เปลือยมุมมอง “ประกันชีวิต”
oung Financial Star 2012 หรือ YFS 2012 เวทีแข่งขันเฟ้นสุดยอดนักการเงินรุ่นใหม่ที่ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต บมจ.ปตท. และธนาคารกสิกรไทย พร้อมด้วยมูลนิธิกองทุนพัฒนาระบบตลาดทุน สมาคมนักวางแผนการเงินไทยและสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยร่วมกันจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 10 มีนักศึกษาจากทั่วประเทศแห่สมัครแข่งขันถึง 5,688 คนมากที่สุดนับตั้งแต่จัดแข่งขันมา
ช่วงชิงกัน 4 รางวัลประกอบด้วยรางวัลที่สุดแห่งนักวางแผนการลงทุน, ที่สุดแห่งผู้เชี่ยวชาญการเงิน, ที่สุดแห่งนักวางแผนการประกันชีวิต และที่สุดแห่งนักการเงินรุ่นใหม่หัวใจ CSR โดยมีนักศึกษา 13 คนที่คว้ารางวัลสุดยอดการเงินนี้มาได้พร้อมกับได้ไปทัศนศึกษาที่สถาบันการเงินชั้นนำของเซี่ยงไฮ้ เมืองศูนย์กลางการเงินของจีน
“สยามธุรกิจ” สัมภาษณ์สุดยอดนักการเงินเจ้าของรางวัล Muang Thai Star Insurance Planner ที่สุดแห่งนักวาง แผนการประกันชีวิตทั้ง 3 คนต่างสะท้อนมุมมองของคนรุ่นใหม่ที่มีต่อธุรกิจประกันชีวิตได้น่าสนใจทีเดียว
“คนส่วนใหญ่คิดว่าการซื้อประกันชีวิตเป็นการแช่งตัวเองหรือเป็นลางไม่ดี แต่ผมคิดว่าเหมือนการซื้อรถยนต์ที่จะมีระบบเซฟตี้ต่างๆ อย่างแอร์แบ็ก อุปกรณ์ เหล่านี้เราซื้อมาเป็นแสนถ้าไม่ชนก็ไม่ได้ ใช้ แต่รถชนเมื่อไหร่มันป้องกันเราให้ปลอดภัยได้ ประกันชีวิตก็เหมือนกันถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันจะช่วยให้เราปลอดภัยได้” นี่คือคำตอบของ “น้องธี” หรือ “ธีรชาติ ภู่ธำรงวัฒน์” ปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับคำถามที่ว่าประกันชีวิตสำคัญ อย่างไรที่ทำให้คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 มาครอง
“น้องธีร์” บอกว่าสาเหตุที่มาสมัครเพราะโครงการนี้เปิดโอกาสหาความรู้เพิ่ม และได้เพื่อนใหม่ๆ ที่สนใจด้านการลงทุนเหมือนกัน ส่วนตัวเริ่มลงทุนตั้งแต่ม.5 หลังจากนั้นทำมาตลอด ส่วนใหญ่ลงทุนใน หุ้นเพราะให้ผลตอบแทนสูง
และเพราะมีความรู้ด้านการลงทุนมาก่อนทำให้สอบผ่านข้อเขียนได้ไม่ยากเบียดเข้าสู่รอบ 300 คน รอบ 50 คนกระทั่งคัดเหลือ 3 คนขึ้นเวทีตัดสินกันด้วย คำถามปากเปล่าหัวข้อประกันชีวิต
“โครงการนี้ทำให้ผมได้ความรู้ ได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆ ที่มีคุณภาพได้แลกเปลี่ยนความรู้เรื่องลงทุนได้มิตรภาพ”
ส่วนมุมมองต่อประกันชีวิต “น้องธีร์” บอกว่าธุรกิจจะเติบโตมหาศาล การประกัน ชีวิตจำเป็นกับคนไทยซึ่งประชากรกำลัง เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในอนาคต ขณะที่ภาครัฐไม่ได้ซัพพอร์ตค่ารักษาพยาบาล อีกทั้งคนไทยถือครองกรมธรรม์เฉลี่ย 30% เท่านั้น เทียบกันคนญี่ปุ่นถือกรมธรรม์มากกว่าคนละ 1 ฉบับ
ซึ่งในอนาคตหากมีโอกาสทำงานในวงการประกันชีวิตสนใจงานด้านการลงทุน
ในมุมของ “ร่มฤดี อัศวพงษ์อนันต์” หรือ “น้องออย” ปริญญาโทชั้นปีที่ 1 หลักสูตรควบตรีโททางบัญชีและบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ม.ธรรม-ศาสตร์ รองชนะเลิศอันดับ 1 ถือว่าได้เปรียบ คนอื่นเพราะสมัครเป็นปีที่ 2 โดยปีแรกจบ ที่รอบ 300 คน อาศัยประสบการณ์ ความ รู้และสนใจข่าวสารก็สามารถพาตัวเองเข้า สู่รอบลึกๆ จนกระทั่งคว้ารางวัลมาได้
“ประกันชีวิตเหมือนร่มที่คอยคุ้มครองเราและครอบครัว ไม่ใช่ภาระแต่ คือการวางแผนทางการเงิน เป็นการออม การบริหารความเสี่ยง โครงการนี้ให้ทั้งความรู้ ประสบการณ์ สำคัญที่สุดคือได้เพื่อนได้มิตรภาพ”
“น้องออย” เชื่อไม่ต่างจากคนอื่นว่า อุตสาหกรรมประกันชีวิตไทยจะเติบโตอีกมากทั้งประกันชีวิตจะเป็นการวาง แผนทางการเงินประเภทหนึ่ง สามารถลดหย่อนภาษีได้และป้องกันความเสี่ยงให้กับทั้งคนทำและครอบครัว ขณะที่แบบประกันมีให้เลือกหลายแบบ เป็นโอกาสของบริษัทประกันที่จะเข้าไปเจาะโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยง บริหารการเงินมากขึ้น
ยิ่งกว่านั้น การเปิดเออีซีจะทำให้ประกันไทยมีโอกาสที่จะพัฒนาไปเท่าสิงคโปร์ มาเลเซียได้ หากพัฒนาตาราง มรณะได้จะทำให้เบี้ยของไทยแข่งขันได้มากขึ้นจากตอนนี้แพงกว่าเขา ขณะที่กลุ่มคนมุสลิมซึ่งมีประชากร 40% ของอาเซียนเป็นตลาดที่ใหญ่มาก
ส่วนเจ้าของรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 “เศรษฐพงษ์ เศรษฐการุณย์” หรือ “น้องไวท์” ปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 หลัก สูตรควบตรีโททางบัญชีและบริหารธุรกิจการบัญชี ม.ธรรมศาสตร์ รุ่นน้องจากคณะ และสถาบันเดียวกันต่างจากพี่ๆ ตรงที่ไม่มี พื้นฐานด้านไฟแนนซ์เลย แต่ส่วนตัวสนใจด้านการเงินเพราะทั้งคุณพ่อและพี่ชายอยู่วงการนี้ เมื่อไม่มีความรู้ด้านไฟแนนซ์และผ่านรอบ 300 คนเข้ามาจึงต้องตั้งใจเก็บเกี่ยวความรู้ ไม่ได้คาดหวังแต่ก็ติดรอบลึกจนได้
“ผมมองประกันชีวิตต่างจากพี่ๆ ผมมองในมุมผู้บริโภคถ้าจะเข้าถึงลูกค้า ต้อง สร้างภาพลักษณ์ประกันใหม่ การทำประกัน เป็นการช่วยเหลือลูกค้าให้มีชีวิตที่มั่นคง ลูกค้าเป็นอะไรเราสามารถจัดการได้ทันที ต้องทำให้เขาเห็น ต้องทำให้ลูกค้าเห็นประโยชน์”
โครงการนี้ให้ทั้งความรู้ด้านการเงินทั้งหมด ได้มิตรภาพ ได้ประสบการณ์ซึ่งหา ซื้อจากที่ทำงานไม่ได้ การแข่งเรื่อง CSR ทำให้เห็นเมื่อเราได้ทำงานดีควรจะคืนกลับไปให้สังคม
“น้องไวท์” มองว่าประกันชีวิตยังมีพื้นที่ให้เติบโตได้อีกมาก เทียบกับต่างประเทศ อัตราการเข้าถึงประกันของไทย ยังน้อยอยู่ การแข่งขันน้อยกว่าต่างประเทศ การเปิดเออีซีจะทำให้บริษัทต่าง ประเทศเข้ามาไทยมากขึ้น บริษัทใหญ่จะสามารถเสนอต้นทุนได้ถูกกว่า ขณะเดียวกันภาครัฐต้องสนับสนุนทั้งด้านภาษีและการให้ความรู้ประกันกับประชาชน
“มุมผู้บริโภคต้องให้เกิดความยุติธรรมกับเขา ถ้าเขาทำประกันแล้วไม่เคลม เลยต้องได้อะไรคืนมา ประกันออมทรัพย์ต้องปรับให้จูงใจมากขึ้นให้ลูกค้าเห็น เทียบ ผลตอบแทนกับลงทุนอย่างอื่นแล้วเขาได้อะไรจากประกัน แบบประกันที่อยากเห็น สมมติพ่อทำประกันเป็นอะไรไปแล้วประกันโคเวอร์มาถึงลูกเป็นมรดกแบบนี้”
“ดร.กฤษฎา เสกตระกูล” ผู้ช่วยผู้จัดการ ตลท. กล่าวว่า สาเหตุที่นักศึกษาสมัครเข้ามากว่า 5,000 คนในปีที่ผ่านมาเพราะการตื่นตัวของมหาวิทยาลัยเนื่อง จากช่วงหลังเริ่มขยายโครงการไปยังมหาวิทยาลัยเอกชนต่างๆ มากขึ้นมีการเดิน สายโรดโชว์โครงการ รวมถึงเพิ่มจำนวนเด็กที่จะผ่านเข้ารอบ 300 คนจากเดิมที่วัดจากคะแนนทั้งหมดเปลี่ยนเป็นวัดจากคะแนน 200 คน และให้โควตา 100 คนทุกภาคเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กไม่เก่งมีโอกาส เข้ารอบ
“โครงการนี้ทำให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องการบริหารความมั่งคั่ง รู้จักวางแผนทาง การเงิน เป็นเวทีพัฒนานักการเงินรุ่นใหม่เท่าที่ติดตามผลเกิน 50% ของผู้เข้ารอบทำงานสายการเงิน”
“ดร.กฤษดา” กล่าวว่า ปีนี้เป็นปีที่ 11 จะเพิ่มความรู้ด้านอนุพันธ์เข้ามา โดยเริ่มรับสมัครตั้งแต่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา