INSURANCETHAI.NET
Sat 21/12/2024 23:22:05
Home » ข่าวประกันภัย » “ฟิทช์” มองประกันชีวิตไทย เข้าสู่ยุคสมัยการซื้อ/ควบกิจการ\"you

“ฟิทช์” มองประกันชีวิตไทย เข้าสู่ยุคสมัยการซื้อ/ควบกิจการ

2013/08/27 1354👁️‍🗨️

กรณีที่ เมจิ ยาสึดะฯ เป็นบริษัทประกันชีวิตขนาดใหญ่ของญี่ปุ่น ที่ก่อตั้งมากว่า 130 ปี มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการบริหารช่องทางการจัดจำหน่าย ประสบความสำเร็จในการขยายตลาดไปสู่อเมริกา จีน อินโดนีเซีย และโปแลนด์ มากว่า 30 ปี การเข้ามาถือหุ้นของเมจิ ฟิทช์ เรทติ้งส์ กล่าวว่า บริษัทประกันชีวิตจากญี่ปุ่น เมจิ ยาสึดะ (Meiji Yasuda Life) ทำความตกลงที่จะซื้อหุ้นในสัดส่วน 15% ในบริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) (TLI) ในสัปดาห์ที่แล้ว เป็นการแสดงให้เห็นถึงโอกาสการเติบโตที่แข็งแกร่งของธุรกิจประกันชีวิตไทย ฟิทช์คาดว่า จะยังคงเห็นการซื้อ/ควบรวมกิจการเพิ่มขึ้น ในขณะที่บริษัทประกันชีวิตในอาเซียนกำลังเสริมสร้างเครือข่ายในภูมิภาค

ขณะเดียวกันนักลงทุนต่างประเทศเห็นโอกาส การเติบโตในธุรกิจประกันชีวิตในประเทศไทย จากอัตราการทำประกันที่ค่อนข้างต่ำ การเติบโตของกลุ่มชนชั้นกลาง และโอกาสจากการขายประกันผ่านธนาคาร (bancassurance) เบี้ยประกันชีวิตของไทยเติบโตที่ระดับเฉลี่ย 14% ต่อปีในช่วงปี 2550-2555 และโตถึง 19% ในปี 2555 เบี้ยประกันภัยรวม (ชีวิต และวินาศภัย) ของไทยในปี 2554 อยู่ที่ 4.4% ของ GDP ต่ำกว่าสิงคโปร์และมาเลเซีย แม้ว่าจะสูงกว่าอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์

นอกจากนี้ฟิทช์เชื่อว่า ผู้ร่วมลงทุนจากต่างประเทศจะสามารถช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้บริษัทประกัน ชีวิตไทยในด้านความชำนาญเฉพาะทาง และยังช่วยสนับสนุนแผนงานที่จะเติบโตในภูมิภาคอาเซียนได้ ในกลุ่มบริษัทประกันชีวิตขนาดใหญ่ 6 แห่งในประเทศไทย ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดในเบี้ยประกันรวมกัน 80% ของทั้งระบบ มีบริษัทไทย 3 แห่ง (รวม TLI) ที่มีการร่วมถือหุ้นโดยบริษัทประกันต่างชาติชั้นนำ การซื้อ/ควบรวมกิจการเริ่มเห็นมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่ การซื้อกิจการของเมจิ ยาสึดะ และการซื้อบริษัท ธนชาต ประกันชีวิต โดยบริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) ในไตรมาส 2 ปีนี้ ฟิทช์เชื่อว่า บริษัทประกันชีวิตไทยอาจมองหาพันธมิตรต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการซื้อ/ควบรวมกิจการ แม้ว่ากฎเกณฑ์การจำกัดสัดส่วนการถือหุ้นโดยต่างประเทศในบริษัทประกันชีวิต ไทยที่ 25% จะส่งผลให้ผู้ร่วมทุนต่างประเทศมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อยใน บริษัทประกันไทย

TLI เป็นบริษัทประกันชีวิตที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในประเทศไทยในด้านสินทรัพย์และเบี้ยประกันรวม และในด้านส่วนแบ่งตลาดเบี้ยประกันผ่านช่องทางตัวแทน อย่างไรก็ดี การลงทุนในสัดส่วน 15% ดังกล่าว (มูลค่า 7 หมื่นล้านเยน ตามข่าว) ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของเมจิ ยาสึดะ (Insurer Financial Strength (IFS) A/ แนวโน้มมีเสถียรภาพ) โดยเมจิ ยาสึดะมีสินทรัพย์สุทธิรวมสำรองต่างๆ มูลค่า 3.6 ล้านล้านเยน (31 มี.ค.56) ก่อนหน้านี้ เมจิ ยาสึดะ ได้ลงทุนในบริษัทประกันชีวิตในอินโดนีเซีย Avrist Assuance ในปี 2553 และต่อมาได้เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในปี 2555

ฟิทช์คาดว่า บริษัทประกันชีวิตญี่ปุ่นจะเป็นผู้เล่นรายสำคัญในกิจกรรมซื้อ/ควบรวมกิจการ ในภูมิภาคอาเซียน กลุ่มบริษัทประกันชั้นนำ 4 กลุ่ม ได้แก่ นิปปอน เมจิยาสึดะ ไดอิชิ และซูมิโตโม มองหาโอกาสการเติบโตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไดอิชิได้ลงทุนในบริษัท Panin Life ในอินโดนีเซีย ในเดือนมิถุนายนปีนี้ และซูมิโตโม ได้ลงทุนใน Bao Viet Holdings ที่เวียดนาม ในเดือนธันวาคม 2555-ธุรกิจประกันครึ่งหลังปี 56 ยังสดใส

ขณะที่ นายเกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผยผลการศึกษาแนวโน้มอุตสาหกรรมประกันชีวิตและประกันวินาศภัยในไทย ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ร่วมกับสถาบันประกันภัยไทย โดยสอบถามจากผู้บริหาร 37 คน พบว่าโอกาสทางการตลาดและแนวโน้มของอุตสาหกรรมประกันในประเทศไทยภาพรวมยัง สามารถโตได้อีก 2.5-4 เท่า

สำหรับธุรกิจประกันครึ่งหลังปี 2556 เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก ผู้บริหาร 54.3% คาดว่าดีขึ้น ขณะที่ 25.7% เห็นว่าน่าจะใกล้เคียงกับช่วงครึ่งปีแรก และอีก 20.0% ระบุว่าจะแย่ลง โดยกลุ่มที่คาดว่าผลประกอบการจะดีขึ้นเฉลี่ยแล้วคาดว่าจะมีกำไรเพิ่มขึ้น ประมาณ 9.8% ส่วนกลุ่มคาดว่าผลประกอบการจะแย่ลง ระบุว่า กำไรจะลดลงประมาณ 6.3% และผู้บริหาร 54.3% คาดว่ากำไรในครึ่งปีหลังจะเพิ่มขึ้นอีก 9.8% ขณะที่ 74.3% ระบุว่าจะเพิ่มค่าใช้จ่ายด้าน CSR ส่วนคนไทยในภาพรวม ยังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันน้อย ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ตลาดประกันไม่เติบโตเท่าที่ควร

ส่วนปัจจัยที่จะส่งผลต่อการเติบโตของ อุตสาหกรรมประกันในช่วงครึ่งหลังของปี 2556 พบว่า ปัจจัยที่มีผลมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ อันดับที่ 1 การแข่งขันที่สูงขึ้น อันดับ 2 ความต้องการของตลาด อันดับ 3 และ 4 คือ การขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถ ผู้เชี่ยวชาญ และภาวะเศรษฐกิจของไทย อันดับ 5 การขาดแคลนบุคลากรในระดับปฏิบัติการ ด้านผลประกอบการในช่วงแรกของปีเทียบกับที่คาดการณ์ไว้ 22.9% ระบุว่า ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ ขณะที่ 54.3% ใกล้เคียงกัน และอีก 22.8% ระบุว่า ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ และปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้ผลประกอบการของบริษัทดีขึ้น ผู้ประกอบการ 40.0% ระบุว่า เกิดจากความต้องการประกันที่เพิ่มขึ้น ด้านปัจจัยที่ทำให้ผลประกอบการแย่ลงนั้น 66.7% ระบุว่า การแข่งขันที่สูงขึ้น และอีก 33.3% ระบุว่า ต้นทุนการทำธุรกิจที่สูงขึ้น

สำหรับแนวทางการบริหารค่าใช้จ่ายในช่วง ครึ่งหลังของปี 2556 พบว่าในกลุ่มของค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้นนั้น ร้อยละ 74.3 ของผู้บริหารระบุว่า มีแผนจะเพิ่มค่าใช้จ่ายในด้าน CSR ส่วนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด 3 อันดับแรกในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ อันดับ 1 ค่าใช้จ่ายเพื่อปรับปรุงหรือเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย คาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 28.3 อันดับ 2 ค่าใช้จ่ายด้านสื่อโฆษณาต่างๆ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 20.0% อันดับ 3 ค่าใช้จ่ายด้าน CSR คาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 18.3% ส่วนค่าใช้จ่ายที่มีการปรับลดลงมากที่สุด 3 อันดับแรกในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ อันดับที่ 1 คือ ค่าใช้จ่ายด้านการตลาด (ไม่รวม Cyber Marketing) คาดว่าจะลดลงประมาณ 25.0% อันดับ 2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ คาดว่าจะลดลงประมาณ 20.0% อันดับ 3 ค่าใช้จ่ายด้าน Cyber Marketing คาดว่าจะลดลงประมาณ 17.0%

นายเกียรติอนันต์ แสดงความเห็นว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในเอเชียแปซิฟิก อุตสาหกรรมประกันในประเทศไทยเป็นตลาดที่ยังสามารถเติบโตได้อีกมาก อย่างไรก็ตาม นอกจากการแข่งขันที่รุนแรงในอุตสาหกรรมและปัญหาการขาดแคลนบุคลากรแล้ว ข้อจำกัดอีกประการหนึ่ง คือ คนไทยยังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันน้อย ทำให้ไม่สามารถเลือกรูปแบบประกันที่สอดคล้องกับความต้องการได้ และยังส่งผลต่อทัศนคติเกี่ยวกับการทำประกันว่าไม่ใช่เรื่องจำเป็นเร่งด่วน หากบริษัทในอุตสาหกรรมนี้ สามารถร่วมมือกันยกระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันของคนไทย อัตราการทำประกันของคนไทยจะสูงขึ้นกว่านี้อย่างแน่นอน

นายอธิวัฒน์ ศุภสวัสดิ์วัชร ผู้อำนวยการสถาบันประกันภัยไทย กล่าวว่า การยกระดับความรู้ด้านประกันภัยของคนไทยเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องได้พยายามช่วยกันอย่างเต็มที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) มีความร่วมมือกับสมาคมประกันวินาศภัยไทยจัดโครงการหลายโครงการอย่างต่อ เนื่องมาหลายปี โดยเริ่มตั้งแต่ระดับเยาวชน นักเรียนนักศึกษา เช่น โครงการยุวชนประกันภัย การแข่งขันอัจฉริยะประกันภัย การไปอบรมให้ความรู้ในมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค ส่วนสถาบันประกันภัยไทยก็มีโครงการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในภูมิภาคในลักษณะ เดียวกัน หากมหาวิทยาลัยใดมีแนวคิดและมีความพร้อมที่จะให้สถาบันฯ ไปจัดเสวนาหรือสัมมนาในพื้นที่เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชน สถาบันฯ ยินดีดำเนินการให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ เพียงแต่ขอให้ช่วยประชาสัมพันธ์และจัดหาสถานที่ให้บุคลากร

อีกกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการยกระดับ การทำประกันภัยของคนไทยคือ คนกลางประกันภัย ที่เรียกกันว่าตัวแทนและนายหน้าประกันภัย กลุ่มนี้มีความจำเป็นต้องพัฒนาความรู้และยกระดับตนเองให้ได้ก่อน จึงจะสามารถให้คำแนะนำในการทำประกันภัยที่ถูกต้องแก่ประชาชนได้ เป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่งที่สำนักงาน คปภ. ได้เน้นเรื่องการมีใบอนุญาตเป็นตัวแทนและนายหน้าประกันภัยอย่างถูกต้อง และต้องมีการพัฒนาความรู้เพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ยิ่งขณะนี้สำนักงาน คปภ. เปิดโอกาสให้มีคนขายประกันภัยมากขึ้น ทั้งคนที่เป็นพนักงานธนาคาร พนักงานของร้านค้าต่างๆ คนเหล่านี้จำเป็นต้องมีความรู้อย่างเพียงพอเพื่อให้คำแนะนำในการขายประกัน ภัยได้อย่างถูกต้อง

กลุ่มสุดท้าย คือ บุคลากรจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้จริงในเรื่องของการประกันภัยโดย เฉพาะในยามที่คนขาดแคลนก็คือพนักงานของบริษัทประกันภัย การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้เป็นเรื่องใหญ่ ในปัจจุบันยังมีบางบริษัทที่ไม่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ มีการอบรมให้ความรู้แก่พนักงานน้อยมาก ในขณะที่บริษัทหลายบริษัททุ่มเทงบประมาณในการพัฒนาคนของตนเอง การทำงานของพนักงานที่ไม่มีความรู้ส่งผลต่อทัศนคติของผู้ที่ต้องการซื้อ ประกันภัยและผู้ที่ซื้อประกันภัยไปแล้วให้เป็นลบได้ หากไม่ได้รับคำแนะนำหรือการบริการที่ถูกต้อง และสุดท้าย คือ หลังจากที่เกิดเหตุการณ์มหาอุทกภัยที่บริษัทประกันภัยได้อานิสงส์จากการที่ บริษัทสามารถเรียกเก็บเบี้ยประกันภัยสูงขึ้น แต่หลังจากในปีต่อมา ไม่มีเหตุการณ์น้ำท่วมอีก การแข่งขันก็เริ่มเพิ่มระดับความรุนแรงอีกแล้ว บริษัทหลายบริษัทต่างก็เริ่มแข่งกันลดอัตราเบี้ยประกันภัยซึ่งเป็นสัญญาณว่า พร้อมที่จะกระโจนลงสู่มหาสมุทรสีเลือดอีกครั้งหนึ่ง





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ

no related articles to display.




up arrow