อาคเนย์กับไทยประกัน : เส้นทางการต่อสู้
อาคเนย์กับไทยประกันภัย
- จ่ายสินไหม covid เป็นหมื่นล้าน
- ขอยกเลิกประกัน covid ที่ขายไป
- คปภไม่ให้
- ยื่นฟ้อง คปภ
- ขอเลิกกิจการประกัน
- โอนลูกค้าไปยังบริษัทอื่น ยกเว้น covid
- โอนลูกค้าเสร็จ
- ประวิงการจ่าย
- คปภสั่งหยุดรับประกันภัย (ก่อนหน้านี้ยังรับเบี้ย?)
- ถ้าไม่เพิ่มทุนเข้ามา จะถูกปิดกิจการ
ถ้าทีมรุกคุณไม่เก่ง คุณต้องมีทีมรับที่เก่งกว่า ใน content นี้ เราลองวิเคราะห์ความรู้ที่ได้จากข้อมูลที่ปรากฏเพื่อจะได้รู้ว่าธุรกิจใหญ่ๆนั้นกุนซือมีผลต่อความอยู่รอดของบริษัทอย่างไร
แผน a ยกเลิกประกัน covid ที่ขายไปแล้ว และเสนอเงินคืนเต็มจำนวน ปรากฏว่า คปภ ไม่เห็นด้วย เหตุเพราะว่าการบอกเลิกกรมธรรม์นั้นจะสามารถทำได้จากฟากของบริษัทประกันผู้ให้บริการจากกรณีที่ลูกค้าผู้เอาประกันผิดเงื่อนไขหรือทราบความผิดปกติของผู้เอาประกันนั้นๆ แต่การยกเลิกกรมธรรม์เพียงเพราะว่าคาดว่าจะต้องจ่ายเคลมจำนวนมากไม่สามารถเป็นเหตุผลที่รองรับได้
แผน b จะถูกวางเอาไว้หลายชั้นเพื่อเพิ่มโอกาสชนะในสงคราม ด้วยการเบี่ยงเบนความสนใจทำลายขวัญและกำลังใจของฝ่ายตรงข้าม เช่นการยื่นฟ้องเลขาธิการคปภ ด้วยเหตุผลตามที่กล่าวอ้าง มูลค่า 9,000 ล้านบาท ซึ่งแม้จะฟ้องชนะแล้วจะได้อะไร? สู้กัน 3 ศาลใช้เวลาเท่าไหร่? สุดท้ายแล้วชนะ เขาจะมีเงินจ่ายไหม? ทำให้รู้ว่ากลยุทธ์นี้เป็นเพียง การขู่เท่านั้น เพื่อให้รู้ว่าเราจริงจังกับเรื่องนี้เพียงใด ซึ่งต่อมาไม่นาน ก็มีการถอนฟ้อง
การยื่นขอยกเลิกกิจการ เพราะดีกว่าปล่อยให้ กิจการถูกสั่งปิด โดยไม่ได้ทำอะไร เนื่องจากการขอยกเลิกกิจการอาจสามารถย้ายถ่ายเททรัพย์สินหรืออื่นใดหรือทำอะไรได้มากกว่าเมื่อบริษัทถูกสั่งปิด การขอยกเลิกกิจการจะมีขั้นตอนอย่างไรใช้เวลาเท่าไหร่ทำอะไรได้บ้าง (ลองค้น GG ดูกันนะ)
จากนั้นอาจจะมีการคุยกันหรือทำงานร่วมกันเพื่อโอนถ่ายลูกค้าประกันประเภทอื่นที่ไม่ใช่ covid ไปยังบริษัทอื่น ซึ่งคปภจะต้องมั่นใจหรือเชื่อได้ว่าบริษัทประกันจะมีเงินจ่าย covid ที่ค้างอยู่และเคลมที่จะเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งก็ไม่ทราบว่ามีรายละเอียดอย่างไร
เมื่อโอนลูกค้าเสร็จแล้ว กลายเป็นว่าตัวบริษัทมีเหลือเพียงหนี้สินและหนี้ในอนาคตที่ต้องจ่าย เท่านั้น ถ้าคุณเป็นเจ้าของบริษัทคุณจะทำยังไงต่อ?
ต่อมาคปภสั่งให้หยุดรับประกันชั่วคราวจนกว่าบริษัทจะเติมเงินเข้ามา ซึ่งทางคณะกรรมการของบริษัทก็บอกชัดตั้งแต่แรกแล้วว่าจะไม่มีการเพิ่มเงินเข้ามาเพราะว่าไม่คุ้มค่าและยากที่จะได้เงินคืนจากธุรกิจซึ่งได้คำนวณไว้แล้ว ดังนั้นการปล่อยให้บริษัทถูกสั่งปิดกิจการอาจจะดีกว่าการเลิกกิจการ
อาจเป็นไปได้ว่า .. การยกเลิกกิจการเป็นเป้าหมายหลอก?! (เพื่อสามารถดำเนินการบางอย่างได้) เป้าหมายจริงคือให้ คปภ สั่งปิดกิจการ (จะมีหนี้ก้อนโตจาก covid ที่กองทุนประกันภัยรองรับไม่ไหว … คนที่เดือดร้อนคือลูกค้าผู้เอาประกัน)
ถือเป็น ความเห็น ส่วนข้อเท็จจริงอนาคตจะเป็นอย่างไรค่อยมาดูกัน แต่จากข้อมูลสถิติบริษัทประกันภัยที่ถูกคปภสั่งระงับการรับประกันส่วนมากแล้วจะไปไม่รอดถ้าจำไม่ผิดไม่มีสักรายที่รอด ยิ่งเคสนี้ไม่มีเหตุผลที่จะเพิ่มทุนเข้ามาเป็นหมื่นล้านเพื่อมาจ่าย covid สู้ปิดบริษัทหรือถูกปิดอาจจะดีกว่าและไปสร้างแบรนด์ใหม่หรือไปซื้อบริษัทประกันอื่นซึ่งน่าจะเป็นคำตอบที่เป็นไปได้มากกว่า