้น





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow