INSURANCETHAI.NET
Tue 21/01/2025 11:14:48
Home » Uncategorized » บริษัทสินมั่นคงประกันภัยฯ กรณีเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย\"you

บริษัทสินมั่นคงประกันภัยฯ กรณีเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย

2023/03/07 210446👁️‍🗨️

คปภ. ได้เกาะติดสถานการณ์ดังกล่าว
บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง
ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่ง
– ให้ฟื้นฟูกิจการ
– แต่งตั้งบริษัทฯ เป็นผู้ทำแผน เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565

ส่งผลให้อำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของบริษัทฯ และบรรดาสิทธิตามกฎหมายของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ เว้นแต่สิทธิที่จะได้รับเงินปันผล ตกแก่บริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้ทำแผน

โดยเจ้าหนี้ของบริษัทฯ สามารถยื่นขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการในคดีนี้ภายในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 โดยเมื่อครบกำหนดยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้วบริษัทฯ ต้องรวบรวมเจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ และจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการเพื่อเสนอต่อเจ้าหนี้และศาลฯ เพื่อพิจารณา

นายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (บอร์ด คปภ.)
อาศัยอำนาจตามมาตรา 52 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 สั่งให้บริษัทฯ แก้ไขฐานะและการดำเนินการหลายประการ เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้เอาประกันภัยและประชาชน ตามคำสั่งนายทะเบียนที่ 36/2565 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2565 เช่น ให้เพิ่มทุนและแก้ไขฐานะการเงินให้เพียงพอต่อภาระผูกพันและให้มีอัตราส่วนของเงินกองทุนเพียงพอตามที่กฎหมายกำหนดภายใน 1 ปี และให้เปิดเผยข้อมูลทางการเงิน สินทรัพย์สภาพคล่อง และภาระหนี้สินตามสัญญาประกันภัย ในหน้าเว็บไซต์ของบริษัทฯ เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยและประชาชน ทราบถึงสถานะของบริษัทฯ ตลอดช่วงเวลาที่อยู่ภายใต้กระบวนการฟื้นฟูกิจการ และให้ส่งข้อมูลดังกล่าวให้สำนักงาน คปภ. เพื่อจะได้เผยแพร่บนเว็บไซต์ของสำนักงาน คปภ. รวมทั้งให้ขออนุญาตศาลล้มละลายกลางให้มีคำสั่งอนุญาตให้บริษัทฯ ชดใช้เงินค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรือคำพิพากษาของศาล สำหรับประเภทสัญญาประกันภัยที่บริษัทฯดำเนินการค้าตามปกติ ซึ่งสำนักงาน คปภ. ได้มีการติดตามการแก้ไขฐานะการเงินและการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด ตลอดจนดำเนินการตามมาตรการต่าง ๆ รวมทั้งกำชับให้บริษัทฯ ดำเนินการตามคำสั่งนายทะเบียนดังกล่าวให้ครบถ้วนและปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัยอย่างเคร่งครัด

ปัจจุบันบริษัทฯ อยู่ระหว่างดำเนินการตามกระบวนการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายล้มละลาย ซึ่งต้องมีการทำแผนการฟื้นฟูกิจการที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหนี้ ซึ่งในระหว่างการดำเนินการตามกระบวนการฟื้นฟูกิจการ สำนักงาน คปภ. ได้กำชับและติดตามให้บริษัทฯ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับการค้าตามปกติ และเร่งหาผู้ร่วมทุน พร้อมทั้งแนะนำให้บริษัทฯ มีการสื่อสารทำความเข้าใจกับเจ้าหนี้อย่างชัดเจนและเป็นระบบ 

ประกอบกับเมื่อวันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ 2566 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้ขึ้น เครื่องหมาย
– SP (Trading Suspension) ห้ามซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนเป็นการชั่วคราว
– NP (Notice Pending) กรณีบริษัทจดทะเบียนมีข้อมูลที่ต้องรายงาน และ ตลท. อยู่ระหว่างรอข้อมูลจากบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) “SMK”  โดย ตลท. ให้เหตุผลในการขึ้นเครื่องหมายดังกล่าวว่าส่วนของผู้ถือหุ้นมีค่าน้อยกว่าศูนย์และผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินปี 2565 ซึ่งสามารถติดตามข้อมูลในส่วนนี้จากเว็บไซต์ของ ตลท. (https://www.set.or.th)

 ทั้งนี้ ประชาชนควรพิจารณาข้อมูลอย่างรอบด้านก่อนทำประกันภัย โดยสามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินของบริษัทฯ ได้ที่
– เว็บไซต์ของบริษัทฯ (https://www.smk.co.th/investor)
– เว็บไซต์ของสำนักงาน คปภ. (https://www.oic.or.th/th/consumer/sinmunkong)
เจ้าหนี้ของบริษัทฯ สามารถติดตามความคืบหน้าของคดีและรายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์กรมบังคับคดี www.led.go.th
หากมีข้อสงสัยเรื่องประกันภัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน คปภ. 1186 หรือ www.oic.or.th” 

กรณีสินมั่นคง ที่ผ่านมาถือว่าได้ว่าสินมั่นคง ดำเนินธุรกิจได้ดี อยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง หากบริษัทประกันวินาศภัยในไทยที่มีราว 60 แห่ง สินมั่นคงจะมีติด ใน 10 อันดับเลยทีเดียว แต่ที่ต้องมาพลาดในครั้งนี้เพราะ การรับประกันโควิด ซึ่งจากนี้ พอร์ทประกันรถยนต์และพอร์ทอื่นๆก็จะถูกถ่ายโอนไปยังบริษัทประกันต่างๆ ตามระบบ ในขอบเขตของธุรกิจที่ทำได้





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow