INSURANCETHAI.NET
Wed 18/12/2024 18:17:39
Home » อัพเดทประกันภัย » ฟ้องชนะหมอรักษาผิดพลาด สู้คดี 10 ปี ศาลฎีกาสั่งจ่าย 3,100,000\"you

ฟ้องชนะหมอรักษาผิดพลาด สู้คดี 10 ปี ศาลฎีกาสั่งจ่าย 3,100,000

2018/07/29 3627👁️‍🗨️

ฟ้องชนะหมอรักษาผิดพลาด สู้คดี 10 ปี ศาลฎีกาสั่งจ่าย 3.1 ล้าน พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี
เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ เตรียมยื่นฟ้องบังคับคดีให้ทางกระทรวง สธ. จ่ายเงินชดใช้ค่าเสียหายตามคำสั่งศาลฏีกาภายในระยะเวลา 30 วัน

19 พ.ย.57 ที่ศาลนนทบุรี นัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีก
คดีหมายเลขแดงที่ พ 1541/2549 ที่นางดวงนภา มารดาของนายยงยุทธ ปันนินา เป็นโจทก์ยื่นฟ้องกระทรวงสาธารณสุขในฐานะจำเลย ซึ่งเป็นต้นสังกัดของโรงพยาบาลร้องกวาง จ.แพร่ ได้ทำการรักษานายยงยุทธผู้เสียหายผิดพลาด จนทำให้นายยงยุทธกลายคนพิการทุพลภาพ ทำให้นางดวงนภาผู้เป็นมารดามาปรึกษากับทางเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ และตัดสินใจฟ้องร้องกระทรวงสาธารณสุข ต้นสังกัดของโรงพยาบาลร้องกวาง เพื่อเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น

ทั้งนี้ สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 47 นายยงยุทธ หรือ น้องโจ้ ซึ่งขณะนั้นอายุ 19 ปี เพิ่งสอบติดคณะวิศวกรรมเครื่องกล ม.นเรศวร จ.พะเยา ได้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ไปซื้อของและถูกรถกระบะเฉี่ยวชนล้มหมดสติ ก่อนจะถูกนำตัวส่ง รพ.ร้องกวางในเวลาต่อมา และถูกส่งตัวไปรักษาต่อที่ รพ.แพร่ โดยต้องพักรักษาตัวอยู่ในห้อง ICU นานถึง 27 วัน อาการสมองบวมจึงเริ่มดีขึ้น และสมองเริ่มตอบสนอง ยกแขนขา เดินได้ สื่อสารกับแม่และหมอได้ ทานอาหารทางปาก พูดคำสั้น ๆ ได้ เขียนหนังสือ+นับเลขและแยกสีลูกบอลได้แต่ต่อมา ในวันที่ 13 ก.พ. 48 ทางแพทย์ที่ทำการรักษาได้ทำการถอดท่อหายใจที่คอออก โดยที่อาการน้องโจ้ในขณะนั้น ยังไม่สามารถหายใจเองไม่ได้ ทางแพทย์จึงใส่ท่อช่วยหายใจกลับคืน

แต่ต่อมาในวันที่ 14 ก.พ. 48 แพทย์ที่ทำการรักษากลับให้ถอดท่อหายใจอีกครั้ง โดยไม่ได้อยู่ดูแลอาการต่อ ทำให้น้องโจ้ดิ้นทุรนทุราย เพราะหายใจไม่ออก แม้ว่า นางดวงนภาผู้เป็นแม่ที่เฝ้าดูแลน้องโจ้ จะตามพยาบาลมาดูอาการที่เกิดขึ้น หลังการถอดเครื่องช่วยหายใจที่คอก็ตาม แต่พยาบาลกลับบอกว่า ปล่อยไว้สักพักเดี๋ยวก็หายใจได้เอง ทำให้น้องโจ้หัวใจหยุดเต้นในเวลาต่อมา และเมื่อปั๊มหัวใจกลับคืนมาได้ สมองก็ขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง และเกิดผลกระทบตามมา นอนไม่รู้ตัว ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ แขนขาเกร็ง ทานอาหารเองไม่ได้ ถ่ายอุจจาระ-ปัสสาวะไม่รู้ตัวส่งผลทำให้นางดวงนภาแม่ของน้องโจ้ ต้องตัดสินใจออกจากงานมา เพื่อดูแลลูกที่กลายเป็นคนทุพลภาพ ในขณะที่บิดาของน้องโจ้ทำงานก่อสร้างมีรายได้เพียงวันละ 200 บาท รายได้ไม่พอต่อค่าใช้จ่าย ที่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเพิ่มขึ้นอีก ทั้งค่าแพมเพิส อุปกรณ์ดูแลคนพิการ ตกเดือนละนับหมื่น ทำให้น้องคนเล็กต้องออกจากโรงเรียนมาช่วยพ่อทำงานหารายได้ ช่วยเหลือครอบครัว ต่อมาทาง รพ.ได้ยื่นข้อเสนอจะช่วยเหลือเงิน 5 หมื่นบาท และ 1.5 แสนบาทตามลำดับ เพื่อให้จบเรื่อง แต่แม่น้องโจ้ไม่ยินยอมตัดสินใจฟ้องร้องโรงพยาบาล และร้องเรียนขอความเป็นธรรมไปหลายหน่วยงาน แต่เรื่องก็ไม่คืบหน้า จนกระทั่งตัดสินใจร้องขอความช่วยเหลือ จากทางเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ที่มีนางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา เป็นประธานเครือข่ายและยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือหลังเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ยื่นมือเข้าช่วยเหลือ ในวันที่ 27 พ.ย.49 เครือข่ายฯ ได้ช่วยนางดวงนภาแม่น้องโจ้ ยื่นฟ้องกระทรวง สธ.ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัด

1 พ.ค.51 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้นางดวงนภาชนะคดีฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย
โดยได้สั่งให้ กระทรวง สธ.จ่ายเงินจำนวน 3.9 ล้าน พร้อมอัตราดอกเบี้ยร้อย 7.5% ให้กับผู้เสียหาย
โดยทางเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ได้พาแม่น้องโจ้ไปขอรัฐมนตรีว่าการกระทรวง สธ.ทุกสมัย ให้ไม่อุทธรณ์
เพื่อไม่ให้คดียืดเยื้อต่อไปอีก โดยทางนางดวงนภาแม่ของน้องโจ้ยินดีรับเงินชดใช้ค่าเสียหายเพียง 3.9 ล้าน โดยไม่รับดอกเบี้ยแต่ต่อมาระหว่างที่ไกล่เกลี่ยเพื่อขอให้ทางกระทรวง สธ.ไม่ยื่นอุทธรณ์คดีแพ่งนั้น คดีอาญาที่ไปแจ้งความ เพื่อเอาอายุความที่ยาวกว่ามาใช้ฟ้องคดีแพ่ง ศาลอาญารับฟ้องและนัดสืบพยาน ทางรพ.แพร่ ได้ยื่นเสนอเงิน 4 แสนให้แม่น้องโจ้ เพื่อขอให้ไปถอนฟ้องคดีอาญา ทำให้นางดวงนภาแม่น้องโจ้เกิดความเห็นใจและไม่อยากให้คดียืดเยื้อตามที่ได้ตกลงกับรัฐมนตรีกระทรวง สธ.ไว้ จึงตัดสินใจไปถอนฟ้องในคดีอาญา โดยปฏิเสธไม่รับเงิน 4 แสน ที่ทางโรงพยาบาลแพร่เสนอให้ เพราะเห็นว่าหมอคู่กรณีเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้รับผิดชอบแทนควรเป็นกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัด ตามพรบ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 การรับเงินหมอหรือโรงพยาบาลของรัฐนั้น เป็นสิ่งไม่ถูกต้อง แต่เมื่อแม่น้องโจ้ถอนฟ้องคดีอาญาให้แล้ว สธ.กลับผิดคำพูด และได้ยื่นอุทธรณ์คดีแพ่ง โดยให้เหตุผลว่า สธ.ไม่มีเงินและกระทรวงการคลังจะจ่ายเมื่อสิ้นสุดทั้ง 3 ศาล อีกทั้งเหตุที่แม่น้องโจ้ไปถอนฟ้องคดีอาญานั้น ก็เพราะคดีมีช่องโหว่และไม่มีทางชนะ ทำให้แม่น้องโจ้เสียใจมากที่ถูกเล่นแง่ แต่ทางนางดวงนภาและเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ยังคงเดินหน้าสู้คดีต่อไป

กระทั่งต่อมา ในวันที่ 27 พ.ค. 53 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น สั่งให้กระทรวง สธ.จ่ายเงินชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 3.9 ล้าน พร้อมอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ต่อมาหลังคำตัดสินของศาลอุทรณ์ ทางกระทรวง สธ.กลับยื่นสู้คดีต่อในชั้นศาลฏีฎา จนกระทั่งในวันนี้ศาลฎีกาจึงมีคำพิพากษาตัดสินให้กระทรวง สธ. จ่ายเงินชดใช้ค่าเสียหายให้กับนางดวงนภามารดาของนายยงยุทธหรือน้องโจ้ เป็นเงินจำนวน 3.1 ล้านบาท พร้อมอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี รวมเวลาที่ครอบครัวผู้เสียหายเรียกร้องต่อสู้คดีมานับตั้งแต่เกิดเหตุเป็นเวลา 10 ปีพอดีภายหลังทราบผลคำตัดสินของศาลฏีกาแล้ว นางดวงนภา มารดาของนายยงยุทธหรือน้องโจ้ กล่าวว่า รู้สึกพอใจที่ศาลยังพิจารณาให้ความเป็นธรรมกับทางครอบครัว และดีใจที่คดีนี้จะสิ้นสุดลงสักที หลังต่อสู้คดีมายาวนานนับ 10 ปี ทางครอบครัวต้องลำบากหารายได้มาประคับประคองระหว่างที่ต้องฟ้องร้องสู้คดีและค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาที่เพิ่มขึ้น ตนและครอบครัวอยากให้เคสน้องโจ้บุตรชายของตนเป็นเคสสุดท้ายที่เกิดจากการรักษาโดยประมาท ผิดพลาด ของผู้เป็นหมอที่ควรระมัดระวังใส่ใจดูแลคนไข้เท่าที่ควรจะเป็น

นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า
หลังคำพิพากษาในชั้นศาลฏีกาสิ้นสุดลงแล้ว ทางทนายความของทางเครือข่ายจะยื่นฟ้องบังคับคดีให้ทางกระทรวง สธ. จ่ายเงินชดใช้ค่าเสียหายตามคำสั่งศาลฏีกาภายในระยะเวลา 30 วันต่อไป นอกจากนี้ทางเครือข่ายยังได้ยื่นร่าง พรบ. ให้คณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมมูญ สภาปฏิรูปแห่งชาติ นำร่าง พรบ.ดังกล่าวที่ทางเครือข่ายเสนอ นำไปพิจารณาเพื่อให้เกิดผลดีต่อทั้งคนไข้ แพทย์ โรงพยาบาลต่อไป





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ

no related articles to display.




up arrow