INSURANCETHAI.NET
Wed 18/12/2024 19:09:22
Home » อัพเดทประกันภัย » ซื้อประกันชีวิต จาก นายหน้าประกันชีวิต กับ ตัวแทนประกันชีวิต ไม่เหมือนกัน!!!\"you

ซื้อประกันชีวิต จาก นายหน้าประกันชีวิต กับ ตัวแทนประกันชีวิต ไม่เหมือนกัน!!!

2018/07/29 1919👁️‍🗨️

ซื้อประกันจากนายหน้า กับ ตัวแทนประกัน ศาลท่านว่า ไม่เหมือนกัน

ประชาชน ถูกบริษัทประกันชีวิต ไม่จ่ายค่ารักษาพยาบาลหรือค่าสินไหมทดแทนในกรณีเจ็บป่วย โดยอ้างว่า ผู้เอาประกัน ไม่แจ้ง หรือ ปกปิดคำถามเกี่ยวกับสุขภาพ ว่า เคยมีโรคประจำตัว หรือมีโรคประจำตัว หรือเคยรักษาโรค ในระหว่างทำประกันสุขภาพ

ความจริงแล้ว ผู้ทำประกันอาจเคยแจ้งต่อผู้ขาย ซึ่งเข้าใจว่าเป็นตัวแทนของบริษัทประกันไปแล้ว ส่วนคนขาย จะจดแจ้งตามที่บอกหรือไม่ก็อีกเรื่องหนึ่ง

คดีนี้ โจทก์เป็นผู้ทำประกันสุขภาพ โดยมีจำเลยเป็นบริษัทประกันฯ
หลังโจทก์ทำประกันก็ล้มป่วย จำเลยไม่ยอมจ่ายค่าประกันสุขภาพให้ โดยอ้างว่า โจทก์ปิดบังเกี่ยวกับสุขภาพ ว่าเคยเป็นโรคตับอักเสบ

โจทก์ต่อสู้ว่า โจทก์ไม่ได้ปิดบัง และเคยเข้ารับการรักษาตัว ตัวแทนของจำเลย (คนขายประกัน) ก็เคยมาเยี่ยมโจทก์ และทราบดีว่า โจทก์ป่วยเพราะตับอักเสบ

จำเลยต่อสู้ว่า
คนขายประกันให้โจทก์เป็นเพียงนายหน้าประกันชีวิต
ไม่ใช่ตัวแทนประกันชีวิตของจำเลย จึงไม่ผูกพันธ์จำเลย
จำเลยมีสิทธิบอกล้างสัญญา และคืนเบี้ยประกันให้โจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล และค่าสินไหมทดแทนใดๆ

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
ตัวแทนประกันชีวิต หมายความว่า ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ทำการชักชวนให้บุคคลทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท และมาตรา 71 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ตัวแทนประกันชีวิตอาจทำสัญญาประกันชีวิตในนามของบริษัทได้เมื่อได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากบริษัท

คดีนี้
คนขายประกันไม่ใช่ตัวแทนจำเลย
เพราะไม่มีหนังสือมอบอำนาจ หรือหนังสือตั้งตัวแทน
จึงมีฐานะเป็นเพียง นายหน้าประกันชีวิต นิติกรรมจึงไม่ผูกพันธ์จำเลย
จำเลยจึงบอกเลิกสัญญาได้

ซื้อประกันกับนายหน้า ศาลไม่คุ้มครอง

ชาวบ้านจะรู้อย่างไร ใครเป็นตัวแทนใครเป็นนายหน้า? (ตัวอย่างบัตรตัวแทน และ บัตรนายหน้า?!)
หนังสือมอบอำนาจเป็นเรื่องระหว่างตัวแทนกับบริษัท เมื่อบริษัท รับเงินเบี้ยประกันไปแล้ว จนออกกรมธรรม์ให้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็ย่อมเข้าใจว่า สัญญาย่อมถูกต้องทั้งหมด

ไม่แปลกใจว่า ทำไมบริษัทประกันภัยถึงหัวหมอตลอด

ฎีกาที่ 1333/2551

ตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิตฯ มาตรา 5 ได้ให้คำจำกัดความของ “ตัวแทนประกันชีวิต” ว่า
หมายความว่า ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ทำการชักชวนให้บุคคลทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท
และมาตรา 71 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ตัวแทนประกันชีวิต” อาจทำสัญญาประกันชีวิตในนามของบริษัทได้เมื่อได้ “รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากบริษัท”

แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบว่า ช. เป็นตัวแทนประกันชีวิตผู้ได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากจำเลยให้ทำสัญญาประกันชีวิตในนามของจำเลยได้ เช่นนี้ ช. จึงเป็นเพียง “ตัวแทนในการหาผู้เอาประกัน” มีหน้าที่ “ชักชวน” ให้ผู้อื่นมาทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยเท่านั้น “ไม่ใช่ตัวแทนในการทำสัญญาประกันชีวิตของจำเลย” จึง “ไม่ใช่ตัวแทนของจำเลย” ตาม ป.พ.พ.

การที่ ช. ได้ทราบหรือควรทราบข้อเท็จจริงขณะทำหนังสือรับรองสุขภาพว่า ส. เคยป่วยเป็นโรคตับอักเสบและมีอาการแน่นหน้าอกเนื่องจากดื่มสุรามากได้รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล อ. จะถือว่าจำเลยได้ทราบความจริงดังกล่าวด้วยหาได้ไม่

นอกจากนี้จำเลยยังนำสืบว่าหลังจาก ส. เสียชีวิตจำเลยได้ตรวจสอบหลักฐานและประวัติเกี่ยวกับสุขภาพของ ส. ทราบผลการตรวจสอบเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2540 ว่า ส. ปกปิดข้อความจริงว่าเคยป่วยเป็นโรคตับอักเสบ หากจำเลยทราบความจริงจำเลยจะไม่ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตกับ ส. โดยโจทก์ไม่นำสืบหักล้าง

ดังนั้น การที่ ส. รู้อยู่ว่าตนเป็นโรคตับอักเสบแต่ละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงที่อาจจูงใจให้จำเลยปฏิเสธไม่ทำสัญญาหรือเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้น ย่อมทำให้สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ส. กับจำเลยเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคหนึ่ง จำเลยบอกล้างสัญญาประกันชีวิตเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2540 จึงเป็นการบอกล้างภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่จำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างได้แล้ว

Cr.
https://web.facebook.com/profile.php?id=100012033163351
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=394241677653601&id=100012033163351

คนขายประกันไม่ใช่ตัวแทนบริษัทประกันชีวิตตามกฎหมาย
ตัวแทนในการหาผู้เอาประกัน มีหน้าที่หาชักชวนผู้อื่นมาทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัทประกันเท่านั้น ไม่ใช่ตัวแทนในการทำสัญญาประกันชีวิตของบริษัทประกัน จึงไม่ใช่ตัวแทนตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535
บริษัทประกันไม่ต้องรับผิดตามที่ตัวแทนประกันรับทราบ รับรู้ หรือได้บอกกล่าวอะไรกับลูกค้า
“เพราะฉะนั้น ก่อนท่านทำประกัน ท่านต้องอ่านกรมธรรภ์เอง อ่านสัญญาเอง และกรอกข้อมูลด้วยตนเอง แล้วจึงเซ็นต์”

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2551

ช. เป็นตัวแทนในการหาผู้เอาประกันมีหน้าที่ชักชวนให้ผู้อื่นมาทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลย ไม่ใช่ตัวแทนในการทำสัญญาประกันชีวิตของจำเลยตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535 มาตรา 5 และมาตรา 71 จึงไม่ใช่ตัวแทนของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การที่ ช. ได้ทราบหรือควรจะทราบข้อความจริงขณะทำหนังสือรับรองสุขภาพว่า ส. เคยป่วยเป็นโรคตับอักเสบและมีอาการแน่นหน้าอกเนื่องจากดื่มสุรามากได้รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล จะถือว่าจำเลยได้ทราบความจริงดังกล่าวด้วยหาได้ไม่
ส. รู้อยู่ว่าตนเป็นโรคตับอักเสบแต่ละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงที่อาจจูงใจให้จำเลยปฏิเสธไม่ทำสัญญาหรือเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นย่อมทำให้สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ส. กับจำเลยเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคหนึ่ง

https://web.facebook.com/lawyerssukhothai/posts/895817067250001:0?_rdc=1&_rdr

สรุป

บริษัทประกัน ไม่จ่ายสินไหม อ้างว่า ผู้ขอเอาประกันปกปิดข้อมูล (เป็นโรคแล้วไม่แจ้ง)
ซึ่งในความเป็นจริง อาจเป็นได้ 3 กรณี
1. ผู้ขอเอาประกัน ปกปิดจริง โดยไม่ได้แจ้งตัวแทน
2. ผู้ขอเอาประกัน ได้แจ้งตัวแทน แต่ตัวแทนไม่เขียนลงไป และ ผู้ขอเอาประกันภัยไม่ทราบ (แต่ถ้าได้รับกรมธรรม์ในนั้นจะมีบอกไว้ ถ้าได้อ่าน , จะอ้างว่าไม่ได้อ่านได้ไหม?)
3. ผู้ขอเอาประกัน และ ตัวแทน สมคบคิดกัน ร่วมปิดบัง ปกปิด บริษัทประกัน

โจทก์(ผู้เอาประกัน)ต่อสู้ว่า
…ไม่ได้ปิดบัง และเคยเข้ารับการรักษา คนขายประกัน ก็เคยมาเยี่ยมโจทก์ และทราบดีว่า โจทก์ป่วยเพราะตับอักเสบ
– อาจตีความได้ว่า คนขายประกัน ปกปิดข้อเท็จจริงเอง และคนขายประกันก็อ้างไม่ได้อีกแล้วว่า ผู้ขอเอาประกันภัย ไม่ได้แจ้ง เพราะ ตัวเองก็ไปเยี่ยมผู้ป่วยจากตับอักเสบ คือ ถ้าเป็นการสมคบคิดกัน ตอนนี้ผู้ขอเอาประกันก็ โยนความผิดให้ คนขายประกันแล้ว หรือ อาจมีการตกลงกันภายหลังก็เป็นได้เช่น ผู้ขอเอาประกันขอร้อง ฯลฯ ,แนะนำคนขายประกัน ให้ทำงานตรงไปตรงมาแล้วปัญหาจะไม่เกิดกับท่าน)

จำเลย(บริษัทประกัน)ต่อสู้ว่า
…คนขายประกัน ให้โจทก์นั้น เป็นเพียง #นายหน้าประกันชีวิต ไม่ใช่ #ตัวแทนประกันชีวิต ของผู้เอาประกัน จึงไม่ผูกพันธ์บริษัทประกัน
แปลความว่า การใดที่ คนขายประกันนั้น หากเป็น “นายหน้าประกันชีวิต” หากปกปิดข้อเท็จจริง หรือแม้กระทั่งโกงเงินผู้เอาประกัน บริษัทประกันก็ไม่ต้องรับผิดชอบ

และ บริษัทประกัน มีสิทธิบอกล้างสัญญา และคืนเบี้ยประกัน ให้ผู้เอาประกันโดยไม่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล และค่าสินไหมทดแทนใดๆ

ที่จริงในกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีอายุเกิน2ปีแล้ว บอกล้างได้แต่จะจ่ายค่ารักษาให้ ดังนั้นกรมธรรม์นี้ ไม่น่าจะถึง2ปี

ถ้าการต่อสู้กันในประเด็นของสถานะภาพ ของคนขายประกัน ว่าเป็น ตัวแทน หรือ นายหน้า แล้วสรุปผลได้ว่าเป็น ตัวแทน ฝ่ายโจทย์ก็จะชนะคดีได้
ปัจจุบัน นายหน้าประกันชีวิต ไม่ค่อยจะได้เห็นกันแล้ว เพราะ ส่วนมาก จะมีแต่ ตัวแทนประกันชีวิต ซึ่งขายสินค้าประกันชีวิตได้เพียงบริษัทประกันชีวิตเดียวเท่านั้น

บริษัทประกันโดยทั่วไป จะยึดถือข้อมูลที่ได้แจ้งไว้ ในใบสมัคร ตอนทำประกัน ดังนั้น ข้อมูลนอกเหนือจากนี้ หากผู้เอาประกันจะกล่าวอ้าง หรือ แย้งก็ต้องฟ้องร้องกัน

เอ๊… มันมีกฏหมายว่าด้วยความผูกพันธ์ของ นายหน้าประกันชีวิต กับ บริษัท ในลักษณะแบบนี้ด้วยเหรอ?
ถ้ามีแสดงว่า ไม่ว่า นายหน้าประกันชีวิตจะทำอะไรผิด บริษัทก็ไม่ต้องรับผิดชอบ
เป็นเรื่องของ นายหน้าประกันชีวิตนั้น กับ ผู้เอาประกันที่ซื้อ ประกันกับนายหน้าประกันชีวิตนั้น อย่างงั้นเหรอ?

จากข้อมูล เข้าใจว่า ไม่เกี่ยวกับ เรื่องว่า เป็น ตัวแทนประกันชีวิต หรือ นายหน้าประกันชีวิต แต่เป็นเรื่องว่า
บริษัทประกันอ้างว่า ตัวแทนประกันชีวิต ไม่ใช่ ตัวแทนบริษัทที่มีอำนาจทำสัญญา กับผู้เอาประกัน
ดังนั้นแม้จะเป็น ตัวแทนประกันชีวิต หรือ นายหน้าประกันชีวิต ก็น่าจะมีสถานะ เท่ากัน ในแง่ว่า ไม่ใช่ตัวแทนในการทำสัญญา

สัญญาประกันชีวิต เป็นสัญญาตามกฏหมาย
เมื่อต้องทำตามสัญญา ก็จะต้องยึดถือข้อมูลในสัญญานั้น ประเด็นหลักอยู่ ที่การแจ้งข้อมูลสุขภาพ

นอกเหนือจากนี้ก็ต้องฟ้องร้องกัน
เพราะ ใครๆก็อ้างได้ ซึ่ง ก็ต้องว่ากันตามข้อมูล พิสูจน์ ต่อสู้กัน

แต่อ่านแล้วก็ งง ไฉน จำเลย ไปอ้าง เรื่อง ตัวแทนประกันชีวิต มิใช่ ตัวแทนบริษัทในการทำสัญญา





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow