INSURANCETHAI.NET
Mon 18/11/2024 0:21:58
Home » ประวัติบริษัทประกันวินาศภัย ไทยเศรษฐกิจประกันภัย » ไทยเศรษฐกิจประกันภัย\"you

ไทยเศรษฐกิจประกันภัย

2012/02/22 3176👁️‍🗨️

ไทยเศรษฐกิจประกันภัย

บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2485 โดยดำริของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้พิจารณาและเล็งเห็นถึงความสำคัญของการมีบริษัทประกันที่เป็นของคนไทย จึงให้ดำเนินการจัดตั้งบริษัทฯ ขึ้นเพื่อประกอบธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัย โดยในระยะแรกมีหน่วยงานจากภาครัฐบาลและภาคเอกชนเข้าร่วมถือหุ้น ประกอบด้วย สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์, กลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ และบริษัท ข้าวไทย จำกัด จากนั้นในปี 2526 บริษัทฯ มีแผนการแยกธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัยออกจากกัน จึงได้ดำเนินการโอนทรัพย์สินและหนี้สินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประกันชีวิตให้กับ บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันชีวิต จำกัด ต่อมาในปี 2529 บริษัทฯ ได้ทำการขายหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ในบริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันชีวิต จำกัด ออกไป จึงเหลือแต่การประกอบธุรกิจรับประกันวินาศภัยเพียงอย่างเดียวจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2529 บริษัท ข้าวไทย จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ได้ขายหุ้นทั้งหมดที่ถือในบริษัทฯ ให้แก่บริษัท สยามแร่และน้ำมัน จำกัด และได้เปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้น และการจัดการมาเป็นกลุ่มสยามแร่และน้ำมัน เป็นผู้บริหารตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

บริษัทฯ ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2534 เป็นหลักทรัพย์รับอนุญาต และได้เพิ่มทุนจดทะเบียนตามลำดับ จาก 60 ล้านบาทเป็น 120 ล้านบาท และเพิ่มทุนอีกเป็น 150 ล้านบาท และ 156 ล้านบาท ตามลำดับ บริษัทฯ ได้ทำการแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2536 หลังจากนั้น บริษัทฯ ได้ดำเนินการเพิ่มทุนเป็นระยะจาก 156 ล้านบาท เป็น 312 ล้านบาท เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ TSI-W1 ในปี พ.ศ. 2546 ได้เตรียมเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 561.6 ล้านบาทเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของการแข่งขันในธุรกิจประกันภัย แต่เนื่องจากฐานะการเงินของบริษัทฯ มีเงินกองทุนที่เพียงพอและแข็งแกร่ง ไม่จำเป็นต้องมีการระดมทุนเพิ่มอีก จนกระทั่งถึงปี 2547 จึงได้เปลี่ยนแปลงทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเป็น 310.3 ล้านบาท ในปัจจุบัน

ตลอดระยะเวลากว่า 68 ปี บริษัทฯ ได้ดำเนินธุรกิจให้มีความเจริญก้าวหน้าและเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่สำคัญในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาของบริษัทฯ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

ปี 2540 บริษัทฯ ได้ทำการเพิ่มทุนจดทะเบียน จาก 150 ล้านบาท เป็น 156 ล้านบาท
ปี 2541 บริษัทฯ ได้ติดตั้งระบบ Software Insure/90 เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าผู้เอาประกันภัยได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ปี 2543 บริษัทฯ ได้พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เพิ่มเติม ทำให้สามารถใช้ระบบ Software Insure/90 ได้เต็มระบบ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงไปยังสาขาและศูนย์บริการของบริษัทฯ ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศโดยใช้ระบบ Online และ VPN
ปี 2544 บริษัทฯ ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 156 ล้านบาท เป็น 312 ล้านบาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 15.6 ล้านหุ้น แบ่งเป็นการเสนอขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนจำนวน 7.8 ล้านหุ้น และรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพของใบสำคัญแสดงสิทธิในครั้งนี้จำนวน 7.8 ล้านหุ้น
ปี 2545 บริษัทฯ ครบรอบ 60 ปี แห่งการประกอบการที่มั่นคง และบริการฉันมิตร นับจากวันที่เริ่มก่อตั้งเมื่อ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2485 บริษัทฯ ได้จัดกิจกรรมเพื่อสาธารณะตลอดทั้งปีได้แก่ ถวายพระกฐินพระราชทานแด่ วัดไตรมิตรวิทยาราม บริจาคโลหิต บริจาคทรัพย์สิ่งของเพื่อการกุศล และกิจกรรมเพื่อผู้ป่วยโรคเอดส์วัดพระบาทน้ำพุ บริจาคเงินเพื่อก่อสร้างป้อมสัญญาณไฟจราจรบริเวณแยกสาทร เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ และแก่สาธารณชนโดยทั่วไป
ปี 2546 บริษัทฯ ได้ดำเนินการพัฒนาระบบสาระสนเทศคอมพิวเตอร์ โดยนำกล้องดิจิตอลเพื่อใช้ในการถ่ายภาพสินไหมรถยนต์ และสามารถจัดส่งภาพจากทั่วประเทศ เข้าสู่ศูนย์ซ่อมรถยนต์ที่ติดตั้งระบบสินไหมรถยนต์ SCS-Services Coordinator Systems เพื่อการจัดอะไหล่ และดำเนินการจัดซ่อมอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้จัดซื้อ เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา Note Book เพื่อให้พนักงานสินไหมของบริษัทฯ สามารถจัดส่งข้อมูล และเรียกดูจาดศูนย์สาระสนเทศของบริษัทฯ ได้ตลอดเวลา เพื่อการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
ปี 2547- ปี 2548 บริษัทฯ ได้ทำการเปลี่ยนแปลงทุนจดทะเบียนเป็นทุนจดทะเบียนและชำระแล้วเต็ม 310.3 ล้านบาท แบ่งเป็น 31.03 ล้านหุ้น นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการจัดการสินไหมรถยนต์ โดยมีการศึกษานำระบบวีดีโอเคลม (V-Claim) มาใช้ถ่ายทำประกอบการตรวจสอบอุบัติเหตุในสถานที่จริง ซึ่งจะทำให้ลูกค้า และคู่กรณีได้รับความสะดวก รวดเร็ว ในการบริการ พร้อมกับทำให้การพิจารณาสินไหมของบริษัทฯ เป็นไปอย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพสูงสุด Top Speed Satisfaction
ปี 2549 บริษัทฯ ได้พัฒนาการบริหารและจัดการสินไหม แบบ V-Claims ให้เกิดต้นทุนที่ต่ำในการจัดการสินไหม ระยะเวลาในการจ่ายสินไหมรวดเร็ว ลดจำนวนสินไหมค้างจ่ายได้เป็นจำนวนมาก ทำให้การวางแผนทางการเงินเพื่อการลงทุนมีประสิทธิภาพ ในด้านการขยายงานการรับประกันภัยรายใหญ่ บริษัทฯ ได้ร่วมรับประกันภัยสนามบินสุวรรณภูมิ ร่วมกับบริษัททิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) โดยมีบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้เอาประกันภัย
ปี 2550 บริษัทฯ ได้พัฒนาระบบสินไหมในแบบ E-Claims เข้ากับระบบ V-Claims ของบริษัทฯ โดยได้ร่วมกับบริษัท EMCS จำกัด ที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดประมวลผลข้อมูลสินไหมและกำหนดการคุมราคาอะไหล่ ค่าซ่อมกับอู่มาตรฐาน และบริษัทจัดจำหน่ายอะไหล่ชั้นนำทั่วประเทศ ในการให้บริการสินไหมออนไลน์ที่เพิ่มช่องทางความสะดวกสบายให้แก่ผู้เอาประกันภัยที่สามารถจะนำรถเข้าซ่อมได้ทุกอู่ที่มีระบบนี้อยู่ทั่วประเทศ โดยบริษัทฯ จะสามารถลดต้นทุนในการควบคุมราคาสินไหม และยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่การให้บริการของบริษัทฯได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ลงนามในสัญญาร่วมมือทางธุรกิจกับบริษัทหลักทรัพย์เอเชีย พลัส จำกัด (มหาชน) ในการจัดการบริหารความเสี่ยงภัยและจัดหาประกันภัยให้แก่ทรัพย์สินของลูกค้าบริษัทหลักทรัพย์เอเชีย พลัส จำกัด (มหาชน)
ปี 2551 บริษัทฯ ได้รับประกันภัยงานศูนย์การค้าขนาดใหญ่จากบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด(มหาชน) เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย โดยบริษัทฯ ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากผู้รับประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในการจัดสรรการเสี่ยงภัยในทุนประกันภัยหลายหมื่นล้านบาทของโครงการศูนย์การค้าหลายแห่ง ได้แก่ โครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิล์ด, ศูนย์การค้าเซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ, ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพัทยาเฟสติวัล เป็นต้น
ปี 2552 บริษัทฯ ได้รับประกันภัยงานของรัฐวิสาหกิจในกระทรวงคมนาคม อาทิเช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย และ บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นองค์การที่จะขับเคลื่อนการขนส่งระบบรางที่ทันสมัย มีคุณภาพมาตรฐานสากล มีเส้นทางทั่วทุกภาคในประเทศไทย มีระยาทางที่เปิดเดินรถแล้ว รวมทั้งสิน 4,346 กิโลเมตร ซึ่งในอนาคตประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลาง Logistics ในภูมิภาคเอเชีย เพื่อตอบรับต่อการเปิดเสรีอาเซียน นอกจากนี้ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่รัฐบาลไทยถือหุ้นอยู่ 70 % มีมูลค่าสูงสุดถึง 203,345,996 ล้านบาทและเป็นผู้นำธุรกิจท่าอากาศยานในภูมิภาคเอเชีย และคาดว่าจะเป็น Logistics Hub ที่สำคัญในภาคพื้นนี้
ปี 2553 บริษัทฯ ได้รับประกันภัยชนิดพิเศษ คือประกันภัยความรุนแรงทางการเมือง (Political Violence) สำหรับบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีทุนประกันภัยสูงถึง 3,500 ล้านบาท โดยบริษัทฯ ได้รับความร่วมมือจากผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศ (Lloyd’s syndicate) ในการจัดสรรความเสี่ยงภัย นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้เข้าร่วมโครงการประกันภัย รถยนต์ชั้นหนึ่ง GOA (Global Outstanding Assessment) ซึ่งโครงการดังกล่าว มีจุดประสงค์เพื่อมุ่งเน้นให้ลูกค้าโตโยต้าที่ทำประกันภัย GOA ได้รับการบริการครบวงจร และสิทธิพิเศษด้านประกันภัยรถยนต์

ภาพรวมการประกอบธุรกิจของบริษัทไทยเศรษฐกิจประกันภัย
ภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 7.8 โดยมีปัจจัยสนับสนุนทั้งจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และอุปสงค์ภายในประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนและการบริโภคภาคครัวเรือน ที่ขยายตัวร้อยละ 13.8 และ 4.8 ตามลำดับ ภาวการณ์แข่งขันในตลาดประกันภัยมีระดับความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ทั้งในส่วนของการประกันภัยรถยนต์ และการประกันภัยประเภทอื่นๆ บริษัทฯ ได้ขยายการรับประกันภัยทุกประเภทเพิ่มขี้นโดยเฉพาะการประกันภัยรถยนต์ ทำให้บริษัทฯ มีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 53.06 เมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2552 รวมทั้ง บริษัทฯ จะต้องเตรียมความพร้อมสำหรับการประกันภัยเสรี และการรวม ASEAN เป็นหนึ่ง โดยอาศัย 3 ช่องทาง ได้แก่ Common Tariff, Common Market, Common Currency ซึ่งจะเริ่มเปิดการค้าเสรีทั้งภูมิภาคในปีพ.ศ. 2558 ธุรกิจประกันภัยไทยจะได้รับผลกระทบทั้งในเชิง บวกและลบ ในเชิงบวกคือ
1.) มีการปรับปรุงส่วนที่เกี่ยวข้องกับทุน (Capital)
2.) ส่วนที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรมนุษย์ (Human Capital)
3.) ส่วนที่เกี่ยวข้องกับทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital)

บริษัทฯ จึงได้เตรียมการใช้นโยบายการรับประกันภัยที่เคร่งครัดเพื่อปรับฐานการรับประกันภัย มีการคัดกรองกลุ่มลูกค้า รักษางานที่มีคุณภาพ รวมทั้งการใช้ทักษะความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการความเสี่ยงภัยที่มีมาตรฐาน รวมทั้งประสิทธิภาพความรวดเร็วของกระบวนการบริหารงานภายในที่อาศัยระบบเทคโนโลยีมารองรับการจัดการบริหารความเสี่ยง (Enterprise Risk Management) อย่างต่อเนื่อง ทำให้ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานต่างๆ ที่ไม่จำเป็น และมีความแม่นยำ ถูกต้อง ซึ่งก่อให้เกิดการบริหารต้นทุนอย่างคุ้มค่าด้วย ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อเบี้ยประกันภัยรับเป็นร้อยละ 19.08 ลดลงจากร้อยละ 27.12 ในปี พ.ศ. 2552 จากการรับประกันภัยรถยนต์ที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้บริษัทฯ มีเบี้ยประกันภัยรับที่ถือเป็นรายได้ สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 มีจำนวน 417.04 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.87 จากปี พ.ศ. 2552

บริษัทฯ ประกอบธุรกิจในการรับประกันวินาศภัยทุกประเภท อันได้แก่ การประกันอัคคีภัย การประกันการขนส่งสินค้าทางทะเล การประกันภัยรถยนต์ และ การประกันภัยเบ็ดเตล็ด ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พบว่าเบี้ยประกันภัยรับส่วนใหญ่ร้อยละ 80 มาจากการประกันภัยรถยนต์ทั้งประเภทสมัครใจ และ ภาคบังคับ ตาม พรบ. ผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ส่วนที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 20 จะมาจากการประกันภัยทรัพย์สินที่นอกเหนือการประกันภัยรถยนต์

แผนสำรองทางธุรกิจเพื่อความต่อเนื่อง
จากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ และปัญหาความไม่สงบทางการเมืองในปี 2553 ที่ผ่านมาเป็นเหตุให้ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจยังต้องปรับตัว โดยมีปัจจัยที่มีผลกระทบต่อค่าความเชื่อมั่นของประชาชน หลายประการ อาทิเช่น เสถียรภาพทางการเมือง การก่อจลาจลและความไม่สงบภายในประเทศ ภัยธรรมชาติ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินที่มีความผันผวน อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น อัตราการว่างงาน

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ ได้จัดเตรียมแผนสำรองทางธุรกิจเพื่อความต่อเนื่อง Business Continuity Plan ทางด้านระบบคอมพิวเตอร์ การสำรองจ่ายเงิน ระบบบริการด้านการรับประกันภัยและสินไหมให้มีประสิทธิภาพ ในการรองรับต่อเหตุการณ์ที่ไม่อาจคาดหมายได้ ไม่ว่าจะเป็นเหตุภัยธรรมชาติ หรือภัยที่เกิดจากปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ

แผนฉุกเฉินนี้ได้เตรียมความพร้อมไว้อย่างดี เพราะเป็นการกำหนดแนวทางป้องกัน ในกรณีที่เกิดสถาน
การณ?หรือการดำเนินงานไม?เป็นไปตามแผนที่วางไว? หรือมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น เช่น เหตุจลาจลความไม่สงบ ความวุ่นวายทางการเมือง อุทกภัย อัคคีภัย ธรณีพิบัติ วาตภัย หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น เพื่อป้องกันข้อมูลชำรุด เสียหายหรือสูญหาย บริษัทฯ โดยฝ่ายพัฒนาปฏิบัติการเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดให้มีแผนงานในการสำรองข้อมูล รายวัน รายเดือน และรายปี เก็บไว้บนอุปกรณ์บันทึกข้อมูลและแยกจัดเก็บไว้ในสถานที่ ที่มั่นคงและปลอดภัย โดยมีการเก็บข้อมูลไว้ 5 ปี สามารถนำข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในอุปกรณ์กลับมาใช้งานได้อย่างสะดวก รวดเร็วและถูกต้อง ระบบสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งป้องกันปัญหาธุรกิจหยุดชะงัก มีการกำหนดการใช้ทรัพยากรในด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีแผนการติดต่อสื่อสาร และประชาสัมพันธ์กับบุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ซึ่งหากไม่มีแผนฉุกเฉินหรือแผนสำรองแล้วจะเกิดผลกระทบในทางลบ เช่น ข้อมูลของบริษัทฯหรือข้อมูลของลูกค้าสูญหาย เป็นต้น บริษัทฯ มีแผนที่จะจัดหาพื้นที่ เพื่อสำรองเป็นกรณีฉุกเฉิน ในการให้บริการแก่ลูกค้าผู้เอาประกันภัย โดยทั่วไป หากเกิดกรณีที่สำนักงานของบริษัทฯ ประสบเหตุฉุกเฉินขึ้น บริษัทฯ ยังมีแผนฟื้นฟูการดำเนินงาน (Business Recovery Plan) ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติที่มีการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อฟื้นฟูสภาพความเสียหายให้กลับเข้าสู่การดำเนินธุรกิจปกติอย่างทันท่วงที เพื่อคงไว้ซึ่งความมีประสิทธิภาพ ความรวดเร็วของบริการต่อไป

ปรัชญาขององค์กร และ เป้าหมายการดำเนินธุรกิจ
บริษัทฯ กำหนดหน้าที่หลัก 4 ประการ เพื่อคณะกรรมการ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ทุกระดับในองค์กรพึงปฏิบัติดังนี้
1. Duty of Care – ผู้บริหารทุกท่านและเจ้าหน้าที่ทุกระดับในองค์กรจะต้องเอาใจใส่กิจการของบริษัทฯ อย่างเต็มความสามารถรวมถึงเอาใจใส่ในลูกค้าทุกท่าน เสมือนหนึ่งเป็นกิจการของตนเอง โดยการสร้างแนวคิดแบบ Entrepreneurial ให้แก่พนักงานในองค์กร
2. Duty of Loyalty – ผู้บริหารทุกท่านและเจ้าหน้าที่ทุกระดับในองค์กรจะต้องซื่อสัตย์ต่อหน้าที่และมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณต่องานที่ทำและต้องไม่กระทำตนเป็นปรปักษ์ต่อบริษัทฯ , ต่อผู้ถือหุ้น, ต่อลูกค้าผู้เอาประกันภัย, ต่อประชาชนโดยทั่วไป โดยยึดหลักบรรษัทภิบาลที่ดี Corporate Good Governance
3. Duty of Obedience – กิจกรรมทุกกิจกรรมของบริษัทฯ และทุกรายการของธุรกิจ จะต้องเป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบที่พึงปฏิบัติ ที่ถูกต้องตลอดเวลา
4. Duty of Disclosure – กิจกรรมทุกกิจกรรม ของบริษัทฯ สามารถเปิดเผยแก่สาธารณะชนเพื่อแสดงความโปร่งใสในการทำงานของทุกระดับในองค์กร สามารถตรวจสอบได้อย่างเปิดเผย

หน้าที่หลักทั้ง 4 ประการดังกล่าวนั้น ผู้บริหารทุกท่านและเจ้าหน้าที่ทุกระดับต้องพึงปฏิบัติต่อสังคม ผู้ถือหุ้น ลูกค้า ผู้รับประกันภัยต่อทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงตัวแทน นายหน้า และผู้ส่งงานทุกท่าน นอกเหนือจากนี้ บริษัทฯ ยังได้มุ่งเน้นที่จะทำการฝึกอบรมพนักงานของบริษัทฯ รวมทั้ง ตัวแทนนายหน้าให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจประกันวินาศภัยเป็นอย่างดี และสามารถให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพอันจะเป็นการเสริมสร้างภาพพจน์ที่ดีของบริษัทฯ อีกด้วย

เป้าหมายการดำเนินธุรกิจ
จากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2551 ต่อเนื่องถึงปี 2552 ที่ผ่านมาเป็นเหตุให้หลายๆ บริษัทฯประสบปัญหาในการควบคุมต้นทุนการประกอบการของบริษัทฯให้ต่ำสุด Cost Leadership เพื่อความอยู่รอดขององค์กร Herd Instincts – Economic Theory สืบเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจจากต่างชาติที่ส่งผลกระทบมายังธุรกิจในประเทศไทยอย่างมากรวมทั้งธุรกิจประกันภัย

บริษัทฯ ก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน แต่ได้ปรับใช้วิกฤตให้เป็นโอกาสโดยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรให้กระชับ พัฒนาบุคลากรโดยการสนับสนุนทั้งด้านการฝึกอบรมและการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อสร้างความรู้ และทักษะ ในการตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น สร้างองค์กรเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไม่สิ้นสุด Learning Organization เพื่อให้การทำงานในองค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

บริษัทฯ ได้ดำเนินการปรับเป้าหมายในการประกอบกิจการให้สอดคล้องต่อความเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ รวมถึงการปรับองค์กรให้ทันสมัย และสอดรับต่อกฎเกณฑ์ กติกา ที่คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (ค.ป.ภ.) ได้ประกาศใช้ตามหลักการสากลในการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยมาตรฐาน ที่นานาชาติให้การยอมรับ โดยบริษัทฯ ได้กำหนดเป้าหมายที่ความสำคัญต่อการบริหารความเสี่ยงภัยจากการรับประกันภัยเป็นประการแรก โดยเน้นการจัดการรับประกันภัยงานที่มีคุณภาพ เบี้ยประกันภัยที่เหมาะสม และการจัดการประกันภัยต่อไปยังผู้รับประกันภัยต่อที่มีความมั่นคงทางการเงิน Market Approach เป้าหมายประการที่สองได้แก่ การเปิดเผยข้อมูลงบการเงินตามมาตรฐานทางบัญชีอย่างถูกต้องและโปร่งใส ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย หน่วยงานที่กำกับดูแล และลูกค้าประชาชนทั่วไปได้รับทราบตลอดเวลา เพื่อยืนยันการรักษาระบบบรรษัทภิบาลที่ดีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย Supervisory Approach ประการที่สาม บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการสร้างและดำรงความมั่นคงแข็งแรงของเงินกองทุน ตามเกณฑ์ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อความเจริญเติบโตที่แข็งแรงและยั่งยืน Quantitative Approach

สำหรับวิธีการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ บริษัทฯ เน้นการพัฒนาบุคลากรทั้งพนักงาน ตัวแทนนายหน้า และคู่ค้าทางธุรกิจ ให้มีความเข้าใจในแผนงานและระบบของการรับประกันภัย ความสำคัญของการให้บริการแก่ลูกค้าประชาชน และการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยผ่านระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ให้มีเครือข่ายถึงกันและสามารถตรวจสอบรายละเอียดของเงื่อนไขกรมธรรม์รายฉบับ ประวัติของลูกค้า และสถานะทางการเงินที่เกี่ยวข้อง Integrated Market Communication เพื่อประโยชน์สูงสุดที่ลูกค้า ผู้ใช้บริการพึงจะได้รับ รวมถึงการสื่อสารข้อมูลของบริษัทฯ ไปยังสำนักงานสาขาในส่วนภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการกำกับดูแลการให้บริการ และจัดหาเงื่อนไขความคุ้มครองที่เหมาะสมสอดคล้องต่อพื้นที่ทางการตลาด ซึ่งจะทำให้เกิดความหลากหลายของสินค้าและเป็นทางเลือกแก่ลูกค้าเพิ่มมากขึ้น

บริษัทฯ ยังคงให้ความสำคัญต่อความทันสมัยและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่มีผลต่อความสำเร็จและการเติบโตขององค์กร บริษัทฯ จึงได้พัฒนากำหนดกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยสร้างวัฒนธรรมใหม่ให้เกิดเป็นองค์กรแห่งความก้าวหน้า Learning and Developing Organization โดยเน้นบทบาทการทำงานให้ บุคคล เชื่อมโยงกับกลยุทธ์ เป้าหมายโดยผ่าน
สื่อสารสนเทศคอมพิวเตอร์ เน้นกลยุทธ์เชิงรุก (Proactive Strategy) โดยบุคคลสามารถจัดการสนองตอบความต้องการของลูกค้าทั้งในและนอกสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นการรับประกันภัย หรือการจัดการสินไหมผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อความรวดเร็วและมีความแม่นยำสูงในการขยายงานการตลาด

บริษัทฯ มีนโยบายการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ทั้งการสนับสนุนส่งเสริมให้มีการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในสาขาที่เกี่ยวข้อง จัดส่งพนักงานเข้าอบรมยังสถาบันประกันภัยไทย รวมถึงการเข้าร่วมสัมมนาการประกันภัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งบริษัทฯ ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากบริษัทประกันภัยต่อต่างประเทศ รวมถึงบริษัทนายหน้าระดับโลก ที่ให้ข้อมูลข่าวสารและความเปลี่ยนแปลงของทิศทางประกันภัย เพื่อบริษัทฯ สามารถนำมาใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ของบริษัทฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการใช้ระบบเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนากิจการ โดยวางกรอบแนวคิด 3 E อันได้แก่ E-thinking, E-Planning และ E-doing ให้คิด วางแผน และลงมือปฏิบัติการโดยเป็นระบบและให้เชื่อมโยงกันด้วยเทคโนโลยี ให้ข้อมูลข่าวสารเป็นจริงตรงเวลาปัจจุบัน Real Time ลดเอกสาร จนกระทั่งไม่ใช้เอกสาร (Paperless) เพื่อให้บริษัทฯ เป็นสำนักงานทันสมัย มีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการบริหารงานต่ำ แต่ประสิทธิภาพในการให้บริการสูง ( Cost Leadership, High Service Quality )

การวิจัยและพัฒนา และ โครงการในอนาคต
ยังคงให้ความสำคัญต่อการสร้างตลาดใหม่ต่อสินค้าที่ได้ผ่านการพัฒนาและออกขายในตลาดปัจจุบัน ให้สอดคล้องต่อสภาวะการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมสามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ
1. การสร้างตลาดใหม่ต่อผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาแล้ว
ตามที่บริษัทฯ ได้มีการพัฒนากรมธรรม์ประเภทใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุดทั้งในเรื่องของขอบเขตความคุ้มครองและราคา กรมธรรม์ที่ได้รับการพัฒนาและจัดจำหน่าย อาทิเช่น กรมธรรม์ประกันการก่อการร้าย, กรมธรรม์ไกรทอง 3, กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 ขยายความคุ้มครองรถประกันกรณีเฉี่ยวชนมีคู่กรณี หรือ วิธูร 1 และกรมธรรม์ประกันภัยประเภท 2 ขยายความคุ้มครองรถประกันกรณีมีคู่กรณี เป็นต้น ซึ่งบริษัทฯ ได้ให้ความรู้ความเข้าใจที่ดีในผลิตภัณฑ์ใหม่แก่ตัวแทน นายหน้า เพื่อการขยายตลาดใหม่ให้มีจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดหมายว่า หากสภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวจากภาวะถดถอย บริษัทฯ น่าจะได้รับผลดีจากการพัฒนาทั้งตลาดและผลิตภัณฑ์

บริษัทฯ ยังคงใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและการใช้นวัตกรรมใหม่ในการจัดการสินไหมเรียกว่า V-Claim ซึ่งใช้กล้องวีดีโอ ถ่ายทำเหตุการณ์อุบัติเหตุ และจัดการสินไหมให้แล้วเสร็จวันต่อวัน สร้างประสิทธิภาพในการบริหารแบบ Paperless และทำให้ผู้เอาประกันภัยสะดวก รวดเร็วในการนำรถเข้าซ่อมทำ โดยร่วมมือกับบริษัท EMCS ในการจัดโครงข่ายให้บริการแบบ E – Claims เป็นการลดต้นทุนในระยะยาว และสร้างกลยุทธ์ใหม่ที่สร้างความสะดวกรวดเร็วให้แก่ลูกค้า ผู้เอาประกันภัย ส่งผลให้แหล่งงานมีความประทับใจ และคาดหมายได้ว่า การบริหารจัดการในส่วนของสินไหมรถยนต์จะมีพัฒนาการในการให้บริการแก่ลูกค้า ผู้เอาประกันภัย ให้ได้รับความพึงพอใจมากยิ่งขึ้น การใช้สื่อสารสนเทศคอมพิวเตอร์และระบบวีดีทัศน์ในการรับประกัน การเอาประกันภัย แจ้งสินไหม รับค่าสินไหม โดยพัฒนาโปรแกรมให้ลูกค้า ผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกใช้บริการได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม ซึ่งจะเป็นส่วนเสริมการให้บริการผ่านพันธมิตรของบริษัทฯ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเงิน บริษัทเงินทุน องค์กรเอกชน อู่ ร้านอะไหล่

2. การพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ระบบคอมพิวเตอร์ถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจและเก็บรักษาข้อมูลของบริษัทฯ ได้ทำการซื้อและติดตั้งระบบ Software/Insure 90 ซึ่งจะช่วยให้บริษัทฯ สามารถให้บริการแก่ลูกค้าผู้เอาประกันภัยได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยระบบดังกล่าวจะ On-Line เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างสำนักงานใหญ่และศูนย์บริการ 7 แห่งที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น นครสวรรค์ ชลบุรี นครปฐม ชลบุรี นครปฐม หาดใหญ่ และภูเก็ต นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้พัฒนาโปรแกรมต่างๆ ขึ้นเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของ ผู้ใช้ (User) ให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการจัดพิมพ์รายงานต่างๆ บริษัทฯ ยังได้มีการจัดตั้งหน่วยงาน Call Center เพื่อที่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้ที่สนใจจะสามารถโทรศัพท์เข้ามาสอบถามข้อมูลต่างๆ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านศูนย์ Hot Line 1352
บริษัทฯ ได้พัฒนาพื้นที่ดินบริเวณ ถนนพระราม 9 มาเพื่อเตรียมก่อสร้างให้เป็นศูนย์บริการในการตรวจซ่อม ตรวจสภาพรถยนต์ จัดอะไหล่ และอุปกรณ์เพื่อเสริมความปลอดภัยให้แก่รถยนต์ ทั้งนี้ กิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับการประกันภัยรถยนต์ ดังกล่าวจะเป็นส่วนสนับสนุนในการลดความเสี่ยงภัยจากการใช้รถ ( Loss Prevention) และเป็นส่วนหนึ่งในการให้บริการเพื่อความพึงพอใจของลูกค้า ผู้เอาประกันภัย ขณะนี้ ปรับภูมิทัศน์เรียบร้อยแล้ว และยังอยู่ในระหว่างการออกแบบซึ่งเน้นความประหยัดและสะดวกต่อการใช้บริการของลูกค้า ก่อนขออนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ รวมถึงความเหมาะสมของการใช้พื้นที่ในภาวะการณ์ปัจจุบัน

โครงการในอนาคต

บริษัทฯ มีโครงการที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา ดำเนินการ ดังนี้

“ไมโครอินชัวรันส์”ถือว่าเป็นนวตกรรมใหม่และเป็นการสื่อสารเรื่องการประกันภัยไปยังผู้เอาประกันภัยที่อาจจะไม่คุ้นเคยกับประกันภัยมากนัก แต่มีความต้องการความคุ้มครองแฝงอยู่แล้ว เพราะทุกคนล้วนแต่อยู่บนความเสี่ยง จึงต้องการที่จะบริหารความเสี่ยง และต้องการที่จะมีใครมารองรับความเสี่ยงนั้นไว้ แต่เขาเหล่านั้นอาจจะยังไม่เข้าใจได้ว่าจะคุ้มครองอะไรบ้าง เหตุผลอาจเกิดจากกรมธรรม์เดิมที่มีขั้นตอนที่วุ่นวาย ซึ่งในแต่ละขั้นตอนอาจทำให้บางครั้งคนที่อยู่ไกลปืนเที่ยง หรืออยู่ในพื้นที่ห่างไกลนัก เกิดอาการขี้เกียจทำความเข้าใจ”ไมโครอินชัวรันส์” จะทำให้ทุกขั้นตอนนั้นง่ายขึ้น ไม่วุ่นวาย การอธิบายรายละเอียดก็ถูกทำให้ง่ายขึ้น บริษัทฯ ได้เตรียมที่จะทำแผนประชาสัมพันธ์ไว้แล้ว มีการเตรียมสินค้าไว้แล้ว ที่ยังออกมาไม่ได้เพราะยังต้องรอทาง คปภ. ตรวจสอบในรูปแบบกรมธรรม์และวิธีการขายก่อน

ข้อมูลทางการเงินโดยสรุปของบริษัท
บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วทั้งสิ้น 310.3 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 31.03 ล้านหุ้นมูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท

บริษัทฯ ประกอบธุรกิจรับประกันวินาศภัยทุกประเภท ประกอบด้วย การประกันอัคคีภัย, การประกันการขนส่งสินค้าทางทะเล, การประกันภัยรถยนต์ และการประกันภัยเบ็ดเตล็ด โดยให้บริการผ่านสาขาและศูนย์บริการจำนวน 31 แห่งที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ บริษัทฯ มีนายหน้าและตัวแทนอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ และเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีจำนวนร้อยละ 55 ของยอดเบี้ยประกันภัยรับรวมในแต่ละปี อีกร้อยละ 45 บริษัทฯ ได้รับการสนับสนุนจาก สถาบันการเงิน และจากผลสำเร็จของฝ่ายขยายงานการตลาดของบริษัทฯ

ธุรกิจที่ทำรายได้หลักให้กับบริษัทฯ คือ การประกันภัยรถยนต์ ซึ่งเบี้ยประกันภัยรับถือเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 75 ของเบี้ยประกันภัยรับรวม สำหรับการประกันภัยรถยนต์ของบริษัทฯ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ และการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ เบี้ยประกันภัยที่ได้รับอีกร้อยละ 25 เป็นการรับประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเล การประกันอัคคีภัย และการประกันภัยเบ็ดเตล็ด

ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 บริษัทฯ มีทุนจดทะเบียน 310.394 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้น 465.934 ล้านบาท สินทรัพย์รวม 987.322 ล้านบาท เบี้ยประกันภัยรับก่อนหักยกเลิกและส่งคืน จำนวน 669.145 ล้านบาท จำนวนพนักงาน 226 คน
ฐานะการเงิน และ ผลการดำเนินงาน

บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)
เปิดเผย ณ วันที่ 30 ดือน กันยายน พ.ศ. 2554
ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน
รายการ
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
2554
2553
2554
2553
2554
2553
  สินทรัพย์
965.29
842.87
968.25
853.43
987.72
862.48
  หนี้สิน
590.56
373.74
581.10
387.96
601.86
424.15
  ส่วนของผู้ถือหุ้น
374.73
469.13
387.15
465.47
385.86
438.33
  เงินกองทุน
251.21
283.36
262.74
285.52
382.10
299.17
  เงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมาย
56.38
34.15
56.38
34.15
47.36
34.15
  อัตราส่วนเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมาย(ร้อยละ)
445.53
829.76
465.99
836.08
790.80
876.16
  รายได้
196.47
98.40
387.39
195.35
596.61
315.58
  รายจ่าย
197.34
93.05
378.39
192.52
588.09
352.13
  กำไร (ขาดทุน) สุทธิ
8.66
5.35
18.80
2.67
18.06
(26.67)
  กระแสเงินสดได้มา (ใช้ไป) จากกิจกรรมดำเนินงาน
35.50
15.44
39.99
43.81
41.98
16.35
  กระแสเงินสดได้มา (ใช้ไป) จากกิจกรรมลงทุน
(18.49)
10.07
(53.25)
(12.56)
(50.50)
11.93
  กระแสเงินสดได้มา (ใช้ไป) จากกิจกรรมจัดหาเงิน
(0.55)
(4.45)
(0.55)
(7.55)
(0.55)
(7.55)
  เงินสดเพิ่มขึ้น (ลดลง) สุทธิ
(16.46)
21.06
(13.81)
23.70
(9.07)
20.73

หมายเหตุ : 1.กฎหมายกำหนดให้สัดส่วนเงินกองทุนต่อกองทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมาย ต้องไม่ต่ำกว่า 100%
2.เงินกองทุน เป็นกองทุนตามราคาประเมิน ตามประกาศว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท ซึ่งไม่อยู่ในขอบเขตการสอบทานของผู้สอบบัญชี
3.ไตรมาสที่ 2 หมายถึง ผลการดำเนินงานสะสม 6 เดือน และ ไตรมาสที่ 3 หมายถึง ผลการดำเนินงานสะสม 9 เดือน
4.รายการกระแสเงินสดจากกิจกรรมแต่ละประเภท ให้หมายถึงกระแสเงินสดได้มา (ใช้ไป) ที่จัดทำโดยวิธีทางตรงหรือ ทางอ้อม
5.งบการเงินยังไม่ผ่านการสอบทานจากผู้สอบบัญชี

รายการ
ณ วันที่ 31 ธันวาคม
2553
2552
  สินทรัพย์
947.11
813.04
  หนี้สิน
582.42
351.08
  ส่วนของผู้ถือหุ้น
364.69
461.96
  เงินกองทุน
219.89
278.52
  เงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมาย
56.38
55.27
  อัตราส่วนเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมาย (ร้อยละ)
390.00
503.93
  รายได้
451.03
434.04
  รายจ่าย
568.47
425.04
  กำไร (ขาดทุน) สุทธิ
(102.45)
0.82
  กระแสเงินสดได้มา (ใช้ไป) จากกิจกรรมดำเนินงาน
23.25
(135.76)
  กระแสเงินสดได้มา (ใช้ไป) จากกิจกรรมลงทุน
(45.05)
107.56
  กระแสเงินสดได้มา (ใช้ไป) จากกิจกรรมจัดหาเงิน
(7.00)
(3.31)
  เงินสดเพิ่มขึ้น (ลดลง) สุทธิ
(28.80)
(31.52)

หมายเหตุ : 1.กฎหมายกำหนดให้สัดส่วนเงินกองทุนต่อกองทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมาย ต้องไม่ต่ำกว่า 100%
2.เงินกองทุน เป็นกองทุนตามราคาประเมิน ตามประกาศว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท ซึ่งไม่อยู่ในขอบเขตการสอบทานของผู้สอบบัญชี

อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ (ร้อยละ)

อัตราส่วน
ค่ามาตรฐาน
ปี2553
ปี2552
  อัตราส่วนสภาพคล่อง
100
379.40
456.84

ตารางสัดส่วนร้อยละของเบี้ยประกันภัยแยกตามประเภทของการรับประกันภัยประจำปี 2553

รายการ
การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
การประกันภัยรถยนต์
การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
รวม
ตัวเรือ
สินค้า
โดยข้อบังคับของกฎหมาย
โดยตามสมัครใจ
ความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน
ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
วิศวกรรม
อุบัติเหตุส่วนบุคคล
สุขภาพ
อื่น ๆ
อัตราเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง
55.30
11.91
44.69
472.29
27.86
2.65
2.39
1.63
57.89
676.61
สัดส่วนของเบี้ยประกันภัย
8.17
1.76
6.60
69.80
4.12
0.39
0.35
0.24
8.57
100

หมายเหตุ ข้อมูลมาจากรายงานประจำปี

บริษัทไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)

160 อาคารไทยเศรษฐกิจ ถนนสาทรเหนือ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
โทร 0-2630-9055 , 0-2630-9111 (อัตโนมัติ 70 คู่สาย) แฟกซ์ 0-2237-4621 , 0-22374-4624
อีเมลล์ webmaster@tsi.co.th
สายด่วน 1352

ฝ่ายรับประกันรถยนต์
คุณสถาพร เปาทอง โทร 0-2630-9055 , 0-2630-9111 ต่อ 313 อีเมลล์ staporn.pao@tsi.co.th
คุณอารยา แสงเงิน โทร 0-2630-9055 , 0-2630-9111 ต่อ 321 อีเมลล์ araya.sae@tsi.co.th

ฝ่ายสินไหมรถยนต์
คุณบรรเจิด อู่สุวรรณ โทร 0-2630-9055 , 0-2630-9111 ต่อ 131 อีเมลล์ banjerd.usu@tsi.co.th

ฝ่ายรับประกันอัคคีภัย
คุณสถาพร เปาทอง โทร 0-2630-9055 , 0-2630-9111 ต่อ 313 อีเมลล์ staporn.pao@tsi.co.th
คุณอรพิน จิตรวิศาลสกุล โทร 0-2630-9055 , 0-2630-9111 ต่อ 309

ฝ่ายรับประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
คุณอารีย์ ลิปภานนท์ โทร 0-2630-9055 , 0-2630-9111 ต่อ 513 อีเมลล์ aree.lip@tsi.co.th

ฝ่ายรับประกันภัยเบ็ดเตล็ด
คุณพิชิต เพ่งสุข โทร 0-2630-9055 , 0-2630-9111 ต่อ 307 อีเมลล์ Pichit.Pen@tsi.co.th

ฝ่ายกฎหมาย
คุณบัลลังก์ แก้วปานกัน โทร 0-2630-9055 , 0-2630-9111 ต่อ 503 อีเมลล์ bunlung.kae@tsi.co.th

ฝ่ายรับเรื่องร้องเรียนกรณีมีข้อพิพาท
คุณดุษฎี หล่อคุณธรรม โทร 0-2630-9055 , 0-2630-9111 ต่อ 530 อีเมลล์ dusadee.law@tsi.co.th

ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center)
โทรสายด่วน 1352 (อัตโนมัติ 70 เลขหมาย) ตลอด 24 ชั่วโมง





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow