INSURANCETHAI.NET
Wed 18/12/2024 18:49:23
Home » อัพเดทประกันภัย » ยกเว้นการจ่ายผลประโยชน์จากความไม่สมบูรณ์ของใบคำขอ\"you

ยกเว้นการจ่ายผลประโยชน์จากความไม่สมบูรณ์ของใบคำขอ

2017/08/22 1233👁️‍🗨️
1 คน ทำประกันอุบัติเหตุ ทุนประกัน 68 ล้านบาท
กรมธรรม์รวม 60 ฉบับ จากบริษัทประกันภัยกว่า 30 แห่ง จากนั้น วางแผนตัดนิ้ว เพื่อเคลมประกัน

กรณีตัวอย่าง “ยกเว้นการจ่ายผลประโยชน์จากความไม่สมบูรณ์ของใบคำขอ”

คดีประวัติศาสตร์สะเทือนวงการประกันภัย ของไทยที่เกิดขึ้นปลายปี 2549

“อาจต้องพึ่งอำนาจศาลเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดเป็นด่านสุดท้ายกับ คดีตัดนิ้ว เมื่อบริษัทประกันภัยกว่า 30 บริษัท ได้รวมตัวกันยื่นร้องต่อกองปราบปรามให้ตรวจสอบการเอาประกันภัยของผู้เอาประกันภัยรายหนึ่ง ในข้อหาไม่สุจริตใจในการทำประกันภัยเนื่องจากเอาประกันภัยด้วยทุนสูงถึง 68 ล้านบาท จำนวนกรมธรรม์ 60 ฉบับกับบริษัทประกันภัยกว่า 30 บริษัท ก่อนที่เกิดเหตุนิ้วหัวแม่มือซ้ายขาดและเรียกเคลมจากบริษัทประกันภัยเป็นจำนวนเงิน 16.7 ล้านบาท

แม้ว่าเวลาจะผ่านไปนานแล้ว แต่ข้อเท็จจริงและหลักการก็ยังคงอยู่ นำมาคิดวิเคราะห์เพื่อเป็นแนวทางได้
(รายละเอียดของคดีและการตัดสินของศาล ขอไม่กล่าวถึง)

จุดที่เป็นประเด็นซึ่งบริษัทประกันภัยใช้ในการโต้แย้งเพื่อยกเว้นการจ่ายผลประโยชน์ตามที่ผู้เอาประกันภัยเรียกร้อง คือ ความไม่สมบูรณ์ของสัญญาประกันภัย

ความผิดพลาดของแผนการนี้คืออะไร?
“รอยตัด” หากนิ้วขาดโดยการสับเพีงแค่ครั้งเดียว ก็ไม่น่าสงสัย แต่จากรอบตัดพบว่ามีการตัดมากกว่า 1 ครั้ง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดอุบัติเหตุขึ้นในลักษณะดังกล่าว แล้วเหตุใด ไม่เก็บนิ้วไปต่อที่สถานพยาบาล? ผู้เอาประกันอ้างว่า นิ้วนั้นตกหล่นหายเข้าในกองไฟ

(ผู้เขียนจำได้คร่าวๆประมาณนี้เเหละ)

เป็นปกติทั่วไปที่การจ่ายเงินใดๆ ต้องมีการตรวจสอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำนวนเงินที่สูงมาก ซึ่งทางบริษัทผู้รับประกันภัยก็ต้องทำตามหน้าที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะผู้บริหารที่หากไม่ทำอาจถูกดำเนินคดีฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ได้ เนื่องจากบริษัทประกันภัยก็มีผู้ถือหุ้นอยู่ ในกรณีตัวอย่างนี้ก็เช่นกัน ด้วยจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนที่สูงและเหตุแห่งการเรียกร้องนั้นมีข้อสงสัยว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุหรือไม่ จึงทำให้มีการตรวจสอบพบว่ามีการทำประกันด้วยทุนประกันที่สูงเกินความสามารถหลายเท่าตัว และเมื่อย้อนกลับไปดูรายละเอียดในใบคำขอก็พบว่ามีการแจ้งรายละเอียดไว้ไม่ครบถ้วน

โดยหลักการในการขอเอาประกันภัย ผู้ขอเอาประกันต้องแจ้งรายละเอียดในเรื่องกรมธรรม์และวงเงินเอาประกัน (ทุนประกันภัย) ที่มีอยู่เดิมให้บริษัทประกันภัยที่ขอเขาประกันเพิ่มได้ทราบและใช้เป็นเกณฑ์พิจารณารับประกันด้วย แต่ผู้เอาประกันภัยรายนี้ได้แจ้งไว้ไม่ครบถ้วน เป็นเหตุให้บริษัทเข้าใจผิดว่ายังคงสามารถทำประกันเพิ่มได้ ซึ่งหากผู้เอาประกันภัยได้แถลงไว้อย่างครบถ้วนแล้วอาจเป็นเหตุให้บริษัทพิจารณาไม่รับประกันภัยได้ แม้นว่าผู้เอาประกันจะโต้แย้งว่าใบคำขอมีพื้นที่ให้กรอกจำกัด แต่เมื่อมองที่เจตนาหากต้องการแจ้งก็สามารถทำเอกสารแนบเพิ่มได้ ด้วยเหตุนี้จึงถือว่าผู้เอาประกันรายดังกล่าวกระทำการปกปิดข้อมูลความจริง จึงเป็นเหตุให้สัญญาประกันภัยไม่มีความสมบูรณ์ตั้งแต่ต้น ตกเป็นสัญญาโมฆียกรรม บริษัทจึงใช้สิทธิในการบอกล้างสัญญาและยกเว้นการจ่ายเงินผลประโยชน์ โดยยังจ่ายเบี้ยประกันภัยคืนให้แก่ผู้เอาประกัน

การที่บริษัทประกันภัยกระทำการดังกล่าวย่อมเป็นการรักษาผลประโยชน์ให้แก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นลูกค้าของบริษัททุกๆ คน เพราะการประกันภัยคือการที่บุคคลกลุ่มหนึ่งร่วมกันจ่ายเงินเข้ากองกลาง เพื่อร่วมเฉลี่ยความเสี่ยงภัย หากมีผู้ใดกระทำการลักษณะฉ้อฉลย่อมส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้เอาประกันภัยทุกคน

โมฆียกรรม หรือ นิติกรรมที่อาจเป็นโมฆะ คือ นิติกรรมที่กฎหมายถือว่าสมบูรณ์ตราบที่ยังไม่ถูกบอกล้าง ที่เป็นเช่นนี้เพราะนิติกรรมนี้มีความผิดปรกติอย่างไม่ร้ายแรงนัก กฎหมายจึงเปิดโอกาสให้บุคคลผู้เกี่ยวข้องโดยตรงได้มีโอกาสตัดสินใจว่าจะเอาไว้หรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองบุคคลเหล่านี้เอง

โมฆียกรรม (voidable act) หมายถึง นิติกรรมซึ่งอาจบอกล้าง เพิกถอน หรือให้สัตยาบันได้, ถ้าบอกล้างก็เป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ถ้าให้สัตยาบันก็มีผลสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก ทั้งนี้ กฎหมายเขียนเป็น “โมฆียะกรรม” ตามรูปแบบการเขียนโบราณสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งยังไม่มีการบังคับให้การเขียนสะกดคำต้องเป็นไปตามพจนานุกรมของทางราชการ

โมฆียกรรมที่มีความผิดปรกติแต่ไม่ร้ายแรง กฎหมายจึงยอมให้โมฆียกรรมมีผลชั่วคราวจนกว่าจะมีการบอกล้างอันจะมีผลให้โมฆียกรรมกลายเป็นโมฆกรรม (invalid act) หรือให้สัตยาบันอันจะมีผลให้โมฆียกรรมกลายเป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์ ขณะที่โมฆกรรมไม่ได้มีความผิดปรกติเบาบางขนาดนั้น กฎหมายจึงไม่อาจยอมให้มีผลในทางกฎหมายได้

คำว่า “โมฆียะ” เป็นคำวิเศษณ์ซึ่งมีความหมายในทางกฎหมายว่า “ที่อาจเป็นโมฆะได้เมื่อมีการบอกล้าง หรือมีผลสมบูรณ์เมื่อมีการให้สัตยาบัน” มีความหมายตรงตัวว่า “อันน่าจะเป็นโมฆะ”

 





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ

no related articles to display.




up arrow