INSURANCETHAI.NET
Sat 18/01/2025 14:50:44
Home » ประวัติบริษัทประกันวินาศภัย เจ้าพระยาประกันภัย » เจ้าพระยาประกันภัย\"you

เจ้าพระยาประกันภัย

2012/08/05 4194👁️‍🗨️

บริษัทเจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)
3675 อาคารกรุงไทยแทรค เตอร์ ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
(แจ้งเตือนเว็บไซต์บริษัท ไวรัส 24/5/2018)
โทรศัพท์ : (66) 0 2648 6666
โทรสาร : (66) 0 2661 3774, (66) 0 2661 9960

เว็บไซต์ https://www.cpyins.com
เฟสบุ๊ค https://facebook.com/cpyins

เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)
ช่วยเหลือผู้ขับขี่รถบนท้องถนน รถเสีย,น้ำมันหมดขณะขับขี่ ในเขตกทม.และปริมณฑล โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
– ให้บริการเฉพาะรถเก๋ง ส่วนบุคคลและรถกระบะส่วนบุคคลไม่เกิน 4 ตัน(กระบะเล็ก)
– รถยกลากฟรี ระยะทาง 25 กม.หรือบริการเติมน้ำมันฟรี จำนวน 5 ลิตร(ต้องเกิดในขณะขับขี่บนท้องถนนเท่านั้น)
โทรแจ้งมาที่จส.100 ที่หมายเลข 02-3503410-11 ตลอด 24 ชม.


บริษัท เจ้าพระยาประกันภัยจำกัด(มหาชน)
 ทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท

รับประกันภัยรถยนต์ อัคคีภัย และขยายการดำเนินงานรับประกันภัยต่างๆ เช่นประกันภัยทางทะเลและขนส่ง ประกันภัยปศุสัตว์ และประกันภัยเบ็ดเตล็ดอื่นๆ

4 มกราคม 2549 บริษัทได้ดำเนินการแปรสภาพจากบริษัทจำกัด เป็นบริษัทมหาชนจำกัด ใช้ชื่อ บริษัทเจ้าพระยาประกันภัย จำกัด(มหาชน)
29 มิถุนายน    2552 จดทะเบียนเพิ่มทุนเป็น 330 ล้านบาท
31 พฤษภาคม 2553  จดทะเบียนเพิ่มทุนเป็น 350 ล้านบาท
05 กรกฏาคม  2553  จดทะเบียนเพิ่มทุนเป็น 380 ล้านบาท

เจ้าพระยา เบรกโตล้างขาดทุน ลุยตลาด ประกันภัยรถยนต์
โตปีละกว่า 20-30% ยอดขาดทุนสะสมกว่า 500 ล้านบาท เงินกองทุน ประกันภัย (CAR Ratio) 198% ลดขาดทุนต้องหยุดโต การตั้งสำรองจะกลับเป็นกำไร

บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)ค่าย ประกันภัย ไซส์เล็ก เตรียมชะลอการเติบโตในอีก 3-4 ปีข้างหน้า หลังจาก 3 ปีที่ผ่านมา เติบโตเร็วจนไม่สามารถตั้งสำรองรองรับความเสี่ยงได้ทัน ขณะที่ยอดขาดทุนสะสมเพิ่มตลอด กำไรจากการดำเนินธุรกิจแทบไม่มีคอมไบน์เรโชกว่า 90% โดยผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการยอมรับว่า นับจากปี 2554-2556 บริษัทเติบโตสูงมาตลอด มีเบี้ย ประกันภัย เพิ่มขึ้น 500-600 ล้านบาทต่อปี จากปี 2554 มีเบี้ย 1,100 ล้านบาท เพิ่มเป็น 1,500 ล้านบาทในปี 2555 และปี 2556 คาดว่าน่าจะจบด้วยตัวเลข 2,150 ล้านบาท

“3 ปีที่ผ่านมา เราโตปีละกว่า 20-30% มาตลอด ยอดขาดทุนสะสมเพิ่มเป็นกว่า 500 ล้านบาท ขณะที่ความเพียงพอของเงินกองทุนหรือ CAR Ratio 198% เราคุยกับผู้ถือหุ้น ถ้าจะลดขาดทุนสะสมต้องหยุดโต จะให้บริษัทโตระดับนี้ไปอีก 3 ปีนับจากปีนี้ เท่ากับปี 2560 จะปรับฐาน ชะลอการโต ถึงตอนนั้นการตั้งสำรองจะตีกลับมาเป็นกำไรได้ และน่าจะล้างขาดทุนสะสมได้หมดภายในปี 2560”

หลังปรับฐานตั้งเป้าโตเหนืออุตฯ
จากการขาดทุนสะสมและการเติบโตสูง ทางเจ้าพระยาได้เพิ่มทุนมาตลอด โดยเติมไปอีก 500 ล้านบาท เป็น 880 ล้านบาท ชำระไปแล้วรวม 660 ล้านบาท ที่เหลือจะชำระในปี 2557 ถือเป็นช่วงที่เพิ่มทุนเยอะสุดนับแต่ก่อตั้งบริษัทมา

หลังจากปรับฐาน กำหนดให้บริษัทเติบโตสูงกว่าอุตสาหกรรมประกันวินาศภัย หรืออย่างน้อยต้องเติบโตเท่ากัน แม้จะเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) และตระกูลเลาหพงศ์ชนะ ถือหุ้นใหญ่ 80% ยังยึดนโยบายเดิม ไม่เปิดให้ชาวต่างชาติเข้ามาถือหุ้น เพราะต้องการรักษาบริษัท ประกันภัย ของคนไทย ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนน้อยลงเรื่อยๆ อีกทั้งมั่นใจจะสร้างธุรกิจต่อไปได้ แต่หากในอนาคตสถานการณ์เปลี่ยน เช่น ต้องการโนว์ฮาว หรือเงินทุน หรือทั้งสองอย่าง อาจจะเปิดรับผู้ร่วมทุน เน้นนักลงทุนไทย

ปี 2557 เบี้ย ประกันภัย 2,300 ล้าน รุกตลาด ประกันภัยรถยนต์
ในปีนี้ แม้จะมีเบี้ย ประกันภัย 2,150 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย 2,300 ล้านบาท แต่ยังเติบโตถึง 43% เทียบกับปี 2555 ที่มีเบี้ย ประกันภัย กว่า 1,500 ล้านบาท และสูงกว่าอุตสาหกรรม เนื่องจากขยายช่องทางจำหน่ายเพิ่มขึ้น และสร้างสัมพันธ์กับตัวแทน นายหน้า (โบรกเกอร์) ซึ่งในช่วง 10 เดือน บริษัทมีเบี้ย ประกันภัย แล้วกว่า 1,800 กว่าล้านบาท

ปี 2557 ตั้งเป้าหมายเบี้ย ประกันภัย 2,800 ล้านบาท
คาดว่าจะทำได้อย่างน้อย 2,600 ล้านบาท โดยจะขยาย ประกันภัยรถยนต์ เพิ่มขึ้น เพื่อสร้างสมดุลในพอร์ต จากปัจจุบันมีเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ ประมาณ 30% โดยในปี 2557 ตั้งเป้าหมายเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ 1,000 ล้านบาท จาก 600 ล้านบาทในปีนี้ เน้นกลุ่ม รถยนต์ ปิกอัพ และ รถยนต์ กลุ่ม 3 และ 4 ที่เป็น รถยนต์ บ้าน อาทิโตโยต้า คัมรี, ฮอนด้า แอคคอร์ด เนื่องจากอัตราสินไหมทดแทน (Loss Ratio) ไม่เกิน 60% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรม อยู่ที่ 60% ต้นๆ เนื่องจากรับ ประกันภัย เข้มงวด ไม่รับ รถยนต์ ที่มีความเสี่ยงสูง อาทิ รถยนต์ ขนาดเล็กในโครงการ รถยนต์ คันแรก เนื่องจากแข่งขันรุนแรง สู้ค่าเบี้ยไม่ไหว อีกทั้งสินไหมสูง ค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรม 70% เศษ บางบริษัทสูงเกิน 80%

“3 ปีที่ผ่านมาเรามีกำไรจากการรับ ประกันภัยรถยนต์ เฉลี่ย 1% ต่อปี เพราะนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการสินไหมมากขึ้น ทำให้กระบวนการต่างๆ เร็วขึ้น นอกจากสินไหมอัตโนมัติ (อี-เคลม) ในโครงการ EMCS เชื่อมอู่ออนไลน์แล้ว ยังใช้ระบบไอ-เซอร์เวย์ ให้พนักงานประเมินความเสียหายพกแท็บเล็ต ส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์ไม่เกิน 5 นาที ลูกค้าจะนำ รถยนต์ เข้าซ่อมได้ทันที จากเดิมใช้เวลาหลายวัน หากเอกสารครบ อู่จะได้เงินภายใน 2 อาทิตย์ ระบบเหล่านี้ช่วยลดต้นทุน ถ้าเต็มระบบในเดือนมกราคมปีหน้า จะลดต้นทุนลงได้อีก เราใช้เซอร์เวเยอร์เอาต์ซอร์สเป็นหลักถึง 80%”

ผุดตัวแทน “ยังบลัด” (Young Blood)
จะสร้างตัวแทนใหม่เพิ่มอีก 100-200 ราย จากปัจจุบันมีตัวแทนแอ็กทีฟ (Active Agent) 500 ราย ส่วนโบรกเกอร์ยังคงจำนวนเดิม 60-70 บริษัท โดยการสร้างตัวแทนใหม่จะมีโครงการยังบลัด สร้างคนที่ไม่เคยอยู่ในวงการตัวแทนเลย เน้นคนรุ่นใหม่อายุเฉลี่ย 25 ปี เพราะสามารถรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่บริษัทนำมาใช้ได้เร็ว เช่น การขาย และออกกรมธรรม์ ผ่านโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น อาจจะดิวผ่านสถาบันศึกษาโดยตรง

“เราส่งเสริมการขายของตัวแทนผ่านเทคโนโลยี เพราะสะดวกขายได้ทุกที่ ตัดค่าเบี้ยผ่านบัตรได้เลย ไม่ต้องลงทุนเปิดสำนักงานตัวแทนเหมือนในอดีต ต้นทุนลดลง ขายได้มากขึ้น ตั้งเป้าตัวแทนยังบลัด 50 คนในปีหน้า ส่วนคนเก่าจะมีการอบรมให้ความรู้ด้าน ประกันภัย ภาษา ปรับทัศนคติ บุคลิกภาพใหม่”

ประกันภัย นอน มอเตอร์ ( คือ ประกันทุกปรเภทยกเว้นประกันชีวิต) เป็นงานหลักของบริษัท เน้น ประกันภัย อุบัติเหตุส่วนบุคคล (พีเอ) ที่มีสัดส่วนเยอะสุดประมาณ 70-80% เนื่องจากมีช่องทางที่จะเติบโตได้อีกมาก สินไหมประมาณ 53% อยู่ในเกณฑ์ดี ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ขณะเดียวจะเริ่มทำตลาด ประกันภัย สุขภาพ เพราะมองเห็นโอกาส จากการที่ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลาง ประกันภัย สุขภาพอาเซียน

24 มีนาคม 2561

บอร์ด คปภ. เห็นชอบให้นายทะเบียนสั่ง “บมจ.เจ้าพระยาประกันภัย” หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว

– กำหนดเงื่อนไขให้ดำเนินการแก้ไขภายใน 29 มิ.ย.2561 คุมเข้มห้ามรับลูกค้ารายใหม่ แต่ต้องจ่ายเคลมลูกค้ารายเดิมตามปกติ
– เลขาธิการ คปภ. สั่งมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคมิให้เดือดร้อน

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (บอร์ด คปภ.) ครั้งที่ 3/2561 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2561 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2561 เป็นต้นไป

เนื่องจากปรากฏพฤติการณ์และหลักฐานต่อนายทะเบียนว่า บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)

1. มีฐานะการเงินไม่มั่นคง เนื่องจากขาดเงินกองทุนตามกฎหมาย และมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน
2. ยื่นรายงานงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงหลายครั้ง
3.มีพฤติกรรมปิดบังซ่อนเร้นฐานะการเงิน หรือการดำเนินการ
โดยบันทึกรายการหนี้สินจากการประกันภัยต่อ และเงินสำรองสำหรับค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับรายงานแล้วต่ำกว่าความเป็นจริง ทำให้ไม่ทราบฐานะการเงินที่แท้จริงของบริษัท

และหากบริษัทไม่ดำเนินการแก้ไขปัญหาเพื่อให้มีการรายงานฐานะการเงินและการดำเนินการอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว สำนักงาน คปภ. ก็ไม่สามารถมั่นใจได้ว่าบริษัทมีความสามารถในการชำระภาระผูกพันที่มีต่อผู้เอาประกันภัยหรือประชาชนได้

นอกจากนี้ หากไม่มีคำสั่งให้บริษัทหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว สำนักงาน คปภ.จะไม่สามารถมั่นใจได้ว่าในระหว่างนี้บริษัทจะไม่มีการโยกย้ายทรัพย์สินในลักษณะที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้เอาประกันภัยและประชาชน

คณะกรรมการ คปภ. พิจารณาจากพฤติการณ์และหลักฐานต่าง ๆ ดังกล่าวโดยละเอียดแล้ว เห็นชอบให้นายทะเบียนใช้อำนาจตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 โดยสั่งให้บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว และให้บริษัทเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาฐานะการเงินและการดำเนินงาน โดยกำหนดเงื่อนไขต่างๆให้บริษัทดำเนินการดังนี้

1.ดำรงเงินกองทุนให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด
2.ยื่นรายงานประมาณการฐานะการเงินและความเพียงพอของเงินกองทุนเป็นรายไตรมาสเป็นระยะเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี พ.ศ. 2561
3.ปรับปรุงการบันทึกรายการบัญชีให้ถูกต้องตรงต่อความเป็นจริง เพื่อให้งบการเงินของบริษัทมีความน่าเชื่อถือ และผ่านการรับรองจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่แสดงความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไข หรือแบบมีเงื่อนไข ในลักษณะที่ไม่เป็นเหตุให้บริษัทมีฐานะการเงินหรือการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน
4.จัดให้มีระบบงานและบุคลากรที่มีคุณภาพ ได้แก่ ระบบบัญชีการเงิน ระบบการรับเงินจ่ายเงิน ระบบการจัดการค่าสินไหมทดแทน ระบบการบริหารความเสี่ยง ระบบควบคุมภายในที่เหมาะสมและเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด และให้มีคู่มือการปฏิบัติงานของพนักงานเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งให้มีการทดสอบระบบงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
5.ให้แก้ไขฐานะและดำเนินการตามข้อ 1. ถึงข้อ 4. ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2561 หรือจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง

เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า การสั่งให้ บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) หยุดรับประกันภัยเป็นการชั่วคราวจะไม่กระทบต่ออุตสาหกรรมประกันภัย เนื่องจากอุตสาหกรรมประกันภัยในภาพรวมยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ประกอบกับจากข้อมูลสถิติปี 2560 บริษัทมีส่วนแบ่งตลาดเพียงร้อยละ 0.83 ของเบี้ยประกันภัยรับตรงของธุรกิจประกันวินาศภัย จึงขอให้ประชาชนผู้เอาประกันภัยไม่ต้อง วิตกกังวล ทั้งนี้ บริษัทยังต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามปกติ เพียงแต่ไม่สามารถรับประกันภัยรายใหม่ได้

“ผมได้เน้นย้ำให้สำนักงาน คปภ. ให้ความคุ้มครองประชาชนผู้บริโภคเป็นสำคัญ โดยได้สั่งการไปยังสายตรวจสอบและสายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ ตลอดจนสำนักงาน คปภ.ทั่วประเทศ ตรวจสอบสาขา/สำนักงานตัวแทนของ บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) ที่ตั้งอยู่ในเขตรับผิดชอบ และให้ดำเนินการแจ้งการสั่งหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว เพื่อป้องกันไม่ให้บริษัท/ตัวแทน/นายหน้าประกันภัยขายกรมธรรม์รายใหม่ในระหว่างการหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว พร้อมทั้ง ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่เข้าไปประจำที่บริษัท เพื่อควบคุมดูแลให้บริษัท ดำเนินการตามเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนดแล้ว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน คปภ. 1186 หรือ www.oic.or.th”

5/2018

เจ้าพระยาประกันภัย เพิ่มทุน 100 ล้าน เจรจาหาผู้ร่วมทุนรายใหม่ ก่อนกำหนดเส้นตาย 29 มิ.ย.2018

บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย หลังจาก คปภ.สั่งให้หยุดรับประกันภัยชั่วคราว 23 มี.ค.2018
30 เม.ย.2018 เจ้าพระยาประกันภัย มีทุนจดทะเบียน 1,200 ล้านบาท ชำระแล้ว 1,030 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 100 ล้านบาท (เมื่อเทียบกับช่วงเดือน ต.ค. 2560 ที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วที่ 930 ล้านบาท)

บริษัทได้แจ้งว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาหาพันธมิตรร่วมทุนรายใหม่ ทั้งจากบริษัทประกันวินาศภัยในประเทศ และนักลงทุนประเภทอื่น จากในและต่างประเทศด้วย

  • เรื่องของงบประมาณที่ผู้สอบบัญชีต้องรับรองความถูกต้อง
  • การมีเงินกองทุนให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ต่ำกว่า 100%
  • การปรับปรุงระบบภายในที่ดีเยี่ยม

การจ่ายเคลมสินไหม หลังมีคำสั่งให้หยุดรับประกันภัย ก็ยังเป็นปกติและได้จ่ายไปแล้วประมาณ 10 ล้านบาท

หนี้สินของบริษัทนั้นถือว่าไม่มาก ประมาณ 300-400 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเบี้ยรับปีละ 1,200 ล้านบาท
หากใส่เงินลงมาใหม่สัก 1,000 ล้านบาท คงแก้ไขปัญหาได้

บริษัทประกันวินาศภัยขนาดเล็ก ค่าใช้จ่าย 40% ถือว่าสูงมาก ที่แข่งขันได้ไม่ควรเกิน 20%
บริษัทประกันวินาศภัยขนาดเล็ก มีความเสียเปรียบในเรื่องของต้นทุนการแข่งขันที่สูงกว่า เมื่อเทียบกับบริษัทประกันวินาศภัยขนาดใหญ่

9/2018

เพิกถอนใบอนุญาตของบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)

ปิดฉาก เจ้าพรยาประกันภัย




สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow