INSURANCETHAI.NET
Wed 18/12/2024 14:03:22
Home » อัพเดทประกันภัย » ประกันโฆษณาเกินจริง-หลอกลวง ผู้บริโภค\"you

ประกันโฆษณาเกินจริง-หลอกลวง ผู้บริโภค

2020/02/14 2915👁️‍🗨️

บริษัทประกันที่ไม่ซื่อสัตย์ โฆษณาชวนเชื่อสรรพคุณเกินจริง ทำให้ผู้บริโภคสำคัญผิด หลงเชื่อ เข้าข่ายการกระทำผิด พรบ คอมพิวเตอร์ มีโทษทั้งจำทั้งปรับ แจ้งเยาะแสกลโกงแก่ภาครัฐกระทรวงดิจิทัล พร้อมประสาน สคบ-สตช ร่วมมือแก้ปัญหา

ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค เปิดเผยตัวเลขการร้องเรียนปัญหาต่าง ๆ ของผู้บริโภค ในช่วงเดือน ม.ค. – พ.ย. 2560 มีจำนวน 1,153 ราย

ปัญหาอันดับหนึ่งที่ผู้บริโภคร้องเรียนมากที่สุด คือ ปัญหาด้านสินค้าและบริการทั่วไป โดยเฉพาะการโฆษณาเกินจริงที่ทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อและซื้อสินค้า

อันดับสอง การถูกเอาเปรียบ ซึ่งมีสาเหตุจากพฤติกรรมของผู้ประกอบธุรกิจ ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ทำให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลข่าวสารไม่ครบถ้วน รวมถึงข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และหน่วยงานรัฐไม่มีมาตรการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการใช้ช่องทางการโฆษณาขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ที่หลากหลาย

อันดับสาม เรียกร้องให้หน่วยงานรัฐและหน่วยงานที่ดูแลผู้บริโภค ดำเนินการเชิงรุกในการแก้ปัญหาเชิงนโยบายไม่ใช่รายกรณี โดยออกกฎระเบียบหรือกฎหมายบังคับเกี่ยวกับการอนุญาตโฆษณาขายสินค้าที่กระทบกับสุขภาพของผู้บริโภค รวมทั้งให้มีตรวจสอบและเฝ้าระวังการโฆษณาขายสินค้าผ่านช่องทางต่าง ๆ

การโฆษณาขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ ที่มีลักษณะหลอกลวงให้ผู้ซื้อหลงเชื่อและเข้าใจผิดในคุณสมบัติ หรือบรรยายสรรพคุณเกินจริง กระทรวงดิจิทัลฯ ได้มีการติดตามเฝ้าระวังการกระทำที่ผิด กฎหมายบนสื่อออนไลน์ หากตรวจสอบ พบว่าผิดจริง อาจเข้าข่ายเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 14 (1) “อันเป็นการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 100,000 บาท” และศาลอาจสั่งให้ระงับการเข้าถึง หรือ ลบข้อมูลหลอกลวงนั้นออกจากระบบ หรือ ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่ศาลเห็นสมควรได้

ที่ผ่านมากระทรวงดิจิทัลฯ ได้ประสานการทำงานกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และหน่วยเกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่มาโดยตลอด และได้มีการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลโฆษณาขายสินค้าที่มีลักษณะหลอกลวงมาอย่างต่อเนื่อง ตามที่ตรวจพบหรือที่ได้รับแจ้ง นอกจากนั้นกระทรวงดิจิทัลฯ ยังได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดฯ ที่มีภารกิจเกี่ยวข้องดำเนินการสื่อสารให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านระบบออนไลน์ รวมถึงแนะนำวิธีการรู้เท่าทันกลโกงของผู้ไม่หวังดีหรือกลุ่มมิจฉาชีพผ่านช่องทางสื่อต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการย้ำเตือนประชาชนหรือผู้บริโภคให้ระวังปัญหาดังกล่าว ซึ่งถือเป็นการทำงานทั้งเชิงรุกและรับ อีกทั้งเพื่อปกป้องประชาชนผู้บริโภคไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของผู้ประกอบการที่หวังเพียงแต่ได้ โดยไม่สนใจผลเสียที่อาจเกิดขึ้น

ในส่วนของประชาชนเองยังสามารถร่วมกันสอดส่องและแจ้งเบาะแสให้หน่วยงานรัฐ หรือผู้ให้บริการสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ดำเนินการตรวจสอบได้อีกทางหนึ่ง เพื่อช่วยกันดูแลสิทธิของผู้บริโภคไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการอีกต่อไป

ธุรกิจประกันภัยเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้ชื่อว่า มีความไม่โปร่งใส เอาเปรียบ หมกเม็ด หากินกับความเดือดร้อนของประกันชน โดยหากได้พลัดหลงเข้าไปซื้อบริการ หรือ หลงไว้เนื้อเชื่อใจ จากการโฆษณาเกินจริง หากพิสูจน์ได้ว่าผิดจริง อาจเข้าข่ายความผิดมีบทลงโทษ

บางบริษัทประกันภัยอาจมีโฆษณาชวนเขื่อ ว่าบริษัทของตน มีธรรมภิบาล สินค้ามีคุณภาพ แต่ในความเป็นจริงอาจพบว่า สินค้าประกันภัยของบริษัทของตนนั้นมีความล้าหลังไม่ได้มีการปรับปรุงตามยุคสมัย ให้เหมือนกับบริษัทประกันทั่วไป อันเป็นข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่ความเสื่อมค่า ด้อยค่าของสินค้าประกันภัยที่ตัวเองอวดอ้าง สร้างผลเสีย ต่อประชาชน ลูกค้าผู้เอาประกันที่หลงซื้อใช้บริการ

บริษัทประกันเหล่านี้ส่วนมากจะเป็นบริษัทขนาดไม่ใหญ่ และ มีส่วนแบ่งการตลาดประกันประเภทนั้นๆน้อย เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมา ก็จะอาศัยความได้เปรียบในสัญญา เพื่อเอาเปรียบลูกค้าผู้ซึ่งมอบความไว้วางใจ หลงซื้อใช้บริการ มีการใช้กฏหมายเป็นเครื่องมือ ในการได้มาซึ่งทรัพย์สินของผู้เอาประกัน ลูกค้าที่ไม่มีความรู้ก็อาจจะกลัวไม่อยากมีเรื่องมีราว ต้องจำใจจ่ายค่าเบี้ยประกัน จ่ายค่าเสียหาย ที่ถูกเอาเปรียบนั้นอย่างง่ายดาย สร้างความผิดหวังและเสื่อมศรัทธาในธุรกิจประกันภัย และบริษัทประกันเหล่านี้ก็ลำพองตย ดำเนินธุรกิจที่เอาเปรียบประชาชนคนในชาติได้อีกเรื่อยๆ

โดยวิธีการของบริษัทเหล่านี้นั้น ก็จะใช้วิธีกดดัน ตามจิก เช่น ให้พนักบริษัทติดต่อไปยัง ตัวแทน/นายหน้า ทั้งโทร ทั้งอีเมล หรือ หลอกให้เข้าไปอยู่ในขบวนการ หากตัวแทน/นายหน้า หลงชื่อ ก็จะทำให้ลูกค้าตกอยู่ในสถานะลำบาก (ตัวแทน/นายหน้าถูกใช้เป็นเครื่องมือ) เมื่อผ่านจุดนี้ไป บริษัทประกันภัยเหล่านี้ก็จะติตด่อตรงไปที่ลูกค้าประกันภัยที่เป็นหยื่อรายนั้น อาจจะโดยการแจ้งจดหมาย บอกกล่าว และนั้นก็เป็นการเริ่มขบวนการ จากนั้นก็อาจจะมีจดหมาย ข่มขู่ จะแจ้งดำเนินคดี ฯลฯ

หากลูกค้าได้จดหมายนั้น ให้ไปติดต่อ คปภ เพื่อร้องเรียน และ ดำเนินการ รวมถึง ยังสามารถ ไปร้องเรียนที่ สคบ ได้อีกด้วย องค์กรเหล่านี้ จะคอยช่วยเหลือ เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบ ผู้บริโภค นอกจากนี้ยังมีศาลยุติธรรมไว้สู้กันอีก 3 ศาล ยังไม่นับรวม ผลที่จะตามมา หากบริษัทประกันภัยแพ้คดี หรือ อย่างน้อยข้อมูลเหล่านี้จะถูกเผยแพร่ไป ออกสู่สาธารณะ บริษัทประกันภัย จึงต้องพิจารณาให้ดี กับการกระทำดังกล่าว และจะนำไปสู่ โลกของสังคมออนไลน์ ในท้ายที่สุด บริษัทประกันจึงไม่ค่อยอยากจะมีปัญหา หรือ ต่อให้เรื่องนั้นๆบริษัทประกันถูก แต่ก็จะได้ความเกลียดชัง ชื่อเสีย กลับมา!!

การร้องเรียนบริษัทประกันต่อคปภ.

ร้องเรียนบริษัทประกันภัย เมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรมจาก โดยร้องเรียนไปยังหน่วยงานควบคุม ซึ่งก็คือ คปภ (คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย )

ร้องเรียน คปภ แบบออนไลน์ http://oiceservice.oic.or.th/oicrequest/index.php

ร้องเรียน คปภ แบบออฟไลน์
22/79 อาคารสำนักงาน คปภ. ชั้น 5 ถ.รัชดาภิเษก แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900. อีเมล : general@oic.or.th. โทร 0-2515-3999 ต่อ 5604 ถึง 5609

ร้องเรียน บริษัทประกันภัย ต่อ สคบ

ร้องเรียนบริษัทประกันภัย เมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรมจาก โดยร้องเรียนไปยังหน่วยงานควบคุมผู้บริโภค ซึ่งก็คือ (สคบ) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

ร้องเรียน ทางออนไลน์
https://complaint.ocpb.go.th/

โฆษณาเกินจริง

อาจจะใช้ข้อความหรือถ้อยคำที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง และอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ใช้สินค้า หรือผู้บริโภค โดยอาจใช้ถ้อยคำโน้มน้าวใจผู้ซื้อ ทั้งที่ ไม่ได้มีการใช้จริง หรือไม่ได้มีการตรวจสอบข้อมูลของผลิตภัณฑ์ว่าเป็นจริงหรือไม่ คิดไปเองว่าดี อวดอ้าง สรรพคุณ การบริการ ซึ่งอาจจะมีผลติดตามมาในทางคดี ทั้งในส่วนของคดีแพ่งและคดีอาญา

การใช้ข้อความหรือถ้อยคำอันเป็นเท็จหรือเกินจริง มีความผิดทางอาญาตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 22 การโฆษณาจะต้องไม่ใช้ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมส่วนรวม ทั้งนี้ไม่ว่าข้อความดังกล่าวนั้นจะเป็นข้อความที่เกี่ยวกับแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพหรือลักษณะของสินค้าหรือบริการ ตลอดจนการส่งมอบ การจัดหา หรือการใช้สินค้าหรือบริการ

ข้อความดังต่อไปนี้ถือว่าเป็นข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมส่วนรวม

(1) ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง
(2) ข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าจะกระทำโดยใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันไม่เป็นความจริงหรือเกินความจริงหรือไม่ก็ตาม
(3) ข้อความที่เป็นการสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทำผิดกฎหมายหรือศีลธรรม หรือนำไปสู่ความเสื่อมเสียในวัฒนธรรมของชาติ
(4) ข้อความที่จะทำให้เกิดความแตกแยกหรือเสื่อมเสียความสามัคคีในหมู่ประชาชน
(5) ข้อความอย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงข้อความที่ใช้ในการโฆษณาที่บุคคลทั่วไปสามารถรู้ได้ว่าเป็นข้อความที่ไม่อาจเป็นความจริงได้โดยแน่แท้ ไม่เป็นข้อความที่ต้องห้ามในการโฆษณาตาม (1)

มาตรา 47 ผู้ใดโดยเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณ หรือสาระสำคัญประการอื่นอันเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือผู้อื่น โฆษณาหรือใช้ฉลากที่มีข้อความอันเป็นเท็จ หรือข้อความที่รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งกระทำผิดซ้ำอีก ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 271ผู้ใดขายของโดยหลอกลวงด้วยประการใด ๆ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพหรือปริมาณแห่งของนั้นอันเป็นเท็จ ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หากการกระทำดังกล่าวเข้าองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง ก็จะต้องรับโทษหนักขึ้นเนื่องจากการโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์นั้น ถือเป็นการหลอกลวงประชาชน ซึ่งต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 ประกอบมาตรา 343 เบื้องต้นโทษจำคุกไม่เกิน5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การจำหน่ายสินค้าอย่างตรงไปตรงมา จริงใจกับลูกค้า แก้ปัญหาที่เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์ ดีกว่าการฟ้องลูกค้า ซึ่งจะทำให้ได้ ชื่อเสียง ในด้านไม่ดี (ชื่อเสีย) และ หากเป็นคดีความขึ้นมา มันจะถูกเผยแพร่ต่อสารธรณะชน คงอยู่ในออนไลน์ ตราบนานเท่านาน

เอาเปรียบผู้บริโภคจากการโฆษณา

พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคฯ กำหนดสิทธิของผู้บริโภคไว้ 5 ประการ

(1) สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้อง และเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการโฆษณาหรือการแสดงฉลากตามความเป็นจริงและปราศจากพิษภัยแก่ผู้บริโภค รวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้อง เพียงพอที่จะไม่หลงผิดในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม

(2) สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ

(3) สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัยมีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว

(4) สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา

(5) สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหายเมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคตามข้อ (1)-(4) ดังกล่าว

กฎหมายพื้นฐานที่ให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภคอันได้แก่พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคฉบับแรกที่รับรองคุ้มครองสิทธิพื้นฐานของผู้บริโภคอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับแนวทางของ United Nations Guidelines for Consumer Protection (UNGCP) จะพบว่าในขณะที่ตรากฎหมายฉบับนี้ขึ้นครั้งแรกในปี 2522 (มีการแก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ. 2541 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2556) มีเหตุผลและความจำเป็นของการตรากฎหมายส่วนหนึ่ง ดังนี้
เนื่องจากปัจจุบันนี้การเสนอสินค้าและบริการต่าง ๆ ต่อประชาชนนับวันแต่จะเพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบธุรกิจการค้าและผู้ที่ประกอบธุรกิจโฆษณาได้นำวิชาการในทางการตลาดและทางการโฆษณามาใช้ในการส่งเสริมการขายสินค้าและบริการ ซึ่งการกระทำดังกล่าวทำให้ผู้บริโภคตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบ เพราะผู้บริโภคไม่อยู่ในฐานะที่ทราบภาวะตลาดและความจริงที่เกี่ยวกับคุณภาพและราคาของสินค้าและบริการต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องทันท่วงที…”

กฎหมายอีกครั้งว่าเครื่องมือต่างๆ ที่กฎหมายให้มา สามารถใช้บังคับได้ในสถานการณ์ปัจจุบันแค่ไหน?
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคฯ ได้กำหนดคณะกรรมการเฉพาะเรื่องในการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านโฆษณาไว้อีกด้วย ซึ่งได้แก่ “คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา” มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคต่อการโฆษณาที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งหมายถึงการโฆษณาโดยใช้ข้อความที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งในสองประการนี้ คือ
(1) ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค
(2) ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสังคมเป็นส่วนรวม ไม่ว่าข้อความนั้นจะเกี่ยวข้องกับตัวสินค้าหรือบริการนั้นโดยตรงหรือเกี่ยวข้องกับเรื่องอื่นใดที่เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการนั้น

โฆษณาที่ไม่เป็นธรรมนั้นมุ่งเน้นไปที่ข้อความที่ใช้ในการโฆษณาเป็นสำคัญมากกว่าวิธีการของการโฆษณา คือ “เน้นเนื้อหา” ยิ่งกว่า “รูปแบบ” และแม้ผู้ทำการโฆษณาหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาสินค้าหรือบริการนั้นจะเป็นการทำให้เปล่าหรือมิได้รับค่าตอบแทนก็ตาม หากเข้าลักษณะการกระทำการเพื่อให้บุคคลอื่น ๆ เห็นหรือทราบข้อความที่เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่โฆษณานั้น ไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ และการกระทำนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ทางการค้าก็ถือว่าเป็นการโฆษณาที่ผิดกฎหมาย

พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคฯ กำหนดโทษทางอาญาไว่ว่า “ผู้ใดโดยเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณ หรือสาระสำคัญประการอื่นอันเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือผู้อื่น โฆษณาหรือใช้ฉลากที่มีข้อความอันเป็นเท็จหรือข้อความที่รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน6เดือน หรือปรับไม่เกิน50,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” 





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow