ตัวแทนประกันชีวิต
ตัวแทนประกันชีวิต เป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับผู้เอาประกัน(ลูกค้าประกันชีวิต)มากที่สุด
ตัวแทนประกันชีวิต เป็นตัวแทนของบริษัทประกันชีวิต และ เป็นตัวแทนของผู้ถือกรมธรรม์ (ลูกค้าประกันชีวิต,ผู้เอาประกันชีวิต)
พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535
พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535 มาตรา 5
ตัวแทนประกันชีวิต คือ ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ทำการชักชวนให้บุคคลทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท
พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535 มาตรา 71 วรรคแรก
การที่ตัวแทนประกันชีวิตจะชักชวนให้คนทำประกันชีวิตในนามบริษัทใดได้ จะต้องได้รับมอบอำนาจจากบริษัทนั้น ตามที่กำหนดไว้ใน
พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535 มาตรา 68
การเป็นตัวแทนประกันชีวิตก็ไม่ใช่ว่าใครๆก็เป็นได้ ต้องได้สอบรับใบอนุญาติจากนายทะเบียนก่อน
พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535 มาตรา 69
ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน
(1)เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ
(2)มีภูมิลำเนาในประเทศไทย
(3)ไม่เป็นคนวิกลจริตหรือฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(4)ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต เว้นแต่ได้พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต
(5) ไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลาย
(6)ไม่เป็นนายหน้าประกันชีวิต
(7)ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตหรือใบอนุญาตเป็นหนายหน้าประกันชีวิตในระยะเวลาสามปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต
(8)ได้รับการศึกษาวิชาประกันชีวิตจากสถาบันการศึกษาที่นายทะเบียนประกาศกำหนดหรือสอบความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิตได้ตามหลักศุตรและวิธีการที่นายทะเบียนประกาศกำหนด
การสอบรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต มีผู้สอบไม่ผ่านเป็นจำนวนมาก (เกินครึ่ง)
แต่ละปี มีตัวแทนประกันชีวิตถูกร้องเรียนและถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นจำนวนมาก
จรรยาบรรณตัวแทนประกันชีวิต 10 ข้อ
1. มีความซื่อสัตย์ต่อผู้เอาประกันภัย บริษัท และเพื่อนร่วมอาชีพ
2. ให้บริการที่ดีอย่างสม่ำเสมอและชี้แจงให้ผู้เอาประกันภัยทราบถึงสิทธิและหน้าที่ เพื่อรักษาประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย
3. รักษาความลับอันมิควรเปิดเผยของผู้เอาประกันภัยและของบริษัทต่อบุคคลภายนอก
4.เปิดเผยความจริงของผู้เอาประกันภัยในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ เพื่อการพิจารณารับประกันภัย หรือเพื่อความสมบูรณ์แห่งกรมธรรม์
5. ไม่เสนอแนะผู้เอาประกันภัยทำประกันภัยเกินความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัย หรือเสนอขายนอกเหนือเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์
6. ไม่แนะนำให้ผู้เอาประกันภัยสละกรมธรรม์เดิมเพื่อทำสัญญาใหม่ หากทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียประโยชน์
7. ไม่ลดหรือเสนอที่จะลดค่าบำเหน็จเพื่อเป็นการจูงใจให้ทำประกันชีวิต
8. ไม่กล่าวร้ายทับถมตัวแทนประกันชีวิตบริษัทอื่น
9. หมั่นศึกษาหาความรู้ในวิชาชีพเพิ่มเติมอยู่เสมอ
10. ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมประเพณีอันดีงาม ทั้งดำรงไว้ซึ่งเกียรติ ศักดิ์ศรีและคุณธรรมแห่งอาชีวะปฏิญาณ