บ้านเอามาทำเป็นบ้านเช่า ประกันบ้านหรือเป็นสถานประกอบการ?
การแจ้งทำประกัน
ให้แจ้งตามความเป็นจริง เช่น สำหรับกรุงเทพประกันภัย นำเสนอ โครงการรักษ์บ้านภัยอื่น เป็นการใช้ประโยชน์ หอพัก เรท 0.13% ถ้าคุ้มครองระยะเวลา 3 ปี เบี้ย x 250%
ตัวอย่าง
บ้านขอทำเป็นแบบ บ้านเพื่อให้เช่าอาศัย ทำเบี้ยประกันแบบ 3 ปี ดังนี้
ประกันแบบ 3 ปี ค่าเบี้ย 3491.41
เบี้ยภัยพิบัติ ทำ 3 ปี ค่าเบี้ย (1074*3) = 3222
รวม 6713.41
เสนอ โครงการรักษ์บ้าน ภัยอื่น เป็นการใช้ประโยชน์ หอพัก
ทุน 1,000,000.- บาท จำนวน 3 ปี
ไม่รวมน้ำท่วม = (1,000,000 x 0.13%)x 250% = 3,250 บาท รวมภาษี 3,491.41 บาท ภัยพิบัติ 3,222.84 บาท
รวมเบี้ยอัคคีภัย + ภัยพิบัติ = 6,714.25 บาท
รวมน้ำท่วม = (1,000,000 x 0.23%)x 250% = 5,750 บาท รวมภาษี 6,177.11 บาท ภัยพิบัติ 3,222.84 บาท
รวมเบี้ยอัคคีภัย + ภัยพิบัติ = 9,399.95 บาท
ระยะหลังบริษัทประกันรับประกันหอพัก หรือ ที่เป็นสถานประกอบการได้แค่ 1 ปี เนื่องจากอาจต้องประเมินความเสี่ยงจากธุรกิจที่ใช้สถานที่นี้เป็นประกอบการ ต่างจากบ้านอาศัยซึ่งมักมีความเสี่ยงน้อยกว่า (อย่างไรก็ตามบางกรณีอาจขึ้นกับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ก็ได้)
ถ้าเป็นบ้านอาศัย แล้วให้เช่า แต่ไม่แจ้งบริษัท อาจทำให้เวลาจ่ายเคลมมีปัญหาสองอย่าง
1. บริษัทจะจ่ายให้กับผู้เอาประกัน (เจ้าบ้าน) ซึ่งอาจมีปัญหากับ ผู้เช่าได้ ผู้เช่าอาจมีทรัพย์สินซื้อเพิ่มตอนเช่า
2. อาจเป็นเหตุให้ บริษัทประกันไม่จ่ายสินไหมเนื่องจาก สัญญาเป็นโมฆียะกรรม
ในด้านประกันบริษัทอาจดูจากเจตนาด้วยก็ได้ แต่ทางกฏหมายดูจาก การจดทะเบียน ซึ่งจะมีกรณีเอาบ้านอาศัยไปจดทะเบียนการค้าเป็นบ้านเช่า
ประเด็นคือตอนเเจ้งทำประกัน บ้านอาศัยนั้นได้จดทะเบียนเป็นบ้านเช่าหรือไม่? โดยทั่วไป ก็มักไม่ได้จดกัน ดังนั้นบริษัทประกันแาจมองที่เจตนาในการแจ้งทำประกันว่าได้แจ้งบอกไว้หรือไม่ โดยอาจไม่เกี่ยวกับกฏหมายก็ได้ เพราะเป็นเรื่องการพิจารณารับความเสี่ยงของธุรกิจเอกชนเอง คือ ดูจากของจริง เพราะ จะจดไม่จด ก็ไม่ได้ทำให้ความเสี่ยงภัยสูงขึ้น แต่จะมีเรื่องของกฏหมายอีกฉบับ ดังนี้
ผู้เช่า คือ ผู้ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของสถานที่ที่ได้อาศัยอยู่ แต่อาศัยหรือใช้ประโยชน์จากสถานที่ของบุคคลอื่นในระยะเวลาหนึ่ง โดยจ่ายค่าตอบแทนการใช้สถานที่นั้นเป็นเงินค่าเช่า
การเช่าอาจเพื่ออยู่อาศัยปกติ หรือเพื่อทำธุรกิจ เช่น ค้าขาย, ที่ตั้งสำนักงาน, สถานที่สอนพิเศษ
ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องจ่ายค่าเช่า แก่เจ้าของสถานที่ตามที่ได้ตกลงลงกัน ก่อนการเช่าสถานที่ได้มีการทำสัญญาตกลงกันถึงรายละเอียดการเข้าอาศัยอยู่ ไม่ว่าจะเป็น ค่าเช่า การผิดนัดชำระค่าเช่า การเปลี่ยนแปลงต่อเติมสถานที่ รวมไปถึงการทำประกันภัยอัคคีภัยบ้านสำหรับผู้เช่า
การทำประกันภัยเป็นเงื่อนไขสำคัญในการทำสัญญาเช่าบ้าน
ผู้เช่าต้องรับผิดชอบการชำระเบี้ยประกันอัคคีภัยบ้าน
ผู้เช่าต้องใส่ชื่อผู้ได้รับผลประโยชน์ประกันภัยเป็นชื่อเจ้าของบ้าน
(ผู้เช่าต้องใส่ชื่อได้รับผลประโยชน์จากการทำประกันอัคคีภัยบ้านเป็นชื่อเจ้าของบ้าน เพราะถือว่าบ้านเช่า เป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของบ้านที่จะได้รับผลประโยชน์จากความเสียหายของบ้าน จินตนาการดูว่า ถ้าไฟบ้านบ้านเสียหายทั้งหลังแล้วบริษัทประกันจ่ายสินไหมให้กับผู้เช่า อย่างนี้ย่อมไม่ถูกต้อง)
ผู้เช่าต้องทำประกันอัคคีภัยบ้านเช่า และถือเป็นหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบในการชำระค่าเบี้ยประกันภัยที่มีทุนประกันต้องไม่ต่ำกว่ามูลค่าของทรัพย์สินนั้น และต้องเขียนชื่อผู้รับผลประโยชน์เป็นชื่อเจ้าของบ้านเช่า เพราะผู้ให้เช่าถือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อที่อยู่อาศัยนั้น และผู้ให้เช่ายังถือว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของที่อยู่อาศัยนั้น หากผู้เช่าไม่ยอมทำประกันอัคคีภัยบ้าน หรือไม่ยอมชำระเบี้ยประกันภัยที่เจ้าของได้ชำระไปก่อนแล้ว ถือว่าผิดสัญญาเช่า ที่เจ้าของได้ระบุไว้ในตัวสัญญาการเช่าแล้ว ผู้ให้เช่าสามารถเรียกร้องให้ผู้เช่าออกจากสถานที่นั้นได้ตามกฎหมาย (แต่เอาเข้าจริงก็ไม่ค่อยจะมีใครทำสัญญาแบบนี้เพราะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่าย)
แม้ผู้เช่าจะไม่ได้รับประโยชน์จากบริษัทประกันในส่วนของความเสียหายต่อที่อยู่อาศัย แต่ผู้เช่าบ้านสามารถได้รับผลประโยชน์ในส่วนที่เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินภายในบ้าน ที่เป็นทรัพย์สินของผู้เช่า และความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลหรือเงินชดเชยให้แก่คนที่อาศัยอยู่ในสถานที่เอาประกันภัย คุ้มครองที่อยู่อาศัยเช่าคราว
กรมธรรม์อัคคีภัยบ้าน ที่ซื้อประกันความคุ้มครองเสริมอื่นๆ ที่ให้ความคุ้มครองต่อทรัพย์สินส่วนบุคคลที่อยู่ในสถานที่เอาประกันภัย คุ้มครองต่อที่อยู่อาศัยเช่าคราว คุ้มครองเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน และความคุ้มครองต่อบุคคลที่สาม โดยพิจารณาจากระดับความเสี่ยง จึงตอบโจทย์ผู้เช่า
เอาเข้าจริงแล้ว ในทางปฏิบัติ เจ้าของมักจะเป็นฝ่ายทำประกันบ้านของตัวเอง ไม่ได้นำไปบวกเพิ่มในค่าเช่า หากทำเช่นนั้นก็เท่ากับเพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับผู้เช่า ผู้เช่าก็อาจไปหาเช่าที่อื่นที่ถูกกว่า