INSURANCETHAI.NET
Sat 18/01/2025 14:37:58
Home » ประวัติบริษัทประกันวินาศภัย เมืองไทยประกันภัย » เมืองไทยประกันภัย\"you

เมืองไทยประกันภัย

2014/07/01 3924👁️‍🗨️

ภัทรประกันภัย และ เมืองไทยประกันภัย ประกาศควบรวมกิจการ
ภายใต้ชื่อ บริษัท เมืองไทยประกันภัย
บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด(มหาชน) บริษัทได้ควบรวมกิจการกับ บริษัท ภัทรประกันภัยจำกัด
ดำเนินการควบรวมเป็นที่เรียบร้อยแล้วในวันที่ 20 มิถุนายน 2551 ภายใต้ชื่อบริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด(มหาชน)
สาเหตุที่ใช้ชื่อบริษัท เมืองไทยประกันภัย เพราะเป็นชื่อที่คนติดหู โดยได้มีการทุ่มงบโฆษณาแบรนด์มาเป็นเวลายาวนาน  ทั้งสองกิจการ คือ ภัทรประกันภัย และเมืองไทยประกันภัย อยู่ในตลาดเดียวกันคือ การประกันวินาศภัย ซึ่งมีสินค้าและลักษณะการประกันภัย ได้แก่ ประกันภัยรถยนต์ การประกันอัคคีภัย การรับประกันภัยเบ็ดเตล็ด และการรับประกันภัยทางทะเลและขนส่ง (Marine) ดังนั้น การควบรวมกิจการครั้งนี้จึงเป็นลักษณะ Harizontal Merger คือ การควบรวมกิจการที่อยู่ในระนาบเดียวกัน ซึ่งนายโพธิพงษ์ ล่ำซำ ได้ให้เหตุผลในการดำเนินการครั้งนี้ว่า เพื่อการเข้าสู่การเป็นบริษัทประกันวินาศภัยในระดับแนวหน้าของประเทศ เพิ่มความแข็งแกร่งทางธุรกิจภายใต้ภาวการณ์แข่งขันในธุรกิจประกันภัยที่เข้ม ข้น รองรับนโยบายของกรมการประกันภัยในอนาคต และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
https://www.muangthaiinsurance.com/

muangthaiinsurance

หากพิจารณาถึงโครงสร้างของทั้งสองบริษัทก่อนการควบรวมกิจการแล้วจะพบว่า ทั้งสองบริษัทมีความถนัดกันคนละด้าน โดยภัทรประกันภัยจะโดดเด่นทางด้านเบี้ยประกันอัคคีภัย ซึ่งมีเบี้ยรับเป็นสัดส่วนถึง 50% การรับประกันภัยเบ็ดเตล็ด 46% และทางด้าน Marine 4% ทางเมืองไทยประกันภัยจะมีจุดแข็งทางด้านการรับประกันภัยรถยนต์เป็นหลักอยู่ ที่ 60% การรับประกันภัยเบ็ดเตล็ด 26% การประกันอัคคีภัย 11% และด้าน Marine 3% เมื่อกล่าวถึงธุรกิจทางด้านประกันวินาศภัยจะพบว่า สัดส่วนรายได้จากการบริหารเงินลงทุน และกำไรจากการดำเนินงานในธุรกิจหลักของบริษัทประกันภัยอยู่ที่ประมาณ 50-50 เพราะธุรกิจประกันวินาศภัยมีรายจ่ายรวมในสัด่วนที่สูงถึงร้อยละ 94.5 ของเบี้ยประกันที่ถือเป็นรายได้ ทำให้รายได้หลักหรือกำไรของธุรกิจที่เกิดจากการรับประกันภัยมีสัดส่วนที่ ค่อนข้างต่ำ ดังนั้น บริษัทประกันวินาศภัยส่วนใหญ่ จึงจำเป็นต้องพึ่งพารายได้จากอีกส่วนคือ ผลตอบแทนจากการลงทุน(ขึ้นอยู่กับตลาดทุน) ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงความสามารถในการทำกำไร ภัทรประกันภัยทำกำไรจากการรับประกันภัย ส่วนเมืองไทยประกันภัยโดดเนในด้านการทำกำไรจากการลงทุน ดังนั้น เมื่อมีการควบรวมของทั้งสองกิจการ จะทำให้มีความมั่นคงของเงินกองทุนเพื่อใช้ในการดำเนินการทั้งทางด้านการ รับประกันภัยและทางด้านการลงทุนมากยิ่งขึ้น (คาดว่าสูงกว่า 10 เท่าที่กฎหมายระบุไว้ หรือประมาณ 2,600 ล้านบาท) อีกทั้งความได้เปรียบของช่องทางการจัดจำหน่าย โดย บมจ.ภัทรประกันภัย มีความชำนาญในเรื่องของช่องทางเทเลมาเก็ตติ้ง ขณะที่เมืองไทยประกันภัยชำนาญในเรื่อของสำนักงานตัวแทน รวมทั้งทีมขายตรงและตัวแทนของเมืองไทยประกันชีวิตที่ขายสินค้าให้กับเมือง ไทยประกันภัยอยู่ด้วย เมื่อรวมกันแล้วจะทำให้บริษัทใหม่มีความแข็งแกร่งทางการจัดจำหน่ายทุกช่อง ทาง

ทางด้านสถิติของบริษัททั้งสองแห่งในปี พ.ศ. 2548 พบว่า บมจ.ภัทรประกันภัยที่ได้ชื่อว่ามีความชำนาญทางด้านการประกันอัคคีภัยนั้น ติดอันดับ 4 ของตลาดโดยมีส่วนแบ่งทางการตลาด (Market Share) อยู่ที่ 6.9% ซึ่งตลาดการรับประกันอัคคีภัยมีค่า HHI < 1,000 (ประมาณ 375.85) แสดงให้เห็นว่ามีการแข่งขันกันสูงและไม่มีใครมีอำนาจเหนือตลาด การประกันอัคคีภัยของบริษัทเมืองไทยประกันภัยนั้นมีส่วนแบ่งตลาดที่ 1.3 % ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำมาก ทางด้านการประกันภัยรถยนต์ที่บริษัทเมืองไทยประกันภัยมีความถนัดนั้น มีส่วนแบ่งตลาดที่ 1.87% ส่วน บมจ.ภัทรประกันภัยไม่มีการรับประกันรถยนต์ ค่า HHI ของการรับประกันภัยรถยนต์มีค่าน้อยกว่า 1,000 เช่นกัน โดยที่อยู่ประมาณ 665.11 จึงเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูง แต่ในด้านนี้บริษัทวิริยะประกันภัยได้ส่วนแบ่งตลาดถึง 21.29% เป็นตัวเลขที่สูงมาก ดันนั้น การประกันภัยรถยนต์ของบริษัทเมืองไทยประกันภัยจึงไม่ติดหนึ่งในสับอัดดับแรก ของตลาดประกันวินาศภัย โดยภาพรวมของตลาดประกันวินาศภัย พบว่าบริษัทที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงสุด คือ วิริยะประกันภัย มีส่วนแบ่งทางการตลาด 13.96% โดยบริษัทประกันภัยขนาดใหญ่ 5 อันดับแรกมีส่วนแบ่งตลาดรวม 37.4% บริษัทเมืองไทยประกันภัย มีส่วนแบ่งตลาด 1.88% และ บมจ.ภัทรประกันภัยมีส่วนแบ่งตลาด 1.28% ด้วยส่วนแบ่งตลาดของทั้งสองบริษัทนี้เป็นตัวเลขที่ต่ำ ทำให้สามารถควบรวมกิจการกันได้โดยไม่ทำให้สภาพการแข่งขันในตลาดเปลี่ยนแปลง ไป นั่นคือ ไม่ก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการเข้าสู่ตลาดของเจ้าใหม่แน่นอน เพราะเมื่อควบรวมกันแล้วได้ส่วนแบ่งตลาดทั้งการรับประกันอัคคีภัย การประกันภัยรถยนต์ และการประกันวินาศภัยโดยรวมนั้นไม่ได้เพิ่มขึ้นจากเดิมมากนัก และแม้ว่าขนาดของบริษัทที่เพิ่มขึ้นจะทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economic of scale) ซึ่งทำให้เกิดการได้เปรียบในเรื่องของต้นทุนก็ตาม แต่ผลที่ส่วนแบ่งตลาดน้อยนั้นเมื่อควบรวมกันแล้วก็ไม่ได้ทำให้เป็นการกีดกัน บริษัทอื่นที่จะเข้าสู่ตลาด อนึ่งในการประกันวินาศภัยนี้มีจำนวนบริษัทอยู่ถึง 72 บริษัท ซึ่งถือเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ค่า HHI ของตลาดมีค่าน้อยกว่า 100 แม้ว่าจะมีเจ้าตลาดอย่างวิริยะประกันภัยแต่ก็มีส่วนแบ่งตลาดเพียง 13.96% ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอำนาจตลาดแต่อย่างใด อีกทั้งเจ้าเล็กเจ้าน้อยรวมกว่า 50-60 ราย มีส่วนแบ่งตลาดเจ้าละ 1% กว่า ๆ จึงถือได้ว่าเป็นตลาดที่แข่งขันสูงมาก ตอกย้ำว่าการควบรวมกันของทั้งสองบริษัทนี้จะไม่ก่อให้เกิดอำนาจเหนือตลาด อย่างแน่นอน และเนื่องจากธุรกิจประกันวินาศภัยต้องดำเนินการภายใต้ระเบียบของ คปภ. ดังนั้นการคิดเบี้ยประกันภัยไม่สามารถคิดในอัตราที่สูงขึ้นได้ ต้องคิดอัตราเบี้ยประกันภัยตามกำหนดของ คปภ. เท่านั้น แต่ที่อัดตราเบี้ยประกันภัยของแต่ละบริษัทไม่เท่ากันเป็นผลมาจากการดำเนินกล ยุทธทางการตลาดของแต่ละบริษัทที่มีการเพิ่มค่าสินไหมหรือความคุ้มครองที่แตก ต่างกันนั่นเอง

ปัจจุบัน บมจ.เมืองไทยประกันภัยได้ดำเนินกิจการมาเป็นเวลา 2 ปีแล้ว ลองย้อนกลับไปดูกันถึงเหตุผลของการควบรวมกิจการว่าสิ่งที่นายโพธิพงษ์ ล่ำซำ ได้วางเป้าหมายไว้นั้นเป็นไปตามที่เขากล่าวไว้อย่างไรบ้าง จากข้อมูลทางด้านสถิติของธุรกิจการประกันวินาศภัยในเดือนมกราคม 2553 พบว่า พบว่า อันดับ 1 ยังคงเป็น บจก. วิริยะประกันภัย มีส่วนแบ่งสูงสุด 12.37% ส่วน บมจ.เมืองไทยประกันภัยอยู่ที่อันดับ 6 ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 3.81% ซึ่งจากเดิมก่อนการควบรวมนั้น บมจ.ภัทรประกันภัยครองส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่อันดับ 31 ส่วน บ.เมืองไทยประกันภัย อยู่ที่อันดับ 16 ทั้งนี้ยืนยันได้แล้วว่า หลังการควบรวมของทั้งสอบกิจการจะได้ส่วนแบ่งของการตลาดเพิ่มขึ้นและยังก้าว เข้าสู่การเป็นบริษัทประกันวินาศภัยแนวหน้าของประเทศซึ่งอยู่ในอันดับ 6 ของประเทศ ภายหลังการควบรวมกิจการพอร์ตการลงทุนของบริษัทจะใหญ่ขึ้น ซึ่งทำให้มีโอกาสและเกิดช่องทางในการลงทุนที่ขยายเพิ่มขึ้น อีกทั้งด้วยเงินกองทุนที่เพิ่มขึ้นนี้ก็ช่วยสร้างความแข็งแกร่งและความเชื่อ มั่นให้กับผู้เอาประกันและคู่ค้าทุกราย การเป็นบริษัทการรับประกันวินาศภัยที่มีภาพลักษณ์ด้านความเชื่อมั่นนี้จะ เป็นตัวเรียกลูกค้ารายย่อยได้เป็นอย่างดี เหตุผลหนึ่งของการควบรวมกิจการที่ว่า เพื่อรองรับนโยบายของกรมการประกันภัยในอนาคตนั้นก็เป็นไปตามที่คาดไว้ เนื่องจาก คปภ. (ซึ่งเดิมคือกรมการประกันภัยแต่ได้แยกตัวเป็นองค์กรอิสระในภายหลัง) ได้ประกาศหลักเกณฑ์การกำกับเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง (Risk Based Capital : RBC) ให้มีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2554 ซึ่ง RBC กำหนดให้บริษัทประกันวินาศภัยทุกบริษัทต้องดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับ ทรัพย์สิน หนี้สินและภาระผูกพันหรือความเสี่ยง ในอัตราไม่น้อยกว่า 1.5 เท่า ของ CAR ratio โดยการคำนวณความเสี่ยงจะรวมทั้งความเสี่ยงที่เกิดจากการบริหารเงินลงทุน และความเสี่ยงจากการรับประกันภัย ซึ่งหลักเกณฑ์นี้อาจไปลดการกระทำที่เพิ่มความเสี่ยงให้ธุรกิจ หลักเกณฑ์ปัจจุบันได้กำหนดให้ดำรงเงินกองทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของเบี้ยรับสุทธิ ซึ่งอาจทำให้เกิดการขยายธุรกิจจนมีความเสี่ยงที่เงินจ่ายค่าสินไหมไม่พอจ่าย ให้กับผู้เอาประกันภัย ซึ่งหลักเกณฑ์ RBC นี้จะทำให้บริษัทที่อยู่ในตลาดหุ้นหันมาควบรวมกิจการกันมากขึ้น เพื่อขยายเงินกองทุนให้เป็นไปตามที่ คปภ. กำหนด เห็นได้ชัดว่าหลักเกณฑ์นี้เป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้คัดเลือกกิจการที่มีความ สามารถและมีประสิทธิภาพในการดำเนินกิจการให้อยู่ในตลาดและจะส่งผลดีในระยะ ยาว โดยมีส่วนสร้างความเชื่อมั่นให้กับระบบประกันภัย สร้างความมั่นใจให้กับภาคธุรกิจและเป็นหลักประกันของผู้เอาประกันภัยรายย่อย อย่างไรก็ตาม บมจ.เมืองไทยประกันภัย ก็ได้ออกตัวควบรวมกิจการขยายฐานเงินกองทุนลอยลำเป็นที่เรียบร้อย นับเป็นการคาดการณ์ทางธุรกิจที่น่ายกย่องของตระกูลล่ำซำ อีกทั้งการควบรวมกิจการนี้ก่อให้เกิดประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นธุรกิจที่อยู่ในสายงานที่ใกล้เคียงกันสามารถใช้ระบบสารสนเทศ ร่วมกันได้ ลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน รวมไปถึงการจัดสรรบุคลากรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง ขององค์กร

การควบรวมกิจการครั้งนี้นับเป็นอีกความสำเร็จหนึ่งของตระกูลล่ำซำ ซึ่งเป็นการนำ บมจ.เมืองไทยประกันภัย ก้าวขึ้นเป็นบริษัทประกันวินาศภัยแนวหน้าของประเทศ แต่เป้าหมายสำคัญคือการติดอันดับ Top 5 ซึ่งเราต้องติดตามกันต่อไปว่า บมจ.เมืองไทยประกันภัยนี้จะไปสู่ดวงดาวหรือไม่ แต่การควบรวมกิจการครั้งนี้ทำให้ขีดความสามารถและศักยภาพการแข่งขันเพิ่ม ขึ้น แน่นอนว่าความมั่นคงของบริษัทประกันวินาศภัยนั่นเป็นผลดีต่อผู้บริโภคราย ย่อยอย่างเรา เนื่องจากเราสามารถมั่นใจได้ว่าเบี้ยประกันภัยที่เราจ่ายไปนั้นจะไม่สูญ เปล่า เพราะเราจะได้รับการคุ้มครองจากบริษัทประกันภัยที่มีคุณภาพและให้การคุ้ม ครองเราตามที่ระบุในสัญญาอย่างแน่นอน

บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
252 ถ.รัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
โทรศัพท์ 0-2665-4000, 0-2290-3333
โทรสาร 0-2665-4166, 0-2274-9511, 0-2276-2033
info@muangthaiinsurance.com
callcenter 1484

contact1484-mti





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow