การเลือกแผนประกันชีวิต (แบบประกันชีวิต)
การซื้อประกันชีวิต ที่ถูกต้อง ให้ดูที่จุดประสงค์ของการซื้อ
เช่น
1. เพื่อการเก็บเงิน ให้เลือกแบบ สะสมทรัพย์
2. เพื่อการรับเงินแบบบำนาญ ให้เลือก แบบบำนาญ
3. เพื่อคุ้มครองชีวิต ให้เลือก แบบตลอดชีพ เพราะจ่ายเบี้ยประกันน้อยกว่าแบบอื่นๆ แต่ได้รับความคุ้มครองสูง(ทุนประกันสูง)
4. เพื่อการลดหย่อยภาษี ให้เลือกแบบที่ได้กำไรมากที่สุด ในด้านตัวเงิน และ ระยะเวลา
5. เพื่อวัตถุประสงค์หลายอย่าง รวมกัน ต้องคำนวณเป็นตัวเลขออกมา และสุดท้าย อาจจะแก้โจทย์ให้ตรงโดย ซื้อประกันชีวิตหลายฉบับ แตกต่างกัน
ฯลฯ
จากนั้นก็เลือก #ประเภทประกัน ที่ตอบโจทย์ได้ โดย #การเปรียบเทียบแบบประกัน
สำหรับประกันชีวิต
– ประเภทประกันชีวิต เช่น แบบสะสมทรัพย์ แบบตลอดชีพ ฯลฯ
– แบบประกันชีวิต ได้แก่ แบบประกัน แบบต่างๆของประเภทประกันชีวิตินั้นๆ เช่น กรณีของกรุงเทพประกันชีวิต แบบสะสมทรัพย์ ตัวอย่างเช่น สะสมทรัพย์ 21 (ปัจจุบันยกเลิกการขายแล้ว) ,กรุงเทพ200 ฯลฯ ซึ่งบางบริษัทมีจำนวนแบบประกันใน แต่ละประเภท แตกต่างกัน อาจจะมี10แบบ หรือ 30 แบบ หรือ มากกว่านั้น และบางบริษัทยังสามารถให้สิทธิ์ตัวแทน ในการออกแบบ แบบประกันได้อีกด้วย ซึ่งจะออกแบบได้ในขอบเขตที่บริษัทฯ ได้กำหนดไว้ และแต่ละบริษัทประกันชีวิต จะมีชื่อเรียก ของแบบประกันแตกต่างกันไป ทั้งชื่อไทย ชื่ออังกฤษ ตัวเลขผสมกัน
ตัวอย่าง
โจทย์ ต้องการแบบสะสมทรัพย์ อายุ 32 ชาย อาชีพชั้น1 (อยู่ในออฟฟิศ)
การแก้โจทย์
ขั้นตอนการเลือก แบบประกันที่เหมาะสมกับลูกค้า
1. ต้องการแบบสะสมทรัพย์ (จึงลิสรายการแบบประกัน ทั้งหมดที่มีขาย ณ ขณะนั้น)
2. ขั้นตอน Normalize ทุนประกัน (ทำให้ทุนประกันเท่ากันทั้งหมด เพื่อเปรียบเทียบได้ง่าย)
หรือ อาจ Normalize เบี้ยประกันก็ได้ แต่กรณีนี้เราเลือก Normalize ทุนประกัน
3. เปรียบเทียบผลประโยชน์ ที่จะได้รับของแต่ละแบบประกัน ซึ่งจะต้องทำตารางมาเปรียบเทียบอีกทีหนึ่ง
ข้อมูลจากตาราง ได้จาก ระบบ คิดเบี้ยประกันออนไลน์ ของ กรุงเทพประกันชีวิต ซึ่งมีข้อดีที่ จะได้ข้อมูลอัพเดทเสมอ แตกต่างจาก pc version ซึ่งต้องดาวน์โหลดโปรแกรม และติดตั้งแล้วใช้งาน ในบางครั้งอาจจะไม่อัพเดท หากไม่ตรวจสอบก่อน
ระบบ คิดเบี้ยประกันออนไลน์ ของ กรุงเทพประกันชีวิต (สำหรับตัวแทนประกันชีวิต ของกรุงเทพประกันชีวิต)
https://smartapp.bangkoklife.com/
โดยแบบประกันบางแบบ มีการกำหนด ทุนประกันขั้นต่ำ ไว้ด้วย หรือ บางแบบ มีการกำหนดเบี้ยประกันขั้นต่ำ คือ ถ้าซื้อต่ำกว่านั้นเขาไม่ขายให้นั่นเอง
นอกจากนี้ แบบประกันบางแบบ มีส่วนลดให้ ถ้าซื้อทุนประกันที่สูงขึ้น ในเกณฑ์ที่เขากำหนด เช่น ทุน ประกันที่ 10 ล้าน เป็นต้น ก็จะได้ เรทเบี้ยประกันที่ถูกลง
ในตารางแม้จะบอกอะไรเราได้ไม่มากนัก แต่เป็นจุดเริ่มต้นของขั้นตอนการเปรียบเทียบแบบประกัน
ขั้นต่อไป ให้เราไปดูผลประโยชน์ของแต่ละแบบประกัน ว่า จ่ายเงินคืนให้กี่ปี? จ่ายให้เท่าไร? แล้วทำตารางออกมาเปรียบเทียบอีกทีหนึ่ง
สิ่งที่ต้องระวังให้มากคือ เงินที่ประกันจะจ่ายให้เรา อาจจะใช้คำที่มีความหมายต่างกัน เช่น
– จ่ายเป็นเปอร์เซ็นต์ ของทุนประกัน
– จ่ายเป็นเปอร์เซ็นต์ ของเบี้ยประกัน
ดูแบบประกันของกรุงเทพประกันชีวิตได้ที่…
https://www.insurancethai.net/category/กรุงเทพประกันชีวิต/
หมายเหตุ
ในความเป็นจริงเราสามารถเปรียบเทียบผลประโยชน์จากการลงทุนได้ โดยใช้ ตัวเลข IRR แต่จะได้ในเรื่องของตัวเงินลงทุนอย่างเดียว ซึ่งก็จะมีผลลัพธ์เหมือน การทำ Normallize เบี้ยประกันนั่นเอง