INSURANCETHAI.NET
Sat 18/01/2025 18:11:03
Home » ประวัติบริษัทประกันวินาศภัย สินทรัพย์ประกันภัย » สินทรัพย์ประกันภัย (เดอะวันประกันภัย)\"you

สินทรัพย์ประกันภัย (เดอะวันประกันภัย)

2011/11/28 8677👁️‍🗨️

โครงสร้างผู้ถือหุ้น

จากเว็บไซต์ บริษัท สินทรัพย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน)
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทคือ บริษัทฯกลุ่มธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ “บิวตี้ เจมส์ กรุ๊ป” (Beauty Gems Group) นายพรสิทธิ์ ศรีอรทัยกุล เป็นประธานกรรมการบริษัทฯ

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่าผู้ถือหุ้นของ บริษัท เดอะ วันประกันภัย จำกัด (มหาชน)
นาย พรสิทธิ์ ศรีอรทัยกุล 21.0902%
นาง สุณี ศรีอรทัยกุล 20.9546%
นาย สุรสิทธิ์ ศรีอรทัยกุล 20.9546%
นาย สุริยน ศรีอรทัยกุล 20.9546%
บริษัท บิวตี้เจมส์แฟคตอรี่ จำกัด 8.2536%
บริษัท บิวตี้เจมส์ เซนเตอร์ จำกัด 5.9995%

ผลประกอบการของบริษัท เดอะ วัน ประกันภัย ในปี 2563
รายได้ รวม 1,238 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 131.84 ล้านบาท และมีหนี้สินรวม 3,164 ล้านบาท

13/12/2021 รมว.คลัง มีคำสั่ง “เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย เดอะ วัน ประกันภัย”

เลขาธิการ คปภ. สั่งตั้งศูนย์ทั่วประเทศให้คำแนะนำ รับเรื่องร้องเรียน และอำนวยความสะดวก แก่ผู้เอาประกันภัยทุกพื้นที่ และกองทุนประกันวินาศภัยเข้ารับช่วงจ่ายเคลมประกัน เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนอย่างเต็มที่
 
ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีคำสั่งกระทรวงการคลังที่ 2423/2564 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2564 ให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยบริษัท เดอะ วัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน) โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 59 (1) (2) (4) และ (5) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป
  การเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยครั้งนี้ เป็นมาตรการที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะคุ้มครองสิทธิประโยชน์    ของประชาชน โดยสำนักงาน คปภ. ได้ดำเนินการตามขั้นตอนและกระบวนการต่าง ๆ ภายใต้ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญ พร้อมทั้ง ขอชี้แจงข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายและเหตุประกอบการที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการเตรียมมาตรการต่าง ๆ เพื่อรองรับมิให้ผู้เอาประกันภัยและประชาชนเดือดร้อน ดังนี้
  1. ตามที่ปรากฏหลักฐานต่อนายทะเบียนว่า บริษัท เดอะ วัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน) มีฐานะการเงินไม่มั่นคงโดยมีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน จัดสรรสินทรัพย์หนุนหลังไม่เพียงพอตามที่กฎหมายกำหนด มีสินทรัพย์สภาพคล่องไม่เพียงพอสำหรับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน และปรากฏว่าอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งปรากฏหลักฐาน ว่าบริษัทไม่มีเจตนาที่จะแก้ไขฐานะการเงินของบริษัท ทำให้ไม่สามารถมั่นใจได้ว่าบริษัทมีความสามารถในการชำระหนี้ตามภาระผูกพันที่มีต่อผู้เอาประกันภัยหรือประชาชนได้ มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนล่าช้า อันเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศฯ การประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทนฯ และยังคงมีจำนวนค่าสินไหมทดแทนคงค้างจำนวนมาก รวมทั้งมีการปิดทำการโดย
ไม่มีเหตุผลและไม่ได้ขออนุญาตจากนายทะเบียนจึงเป็นกรณีที่บริษัทมีฐานะหรือการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน เป็นเหตุให้นายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของบอร์ด คปภ. มีคำสั่งตามมาตรา 52 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สั่งให้บริษัทหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว และแก้ไขฐานะและการดำเนินการตามที่นายทะเบียนกำหนด 
2. สำนักงาน คปภ. ได้เข้าควบคุมธุรกรรมการเงินเพื่อให้มั่นใจได้ว่าระหว่างที่มีคำสั่งดังกล่าว จะไม่มีการโยกย้ายทรัพย์สิน หรือมีการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้เอาประกันภัยและประชาชน นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการเร่งรัดให้บริษัท     จ่ายค่าสินไหมฯ เป็นผลให้ตั้งแต่วันที่ 2-13 ธันวาคม 2564 สามารถเร่งเคลียร์ค่าสินไหมทดแทนและคืนเบี้ยประกันภัยให้กับผู้เอาประกันภัยได้กว่า 31,201 ราย เป็นเงินกว่า 109.22 ล้านบาท โดยก่อนมีคำสั่งฯ ตามมาตรา 52 สามารถเร่งบริษัทให้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เอาประกันภัยได้กว่า 29,000 ราย รวมถึงกรณีร้องเรียน ณ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนประกันภัยโควิด-19 สามารถเคลียร์  ได้ 3,856 เรื่อง รวมเป็นเงิน 2,435 ล้านบาท
3. ต่อมาปรากฏพยานหลักฐานว่าบริษัทไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนด หากรอให้ครบกำหนดเวลาที่กำหนด อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน สำนักงาน คปภ. โดยมติบอร์ด คปภ. ครั้งที่ 14/2564 จึงได้เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณามีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท เดอะ วัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน) 
4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่า บริษัทมีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน จัดสรรเงินสำรองตามมาตรา 23 และจัดสรรสินทรัพย์หนุนหลังตามมาตรา 27/4 ไม่เพียงพอตามที่กฎหมายกำหนด มีสินทรัพย์สภาพคล่องไม่เพียงพอสำหรับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน มีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนไม่เพียงพอตามที่กฎหมายกำหนด แสดงให้เห็นว่าบริษัทมีฐานะการเงินไม่มั่นคงและไม่เพียงพอต่อภาระผูกพัน ประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทนที่ต้องจ่ายโดยไม่มีเหตุอันสมควร อันเป็นการกระทำ  ที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายหลายประการ กรณีจึงเห็นได้ว่าบริษัทไม่มีความสามารถและความพร้อมที่จะรับประกันภัย และประกอบธุรกิจประกันภัยได้ต่อไป ถ้าให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยต่อไป จะทำให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนหรือผู้เอาประกันภัย ตลอดจนความน่าเชื่อถือของธุรกิจประกันภัย ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 59 (1) (2) (4) และ (5)  แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัยฯ จึงมีคำสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยบริษัท เดอะ วัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป โดยหากบริษัทไม่เห็นด้วยกับคำสั่งนี้ มีสิทธิเสนอคำฟ้องยื่นต่อศาลปกครองกลางภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง
 5. เมื่อรัฐมนตรีฯ มีคำสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยบริษัทแล้ว บอร์ด คปภ. ได้อาศัยอำนาจ ตามความในมาตรา 60 และมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัยฯ แต่งตั้งให้กองทุนประกันวินาศภัย เป็นผู้ชำระบัญชี
 6. การเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยบริษัทในครั้งนี้ เป็นปัญหาฐานะการเงินและการจัดการภายใน  ของบริษัท  เดอะ วัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน) จึงไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเงินหรือสภาพคล่องของบริษัทประกันวินาศภัยอื่น หรือธุรกิจประกันภัยในภาพรวม ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. ได้เตรียมมาตรการที่จะช่วยเหลือผู้เอาประกันภัย เพื่อรองรับมิให้ผู้เอาประกันภัยได้รับผลกระทบไว้แล้ว ดังนี้
               6.1 บูรณาการความร่วมมือกับกองทุนประกันวินาศภัย (ในฐานะผู้ชำระบัญชี) และบริษัทประกันวินาศภัย จำนวน 13 บริษัท  บริษัทประกันชีวิต จำนวน 8 บริษัท ดังนี้
                        (1) ผู้เอาประกันภัยที่ได้รับความเสียหายและได้ยื่นเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนไว้กับบริษัทแล้ว สามารถติดต่อกองทุนประกันวินาศภัย เพื่อขอรับชำระหนี้โดยกองทุนประกันภัยวินาศภัยจะเข้ารับช่วงจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามที่ได้มีการอนุมัติค่าสินไหมทดแทนไว้แล้ว   
                        (2) ผู้เอาประกันภัยที่ได้รับความเสียหายแล้ว แต่ยังไม่ได้ยื่นเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนไว้กับบริษัท สามารถยื่นเรียกร้อง      ค่าสินไหมทดแทนจากกองทุนประกันวินาศภัย โดยกองทุนประกันวินาศภัยจะพิจารณาค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย
                        (3) ผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัยทุกประเภทของบริษัท เดอะ วัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน) สามารถที่จะดำเนินการในส่วนของกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว ดังนี้
– ขอรับคืนเบี้ยประกันภัยที่เหลือจากกองทุนประกันวินาศภัย โดยกองทุนประกันวินาศภัยจะคืนเบี้ยประกันภัย  ให้ตามส่วนระยะเวลาตามความคุ้มครองที่เหลืออยู่  หรือ
– นำเบี้ยประกันภัยที่จะได้รับคืนไปใช้แทนเงินสดในการเลือกซื้อประกันภัยได้จากบริษัทประกันวินาศภัย บริษัทประกันชีวิตที่เข้าร่วมโครงการ ได้ทุกประเภทกรมธรรม์ประกันภัย 
       (4) ผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัท เดอะ วัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ที่ให้ความคุ้มครองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สามารถนำเบี้ยประกันภัยไปซื้อความคุ้มครองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จากบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะให้ความคุ้มครองเฉพาะภาวะโคม่า ในวงเงินความคุ้มครอง 300,000 บาท เบี้ยประกันภัย 300 บาท หรือนำเบี้ยประกันภัยไปซื้อความคุ้มครองกับบริษัทประกันวินาศภัยและบริษัทประกันชีวิตที่เข้าร่วมโครงการ โดยจะได้ส่วนลดเบี้ยประกันภัยเพิ่มอีก 10% ของกรมธรรม์ใหม่ แต่ไม่เกิน 500 บาท ยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)  และกรมธรรม์ประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) 
      6.2 สำนักงาน คปภ. ได้จัดตั้งศูนย์ให้คำแนะนำ รับเรื่องร้องเรียน และอำนวยความสะดวกในการรับคำขอรับชำระหนี้ รวมทั้งการสนับสนุนบุคลากรในการรับคำขอรับชำระหนี้ ทั้งที่สำนักงาน คปภ. ส่วนกลางและสำนักงาน คปภ. ส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อให้บริการแก่ผู้เอาประกันภัยและประชาชนเป็นไปอย่างรวดเร็วและทั่วถึง 
         6.3 มีการจัดเตรียมสถานที่ที่สามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ได้แก่
           (1) กองทุนประกันวินาศภัย (ในฐานะผู้ชำระบัญชี) อาคารชินวัตรทาวเวอร์ 3 ชั้น 15 เลขที่ 1010 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 หมายเลขโทรศัพท์ 0-2791-1444 ต่อ 26-30
      (2) สำนักงาน คปภ. ซึ่งได้รับมอบหมายจากกองทุนประกันวินาศภัยทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการรับเอกสารหลักฐานการขอรับชำระหนี้แล้วส่งต่อให้กองทุนประกันวินาศภัยต่อไป โดยผู้เอาประกันภัยสามารถยื่นได้ทั้งส่วนกลางและต่างจังหวัด ดังนี้
ส่วนกลาง ยื่นได้ ๓ แห่ง ดังนี้
 – สำนักงาน คปภ. ส่วนกลาง เลขที่ 22/79 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทร. 0-2515-3999 หรือ สายด่วน คปภ. 1186 หรือ chatbot “คปภ. รอบรู้” (LINE@OICConnect)
 –  สำนักงาน คปภ. เขตท่าพระ เลขที่ 287 ซอยรัชดาภิเษก 6 ถนนรัชดาภิเษก-ท่าพระ แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600 หมายเลขโทรศัพท์ 0-2476-9940-3
 – สำนักงาน คปภ. เขตบางนา เลขที่ 1/16 อาคารบางนาธานี ชั้น 8 ถนนบางนาตราด กม.3 แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260 หมายเลขโทรศัพท์ 0-2361-3769-70    
 ส่วนภูมิภาค สามารถยื่นขอรับชำระหนี้ได้ที่สำนักงาน คปภ. ภาค และสำนักงาน คปภ. จังหวัด ทั่วประเทศ
          6.4 สำนักงาน คปภ. ได้พัฒนา Web Application โดยเฉพาะขึ้น เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เอาประกันภัยของบริษัท เดอะ วัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้รวดเร็วขึ้น โดยระบบจะแจ้งข้อมูลไปยังผู้เอาประกันภัยทางออนไลน์ 
  6.5 สำนักงาน คปภ. มีการบูรณาการความร่วมมือกับกองทุนประกันวินาศภัยและสมาคมประกันวินาศภัยไทย โดยจัดเตรียมหมายเลขโทรศัพท์รวม 125 คู่สายทั่วประเทศ เพื่อตอบข้อซักถามเกี่ยวกับเรื่องนี้
ทั้งนี้ หากเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยของบริษัท ให้ยื่นขอรับชำระหนี้ต่อกองทุนประกันวินาศภัยในฐานะผู้ชำระบัญชี ของบริษัท ภายใน 60 วันนับแต่วันที่กองทุนประกันวินาศภัยกำหนดในประกาศ โดยให้นำเอกสารต้นฉบับพร้อมทั้งสำเนา จำนวน 2 ชุด ประกอบการยื่นขอรับชำระหนี้ ดังนี้ 1) กรมธรรม์ประกันภัย 2) บัตรประจำตัวประชาชน 3) ใบเคลม ใบนัดชำระหนี้ หรือเอกสารอื่นใด   ที่แสดงถึงมูลหนี้ และ 4) หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล) และหากเป็นเจ้าหนี้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยให้นำเอกสารแสดงความเป็นเจ้าหนี้ ต้นฉบับพร้อมทั้งสำเนา จำนวน 1 ชุด ประกอบการยื่นขอรับชำระหนี้ ดังนี้ 1) หลักฐานแสดงถึงมูลหนี้ 2) บัตรประจำตัวประชาชน และ 3) หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล)
ทั้งนี้ หากเจ้าหนี้ไม่สามารถยื่นได้ด้วยตนเอง จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจโดยติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมกับสำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ ยื่นต่อกองทุนประกันวินาศภัยในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัทฯ

“แม้จากการกำกับ ติดตามก่อนมีคำสั่งฯ ตามมาตรา 52 และการเข้าควบคุมตามคำสั่งฯ มาตรา 52 จะทำให้สำนักงาน คปภ. สามารถช่วยเหลือผู้เอาประกันภัย โดยเร่งให้บริษัทจ่ายสินไหมฯ และคืนเบี้ยประกันภัยรวม 60,209 ราย เป็นเงินรวม 2,543.97 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ทรัพย์สินของบริษัทยังไม่เพียงพอที่จะจ่ายเคลมที่ทยอยเข้ามาเรื่อย ๆ โดยที่บริษัทไม่สามารถแก้ไขปัญหาฐานะการเงินได้ จึงจำเป็น   อย่างยิ่งที่จะต้องมีการเพิกถอนใบอนุญาตตามกฎหมาย เพื่อมิให้เกิดความเสียหายต่อผู้เอาประกันภัยและเพื่อให้กองทุนประกันวินาศภัย   เข้ามาดูแลการชำระหนี้ตามสัญญาประกันภัย ในการนี้ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กำชับให้ดูแลประชาชนอย่างเต็มที่ เพื่อมิให้ประชาชนผู้เอาประกันภัยเดือดร้อน โดยสำนักงาน คปภ. จะบูรณาการร่วมกับกองทุนฯ สมาคมประกันวินาศภัยไทย และสมาคมประกันชีวิตไทย ช่วยบรรเทา เยียวยาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างเต็มที่ รวมทั้งจะบูรณาการกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมของกรรมการและผู้บริหารบริษัท หากพบว่ามีความผิด จะบังคับมาตรการทางกฎหมายอย่างเคร่งครัด สำหรับรายชื่อบริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการ สามารถดูได้จากเว็บไซต์สำนักงาน คปภ. (www.oic.or.th) หรือสอบถามได้ที่สายด่วน คปภ. 1186 หรือ Line Chatbot@Oicconnect ข้อมูลอัตโนมัติ 24 ชั่วโมง”
https://www.oic.or.th/th/consumer/news/releases/92565

1/12/2021 บอร์ด คปภ. เห็นชอบให้นายทะเบียนสั่ง “เดอะ วัน ประกันภัย” หยุดรับ ประกันวินาศภัยชั่วคราว

บอร์ด คปภ. เห็นชอบให้นายทะเบียนสั่ง “เดอะ วัน ประกันภัย” หยุดรับ ประกันวินาศภัยชั่วคราว 
• สั่งให้เร่งแก้ไขฐานะการเงินภายในกำหนด คุมเข้มห้ามรับลูกค้ารายใหม่ ต้องจ่ายเคลมลูกค้ารายเดิมตามปกติ 
• เลขาธิการ คปภ. สั่งมาตรการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ประชาชนอย่างเต็มที่
 
ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (บอร์ด คปภ.) ครั้งที่ 14/2564 เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบให้บริษัท เดอะ วัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน) หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป
 
ทั้งนี้ ได้ปรากฏพฤติการณ์และหลักฐานต่อนายทะเบียนว่า บริษัท เดอะ วัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน) มีฐานะการเงินไม่มั่นคง โดยมีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน จัดสรรสินทรัพย์หนุนหลัง ไม่เพียงพอตามที่กฎหมายกำหนด มีสินทรัพย์สภาพคล่องไม่เพียงพอสำหรับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน และปรากฏว่าอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งปรากฏหลักฐานว่าบริษัทไม่มีเจตนาที่จะแก้ไขฐานะการเงินของบริษัท ทำให้ไม่สามารถมั่นใจได้ว่าบริษัทมีความสามารถในการชำระหนี้ตามภาระผูกพันที่มีต่อผู้เอาประกันภัยหรือประชาชนได้ มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนล่าช้า อันเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่ถือว่าเป็นการประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหรือประวิงการคืนเบี้ยประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย และยังคงมีจำนวนค่าสินไหมทดแทนคงค้าง
จำนวนมากจนส่งผลกระทบต่อฐานะและการดำเนินการของบริษัท นอกจากนี้ยังมีการกระทำการอันเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายโดยประกาศปิดทำการ โดยไม่ได้แจ้งเหตุผล ส่งผลให้เกิดความตื่นตระหนกต่อผู้เอาประกันภัยและประชาชนจำนวนมาก เนื่องจากเข้าไปติดต่อ ณ ที่ทำการบริษัท แต่ไม่ได้รับการบริการใด ๆ จากบริษัทจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏหลักฐานดังกล่าว นายทะเบียนจึงเห็นว่า บริษัท เดอะ วัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน) มีฐานะหรือการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชนเพื่อให้การกำกับดูแลและติดตามการแก้ไขปัญหาฐานะและการดำเนินการของบริษัทให้เป็นไปอย่างรอบด้าน ครอบคลุมทั้งการติดตามความมั่นคงทางการเงินและธุรกรรมการดำเนินงานที่ถูกต้องโปร่งใส อันจะทำให้บริษัทดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน รวมถึงป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อผู้เอาประกันภัยและประชาชนในอนาคต อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 52 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับมติคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ในการประชุมครั้งที่ 14/2564 เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564 นายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของ บอร์ด คปภ. จึงมีคำสั่งให้บริษัท เดอะ วัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
1. หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว
2. แก้ไขฐานะการเงินให้เพียงพอต่อภาระผูกพัน และให้มีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนเพียงพอตามที่กฎหมายกำหนดภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง
3. ให้บริษัทเปิดทำการติดต่อกับประชาชนทุกวันตามประกาศ คปภ. ว่าด้วยการกำหนดให้บริษัทประกันวินาศภัยเปิดทำการติดต่อกับประชาชนฯ
4. จัดทำรายงานสรุปรายละเอียดของกรมธรรม์ประกันภัยที่บริษัทจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย เช่น หมายเลขกรมธรรม์ประกันภัย ชื่อผู้เอาประกันภัย จำนวนเงินที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน และจัดส่งรายงานให้สำนักงาน คปภ. ทุกวันทำการนับแต่วันที่รับทราบคำสั่ง และให้บันทึกรายการในสมุดทะเบียน สมุดบัญชี คำนวณและดำรงเงินสำรองประกันภัย   ให้ถูกต้อง ครบถ้วนตามกฎหมาย
5. เร่งรัดการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
6. ให้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตาม ตามข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5 ทุกวันทำการ จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
ทั้งนี้ ตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งให้บริษัทหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว ห้ามมิให้กรรมการ พนักงาน และลูกจ้างของบริษัทสั่งจ่ายเงินของบริษัท หรือทำการเคลื่อนย้ายหรือจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัท เว้นแต่เป็นการจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างแก่พนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทตามปกติ สำหรับการจ่ายเงินอื่นให้เป็นไปตามที่นายทะเบียนกำหนด รวมถึงบริษัทต้องรายงานเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบถึงบรรดาเจ้าหนี้และลูกหนี้ทั้งหมดของบริษัทภายในระยะเวลานายทะเบียนกำหนด
นอกจากนี้ ในกรณีที่บริษัทไม่สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาฐานะการเงินและการดำเนินงานตามคำสั่งนายทะเบียนได้อย่างครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนดข้างต้น หรือปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัทมีการดำเนินการที่อาจเข้าข่ายการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายเพิ่มเติม หรือนายทะเบียนพิจารณาแล้วเห็นว่าหากรอให้ครบกำหนดระยะเวลาที่กำหนดข้างต้นอาจก่อให้เกิดความเสียหาย  ต่อผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน ให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยดำเนินการตามมติคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 14/2564 เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564 ต่อไป
 
“การออกคำสั่งนายทะเบียนดังกล่าวจะช่วยให้สำนักงาน คปภ. สามารถคุ้มครองสิทธิประโยชน์ประชาชนได้เต็มที่ และตามประกาศนายทะเบียน เรื่อง กำหนดการจ่ายเงินของบริษัท ที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว ทำให้สำนักงาน คปภ. สามารถเข้าไปควบคุมการจ่ายเงินต่าง ๆ ของบริษัทได้ทั้งหมด และจัดการเคลียร์ปัญหาการจ่าย       ค่าสินไหมทดแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยได้สั่งการไปยังสายตรวจสอบ สายวิเคราะห์ธุรกิจประกันภัย และสายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ ตลอดจนสำนักงาน คปภ. ทั่วประเทศ ตรวจสอบสาขา/สำนักงานตัวแทนของบริษัท ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบและให้ดำเนินการแจ้งการสั่งหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว เพื่อป้องกันไม่ให้บริษัท/ตัวแทน/นายหน้าประกันภัย         ขายกรมธรรม์รายใหม่ในระหว่างการหยุดรับประกันภัย พร้อมทั้ง ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่เข้าไปประจำที่บริษัทอย่างเต็มพิกัด เพื่อควบคุมให้บริษัทดำเนินการให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน หากพบว่าบริษัทไม่ได้ดำเนินการตามเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน ก็จะดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมายในระดับที่เข้มข้นยิ่งขึ้นต่อไป สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท สำนักงาน คปภ. จะตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป หากพบว่ามีการกระทำความผิดจะดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมายอย่างเคร่งครัด
https://www.oic.or.th/th/consumer/news/releases/92541

30/11/2021 สะพัด คปภ.เตรียมสั่ง “เดอะวันฯ” หยุดรับประกัน หลังผู้ถือหุ้นไม่เพิ่มทุน

ประกันโควิด “เจอ จ่าย จบ” “เดอะวันประกันภัย” ส่อถูก คปภ. เตรียมสั่งหยุดรับประกันชั่วคราว หลังผู้ถือหุ้นไม่ใส่เงินเพิ่มทุน 2,000 ล้านบาท พร้อมให้เร่งแก้ไขฐานะเงินกองทุนภายใน 30 วัน หากยังไม่ดำเนินการเจอสั่งเพิกถอนใบอนุญาต คปภ.เตรียมประชุมบอร์ด 1 ธ.ค.นี้ ฟาก “ไทยประกันภัย” ธุรกิจในเครือเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกาศยุติรับประกันภัยใหม่ตั้งแต่ต้นปีหน้า ระบุเพื่อลดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทในเครือ ด้าน “สินมั่นคงประกันภัย” กำลังพิจารณาขายหุ้นส่วนใหญ่มูลค่ากว่า 6.7 พันล้านบาท

บริษัทประกันที่ขายกรมธรรม์โควิด-19 ประเภท “เจอ จ่าย จบ” ยังคงได้รับผลกระทบหนัก จากยอดเคลมที่พุ่งต่อเนื่อง
บริษัท เดอะวัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน) แจ้งผู้เอาประกันภัยของบริษัทผ่านหน้าเว็บไซต์บริษัทอยู่ระหว่างปิดปรับปรุงชั่วคราว เพื่อดำเนินการเสริมสภาพคล่อง
โดยลูกค้าสามารถติดตามข่าวสารได้ที่เว็บไซต์บริษัทใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์

30 พ.ย.64 ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนมุัติการเพิ่มทุน 2,000 ล้านบาท ตามแนวทาง OIC และ ทาง คปภ.ได้เชิญผู้บริหารเข้าหารือต่อจากนั้น
ผู้ถือหุ้นเดอะวันไม่เพิ่มทุน สะพัด คปภ.สั่งหยุดรับประกัน

ที่ประชุมมีมติยืนยันไม่อนุมัติการเพิ่มทุน OIC น่าจะมีการยกระดับมาตรการ ประกาศบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย ภายใต้มาตรา 52 สั่งให้บริษัท เดอะวันประกันภัย หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว

มาตรา 52 จะมีระยะเวลาที่คณะกรรมการ คปภ.กำหนดไว้ เช่น ให้เร่งแก้ไขฐานะเงินกองทุนและให้เพิ่มทุน และหากยังไม่ดำเนินการใด ๆ จะบังคับใช้กฎหมายมาตรา 59 โดยอาศัยอำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย

คปภ.ย้ำคุ้มครองผู้เอาประกันเต็มที่
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คปภ.กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า
ที่ผ่านมา คปภ.ได้ดำเนินการตามกฎหมายมาตรา 27/5 กับบริษัทเดอะวันประกันภัย คือ ให้ทำแผนแก้ไขเงินกองทุน เนื่องจากระดับเงินกองทุนของบริษัทต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยได้ส่งหนังสือแจ้งให้จัดทำโครงการเพื่อแก้ไขฐานะเงินกองทุนภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับเอกสาร ซึ่งประกอบด้วย 1.ขั้นตอนการเพิ่มเงินกองทุนให้เพียงพอ 2.ระดับเงินกองทุนที่คาดว่าจะดำรงในแต่ละไตรมาสภายในระยะเวลาที่เข้าโครงการผ่อนคลายเงินกองทุน 3.ประเภทและธุรกิจที่จะประกอบการ และ 4.ระยะเวลาของโครงการต้องไม่เกิน 1 ปี

“เรามอนิเตอร์อย่างใกล้ชิด และพิจารณาเรื่องสภาพคล่องของบริษัท ว่าเป็นอย่างไร โดยปัจจุบันบริษัทเดอะวันฯ เป็นหนึ่งในบริษัทที่ได้รับการผ่อนผันตามมาตรการเสริมสภาพคล่องจ่ายเคลมประกันภัยโควิดให้กับประชาชน” เลขาธิการ คปภ. กล่าว
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สำนักงาน คปภ. ได้ส่งทีมงานประกอบด้วยเจ้าหน้าที่สายกฎหมายและคดี สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์  สายตรวจสอบ และสายวิเคราะห์ธุรกิจประกันภัย เข้าไปตรวจสอบและกำกับอย่างใกล้ชิดแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้มีการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สิน รวมถึงดูการเคลื่อนไหวของบัญชีเงินฝาก เพื่อดำเนินการช่วยเหลือเรื่องการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ประชาชนผู้เอาประกันภัยแล้ว
นอกจากนี้ ยืนยันว่า สำนักงาน คปภ. จะยึดถือประโยชน์ของประชาชนผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามหากบริษัทไปหยุดทำการเองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน คปภ. ก็ถือว่ามีความผิด และมีบทลงโทษ รวมทั้งหากบริษัทดำเนินการใดๆ ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย สำนักงาน คปภ. จะดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด

“ขอให้ประชาชนสบายใจได้ว่าสำนักงาน คปภ. พร้อมดูแลประชาชาชน ให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ส่วนประชาชนที่มีปัญหาเรื่องการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกับบริษัท หรือการประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทนล่าช้า สามารถร้องเรียนกับสำนักงาน คปภ.ได้ ซึ่งได้มีการตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนประกันภัยโควิด-19 โดยเฉพาะไว้แล้ว โดยสำนักงาน คปภ. พร้อมดูแลคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนอย่างเต็มที่ ทั้งนี้หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันภัยสามารถสอบถามได้ที่สายด่วน คปภ. 1186” เลขาธิการ คปภ. กล่าว

แหล่งข่าว“จากการได้พูดคุยกับผู้บริหารเดอะวันประกันภัย ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องการเพิ่มทุนใดๆ และไม่มีรายงานทางการถึง คปภ.เลย ทั้งนี้ในวันที่ 1 ธ.ค.64 คปภ.จะมีการประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด คปภ.) เพื่อรายงานสถานการณ์และความคืบหน้าต่อความกังวลของบริษัทเดอะวันประกันภัย เพราะได้มีการปิดที่ทำการ โดยคาดว่าคงได้ข้อสรุปจากบอร์ด”

วงในเผยบริษัทตัดสินใจหยุดกิจการ
ด้านแหล่งข่าวผู้บริหารระดับสูงในธุรกิจประกันภัย กล่าวว่า เดอะวันประกันภัย น่าจะตัดสินใจหยุดดำเนินกิจการ เนื่องจากบริษัทได้ชี้แจง คปภ.ไปแล้ว ว่าจะไม่มีผู้ถือหุ้นใส่เงินเพิ่มทุน หากไม่ให้บอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโควิดเจอจ่ายจบ ซึ่งเดิมผู้ถือหุ้นจะเพิ่มทุนเพื่อเคลียร์ยอดเคลมและแต่งตัวใหม่ เพื่อดำเนินธุรกิจต่อไป แต่ในเมื่อ คปภ.ไม่ยกเลิกคำสั่ง ผู้ถือหุ้นจึงไม่กล้าเติมเงินเข้ามาเพราะเติมเงินไปแล้วเหมือนเสียเงินฟรี โดยเฉพาะหากเกิดระบาดโควิดระลอกใหม่ก็ต้องปิดบริษัทอยู่ดี

เมื่อ คปภ.ไม่ยินยอมให้ยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโควิด การเติมเงินทุนไป ก็เหมือนกับเอาทรายไปถมทะเล แต่ละบริษัทประกันวินาศภัยที่ขายประกันภัยโควิดในครั้งนี้ ถือว่าแสนสาหัส หากไม่สามารถหยุดจ่ายเคลมตามกรมธรรม์ได้ ซึ่งไม่น่าจะมีนายทุนรายใดจะใส่เงินเพิ่มทุน เพราะระยะเวลาของผลตอบแทนจากการลงทุนอาจยาวนานเกิน 20 ปี

“ในมุมของการเป็นผู้ถือหุ้น เงินก้อนที่จะใส่เพิ่มทุนไป
หากลงทุนในตลาดหุ้นจะได้เงินคืนมากกว่า 10-20% ในระยะเวลาเดียวกัน หรืออาจมากกว่าเท่าตัว ถ้าลงทุนในหุ้น Growth Stock หรือไปลงทุนในตลาดพันธบัตรจะได้เงินคืน 3-5% ในระยะเวลาเดียวกัน
หรือแม้แต่เงินฝากธนาคาร อย่างน้อย ๆ ก็พอมีดอกเบี้ยบ้าง แต่เงินต้นก็ไม่หายไป ในทางกลับกันถ้าลงทุนในบริษัทประกันวินาศภัยที่เงินกองทุนติดลบ ใครจะกล้าเสี่ยง เพราะยังต้องมาเสี่ยงกับการบริหารงานที่ยังผันผวนในความเสี่ยงภัยต่าง ๆ อีก” แหล่งข่าว กล่าว

ผวาโควิดกลายพันธุ์ “โอไมครอน”
ความจริงแล้วไวรัสโควิดเป็นความความเสี่ยงอุบัติใหม่ ที่ไม่มีสถิติและข้อมูลมาประกอบการทำราคาเบี้ย เป็น Dynamic Risk ที่ยังไม่นิ่งเพราะมีการกลายพันธุ์ ล่าสุด ก็มีโควิดสายพันธุ์โอไมครอนเกิดขึ้นอีก
“ตามหลักการแล้วไม่ควรเข้าไปรับเสี่ยง แต่ถ้าจะเข้าไปรับจริงๆ ก็น่าจะมีวงเงินและระยะเวลาในการรับ และมีการเอาประกันภัยต่อที่เหมาะสมกับเงินกองทุนของแต่ละบริษัท
ทั้งนี้ อัตราเบี้ยที่ใช้กัน 499 บาท ต่อวงเงินคุ้มครอง 100,000 บาท แบบเจอจ่ายจบ เท่ากับ 0.499% แต่อัตราการติดเชื้อเวลานี้เกิน 4% ไปแล้ว ดังนั้นเบี้ยขั้นต่ำต้อง 4,000 บาท ต่อวงเงินคุ้มครอง 100,000 บาท ตอนนี้ จึงจูงใจให้เกิด Moral Hazard กับคนที่มีปัญหาด้านการเงินในขณะนี้” แหล่งข่าวกล่าว

ผู้ถือหุ้น TQM เอี่ยวเดอะวันฯ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ผ่านมาทางบริษัท เดอะวันประกันภัย จำกัด (มหาชน) (เดิมชื่อบริษัท สินทรัพย์ประกันภัย จำกัด ) ได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา โดยได้มีการเปิดตัวกลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่ คือ ตระกูลศรีอรทัยกุลและกลุ่มบริษัทบิวตี้เจมส์ ถือหุ้นรวมกันอยู่ที่ 98.2071% ไป อย่างไรก็ดี จากการตรวจสอบข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ล่าสุด พบว่า เดอะวันฯ ได้มีการเปลี่ยนผู้ถือหุ้นอีกครั้ง

ผู้ถือหุ้นอันดับ 1 นางสาวสุลลิดา ถานบุรี สัดส่วน 45.7823%
อันดับ 2 คือ บริษัท โตโยต้าดีไซน์ จำกัด สัดส่วน 18.8703%
อันดับ 3 คือ บริษัท พรีเมียมพลัส 2021 จำกัด ถือหุ้นสัดส่วน 18.3129%
อันดับ 4 คือบริษัท ไมโคร เซ็ตติ้ง จำกัด ถือหุ้น 12.6948%
อันดับ 5 นายสุริยน ศรีอรทัยกุล ถือหุ้นสัดส่วน 2.6730%

กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TQM ได้ใช้เงินส่วนตัวใส่เงินทุนให้กับเดอะวันฯ จนปัจจุบันได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยจากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 และ อันดับ 3 ของเดอะวันฯ มีความเกี่ยวโยงกัน โดยบริษัท พรีเมียมพลัส 2021 จำกัด ผู้ถือหุ้นใหม่ของเดอะวันฯ มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือ บริษัท อีเทอนอล โกรท คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ TQM เช่นกัน
ไทยประกันภัย ยุติรับประกันต้นปีหน้า

ขณะที่นายโชติพัฒน์ พีชานนท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เครือไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TGH เปิดเผยว่า บริษัทจะดำเนินการให้ไทยประกันภัยยุติการรับประกันภัยใหม่ภายในไตรมาสแรกปี 2565 เพื่อลดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทในเครือ โดยจะยังคงมีการดำเนินงานเฉพาะในส่วนการดูแลผู้ถือกรมธรรม์ของไทยประกันภัยที่ยังมีผลใช้บังคับไปจนกว่าอายุของกรมธรรม์จะหมดลง
ก่อนหน้านี้ TGH ได้ทำรายการขายหุ้นบริษัทไทยประกันภัย จำนวน 7,100 ล้านบาท ให้กับบริษัท วัฒนทรัพย์พัฒนา 1 จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มเดียวกันกับบริษัท ผลมั่นคงธุรกิจ จำกัด ซึ่งมีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ TGH

ปัจจุบันกลุ่มอาคเนย์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน 3 บริษัท
1.อาคเนย์ประกันภัย
2.ไทยประกันภัย
3.อินทรประกันภัย
โดยภายในของแต่ละบริษัทลูกอาจมีผู้ถือหุ้นรายย่อยที่เป็นผู้ถือหุ้นนอกกลุ่มอยู่ด้วย
ขณะที่การโอนงานกรมธรรม์ที่ยังไม่หมดอายุไปอยู่กับอาคเนย์ทั้งหมด แต่คงเหลืองานประกันโควิดอยู่ รวมถึงการส่งประกันภัยต่องานประกันภัยโควิดของอาคเนย์ไปยังไทยประกันภัยยังเป็นเรื่องที่น่าชวนคิด

ผู้ถือหุ้น “สินมั่นคงฯ” พิจารณาขายหุ้นใหญ่
30 พ.ย.64 สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า กลุ่มผู้ถือหุ้นของบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ SMK กำลังอยู่ระหว่างพิจารณาดำเนินการขายหุ้นใหญ่ของครอบครัวดุษฎีสุรพจน์ โดยได้คัดเลือกบริษัทผู้ซื้อหลายรายให้เข้าร่วมการประมูลรอบใหม่
รวมไปถึง 2 กลุ่มบริษัทประกันภัยระดับโลกอย่าง 1.กลุ่มเจนเนอราลี (Assicurazioni Generali SpA) ซึ่งเป็นบริษัทประกันภัยชั้นนำระดับโลกจากอิตาลี และ 2.บริษัทลิเบอร์ตี้ มิวชวล อินชัวรันซ์ กรุ๊ป (Liberty Mutual Group)
โดยบริษัทสินมั่นคงประกันภัย กำลังทำงานร่วมกับที่ปรึกษาการเงินเกี่ยวกับข้อตกลงขายหุ้นดังกล่าว ซึ่งอาจมีมูลค่าราว 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 6,700 ล้านบาท คำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยน 33.6 บาท) และการขายหุ้นในครั้งนี้อาจรวมถึงการลงทุนครั้งใหม่ด้วยมูลค่าอีกประมาณ 100 ล้านดอลลาร์ (3,360 ล้านบาท)

ผลประกอบการของบริษัทสินมั่นคงประกันภัย กำไรสุทธิในปี 2563 757.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 12% จากปี 2562 แต่ในงวดไตรมาส 3/64 ขาดทุนสุทธิ 3,700 ล้านบาท เทียบกับกำไรสุทธิ 160.2 ล้านบาทในไตรมาส 3/2563

Ref.https://www.prachachat.net/breaking-news/news-812325

สินทรัพย์ประกันภัย > เดอะวันประกันภัย

สาเหตุของการทำรีแบรนด์ THE ONE INSURANCE PUBLIC LIMITED 
– ต้องการปรับชื่อกิจการของบริษัทเราให้ดูเหมาะสมและสอดคล้องกับการเป็นบริษัทประกันภัยในยุคดิจิทัล ทันสมัย เรียกง่าย เป็นสากล
– ตั้งแต่มีการซื้อกิจการ เปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น จากตระกูลชลวิจารณ์  เป็นตระกูลศรีอรทัยกุล ยังไม่เคยเปลี่ยนชื่อกิจการหรือทำรีแบรนด์เลย
– เวลาบริษัทดีลงานกับบริษัทรับประกันภัยต่อต่างประเทศ (รีอินชัวเรอร์ต่างประเทศ) จะง่ายในการเรียกชื่อบริษัท ”เดอะวัน”ความหมาย “1” 

assets-insurance

aboutus-01

เป้าหมายเบี้ยประกันที่ ปี 2564 จำนวน 2,600 ล้านบาท รถยนต์ 80% และ 20% นอนมอเตอร์ ปีที่แล้วเราทำเป้าหมายเบี้ยรถยนต์ได้ 85% และนอนมอเตอร์ได้สัดส่วน 15% ถ้าไม่นับรวมพอรต์งานประกันโควิดที่เข้ามา ซึ่งหากนับรวมแล้วเบี้ยประกันรถยนต์ก็จะอยู่ในสัดส่วน 70% และอีก 30%นอนมอเตอร์

พอรต์งานประกันนอนมอเตอร์ในอดีตที่ผ่านมามีสัดส่วนไม่ถึง 5% แต่พอเขยายงานด้านนี้ด้วยการเพิ่มสัดส่วนมากขึ้น โดยปรับลดยอดงานประกันรถยนต์จากเบี้ย 4,000-5,000 ล้านบาท ลดเหลือ 2,000-4,000 ล้านบาท ซึ่งเราเบรกงานประกันรถยนต์ แต่ไม่ได้เบรกงานประกันนอนมอเตอร์ จึงทำให้อัตราการเติบโตของงานประกันนอนมอเตอร์เพิ่มขึ้นโดยปริยาย

มีพันธมิตรที่เป็นร้านเพชร์และเครือข่ายจิวเวลรี่ที่เป็นพาร์ทเนอร์เราอยู่แล้วทำให้การขยายงานนอนมอเตอร์ขยายตัวมากขึ้น รวมไปถึงบรรดาโบรกเกอร์ 10 บริษัทลำดับต้นๆของเราก็แฮปปี้พร้อมจะลุยไปกับบริษัทเรา บริษัททีคิวเอ็มอินชัวรันส์โบรกเกอร์ที่เป็นโบรกเกอร์รายใหญ่ก็ให้การสนับสนุนป้อนงานให้เรา โดยตัวเลข Car ratio หรือคาร์เรโชถึงณ วันที่ 31 ธ.ค.2563 อยู่ที่อัตรา 170 % จนถึงไตรมาส 1 หรือสิ้นสุดณ วันที่ 31 มี.ค.2564 หรือปีนี้มีคาร์เรโชอยู่ที่ 186 .14 %  สูงกว่ามาตรฐานคปภ.กำหนดไว้ปัจจุบัน120%

บริษัท สินทรัพย์ประกันภัย จำกัด ก่อตั้ง  19 สิงหาคม 2525  ทุนจดทะเบียน 60 ล้านบาท

เดอะ วัน ประกันภัย (เดิมชื่อบริษัท สินทรัพย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน))
จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2564
ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรชั้นนำ ที่ดำเนินธุรกิจด้านการประกันวินาศภัยบนพื้นฐานความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้เอาประกันภัยด้วยหลักสุจริตอย่างยิ่งในวิชาชีพ

เดอะ วัน ประกันภัย เป็นบริษัทของคนไทย เริ่ม 19 สิงหาคม 2525 ทุนจดทะเบียน 60 ล้านบาท

พ.ศ. 2534 และ พ.ศ. 2539 เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 120 ล้านบาท และ 150 ล้านบาท
พ.ศ. 2543 เพื่อก้าวสู่สหัสวรรษใหม่ ค.ศ. 2000 มีการวางแผนด้านการตลาดโดยมีการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทาง internet และเชิญผู้มีประสบการณ์ด้านการประกันวินาศภัยมาร่วมบริหารงานเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
พ.ศ. 2545 ปรับโครงสร้างโดยการปรับเปลี่ยนผู้ถือหุ้น และเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 300 ล้านบาท
พ.ศ. 2548 เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 460 ล้านบาท
พ.ศ. 2550 เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 500 ล้านบาท
6 กรกฎาคม 2555 บริษัทฯ แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน ตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ซึ่งกำหนดให้บริษัทประกันวินาศภัย ดำเนินการแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด โดยไม่มีผลกระทบต่อผู้เอาประกันภัย รวมถึงสิทธิต่างๆ ตามกรมธรรม์ และเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 510 ล้านบาท
20 สิงหาคม 2554 ได้รับการรับรอง ISO 9001 : 2000 ทั้งระบบ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงระบบการดำเนินงาน และการบริการที่มีคุณภาพ และมุ่งเน้นตอบสนองความต้องการของลูกค้าทุกระดับอย่างแท้จริง
พ.ศ. 2557 เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 590 ล้านบาท รองรับการเติบโตทางธุรกิจ
พ.ศ. 2559 เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 640 ล้านบาท เพื่อรองรับการแข่งขันทางธุรกิจ
พ.ศ. 2560 เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 740 ล้านบาท เพื่อสร้างความมั่นคงแข็งแกร่งของเงินกองทุน และฐานะการเงินของบริษัทฯ
27 เมษายน พ.ศ. 2560 กลุ่มธุรกิจยานยนต์และอสังหาริมทรัพย์ขายหุ้นทั้งหมดให้กับกลุ่มธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ
พ.ศ. 2561 เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 990 ล้านบาท และ 1,490 ล้านบาท เพื่อสร้างความแข็งแกร่ง และรองรับการขยายงานของบริษัทฯ
พ.ศ. 2562 มีการเพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน 1,100 ล้านบาท ทุนจดทะเบียนทั้งหมดเป็น 2,590 ล้านบาท เพื่อให้การดำเนินงานของบริษัทฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามแผนในการแก้ไขฐานะการเงินและแนวทางในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ
พ.ศ. 2563 เพิ่มทุน 50 ล้านบาท ทั้งหมดเป็น 2,640 ล้านบาท เพื่อให้การดำรงเงินกองทุนของบริษัท ที่ต้องดำรงไว้เป็นไปตามกฎหมายและเป็นไปตามระบบ Early Warning System (EWS) รวมถึงการที่ต้องสำรองเงินทุนสำหรับอัตราส่วนสินทรัพย์ต่อหนี้สินจัดสรรฯให้เพียงพอ ตาม พ.ร.บ. ประกันวินาศภัย
พ.ศ. 2564 เพิ่มทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท  ทุนจดทะเบียนทั้งหมดเป็น 2,840 ล้านบาท 

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ
– บิวตี้เจมส์ กรุ๊ป (กลุ่มธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับอันดับหนึ่งของประเทศไทย)
– ฮอนด้าปิ่นเกล้า กรุ๊ป (กลุ่มธุรกิจยานยนต์และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์)
กลุ่มบิวตี้เจมส์และกลุ่มฮอนด้าปิ่นเกล้า ยังมีกิจการในเครืออีกหลายประเภท โรงแรม สนามกอล์ฟ ภัตตาคาร บริษัทน้ำตาลเอกผล จำกัด และกลุ่มบริษัท ลีนุตพงษ์โฮลดิ้งจำกัด

สำนักงานใหญ่ สินทรัพย์ประกันภัย
492-494 ถ.รัชดาภิเษก สามเสนนอก ห้วยขวาง กทม. 10310
โทร : 0-2792-5555, 0-2792-5050
แฟกซ์ : 0-2541-5170, 0-2541-5039
Email : praic@asset.co.th
ไปรษณีย์ฝาก : ตู้ปณ. 55 ปณฝ. จันทรเกษม กทม. 10904

เว็บไซต์ asset.co.th

สินทรัพย์ประกันภัย มีบริการถามตอบ เว็บบอร์ดที่เว็บไซต์ด้วย

สาขาชลบุรี
112/48-49 ถ.พญาสัจจา ต.เสม็ด อ.เมือง จ.ชลบุรี 20000
โทร : 0-3828-4006-7
Email : pattaya@asset.co.th

ฝ่ายสินไหมทั่วไป (Non-Motor Claim Division)
          บริษัท เดอะวัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน)
          492, 494 ถนนรัชดาภิเษก ซอยรัชดาภิเษก 26 แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง
          กรุงเทพฯ รหัสไปรษณีย์ 10310
          โทร. 1729 หรือ 02-7925555 ต่อ 8372, 8373, 8374, 8694, 8370

ขั้นตอนการรับประกันภัยสำหรับการรับประกันภัย Non-Motor ของ บริษัท สินทรัพย์ประกันภัย จำกัด

  1. ผู้ขอเอาประกันภัยแจ้งความประสงค์ขอเอาประกันภัยกับบริษัทฯ
    – ติดต่อผ่านตัวแทน/นายหน้าประกันวินาศภัยของบริษัทฯ
    – ติดต่อผ่านบริษัทฯ โดยตรงทาง โทรศัพท์ โทรสาร หรือ อีเมล์
  2. ผู้ขอเอาประกันภัยต้องกรอกแบบฟอร์มใบคำขอเอาประกันภัย (Application Form) ในใบคำขอเอาประกันภัยโดยทั่วไปประกอบด้วย
    – ชื่อ นามสกุล และที่อยู่ปัจจุบันของผู้ขอเอาประกันภัย
    – ที่อยู่ของสถานที่, รายละเอียด เกี่ยวกับทรัพย์สินที่จะขอเอาประกันภัย
    – ความสัมพันธ์ที่จะขอเอาประกันภัย เช่น เป็นเจ้าของ หรือเป็นผู้เช่า หรืออื่น ๆ
    – ภัยที่ต้องการความคุ้มครอง หรือ งบประมาณของผู้ขอเอาประกันภัย
    – จำนวนเงินที่จะขอเอาประกันภัย
    – ประวัติการทำประกันภัย และความเสียหายที่เคยเกิดขึ้นในอดีต (ถ้ามีเกิดจากสาเหตุใด)
    – เอกสารประกอบ เช่น สำเนาตารางกรมธรรม์เดิม เอกสารประกอบที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่จะขอเอาประกันภัย เป็นต้น
  3. บริษัทฯ จะพิจารณาประเมินความเสี่ยงภัย ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
    – หากข้อมูลยังไม่ครบถ้วน บริษัทฯ อาจต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือขอเข้าทำการสำรวจภัยก่อนการพิจารณารับประกันภัย
    – หากข้อมูลครบถ้วน บริษัทฯ จะทำการพิจารณาในทันที
  4. กรณีที่บริษัทฯ พิจารณาแล้วเห็นว่าอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่จะรับประกันกันภัยได้ บริษัทฯ จะจัดทำหนังสือเสนอการรับประกันภัยซึ่งมีรายละเอียด เงื่อนไขความคุ้มครอง และเบี้ยประกันภัย ไปยังผู้ขอเอาประกันภัย เพื่อยืนยันว่าเป็นไปตามความประสงค์หรือไม่
  5. ผู้ขอเอาประกันภัยแจ้งยืนยันการทำประกันภัย โดยส่งข้อเสนอฉบับดังกล่าวมายังบริษัทฯ พร้อมลายลักษณ์อักษร (พร้อมแนบใบคำขอเอาประกันภัย)
  6. บริษัทฯ ดำเนินการออกกรมธรรม์ประกันภัย และจัดส่งให้ผู้เอาประกันภัย
  7. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดส่งกรมธรรม์ และ จัดเก็บเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัย

หมายเหตุ บริษัทฯจะดำเนินการส่งมอบกรมธรรม์ให้กับลูกค้าภายใน 7 วันทำการ นับจากวันที่บริษัทฯได้อนุมัติรับประกันภัย

ขั้นตอน ระยะเวลา เอกสารและวิธีการในการขอรับค่าสินไหม พ.ร.บ.
– แจ้งเหตุให้บริษัทฯ ทราบทันที เพื่อออกสำรวจอุบัติเหตุ ที่ศูนย์รับแจ้งอุบัติเหตุ 24 ชั่วโมง โทร 02 792-5500-08 และขอเลขรับแจ้ง เพื่อสะดวกในการติดต่อ
– กรณีที่ไม่ได้รับความสะดวก หรือไม่สามารถติดต่อบริษัทประกันภัย หรือประกันภัยจังหวัดได้ ท่านสามารถติดต่อที่ศูนย์ปลอดภัย หมายเลข 1356 (บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ)
– ผู้ประสบภัยต้องร้องขอค่าเสียหายเบื้องต้นต่อบริษัทภายใน 180 วัน นับแต่วันที่มีความเสียหายเกิดขึ้น

กรณีเป็นฝ่ายถูก
– จดทะเบียนรถคู่กรณี ชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทรของผู้ขับขี่คู่กรณีและเจ้าของรถคู่กรณี
– แจ้งเหตุให้บริษัทฯ ทราบทันที เพื่อออกสำรวจอุบัติเหตุ และขอเลขรับแจ้ง เพื่อสะดวกในการติดต่อ
– แจ้งตำรวจท้องที่เกิดเหตุทราบ
– นำหลักฐานประกอบการตั้งเบิกติดต่อขอรับค่ารักษากับบริษัทฯ

กรณีเป็นฝ่ายผิด
– แจ้งเหตุให้บริษัทฯ ทราบทันที เพื่อออกสำรวจอุบัติเหตุ และขอเลขรับแจ้ง เพื่อสะดวกในการติดต่อ
– ให้ท่านเขียนชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ พร้อมเลขรับแจ้ง ให้แก่คู่กรณีโดยทันที

กรณียังไม่ทราบว่าเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิด
– แจ้งเหตุให้บริษัทฯ ทราบทันที เพื่อออกสำรวจอุบัติเหตุ และขอเลขรับแจ้ง เพื่อสะดวกในการติดต่อ
– แจ้งตำรวจท้องที่เกิดเหตุทราบ
– อย่าเคลื่อนย้ายรถออกจากที่เกิดเหตุจนกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะมาถึงที่เกิดเหตุ

กรณีเกิดอุบัติเหตุและมีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต
– นำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล ที่ใกล้และสะดวก เพื่อรับการรักษาโดยเร็ว
– แจ้งเหตุให้บริษัทฯ ทราบทันที เพื่อออกสำรวจอุบัติเหตุ และขอเลขรับแจ้ง เพื่อสะดวกในการติดต่อ
– แจ้งตำรวจท้องที่เกิดเหตุทราบทันที
– กรณีที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ขอให้จัดเตรียมเอกสารดังนี้

เอกสารประกอบการขอรับค่ารักษาพยาบาลและค่าปลงศพ

ค่าเสียหายเบื้องต้น
บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น ให้แก่ผู้ประสบภัยที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิตร่างกาย โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความรับผิดให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันที่บริษัทได้รับการร้องขอ โดยจ่ายเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น ดังต่อไปนี้
– กรณีผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกาย บริษัทจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 15,000 บาท/คน
– กรณีผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อชีวิตบริษัทจะจ่ายค่าปลงศพตามจำนวนเงินเสียหายเบื้องต้นไม่เกิน 35,000 บาท/คน
– จำนวนตาม ข้อ 1 และ 2 รวมกัน สำหรับผู้ประสบภัยที่ถึงแก่ความตายหลังจากมีการรักษาพยาบาล
– กรณีรถตั้งแต่ 2 คันขึ้นไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัย บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น ข้อ 1 และ 2 หรือ 3 แล้วแต่กรณี ให้แก่ผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัท แต่ถ้าผู้ประสบภัยมิใช่เป็นผู้ซึ่งอยู่ในรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายดัง กล่าวข้างต้น บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยในอัตราส่วนที่เท่ากัน

ค่าเสียหายส่วนเพิ่ม
บริษัทฯ จะจ่ายค่าสินไหม ค่าปลงศพ และค่ารักษาพยาบาลตามเงื่อนไขความคุ้มครอง ตาม พ.ร.บ. ผู้ประสบภัยจากรถ ปี 2535 (ตามคำสั่งนายทะเบียน)

วิธีการในการขอรับค่าสินไหมทดแทน

ติดต่อขอรับ ณ ที่ทำการสำนักงานใหญ่ของบริษัท และที่สาขาทั่วประเทศ
ขั้นตอน ระยะเวลา เอกสารและวิธีการในการขอรับค่าสินไหมทดแทนรถยนต์ภาคสมัครใจ

ขั้นตอนการปฏิบัติ
แจ้งเหตุให้บริษัทฯ ทราบทันที เพื่อออกสำรวจอุบัติเหตุ ที่ศูนย์รับแจ้งอุบัติเหตุ 24 ชั่วโมง โทร 02 792-5500-08 หรือ Call Center 1729 และขอเลขรับแจ้ง เพื่อสะดวกในการติดต่อ

มีข้อสงสัย ติดต่อสอบถามได้ที่ หน่วยงานบริการสินไหม โทร 02 792-5670-72

กรณีแจ้งเคลมที่ไม่มีคู่กรณี (เคลมแห้ง)
แจ้งเหตุให้บริษัทฯ ทราบ และขอเลขรับแจ้งทุกครั้ง เพื่อสะดวกในการติดต่อ
นำรถมาติดต่อ ณ ที่ทำการของบริษัทฯ หรือจุดที่ให้บริการ

เคลมที่มีคู่กรณี (เคลมสด)

เมื่อท่านเป็นฝ่ายถูก จดทะเบียนรถคู่กรณี ชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทรของผู้ขับขี่คู่กรณีและเจ้าของรถคู่กรณี
แจ้งเหตุให้บริษัทฯ ทราบทันที เพื่อออกสำรวจอุบัติเหตุ และขอเลขรับแจ้ง เพื่อสะดวกในการติดต่อ
แจ้งตำรวจท้องที่เกิดเหตุทราบ
นำหลักฐานประกอบการตั้งเบิกมาติดต่อขอรับค่ารักษากับบริษัทฯ

เมื่อท่านเป็นฝ่ายผิด แจ้งเหตุให้บริษัทฯ ทราบทันที เพื่อออกสำรวจอุบัติเหตุ และขอเลขรับแจ้ง เพื่อสะดวกในการติดต่อ
ให้ท่านเขียนชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ให้แก่คู่กรณีโดยทันที
เคลื่อนย้ายรถทั้งสองฝ่ายออกจากที่เกิดเหตุเพื่อมิให้กีดขวางการจราจร หลังจากเจรจากันเรียบร้อยแล้ว
กรณียังไม่ทราบว่าเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิด แจ้งเหตุให้บริษัทฯ ทราบทันที เพื่อออกสำรวจอุบัติเหตุ และขอเลขรับแจ้ง เพื่อสะดวกในการติดต่อ
แจ้งตำรวจท้องที่เกิดเหตุทราบ
อย่าเคลื่อนย้ายรถออกจากที่เกิดเหตุจนกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะมาถึงที่เกิดเหตุ

มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต (กรมธรรม์ภาคสมัครใจ)
นำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล ที่ใกล้และสะดวก เพื่อรับการรักษาโดยเร็ว
แจ้งเหตุให้บริษัทฯ ทราบทันที เพื่อออกสำรวจอุบัติเหตุ และขอเลขรับแจ้ง เพื่อสะดวกในการติดต่อ
แจ้งตำรวจท้องที่เกิดเหตุทราบทันที อย่าหลบหนี เพราะหากเกิดอุบัติเหตุแล้วหลบหนี กฎหมายสันนิษฐานเอาไว้ก่อนว่าท่านเป็นฝ่ายผิด

กรณีรถสูญหาย
โทรแจ้ง 191 , จส 100 เบอร์โทรศัพท์ 1137 หรือ สวพ 91 เบอร์โทรศัพท์ 1644 แจ้งรายละเอียด ยี่ห้อ รุ่น ทะเบียน ตำหนิของรถยนต์คันสูญหาย เพื่อติดตามรถให้เร็วที่สุด
แจ้งตำรวจท้องที่เกิดเหตุทราบโดยเร็วที่สุด
แจ้งเหตุให้บริษัทฯ ทราบทันที เพื่อออกสำรวจอุบัติเหตุ และขอเลขรับแจ้ง เพื่อสะดวกในการติดต่อ

ขอรับสินไหม

ขอรับค่าสินไหมทดแทน (ค่าซ่อมรถ กรณีจัดซ่อมเอง)

กรมธรรม์ภาคสมัครใจ ใบติดต่อ , ใบสำรวจความเสียหาย
สำเนาประจำวัน
ใบเสนอราคาซ่อม
ภาพถ่ายการซ่อม / ตรวจสภาพรถ
ใบเสร็จ / ใบกำกับภาษี
หลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของทรัพย์สิน (กรณีที่เป็นทรัพย์สินบุคคลภายนอก/รถคู่กรณี)
สำเนากรมธรรม์ (กรณีที่เป็นทรัพย์สินบุคคลภายนอก / รถคู่กรณี)
สำเนาคู่มือจดทะเบียนรถ (กรณีที่เป็นรถคู่กรณี)
หนังสือมอบอำนาจ
สำเนาบัตรประจำตัวผู้มอบอำนาจ / ผู้รับมอบอำนาจ
ใบตรวจรับงาน (กรณีทรัพย์สิน)

รถเสียหายหนักคืนทุนประกัน / รถยนต์สูญหาย
สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถ (หรือ ผู้มีอำนาจลงนาม กรณีนิติบุคคลเป็นเจ้าของ)
สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของรถ (หรือ ผู้มีอำนาจลงนาม กรณีนิติบุคคลเป็นเจ้าของ)
หนังสือรับรองบริษัทฯ (กรณีนิติบุคคลเป็นเจ้าของ)
ประจำวันรับคดีอาญา และประจำวันข้อเกี่ยวข้องทั้งหมด (รับรองสำเนา)
กรมธรรม์คุ้มครองรถยนต์สูญหายของบริษัทประกันภัย (ต้นฉบับ)
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ (กรณีรถติดไฟแนนท์)
หนังสือการแจ้งอายัดทะเบียนรถ (กรมขนส่งทางบก)
หนังสือแจ้งไม่ใช้รถตลอดไป (กรมขนส่งทางบก)
กุญแจรถ พร้อมชุดสำรองทั้งหมด
สมุดทะเบียนรถยนต์ (ลงชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสมุดจดทะเบียน)
แบบคำขอโอน และรับโอน (กรมขนส่งทางบก)
หนังสือมอบอำนาจการโอน (กรมขนส่งทางบก)
สัญญาสละสิทธิ์ และโอนกรมสิทธิ์รถยนต์




สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow