ช่องทางขายประกัน ที่ได้รับความนิยมสูงสุด (2558)
การรับประกันภัยจำแนกตามช่องทางการจำหน่าย 2558 เบี้ยประกันภัยรับรวมทั้งสิ้น 742,408 ล้านบาท ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.46%
เบี้ยจากธุรกิจประกันชีวิต 533,211 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.91
เบี้ยจากธุรกิจประกันวินาศภัย 209,197 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.92
ช่องทางการขายประกันชีวิตที่ได้รับความนิยมสูงสุด ปี 2558
1. การขายผ่าน “ตัวแทน” จำนวนเบี้ยรับรวมทั้งสิ้น 276,882 ล้านบาท 51.52% ของเบี้ยประกันชีวิตรับรวมทุกช่องทาง ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.39%
2. การขายผ่าน “ธนาคาร” (Bancassurance) มีเบี้ยประกันชีวิตทั้งสิ้น 227,225 ล้านบาท 42.28% ขยายตัว 9.43%
3. การขายผ่าน “โทรศัพท์” มีเบี้ยประกันชีวิต 13,903 ล้านบาท 2.59% ขยายตัว 5.49%
บริษัทประกันชีวิตที่มีส่วนแบ่งการตลาดในการขายผ่านตัวแทนสูงสุด 3 ลำดับ
1.บริษัท เอไอเอ จำกัด
2.บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
3.บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
บริษัทประกันชีวิตที่มีส่วนแบ่งการตลาดในการขายผ่านธนาคารมากที่สุด 3 ลำดับ
บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
บริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า จำกัด (มหาชน)
ช่องทางการขายประกันวินาศภัยที่ได้รับความนิยมสูงสุด
1.การขายผ่าน “นายหน้า” เบี้ย 119,228 ล้านบาท 56.92% ของเบี้ยประกันวินาศภัยรับรวมทุกช่องทาง ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.56%
โดยประกันภัยรถ และประกันภัยเบ็ดเตล็ด มีจำนวนเบี้ยรับรวมสูงสุด
2.การขายผ่าน “ตัวแทน” มีเบี้ย 30,622 ล้านบาท 4.62 ขยายตัวร้อยละ 2.71
3.การขายผ่าน “ธนาคาร” (Bancassurance) มีเบี้ย 25,681 ล้านบาท 12.26% ขยายตัว 1.93%
บริษัทประกันวินาศภัยที่มีส่วนแบ่งการตลาดในการขายผ่านนายหน้าสูงสุด
1.บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน)
2.บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
3.บริษัทโตเกียวมารีนประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
ดร.สุทธิพล กล่าวว่า คปภ.กล่าวเพิ่มเติมว่าในปีนี้สำนักงาน คปภ.ได้วางมาตรการพัฒนาธุรกิจประกันภัยไว้หลายมิติ ซึ่งเป็นไปตามแผนพัฒนาการประกันภัยฉบับที่ 3 (ปี 2559-2563) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำนักงาน คปภ.ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาช่องทางการจำหน่วยกรมธรรม์ประกันภัย เพื่อให้ประชาชนในวงกว้างสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากระบบประกันภัยได้อย่างเพียงพอ และทั่วถึง รวมถึงการส่งเสริม และกำกับดูแลให้ตัวแทน/นายหน้าประกันภัยมีมาตรฐาน จรรยาบรรณ และแนวปฏิบัติที่ดีในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันภัยต่อประชาชน
ดร. จะรู้มั๊ยว่า .. มีบางบริษัทประกันวินาศภัย บางแห่ง เอาเปรียบผู้เอาประกัน จากสัญญาประกันภัยที่ไม่เป็นธรรม คนที่คอยช่วยเหลือดูแลให้ความเป็นธรรมกับลูกค้าผู้ถือกรมธรรม์ กลับกลายเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย เนื่องจาก ตัวแทนประกันวินาศภัยมีรายได้จากคอมมิสชั่น ที่ได้จากการขายงานประกันนั่นเป็นเหตุผล ที่ต้องดูแลผลประโยชน์ของลูกค้าอย่างดีที่สุด ทั้งนี้ไม่รวมถึงตัวแทนบางส่วนที่โกงและหลอกลูกค้าของตัวเองที่เป็นส่วนน้อย
ขณะเดียวกันจะเน้นดูแลประชาชนผู้เอาประกันภัยภายหลังที่มีการขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยแล้ว (Service After Sale) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ธุรกิจประกันภัยในระยะยาว ทั้งนี้ ก่อนตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันภัย ประชาชนควรศึกษาเงื่อนไขความคุ้มครอง รายละเอียด และข้อยกเว้นให้เข้าใจเสียก่อน เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและตรงต่อความต้องการมากที่สุด