INSURANCETHAI.NET
Sun 22/12/2024 0:19:14
Home » ข่าวประกันภัย » อนุมัติหักลดหย่อนภาษีประกันสุขภาพไม่เกิน 15,000 บาท เริ่มนับ1มค2560\"you

อนุมัติหักลดหย่อนภาษีประกันสุขภาพไม่เกิน 15,000 บาท เริ่มนับ1มค2560

2018/08/12 1552👁️‍🗨️

ลดหย่อนภาษีประกันสุขภาพ 1.5 หมื่นบาท

ครม.มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวง ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการประกันสุขภาพ เพื่อเป็นการยกเว้นเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร สำหรับการประกันสุขภาพของผู้มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ทั้งนี้สำหรับเบี้ยประกันภัยที่ได้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ เมื่อรวมกับ
1.การทำประกันชีวิตกับบริษัทประกันชีวิต กรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีกำหนดเวลา ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
2.การฝากเงินตามข้อตกลงโดยอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของผู้ฝากเงินและมีกำหนดระยะเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
3.เบี้ยประกันสุขภาพของผู้มีเงินได้ ซึ่งเสนอเพิ่มเติมในครั้งนี้ รวมกัน 3 ประเภท ต้องไม่เกิน 1 แสนบาท

“ครม.” อนุมัติมาตรการหักลดหย่อนภาษีทำประกันสุขภาพไม่เกิน 15,000 บาท สำหรับเบี้ยประกันภัยที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 60 เป็นต้นไป

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในวันนี้ว่า ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการประกันสุขภาพ โดยยกเว้นเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันชีวิต หรือ บริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร สำหรับการประกันสุขภาพของผู้มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท สำหรับเบี้ยประกันภัยที่ได้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป

สำหรับปัจจุบัน ผู้มีเงินได้สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายให้แก่บริษัทประกันชีวิตที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร เฉพาะกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป สำหรับการประกันชีวิตของผู้มีเงินได้มาหักเป็นค่าลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท

ส่วนกรณีสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้มีการประกันชีวิตและความเป็นสามีและภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ผู้มีเงินได้มีสิทธินำค่าเบี้ยประกันชีวิตของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้มาหักเป็นค่าลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท

ผู้มีเงินได้สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้เพิ่มอีกในอัตรา 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ เงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

ผู้ที่ซื้อประกันภัยสุขภาพกับบริษัทประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัยในประเทศตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.60 เป็นต้นไป
สามารถนำค่าใช้จ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกิน 15,000 บาท มาลดหย่อนภาษีได้
โดยที่ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเมื่อนำมารวมกับค่าลดหย่อนในการทำประกันชีวิต และการฝากเงิน ที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จะต้องมีวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท

เดิมการทำประกันภัยที่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้นั้น มีอยู่ 2 ลักษณะ
สามารถหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท คือ ค่าเบี้ยประกันชีวิต เฉพาะกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และการฝากเงินที่มีข้อตกลงว่า ธนาคารผู้รับฝากจะจ่ายเงินและรับผลประโยชน์ตามข้อตกลง โดยอาศัยการทรงชีพหรือการมรณะของผู้ฝากเงิน และกำหนดระยะเวลาฝากเงินตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่เคยมีประกันภัยสุขภาพ จึงมีผู้เรียกร้องให้นำเรื่องดังกล่าวเข้ามา เพื่อช่วยส่งเสริมและจูงใจให้ประชาชนทำประกันภัยสุขภาพมากขึ้น

การเพิ่มประกันสุขภาพเข้ามาอีก 15,000 บาท ทำไมไม่เอาไปรวมกับเดิมที่ได้ 100,000 บาท เป็นกรอบไม่เกิน 115,000 บาท
ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากรได้ไปทบทวนเรื่องนี้และดูข้อมูลแล้วพบว่า ประชาชนจำนวนมากที่มีรายได้ปานกลางจะนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปหักลดหย่อนไม่ครบ 100,000 บาทอยู่แล้ว หากจะเพิ่มขึ้นคนที่ได้ประโยชน์จะเป็นผู้มีรายได้สูง จึงคงกรอบไว้เท่าเดิม เพราะคนที่มีรายได้ปานกลางยังมีช่องที่จะได้ใช้ประโยชน์ได้”

ก่อนหน้านี้

เอกชนชงรัฐเบี้ยจ่ายสุขภาพลดภาษี
วันศุกร์ที่ 09 มกราคม 2015 เวลา 11:15 น.   ที่มา : บ้านเมือง
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวระหว่างร่วมงานเปิดโครงการ “Muang Thai Life Assurance MODERN Hospital Award 2015” เพื่อคัดเลือกและมอบรางวัลให้แก่โรงพยาบาลคู่สัญญา ว่า ขณะนี้ไทยเริ่มเข้าสู่สังคมสูงอายุและเมื่อเศรษฐกิจเติบโตต่อเนื่อง จึงให้ความสำคัญซื้อประกันสุขภาพควบประกันชีวิตมากขึ้น เมื่อประชาชนสนใจซื้อประกันสุขภาพ คปภ.จึงต้องควบคุมคุณภาพการรักษาพยาบาล

ขณะนี้ คปภ.ได้หารือกับคณะแพทย์เพื่อควบคุมให้บริษัทประกันชีวิตคุ้มครองโรคที่ สำคัญหลายโรค แม้ไม่ได้รับการสั่งให้นอนพักในโรงพยาบาลก็สามารถเคลมประกันเพื่อเบิกเงิน ค่ารักษาพยาบาลได้ จากปัจจุบันบริษัทประกันชีวิตให้เคลมประกันได้เฉพาะโรคที่ต้องนอนรักษา พยาบาล และเพื่อส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมประกันชีวิตโดยเฉพาะประกันสุขภาพเติบโต ขึ้น ภาคเอกชนจึงเสนอไปยัง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้พิจารณานำเบี้ยประกันสุขภาพหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะปัจจุบันการหักลดหย่อนภาษีทำได้เฉพาะการประกันชีวิต 100,000 บาท กองทุนบำเหน็จบำนาญบวกกับกองทุน LTFRMF ไม่เกิน 200,000 บาท แต่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของรัฐบาล

อย่างไรก็ตาม คปภ.พร้อมสนับสนุนบริษัทประกันชีวิตสามารถนำเงินกองทุนไปหาผลตอบแทนเพิ่มได้ ทั้งการซื้อพันธบัตรระยะยาว การซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จะเกิดขึ้นจำนวนมาก ดังนั้น จึงเตรียมแก้ไขหลักเกณฑ์ หรือ Rise charge เข้ากองทุน จากเดิมครอบคลุมความเสี่ยงทั้งหมดจากการลงทุนเปลี่ยนเป็นกำหนดเพดานในการรับ ความเสี่ยง เพื่อให้บริษัทประกันชีวิต ประกันวินาศภัย ลงทุนด้านต่างๆ มากขึ้น

นายสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทย ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า อุตสาหกรรมประกันสุขภาพมีมูลค่าประมาณ 45,000 ล้านบาท ยังมีโอกาสเติบโตต่อเนื่อง เพราะประชาชนให้ความสำคัญประกันสุขภาพมากขึ้น ทำให้ธุรกิจประกันชีวิตซึ่งขายประกันควบไปด้วยเติบโตสูงขึ้น ยอดเบี้ยประกันปี 2557 ขยายตัว 13%

อัพเดท

ครม.ไฟเขียวลดหย่อนภาษี ประกันสุขภาพ
ครม. เห็นชอบให้สามารถนำเบี้ย ประกันสุขภาพ หักลดหย่อนภาษี ไม่เกิน 1.5 หมื่นบาท รวมกับการหักลดหย่อนเบี้ย ประกันชีวิต

ที่ประชุม ครม.อนุมัติให้นำเบี้ย ประกันสุขภาพ มาหักลดหย่อนภาษีได้ 1.5 หมื่นบาทต่อปี

ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร เห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการ ประกันสุขภาพ โดยให้ประชาชนสามารถนำเบี้ย ประกันสุขภาพ มาหักลดหย่อนภาษี รายได้บุคคลธรรมดาได้ไม่เกิน 1.5 หมื่นบาท แต่เมื่อรวมกับการหักลดหย่อนเบี้ย ประกันชีวิต และ เงินฝาก ที่มีเงื่อนไข ประกันชีวิต ทั้งหมดแล้ว ต้องไม่เกิน 1 แสนบาท ทั้งนี้เบี้ย ประกันสุขภาพ ที่ได้รับสิทธิต้องจ่าย ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.60 เป็นต้นไป

สำหรับการ ประกันสุขภาพ หมายถึง
1. การ ประกันภัย ที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการ รักษาพยาบาล อันเกิดจากการเจ็บป่วย และการบาดเจ็บ การชดเชยการทุพพลภาพ และการสูญเสียอวัยวะ เนื่องจากการเจ็บป่วย หรือบาดเจ็บ
2. การ ประกันอุบัติเหตุ เฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการ รักษาพยาบาล
3. การ ประกันภัย โรคร้ายแรง
4. การ ประกันภัย การดูแลระยะยาว

สำหรับผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ภาครัฐ มาตรการดังกล่าว จะมีผลต่อการจัดเก็บภาษีเป็นจำนวนไม่มากนัก แต่มาตรการนี้ จะมีส่วนช่วยลดภาระการจัดการ งบประมาณ รายจ่ายของรัฐบาล ในด้าน สุขภาพ ได้อีกทางหนึ่งด้วย





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow