ภาพรวมธุรกิจประกันชีวิต ไตรมาสแรก 2565
ภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตไตรมาสแรก ปี 2565 ระหว่าง มกราคม – มีนาคม
– เบี้ยประกันภัยรับรวม150,427.3 ล้านบาท เติบโต -1.8% เมื่อเทียบ 2564
– เบี้ยรับรายใหม่ 40,958.0 ล้านบาท เติบโต -6.1%
– เบี้ยรับปีต่อไป 109,469.3 ล้านบาท เติบโต -0.02% อัตราความคงอยู่กรมธรรม์ 82%
เบี้ยประกันภัยรับรายใหม่
1.เบี้ยรับปีแรก 26,325.7 ล้านบาท +7.5%
2.เบี้ยจ่ายครั้งเดียว 14,632.2 ล้านบาท -23.5%
จำแนกเบี้ยประกันภัยรับรวม แยกตามช่องทางการจำหน่าย
1. ช่องทางตัวแทนประกันชีวิต (Agency) เบี้ยรับรวม 73,558.6 ล้านบาท +5.3% สัดส่วน 48.9%
2. ช่องทางธนาคาร (Bancassurance) เบี้ยรับรวม 61,346.0 ล้านบาท -9.1% สัดส่วน 40.8%
3. ช่องทางนายหน้าประกันชีวิต (Broker) เบี้ยรับรวม 8,172.0 ล้านบาท +0.2% สัดส่วน 5.4%
4. ช่องทางโทรศัพท์ (Tele Marketing) เบี้ยรับรวม 3,526.1 ล้านบาท -1.0% สัดส่วน 2.3%
5. ช่องทางดิจิทัล (Digital) เบี้ยรับรวม 205.3 ล้านบาท +35.1% สัดส่วน 0.1%
6. ช่องทางไปรษณีย์ (Direct Mail) เบี้ยรับรวม 8.6 ล้านบาท -13.3% สัดส่วน 0.01%
8. ช่องทางอื่น (Others) เช่น การขาย Worksite, ออกบูธ, ผ่านร้านค้าสะดวกซื้อ เบี้ยรับรวม 3,610.7 ล้านบาท -7.3% สัดส่วน 2.4%
ไตรมาสแรก ปี 2565 พบว่า
– เบี้ยรับรวมของสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง 27,181.4 ล้านบาท +9.5% สัดส่วน 18.1%
– เบี้ยรับรวมของประกันชีวิตแบบบำนาญ (Annuity) 2,066.1 ล้านบาท +7.8% สัดส่วน 1.4%
— เข้าสู่สังคมสูงวัย
— คนไทยมีอายุขัยมากขึ้นจากเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า
— ภาครัฐสนับสนุนในเรื่องมาตรการลดหย่อนภาษี
– ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit- Linked +Universal Life) เบี้ยรับรวม 11,210.2 ล้านบาท -5.1% เมื่อเทียบกับ 2564 สัดส่วน 7.5% ของเบี้ยประกันภัยรับรวมทั้งหมด
จากข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ปี 2564 พบว่า
ธุรกิจประกันชีวิตมีอัตราเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ GDP (Insurance Penetration Rate) อยู่ที่ 3.8% ธุรกิจประกันชีวิตยังมีโอกาสเติบโต
ในปี 2565 สมาคมประกันชีวิตไทยจึงมีแผนการดำเนินงาน
– ส่งเสริมให้มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตให้มีความหลากหลายเหมาะสมกับความต้องการที่เฉพาะเจาะจงเป็นรายบุคคล (Personalized)
– เน้นประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อยกระดับความรู้ความเข้าใจความสำคัญของการทำประกันชีวิตให้กับภาคประชาชน
– สนับสนุนการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ (Digitalization) มาใช้ในกระบวนการเสนอขายและการส่งมอบบริการหลังการขายเพื่อสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้เอาประกันภัยและวิถีชีวิตของคนยุคใหม่
– การพัฒนาระบบสอบตัวแทนประกันชีวิตแบบ Virtual Examination (E-Exam) เพื่อดึงดูดให้คนทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนรุ่นใหม่อยากสมัครเข้าร่วมในเส้นทางอาชีพตัวแทนประกันชีวิตมากขึ้น
– การมีนโยบายที่ส่งเสริมให้ทุกบริษัทประกันชีวิตจะต้องมีการดำเนินงานภายใต้ธรรมาภิบาลที่ดี (Good Governance)
ทั้งนี้สมาคมประกันชีวิตไทยจะเป็นแกนกลางในการประสานพันธกิจ ทั้งในรูปแบบประชุมหารือรับฟังความคิดเห็นที่ได้รับความร่วมมือทั้งจากบริษัทประกันชีวิตและหน่วยงานกำกับ รวมถึงการจัดตั้งคณะทำงานกลุ่มย่อย เพื่อทำงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) โดยมีคณะกรรมการบริหารสมาคมเป็นประธานเพื่อกำกับและติดตามงานอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ธุรกิจประกันชีวิตสามารถดำเนินการได้ตามแผนงาน และสามารถให้บริการลูกค้าได้ทุกรูปแบบไปพร้อมกับเติบโตได้อย่างยั่งยืน