ประกันการเดินทาง คือ?
ประกันภัยอุบัติเหตุเดินทาง (Travel Accident,TA) ประเภท
1.เดินทางภายในประเทศ
2.เดินทางออกนอกประเทศ
ประเภทของประกันเดินทาง
1. ประกันภัยอุบัติเหตุการเดินทาง (ประกันเดินทางปกติ) (Travel Accident Insurance หรือ TA)
การชดเชยในด้านชีวิตและร่างกาย ได้แก่ เสียชีวิต ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ ค่ารักษาพยาบาลกรณีเกิดอุบัติเหตุ ผู้ป่วยนอก (OPD) เช่น มีดบาดมือ ขาแพลง และผู้ป่วยใน (IPD) เช่น การบาดเจ็บสาหัส
(ผู้ป่วยนอก หมายถึงการรักษาตัวที่ไม่ต้องพักอยู่ในโรงพยาบาล ผู้ป่วยใน หมายถึงการรักษาตัวที่ต้องพักอยู่ในโรงพยาบาล
การประกันภัยอุบัติเหตุการเดินทางใช้ได้ทั้งกับการเดินทางในประเทศและต่างประเทศ โดยความคุ้มครองจะเริ่มตั้งแต่ผู้เอาประกันภัยเดินทางออกจากบ้านหรือที่ทำงานเพื่อเดินทางโดยตรง และจะสิ้นสุดลงเมื่อผู้เอาประกันภัยเดินทางถึงจุดหมายปลายทางหรือเดินทางกลับยังบ้านหรือที่ทำงานหรือสิ้นสุดตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในกรมธรรม์แล้วแต่ว่ากรณีใดจะถึงก่อนกัน เนื่องจากประกันภัยประเภทนี้ให้ความคุ้มครองเพียงพื้นฐาน จึงอาจเหมาะสมกับการเดินทางภายในประเทศ
2. ประกันภัยการเดินทางต่างประเทศ (Comprehensive Travel Accident Insurance หรือ CTA)
ให้ความคุ้มครองที่หลากหลายกว่าประกันเดินทางแบบปกติ โดยจะคุ้มครองผู้ถือกรมธรรม์ ตั้งแต่ค่ารักษาพยาบาลทั้ง จากอุบัติเหตุและความเจ็บป่วยต่างๆที่อยู่ในเงื่อนไข การสูญหายหรือล่าช้าของสัมภาระและทรัพย์สิน ความล่าช้าของสายการบิน รวมถึงการถูกยกเลิกหรือการเปลี่ยนแปลงโปรแกรมท่องเที่ยวอย่างกะทันหัน
ซึ่งจัดทำขึ้นสำหรับการเดินทางไปต่างประเทศเท่านั้น เปรียบเสมือนการยกระดับความคุ้มครองให้หลากหลายมากกว่าประกันภัยเดินทางแบบแรก เพราะในการเดินทางไปต่างประเทศ ไม่ใช่เฉพาะอุบัติเหตุเท่านั้นที่อาจเกิดขึ้น แต่การเจ็บป่วยอาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป รวมถึงความเสี่ยงภัยต่อทรัพย์สินที่นำไปด้วย ซึ่งอาจสูญหาย ถูกลักทรัพย์ การทำประกันภัยการเดินทางต่างประเทศจึงคุ้มค่า เนื่องจากให้ความคุ้มครองครอบคลุมมากกว่า
เพิ่มเติม
การพิจารณารับประกันภัย
1. ระยะเวลาเดินทาง
2.การเดินทาง เส้นทาง ยานพาหนะ จุดหมายปลายทาง
3.จำนวนเงินเอาประกันภัย
4.อายุ และสุขภาพ ของผู้เอาประกันภัย
5.ประวัติการขอเอาประกันภัยกับบริษัทอื่น
6.การขยายความคุ้มครอง (เฉพาะการเดินทางออกนอกประเทศ)
6.1ความคุ้มครองขยายถึงค่ารักษาพยาบาล ความเจ็บป่วยขณะอยู่ในช่วงระหว่างเดินทาง
6.2ความคุ้มครองกระเป๋าเดินทางสูญหาย
6.3การยกเลิกเที่ยวบิน
เป็นต้น
สำหรับ
1. ผู้ที่เดินทางไปดูงาน ทัศนะศึกษา ท่องเที่ยว ทั้งรายบุคคล และหมู่คณะ
2. บริษัทจัดท่องเที่ยว ทัวร์ต่างๆ
3.โรงเรียน สถานศึกษา หน่วยงานต่างๆ ที่จัดการเดินทางเป็นหมู่คณะ
4.ผู้ที่ต้องเดินทางไปประเทศ แถบยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน ฟินแลนด์ ออสเตรีย สาธารณะเช็ค อิตาลี นอร์เวย์ สวีเดิน เดนมาร์ก โปรตุเกส สเปน เบลเยี่ยม เป็นต้น เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน ฟินแลนด์ ออสเตรีย สาธารณะเช็ค อิตาลี เป็นต้น
5. นักศึกษาที่เดินทางไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ
ประกันการเดินทางภายในประเทศ
เมื่อแผนการเดินทางของคุณมีบางส่วนที่ไม่ได้รับการคุ้มครองจากประกันการเดินทาง เช่น การพักที่บ้านของเพื่อนหรือญาติแทนการพักที่โรงแรม การใช้คูปองส่วนลดของสายการบิน หรือการแลกตั๋วไมล์สะสม ซึ่งจากเหตุผลดังกล่าวก็อาจทำให้การซื้อประกันไม่ค่อยคุ้มค่า เมื่อคุณมีสภาวะทางการแพทย์บางประการอยู่ก่อนแล้ว (preexisting conditions) ประกันเดินทางต่างประเทศอาจจะไม่ให้ความคุ้มครอง อย่างไรก็ตามคุณควรอ่านกรมธรรม์ให้ละเอียดถี่ถ้วน เพราะบางสภาวะอาจได้รับความคุ้มครองภายใต้เงื่อนไขบางประการ เช่น การซื้อกรมธรรม์ในช่วงที่สภาวะของโรคสามารถควบคุมได้ เมื่อคุณมีหลายความคุ้มครองจากหลายกรมธรรม์ซ้ำซ้อนกัน การซื้อกรมธรรม์ใหม่ที่ซ้ำซ้อนกับความคุ้มครองเดิม ก็อาจจะเป็นเรื่องที่ไม่คุ้มค่านัก อย่างไรก็ตามแม้ว่าสถานการณ์ข้างต้นอาจจะตรงกับคุณ แต่เราขอแนะนำว่า ก่อนที่คุณจะตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อประกันการเดินทางทุกครั้ง คุณควรอ่านกรมธรรม์ให้ละเอียดถี่ถ้วน และสอบถามเรื่องที่ยังสงสัยจากตัวแทนให้แน่ใจ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาตัดสินใจด้วยตนเองอีกที
ประกันภัยการเดินทางต่างประเทศ (Comprehensive Travel Accident Insurance: CTA)
จะมีส่วนเพิ่มเติมจากประกันเดินทางในประเทศ ดังนี้
ชดเชยในด้านชีวิตและร่างกาย ได้แก่ เสียชีวิต ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ
ค่ารักษาพยาบาลรวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาล ที่เกิดจากการบาดเจ็บอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยนอก (OPD) หรือผู้ป่วยใน (IPD) สำหรับการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นในระหว่างการเดินทาง รวมถึงค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายเนื่องจากการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยสาหัส ค่าเดินทาง และค่าที่พักสำหรับญาติใกล้ชิดเพื่อดูแลหรือร่วมเดินทางกลับภูมิลำเนาในกรณีที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการปลงศพนอกภูมิลำเนา การส่งศพหรือกระดูกกลับภูมิลำเนา
ชดเชยระหว่างรักษาตัวในโรงพยาบาล นอกจากการคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลแล้ว กรมธรรม์ประกันภัยเดินทางยังให้ความคุ้มครองเงินสดรายวันกรณีที่ต้องรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยใน(IPD)อีกด้วย
ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก กรมธรรม์ประกันภัยเดินทางจะชดใช้ในนามของผู้เอาประกันให้แก่บุคคลภายนอกสำหรับการบาดเจ็บหรือทรัพย์สินเสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุในระหว่างการเดินทางในต่างประเทศจนเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงความรับผิดที่เกิดจากการใช้ยานพาหนะ
การสูญหายของกระเป๋าเดินทางและทรัพย์สินส่วนตัวที่อยู่ภายในกระเป๋าเดินทาง ในบางสถานการณ์ที่ไม่อาจควบคุมได้ระหว่างการเดินทาง เช่น การสูญหาย หรือเสียหาย ไม่ว่าในโรงแรม สนามบิน การถูกชิงทรัพย์ หากมีการแจ้งความ และนำหลักฐานมายืนยัน กรมธรรม์ประกันภัยการเดินทางประเภทนี้จะชดใช้ให้ตามจริงแต่ไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้
การล่าช้าของกระเป๋าเดินทาง กรณีที่พบเห็นมาก คือการที่กระเป๋าเดินทางมาล่าช้ามากๆ ทั้งๆ ที่ตัวเราเดินทางมาถึงแล้ว ซึ่งอาจเกิดจากความผิดพลาดของสายการบิน กรณีเช่นนี้ ทำให้ผู้เดินทางเดือดร้อนเป็นอย่างมากในการหาซื้อเสื้อผ้าและของใช้ส่วนตัวที่จำเป็น โดยให้เก็บใบเสร็จและขอหนังสือรับรองจากสายการบินไว้ เพื่อทำการขอคืนค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไปโดยกรมธรรม์ประกันภัยเดินทางจะชดใช้ให้ตามระยะเวลาที่ล่าช้าแต่ต้องไม่ต่ำกว่า 12 ชั่วโมง
การบอกเลิกการเดินทางและลดจำนวนวันเดินทาง เมื่อตัดสินใจที่จะเดินทางและทำประกันภัยเดินทางต่างประเทศไว้แล้ว ก็อาจมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดทำให้ต้องกลับเร็วกว่ากำหนด เช่น ข่าวด่วนการเจ็บป่วยร้ายแรงของญาติพี่น้องที่ได้รับการแจ้งมา ที่บ้านเกิดเหตุร้ายแรง หรือเหตุการณ์ที่ทำให้เราไม่สามารถเดินทางไปในจุดหมายได้อย่างกะทันหัน เช่น เกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติที่จุดหมายปลายทางอย่าง พายุ แผ่นดินไหว การจลาจล หรือ การสไตรค์นัดหยุดงาน กรมธรรม์ประกันภัยเดินทางจะชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการบอกเลิกการเดินทางหรือลดจำนวนวันลง เช่น ค่าปรับ ค่ามัดจำ ฯลฯ
การล่าช้าของเที่ยวบิน ในกรณีสายการบินพาณิชย์ออกเดินทางล่าช้าหรือเลื่อนเวลาเดินทางออกไปอย่างน้อย 12 ชั่วโมงจากเวลาที่กำหนดไว้ เนื่องจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดหมาย และอยู่นอกเหนือการควบคุมของสายการบิน กรมธรรม์ประกันภัยเดินทางจะจ่ายเงินชดเชยทุกๆ 12 ชั่วโมงของการล่าช้า
การจี้เครื่องบิน ในกรณีที่เครื่องบินที่ผู้เอาประกันภัยเดินทางโดยสารอยู่ถูกจี้ กรมธรรม์ประกันภัยเดินทางจะจ่ายค่าชดเชยให้ทุก 24 ชั่วโมงที่ถูกจี้
การบอกเลิกการเดินทางและลดจำนวนวันเดินทาง เมื่อตัดสินใจที่จะเดินทางและทำประกันภัยเดินทางต่างประเทศแล้ว ก็อาจมีเหตุการณ์บางเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันทำให้เราไม่สามารถเดินทางไปได้หรือต้องกลับเร็วกว่ากำหนด เช่น การที่เจ็บป่วยหนักถึงขนาดที่ไม่สมควรเดินทางไม่ว่าตัวเอง หรือข่าวด่วนที่ได้รับการแจ้งมาเกี่ยวกับพ่อแม่หรือบุตรก็ตาม การที่ไม่สามารถไปได้เพราะบ้านเกิดเหตุร้ายแรงอย่างไฟไหม้ น้ำท่วม และที่เห็นได้ชัดเจนมากที่สุดก็คือการที่ภาวะโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภัยพิบัติของจุดหมายปลายทาง ยกตัวอย่างเช่น พายุที่เกิดขึ้นในพม่า แผ่นดินไหวที่จีน เรื่องของการจลาจลที่อาจเกิดขึ้นในธิเบต การสไตรค์นัดหยุดงานในอินเดีย ทำให้ไม่สามารถเดินทางไปในจุดหมายได้ หรือแม้กระทั่งการเกิดโรคใหม่ๆอย่างไข้หวัดนกและทำให้ต้องถูกกักบริเวณจนต้องเลื่อนกำหนดกลับ ทั้งหมดนี้ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปแล้วฟรีๆหรือมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นใหม่จากการเลื่อนกำหนดนี้ เช่น ค่ามัดจำโรงแรม ค่าปรับจากการเลื่อนเที่ยวบินหรือการต้องซื้อตั๋วเที่ยวบินใหม่ บริษัทประกันภัยจะเข้ามาช่วยแบกรับค่าใช้จ่ายเหล่านี้ให้ โปรดอาจรายละเอียดและขั้นตอนปฏิบัติในกรมธรรม์ประกันภัยให้ถูกต้องเมื่อเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้น
การล่าช้าของเที่ยวบิน หากด้านบนเป็นเรื่องของการเลื่อนเวลาการเดินทางที่เกิดจากตัวเราเอง ในส่วนนี้จะพูดถึงการเลื่อนการเดินทางที่เหตุเกิดจากทางสายการบิน โดยเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น จุดหมายปลายทางสภาพอากาศไม่อำนวย ซึ่งไม่ได้หมายถึงการดีเลย์ของเครื่องเล็กๆน้อยๆทั่วไป แต่ต้องเกิดการดีเลย์ถึงอย่างน้อย 12 ชั่วโมง และบริษัทประกันภัยจะชดเชยให้ตามลำดับขั้นทุกๆ 12 ชั่วโมง
การจี้เครื่องบิน แม้จะไม่ค่อยเกิดขึ้น แต่บริษัทประกันภัยจะชดใช้ให้ตามกำหนด
มีบางอย่างที่ประกันภัยการเดินทางไม่ให้ความคุ้มครองซึ่งเป็นข้อ ยกเว้นทั่วไป เช่น
– โรคที่รู้ว่าเป็นมาก่อน
– การดำน้ำ (Scuba Diving) และปีน เขาแบบที่ต้อง ใช้อุปกรณ์ปีนเขา
ประกันการเดินทางต่างประเทศ คุ้มครองอะไรบ้าง?กกก
– การชดเชยกรณีเกิด ความสูญเสียแก่ทรัพย์สิน
– ค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาล
– ค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายหรือส่งต่อการรักษาผู้ป่วยไปยังภูมิลำเนา
– โปรแกรมท่องเที่ยวถูกยกเลิกหรือมีการลดจำนวนวันในการท่องเที่ยว ประกันการเดินทางจะช่วยทำให้ผู้เอาประกันสามารถเคลมค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปกับการท่องเที่ยวในส่วนที่ไม่ได้ใช้ได้
– การพลาดเที่ยวบินและเรือ
– ความล่าช้าของเที่ยวบิน
– สัมภาระสูญหาย ถูกขโมย รวมถึงสัมภาระและทรัพย์สินถูกทำลาย
– การบาดเจ็บหรือสูญเสียทั้งทางร่างกายและทรัพย์สิน ระหว่างผู้เอาประกันและบุคคลที่สาม
– การรับบริการทางทันตกรรม ส่วนใหญ่มักจะเป็นการระงับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นอย่างฉุกเฉิน
– การสูญหายของเงิน
– การก่อการร้าย คุ้มครองทั้งการรักษาพยาบาล และความเสียหายของทรัพย์สินอันเนื่องมาจากเหตุก่อการร้าย
– การสูญหายของพาสต์ปอร์ต
สิ่งที่ประกันการเดินทางต่างประเทศไม่คุ้มครอง
1. การยกเลิกการเดินทางที่ไม่มีเหตุผลเพียงพอ
รายละเอียดปลีกย่อยบางประการของแต่ละกรมธรรม์อาจจะแตกต่างกันได้
เหตุผลที่เพียงพอ เช่น
– ภัยธรรมชาติในประเทศปลายทาง
– การก่อการร้ายในประเทศปลายทาง
– ความเจ็บป่วยของผู้เอาประกัน ครอบครัว หรือคนที่ร่วมเดินทางไปด้วย (อาจจะต้องมีคำยืนยันและแนะนำจากแพทย์)
– ความเจ็บป่วย หรือการเสียชีวิตของบุคคลในประเทศปลายทาง
– ภาระที่ต้องขึ้นศาล หรือการรับราชการทหาร
– ภาระงานและการศึกษาต่างๆ รวมถึงการย้ายงานและถูกให้ออกจากงาน
– อุบัติเหตุทางรถยนต์ก่อนการเดินทาง
– การตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมต่างๆ
– การแยกกันอยู่ตามกฎหมาย รวมถึงการหย่าร้างของสามีภรรยา
– ภาวะที่ตัวแทนท่องเที่ยวไม่สามารถจัดการท่องเที่ยวได้ เช่น การล้มละลาย หรือปัญหาด้านการเงิน
2. สภาวะความเจ็บป่วยที่มีอยู่ก่อนแล้ว (pre-existing conditions)
สภาวะทางการแพทย์ใดๆ ที่ผู้เอาประกันเคยมีอาการมาก่อน ได้รับการวินิจฉัย รวมถึงการได้รับการรักษาในช่วงเวลาหนึ่ง (look back period) ก่อนความคุ้มครองของประกันเดินทางเริ่มต้นขึ้น Look back period เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนที่ความคุ้มครองจากประกันเดินทางต่างประเทศจะเริ่มต้นขึ้น โดยมักจะเริ่มนับ 60 ถึง 180 วัน ก่อนการเริ่มความคุ้มครอง ในกรณีที่ผู้ซื้อประกันเดินทางเกิดความเจ็บป่วยในระหว่างการเดินทาง โดยความเจ็บป่วยนั้นเป็นความเจ็บป่วยที่มีอยู่ก่อนแล้วก่อนการเดินทาง แล้วไม่ได้แจ้งให้กับบริษัทประกันทราบ บริษัทประกันภัยสามารถปฏิเสธความคุ้มครองในกรณีนี้ได้ ผู้เดินทางควรซื้อประกันการเดินทางต่างประเทศที่คุ้มครองความเจ็บป่วยที่มีอยู่ก่อนแล้ว ในกรณีที่ได้รับการวินิจฉัยหรือมีการปรับเปลี่ยนการรักษาในช่วงระยะเวลาก่อนการเดินทาง เพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิเสธความคุ้มครอง
3. ความเสียหายจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จนขาดสติ
ความคุ้มครองจากประกันเดินทางต่างประเทศอาจถูกปฏิเสธได้ เมื่อผู้เอาประกันขอเคลมค่าใช้จ่ายหรือความคุ้มครองในกรณีที่เกิดความเสียหายทั้งทางร่างกายและทรัพย์สิน อันมีสาเหตุมาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จนไม่สามารถควบคุมสติได้
4. กีฬาหรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินสูง
เช่น การกระโดดร่ม (skydiving) การดำน้ำลึก (scuba diving) บันจีจัมพ์ (bungee jump) เฮลิ-สกี (heli-skiing) ดังนั้นถ้าในโปรแกรมท่องเที่ยวมีกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงดังกล่าวแล้ว ผู้เอาประกันอาจมีความจำเป็นต้องซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติม
5. ไม่ปฏิบัติตามตามคำแนะนำจากหน่วยงานของรัฐ
ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐประกาศคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศเป้าหมาย แต่ผู้ซื้อประกันเดินทางต่างประเทศยังคงเดินทางไปยังประเทศเป้าหมาย เมื่อเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ผู้ซื้อประกันอาจจะไม่ได้รับความคุ้มครองจากประกันเดินทาง ประกันเดินทางต่างประเทศในแต่ละบริษัทยังมีเงื่อนไขที่จะไม่คุ้มครองผู้ซื้อประกันแตกต่างกันออกไป
รายละเอียดปลีกย่อยบางประการของแต่ละกรมธรรม์อาจจะแตกต่างกันได้