INSURANCETHAI.NET
Wed 18/12/2024 13:50:37
Home » อัพเดทประกันภัย » การอยู่รอดของบริษัทประกันภัย 2020\"you

การอยู่รอดของบริษัทประกันภัย 2020

2020/02/21 1263👁️‍🗨️

บริษัทประกันภัยในประเทศไทย มีอยู่ราว 85 แห่งโดยประมาณ มีบริษัทประกันชีวิต 20+ บริษัทประกันวินาศภัย 60+

และในปี 2020 นี้ เมื่อการมาถึงของ Social Media เช่น Facebook Instagram YouTube etc.. รวมถึง platform แชท อย่าง whatup Line wechat etc.. ทำให้การตลาดของธุรกิจเปลี่ยนไป จากที่เคยสู้กันด้วย Offline กลายเป็น Online และ สิ่งที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คือ อำนาจของสื่อ ที่อนุญาตให้ทุกคนเป็นเจ้าของได้นั่นเอง

อันที่จริงแล้ว ในยุคของ เว็บไซต์ก็ได้ให้สิทธิ์กับผู้คนในการสร้างช่องทางสื่อของตัวเอง แต่ทว่า การจะมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองนั้น ไม่ได้เป็นเรื่องง่ายนัก เพราะ คุณต้องจ้างทำเว็บไซต์ ไหนจะต้องอัพเดทข้อมูล ดูแลระบบ และ อาจจะใช้เงินค่อนข้างสูง แต่ หากเทียบกับ facebook page คุณสามารถสร้างและใช้งานมันได้ภายใน 5 นาที!!! ไม่ต้องดูแลระบบ ไม่ต้องอัพเดทระบบ ไม่มีค่าใช้จ่าย สิ่งที่คุณต้องทำอย่างเดียว คือ อัพเดทข้อมูล ซึ่งเรากำลังพูดถึง Content นั่นเอง

ทางเลือกของบริษัทประกันภัย ขาย-รวม

ไม่เพียงแต่ตัวแทน/นายหน้า ที่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด แต่ บริษัทประกันภัยเองก็เป็นอย่างนั้นด้วย ยุคดิจิทัล ทำให้การแข่งขันเปลี่ยนไป และ ธุรกิจประกันภัยเองก็ต้องแข่งกันเอง ต้องเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคนี้ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น เน้นเร็ว ง่าย สะดวก ฯลฯ บริษัทประกัน จึงต้องคิดค้นรูปแบบกรมธรรม์ใหม่ๆ เพื่อสนองตอบความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งก็คือ ลูกค้าผู้ซื้อประกันภัย

วิธีหนึ่งที่บริษัทประกันภัย ทำเพื่อความอยู่รอดของธูรกิจ คือ การหาพันธมิตร เพื่อควบรวมกิจการ หรือ ขายกิจการทิ้งไปซะ ถ้าหากไม่สามารถแก้ปัญหาได้

การควบรวมกิจการ ทำให้บริษัทมีขนาดใหญ่ขึ้น เข้มแข็งได้เปรียบมากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายได้อย่างรวดเร็ว ด้วย economic of scale เสริมจุดแข็ง แก้จุดอ่อน เพราะแต่ละบริษัทอาจจะมีบางอย่างที่ดีอยู่ ตัวอย่างเช่น บริษัทหนึ่งมีฐานลูกค้ามากแต่คนไม่มีประสิทธิภาพ หรือ ไม่มีเทคโนโลยีที่ดีพอ หรือ ผู้นำขาดวิสัยทัศน์ บางบริษัทชำนาญด้านการตลาดการขายแต่อ่อนด้านบริหารจัดการ บริการ ฯลฯ

ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ขาย ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต (SCB Life) ให้ FWD 92,700 ล้านบาท

SCB บอกว่า ขายเพราะต้องการโฟกัสธุรกิจที่ตัวเองถนัด และไปลงทุนในกิจการอื่น

SCB เจอปัญหา + เศรษฐกิจตกต่ำ > ขายธุรกิจที่ทำเงินหลักออก ได้ เงินก้อนมา แต่เงินก้อนนั้นยังไม่สามารถสร้างรายได้มาทดแทนได้ทันที

20.1.2020 หุ้น SCB เปิดตลาด ดิ่งลง 11% เพราะ ..
SCB ประกาศผลดำเนินงานไตรมาส 4 ปี 2562 น่าผิดหวัง
ขายหุ้นของบริษัท SCBLIFE ให้ FWD ได้เงิน 100,000 ล้าน สูญเสียรายได้จาก SCBLIFE ไปตลอดกาล ถึงแม้จะมีรายได้จากการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ FWD ก็เทียบไม่ได้กับรายได้จากธุรกิจประกันชีวิตในสมัยก่อน

สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือ SCB เอาเงินที่ได้มาทำอะไร เพราะ ถ้าเอามาสร้างมูลค่าและได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากว่าเดิม ก็ย่อมเป็นสิ่งที่ดี แต่ SCB ยังไม่ได้เอาไปทำอะไร แถมเอาไปตั้งสำรองเพิ่ม!! ตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญรวม 36,211 ล้านบาท (+50.7% จากปีก่อน) โดยให้เหตุผลว่ามาจากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ขณะที่สินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs) 4 / 2562 = 85,212 ล้านบาท (เพิ่ม 21.1% จากปีที่แล้ว) สินเชื่อด้อยคุณภาพ ณ 12.2562 = 3.4% (+3% จากคาดการณ์ ในครึ่งแรกของปี) นอกจากนี้ ยังเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่ออีก แม้จ่ายปันผลหุ้น 0.75 บาท รวม 2,549 ล้านบาท ก็เทียบไม่ได้กับมูลค่าของ SCBLIFE เป็นแสนล้านที่ขายแล้วได้เงินมา

จะว่าไปแล้ว หากจะขายธุรกิจ ที่ยังคงทำกำไรอยู่ ต้องรู้ว่า หลังจากขายแล้ว เงินทีไ่ด้มา จะทำกำไรอะไรให้ เท่าไร ในระยะเวลาเท่าใด เพระา การเอาเงินมาถือไว้ในมือโดยไม่ทำอะไร นั่นไม่เป็นผลดีต่อธุรกิจ ผู้ถือหุ้นก็ไม่ชอบ เพราะเงินไม่งอกเงย แต่การขายธุรกิจไปอาจมีเหตุผลอื่น เช่น ความไม่มั่นใจในการแก้ปัญหา ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่ คือ ผลจากการเปลียนแปลงเทคโนโลยี ที่จะกระทบต่อธุรกิจนั่นเอง บางทีการขายในช่วงนี้อาจจะเป็นการดีกว่า เพราะได้ราคาดี

ศรีอยุธยาเจนเนอรัลประกันภัย (SAGI) ควบรวม อลิอันซ์ประกันภัย (AZTH) เป็น อลิอันซ์อยุธยาประกันภัย (AAGI)

เบี้ยประกันภัยรับรวม 6,500 ล้านบาท อันดับที่ 10 ประกันวินาศภัย ซึ่งถือว่ามีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 2 เท่าจากเดิมที่ SAGI จะมีเบี้ยรับประกันภัยรวมที่ 3,500 ล้านบาท และ AZTH 3,000 ล้านบาท

โตเกียวมารีน ควบรวม ประกันคุ้มภัย เป็น คุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย
เป้าเบี้ย 21,700 ล้านบาท ภายใน 3 ปี

อาคเนย์ ประกันภัย ซื้อและควบรวม ไทยประกันภัย (TIC)
รอ ก.ล.ต. อนุมัติ หลังรวม รายได้หลักจะมาจาก ประกันชีวิต

ฟินิกส์ประกันภัย+Jaymart

กลุ่ม คิงไวกรุ๊ป ซื้อ แมนูไลฟ์ประเทศไทย และ QBE ประกันภัย

Digital Disruption คืออะไร

Digital Disruption เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในทุกวงการในยุคปัจจุบัน ทุกภาคส่วน รวมถึงเรื่องใกล้ตัวทำให้ธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการปรับตัวให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น ต้อใช้เทคโนโลยีต่างๆไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีในการสื่อสาร เทคโนโลยี Cloud, Big Data, Robotics(หุ่นยนต์), Machine Learning, AI (ปัญญาประดิษฐ์) และอื่นๆ เข้ามาช่วยในการทำธุรกิจ

วิสัยทัศน์ของผู้นำในองค์กรก็เป็นสิ่งสำคัญ Disruption สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาตามสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน บริษัทอาจจะมีผู้นำที่ไม่เข้าใจโลกในยุคใหม่ ไม่เห็นความสำคัญของสื่อโซเชียล หรือ ตามโลกไม่ทัน การตัดสินใจครั้งใหญ่เกี่ยวกับอนาคตขององค์กร ว่าจะมีแนวทางในการเดินหน้าธุรกิจอย่างไรต่อไป การดำรงอยู่ในตลาดในรูปแบบเก่า ใช้วิธีการแบบเดิมๆ ทำการตลาดแบบออฟไลน์ทั้งที่ ออนไลน์ เร็ว คุ้มค่า ประหยัด ประสิทธิภาพ กว่า เมื่อก่อน ปลาใหญ่กินปลาเล็ก (ซึ่งก็ว่ายากที่บุคคลทั่วไปจะแข่งขันกับองค์กร ที่มีทรัพยากรเพียบพร้อม ) แต่ในปัจจุบัน เรากำลังพูดถึง ปลาเร็วกินปลาช้า

ตัวแปรสำคัญ ของงานนี้ คือ ตัวกลาง พันธมิตร และ เทคโนโลยี

ถ้าบริษัทประกันวินาศภัยแห่งหนึ่ง ประกาศยกเลิกช่องทาง ตัวแทน/นายหน้า จะเกิดอะไรขึ้น? ถ้าลูกค้าเดิมส่วนมากไม่ได้มากจากลูกค้าตรง ทันทีที่ประกาศออกไป ตัวแทน/นายหน้า จะย้ายงานไปที่อบริษัทอื่น ใครเปิดก่อนก็เสียเปรียบถ้ายังไม่พร้อม แต่มีบางบริษัทประกันวินาศภัย ที่ใช้วิธีค่อยๆกำจัด ตัวกลาง ตัวแทน/นายหน้า ออกไป โดยจะเห็นว่า จะค่อยๆลดความสำคัญของตัวแทน/นายหน้า รายเล็กๆก่อน ใช้นโยบายทุกรุปแบบ ปฏิเสธการรับประกัน ยกเลิกการรับประกันปีต่อ เสนอราคาที่แข่งกับรายใหญ่ไม่ได้ ฯลฯ แล้ว เมื่อสำเร็จ เป้าหมายตอไปก็การกำจัด ตัวแทน/นายหน้า ขนาดกลางและ ใหญ่ ต่อไป

บริษัทประกันภัยที่มีลักษณะพฤติกรรมดังกล่าว ให้หลีกเลี่ยงการสนับสนุน เพราะวันหน้าคุณจะลำบาก (เป็นหนึ่งในทางรอดของ ตัวกลาง อย่าง ตัวแทน/นายหน้า)




สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow