ประกัน Event (คู่มือสำหรับผู้จะทำประกัน)
ประกันภัยสำหรับผู้จัดงาน (EVENT CANCELLATION) ประกัน event หรือประกันผู้จัดงาน ประกันภัยประเภทนี้คุ้มครองการยกเลิกงานหรือเลื่อนงาน ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า event cancelation ถ้าคุณต้องการความคุ้มครองอื่นๆนอกเหนือจากนี้ ก็ต้องทำประกันประเภทนั้นๆเพิ่มเติม ซึ่งคุณสามารถคุยกับ บริษัทประกันหรือ ตัวกลางประกันภัย อย่าง ตัวแทนประกันประวินาศภัย หรือ นายหน้าประกันวินาศภัย (อินชัวรันส์โบรกเกอร์) ไม่ว่าจะเป็น บุคคลหรือ นิติบุคคลก็แล้วได้ แต่ที่คุณควรรู้เอาไว้ ประกันประเภทนี้ ไม่ได้มีขายทุกบริษัทโดยเฉพาะบริษัทประกันเล็กๆ หรือ ไม่มีความพร้อม และ มีตัวกลางจำนวนน้อยมากที่ขายประกันประภทนี้ อาจจะด้วยขาดวามรู้หรือประสบการณ์ สำหรับประกันประเภทนี้ และรวมถึงเหตุผลสำคัญบางอย่าง เช่น ความยุ่งยากในการทำข้อเสนอ และ ใช้เวลามาก นั่นเอง
สำหรับผู้ที่ต้องการทำประกัน event หรือประกันภัยสำหรับผู้จัดงานให้คุณเข้าใจไว้ว่า การประกันภัยตัวนี้นั้นคุ้มครองกรณียกเลิกหรือเลื่อนงานซึ่งจะทำให้ผู้จัดงานเสียหายไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆที่ได้จ่ายไปแล้วหรืออื่นๆ ดังนั้นความคุ้มครองหลักของประกันภัย event ก็คือการคุ้มครองกรณีดังกล่าว ซึ่งเบี้ยประกันภัยประมาณ 0.2-0.5% นั่นคือประมาณ 2,000 ถึง 5,000 บาทต่อความคุ้มครอง 1 ล้าน
ตัวอย่าง ความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยอีเว้นท์
การยกเลิกการจัดงาน Cancellation
การหยุดชะงักลงของการจัดงาน Abandonment
การเลื่อนวันเวลาการจัดงาน Postponement
การเปลี่ยนหรือย้ายสถานที่จัดงาน Relocation
ข้อมูลบางส่วนที่คุณควรรู้
โดยบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทประกันภัยแห่งแรก ที่ได้รับอนุมัติกรมธรรม์ประเภทนี้ จากทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
ปัจจุบันก็มีบริษัทต่างๆเริ่มมีประกันอีเว้นท์ขึ้นมาด้วยดังนั้นหากคุณต้องการที่จะทำประกันภัยผู้จัดงานหรือประกัน event ก็ให้คุณติดต่อลงไปที่บริษัทประกันภัยเหล่านั้นได้โดยบริษัทประกันภัยที่เป็นบริษัทประเภทประกันวินาศภัยในไทยมีอยู่ราว 60 แห่งคุณก็อาจจะไล่โทรไปแต่ละที่ก็แล้วแต่หรือหากคุณต้องการความสะดวกก็ติดต่อตัวกลางประกันภัยหรือนายหน้าประกันภัยหรือโบรกเกอร์นั่นเอง
ผู้จัดงานอีเว้นท์ หรือออแกไนเซอร์ จะมีการจัดงานในลักษณะต่างๆซึ่งมีความเสี่ยงแตกต่างกันไปเช่น การจัดแสดงคอนเสิร์ต จัดแสดงสินค้าทุกงานที่มีการวางแผนล่วงหน้าไว้แล้วและต้องเลื่อนออกไป การจัดงานจึงมีความเสี่ยงหากไม่สามารถจัดได้ เพราะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด อย่างจลาจล ก่อการร้าย กรมธรรม์จะเข้ามาคุ้มครองค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดจากการจัดงานที่ผู้จัดต้องจ่ายไป เช่น ค่าประชาสัมพันธ์งาน ค่าเช่าสถานที่ กรมธรรม์จะเริ่มคุ้มครองตั้งแต่วันเริ่มจัดงาน จนสิ้นสุดการจัดงาน เบี้ยประกันภัยประมาณ 0.2-0.5% ของทุนประกันภัย
กรมธรรม์ประเภทนี้คุ้มครองเฉพาะผู้จัดงาน ไม่เกี่ยวกับผู้ร่วมงาน ดังนั้น ..
บริษัทต่างๆ ที่มาร่วมออกบูธที่คาดว่าจะมียอดขายจากงาน แล้วไม่ได้ออกบูธ เป็นส่วนของประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก การทำประกันภัยเพื่อคุ้มครองกรณีดังกล่าวต้องคุยกับบริษัทประกันภัยเป็นรายกรณี
สำหรับผู้เข้ามาเที่ยวชมงาน ซึ่งเป็นประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลที่ 3 ทางเจ้าของสถานที่จะต้องซื้อประกันภัยต่างหาก ประกันภัยประเภทนี้เรียกว่าประกันภัยความรับผิด
ในต่างประเทศ หรืองานต่างประเทศที่เข้ามาจัดในไทย มักจะทำประกันภัยนี้ ส่วนผู้จัดงานในไทยอาจจะไม่ค่อยได้ทำกัน อาจมองว่าไม่น่าจะมีอะไรเกิดขึ้น
กรมธรรม์ประเภทนี้ ไม่คุ้มครอง อาทิ ..
– ความรับผิดส่วนแรก
– การเสียชีวิต
– การบาดเจ็บ
– การเจ็บป่วย
– การฟ้องร้องเนื่องจากการผิดสัญญา
– การเปลี่ยนแปลงของสภาพอาอากาศที่ไม่เอื้อต่อการจัดงาน เช่น ฝนตก ลมพายุ เว้นแต่การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ จะส่งผลให้สถานที่จัดงานเสียหาย จนกระทั่งไม่สามารถจัดงานต่อไปได้ หรือภาครัฐมีการประกาศให้สถานที่จัดการอยู่ในเขตภัยพิบัติ เป็นต้น
บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) รองกรรม การผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่า นานมาแล้วผู้จัดงานหลายราย อาทิ งานลอยกระทงที่จะจัดที่เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์เมื่อหลายปีก่อน เคยสอบถามเข้ามาจะทำประกันภัยประเภทนี้ เพราะกลัวฝนตก กลัวการจลาจล ทำให้จัดงานไม่ได้ แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ทำ มีลักษณะนี้หลายราย จนถึงตอนนี้ยังไม่มีลูกค้า บริษัทได้แต่จัดเตรียมกรมธรรม์ไว้ แต่ยังไม่ได้ยื่นขอกับทางคปภ.“ถ้าเป็นคนไทยไม่ค่อยเห็นความสำคัญไม่ค่อยทำประกันภัย อย่างน้ำท่วม ทางผู้จัดงานอาจจะกลัว แต่ไม่รู้เอาเข้าจริงจะซื้อกันหรือเปล่า ถ้าอยากได้เราก็ขออนุมัติกับทางคปภ. ขายให้ได้”
กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะนายกสมาคมประกันวินาศภัย กล่าวว่า กรมธรรม์ประเภทนี้มีมานานแล้ว งานใหญ่ๆ ในต่างประเทศจะซื้อประกันภัยกัน อย่างคอนเสิร์ตมาดอนน่าที่มาจัดในไทย มีการทำประกันภัยประเภทนี้ แต่ผู้จัดงานในไทยไม่ค่อยสนใจ อัตราเบี้ยถ้าเป็นเปอร์เซ็นต์ไม่สูง แต่ถ้าคิดเป็นตัวเงินสูง
ในส่วนของไทยวิวัฒน์ไม่ได้ทำตลาดนี้ เพราะไม่มีความพร้อม
สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อประกันภัยผู้จัดงานหรือประกันอีเว้นท์คุณอาจมี2ทางเลือก
1.ติดต่อไปยังบริษัทประกันภัยที่เป็นบริษัทประกันภัยประเภทบริษัทวินาศภัย ซึ่งในไทยมีอยู่ราว 60 แห่ง รายชื่อกดที่ บริษัทประกันวินาศภัย คุณต้องไปตรวจสอบอัพเดทด้วยตัวเองว่าบริษัทใดรับประกันภัยประเภทนี้บ้าง
ข้อดีของการทำวิธีนี้ คือคุณไม่ต้องผ่านใครคุณติดต่อตรงเองได้เลย คุณไม่ต้องกลัวว่าใครจะมาพูดไม่ดีกับคุณ หรือโกงคุณ หรือหลอกคุณ หรือจะได้ผลประโยชน์จากคุณ เพราะคุณติดต่อโดยตรงจากบริษัทไม่ได้ผ่านใคร คุณต้องการอะไรคุณก็คุยกับบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์นั้นๆได้เองเลย คุณต้องการคุ้มครองอย่างไร คุณก็คุยกับเขาได้เลย
ข้อเสียของทางเลือกนี้ คุณจะไม่มีมืออาชีพหรือ คนที่มีความรู้ หรือ ประสบการณ์ซึ่งคือคนที่ทำงานด้านนี้อย่างเช่นตัวแทนประกันวินาศภัยหรือนายหน้าประกันวินาศภัย (โบรกเกอร์ประกันวินาศภัย) ซึ่งตัวกลางเหล่านี้เขามีความรู้มีประสบการณ์มากน้อยก็แล้วแต่แต่ละเจ้าและเป็นที่ปรึกษาให้กับคุณได้ มีปัญหาก็ช่วยดำเนินการประสานงานให้ตั้งแต่ตอนที่คุณต้องการข้อเสนอเลยทีเดียว ซึ่งหากคุณต้องการเซอร์วิสนี้คุณก็ควรไปรับบริการจากเขาเหล่านี้
2.ติดต่อตัวกลางประกันภัย ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยหรือนายหน้าประกันวินาศภัย หรือที่เรียกว่าโบรกเกอร์ประกันวินาศภัยนั่นเอง พวกเขามีความรู้มีประสบการณ์และสามารถช่วยงานประสานงานตั้งแต่ทำข้อเสนอการช่วยดูถึงความคุ้มครองที่ครอบคลุม แล้วสื่อสารไปยังบริษัทประกันภัยเจ้าของผลิตภัณฑ์ซึ่งมีอยู่หลายบริษัท พวกเขาอาจจะช่วยในการเลือกบริษัทและสิ่งสำคัญที่สุดคือ กรณีมีการเคลมหรือต้องการความช่วยเหลือ แน่นอนว่าพวกเขาจะยังคงบริการช่วยเหลือคุณในฐานะตัวกลาง สิ่งที่เขาได้จากพวกคุณก็คือคอมมิชชั่นที่บริษัทจะจ่ายให้นั่นเอง แต่หากคุณซื้อตรงกับบริษัทประกันเจ้าของผลิตภัณฑ์โดยไม่ได้ผ่านตัวกลางใดคุณก็ลองคิดเอาว่า
– เขารับเงินเดือนจากบริษัทโดยตรง เป็นคนของบริษัท ซึ่งแน่นอนว่า บริษัทสั่งได้
– ในวันหยุดทำการหรือเวลานอกการทำงานคุณจะยังสามารถติดต่อพนักงานบริษัทที่คุณคุยด้วยได้หรือไม่?
– เขาให้เบอร์ส่วนตัวกับคุณหรือเปล่า? หรือยินดีจะให้ LINE ส่วนตัวเพื่อปรึกษางานด้วยหรือไม่? หรืออาจให้เฉพาะตอนที่มีการซื้อขายกันเมื่อเสร็จสิ้นแล้วเขาจะยังบริการคุณหรือไม่ เมื่ออยู่นอกเวลาทำงานของเขา ถ้าเขายินดีก็ไม่เลวที่คุณจะใช้บริการจากเขาได้ แต่ให้คุณรู้เอาไว้ว่าเขารับเงินเดือนจากบริษัทไม่ได้จากคอมมิชชั่นที่เขาขายได้ โดยเฉพาะ นายหน้าประกันภัย ซึ่งเป็นอิสระจากอิทธิพลของบริษัทประกันภัย เนื่องจากขายประกันได้ทุกแห่งที่เขาต้องการ ต่างกับตัวแทนประกันภัย ที่ขายได้เฉพาะบริษัทประกันที่ตนสังกัด)
ทางเลือกที่ดีควรเป็นยังไง? คุณอาจจะลองหาตัวกลางเพื่อลดภาระและได้รับการบริการที่ดี และหากเจ้าไหนที่คุณใช้แล้วดีก็ใช้เจ้านั้นไปตลอดก็ได้
ทางเลือกที่ 2 นี้ที่คุณทำประกันภัยผ่านตัวกลางดังกล่าวข้างต้นคุณเสียอะไรไหม? คำตอบก็คือคุณไม่ได้เสียอะไรเลย (แถมยังได้คนคอยให้ความช่วยเหลือ ดูแลคุณ) เพราะเบี้ยประกันของประกันภัย event หรือประกันภัยผู้จัดงานก็ยังคงเท่าเดิมไม่ได้แพงขึ้น เว้นซะแต่ว่าบางบริษัทประกันภัยจะลดให้คุณจากการที่คุณต่อรองหรืออะไรสักอย่างซึ่ง
เหตุการณ์แบบนี้อาจจะเกิดขึ้นสำหรับบางบริษัทประกันภัย และ ประกันภัยบางประเภทเช่นลดให้ 1% -5% ในปีแรกทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวไม่ได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะ นอกจากนี้คุณอาจจะเห็นว่าแม้กระทั่งประกันภัยประเภทประกันชีวิตก็ยังมีการให้ส่วนลดจูงใจในลักษณะ การให้บัตรกำนัลคูปองอะไรต่างๆก็แล้วแต่จะเรียก ความจริงมันก็แทบไม่ต่างกับการลดคอมมิชชั่นจากตัวกลางประกันภัย ที่ลูกค้าบางรายมีการขอนั่นเอง คุณควรรู้เอาไว้ว่า การทำลักษณะดังกล่าวนั้นอาจจะส่งผลต่อการบริการที่คุณได้รับในภายหลัง ก็เหมือนกับธุรกิจของคุณเมื่อลูกค้ามาซื้อของคุณ แล้วเขามาต่อราคาคุณ ทั้งๆที่ก็เป็นราคามาตรฐานอยู่แล้ว และคุณยังคงต้องดูแลและบริการอีกด้วย คุณรู้สึกยังไงกับลูกค้าคนนั้น? คุณอยากจะบริการหรือคุยกับเขาไหม? คุณจะให้การดูแลอย่างเต็มที่หรือไม่? หรือ คุณจะลดการบริการลง?
คำเตือนสำหรับขาช็อปประกัน ในวงการประกันจะมีลูกค้าบางกลุ่มบางประเภทที่ขอราคาเพื่อประโยชน์บางอย่างและสุดท้ายพวกเขาเหล่านั้นก็ไม่ได้ซื้อ ทำให้เกิดผลเสียต่อตัวกลางประกันภัย ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนประกันหรือนายหน้าประกันเพราะพวกเขาเหล่านี้ ต้องใช้เวลาในการทำงานบางคนใช้เครดิตส่วนตัวในการที่จะได้ข้อมูลใบเสนอมา บางคนต้องใช้ connection ส่วนตัว ดังนั้นหากคุณทำแบบนี้บ่อยๆสิ่งที่ตัวกลางอย่างตัวแทนประกันภัยหรือนายหน้าประกันภัยมีอยู่ไม่ว่าจะเป็นเครดิตส่วนตัวกับบริษัท connection กับพนักงานของบริษัทก็จะเริ่มสูญเสียไปและเสื่อมถอยไป แน่นอนว่าบางคนอาจจะไม่ได้สนใจเพราะคิดว่าไม่ได้เกี่ยวกับตัวเอง แต่ให้รู้เอาไว้ว่าตัวแทนนายหน้าดีๆมีความรู้ ความสามารถไม่ได้หาง่ายๆ ถ้าเจอแล้วก็รักษาไว้ให้ดีแล้ว บางผลิตภัณฑ์ประกันก็ไม่ใช่จะหาซื้อกันง่าย ในวันที่คุณต้องการมันขึ้นมาจริงๆก็หวังว่าตัวกลางประกันภัยเหล่านั้น จะยังคงมีรีเลชั่นที่ดีกับคุณ หากคุณไม่ถูกแบล็คลิสไปซะก่อน โลกนี้ไม่มีของฟรีแต่มีราคาที่ทุกคนต้องจ่าย ขึ้นอยู่กับว่าจะจ่ายลักษณะไหน