INSURANCETHAI.NET
Wed 18/12/2024 15:50:28
Home » ประกันภัยการประกอบการและธุรกิจ ประกันภัยสำหรับธุรกิจรายย่อย ประกันภัยเบ็ดเตล็ด เมืองไทยประกันภัย » เมืองไทย SME ยิ้มได้ – เมืองไทยประกันภัย\"you

เมืองไทย SME ยิ้มได้ – เมืองไทยประกันภัย

2011/11/07 1745👁️‍🗨️

ประกันภัยธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม “เมืองไทย SME ยิ้มได้” – เมืองไทยประกันภัย

ร้านจะถูกปล้น สินค้าจะเจอภัยน้ำท่วมเสียหาย จะบาดเจ็บหรือถึงขั้นหยุดหายใจ เมืองไทย SME ยิ้มได้ คุ้มครองหลายภัยในกรมธรรม์ฉบับเดียว

ความคุ้มครอง แบ่งเป็น 6 หมวดดังนี้

1. อาคาร ทรัพย์สินในอาคาร เครื่องจักร และสต็อกสินค้า

ที่ได้รับความเสียหายจาก
1. ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ระเบิด ภัยเนื่องจากน้ำ การถูกชนโดยยานพาหนะ หรือ อากาศยาน ลมพายุ แผ่นดินไหว การจลาจล นัดหยุดงาน และการกระทำอันมีเจตนาร้าย : คุ้มครองตามความเสียหายจริงไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัย (จำนวนเงินเอาประกันภัยขึ้นอยู่กับมูลค่าอาคาร ทรัพย์สินในอาคาร เครื่องจักร และสต็อกสินค้า ของผู้เอาประกันภัย)

2. น้ำท่วม : คุ้มครองตามความเสียหายจริง ไม่เกิน 100,000 บาท
(คุ้มครองตามความเสียหายจริง ไม่เกิน 200,000 บาท สำหรับจำนวนเงินเอาประกันภัยตั้งแต่10 ล้านบาทขึ้นไป)

3. อุบัติเหตุต่างๆ ที่ไม่ได้ระบุยกเว้นในกรมธรรม์ : คุ้มครองตามความเสียหายจริงไม่เกิน 200,000 บาท
(คุ้มครองตามความเสียหายจริง ไม่เกิน 400,000 บาท สำหรับจำนวนเงินเอาประกันภัยตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป)

4. อุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหายจากไฟฟ้าลัดวงจร : คุ้มครองตามความเสียหายจริง ไม่เกิน 10 % ของจำนวนเงินเอาประกันภัย สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

5. โจรกรรม (การลักทรัพย์ที่ปรากฏร่องรอยงัดแงะ การชิงทรัพย์ การปล้นทรัพย์)
–  ทรัพย์สินภายในอาคาร สต็อกสินค้า : คุ้มครองตามความเสียหายจริงไม่เกิน 200,000 บาท
(คุ้มครองตามความเสียหายจริงไม่เกิน 400,000 บาท สำหรับจำนวนเงินเอาประกันภัยตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป)-อาคารที่ได้รับความเสียหายจากการถูกโจรกรรม : – คุ้มครองตามความเสียหายจริงไม่เกิน 20,000 บาท
(คุ้มครองตามความเสียหายจริงไม่เกิน 40,000 บาทสำหรับจำนวนเงินเอาประกันภัยตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป)

6. กระจก (ที่เป็นอาคาร ประตู หน้าต่าง กระจกกั้นห้อง กระจกหน้าร้าน) ที่เสียหายจาก อุบัติเหตุ : คุ้มครองตามความเสียหายจริง ไม่เกิน 200,000 บาท
(คุ้มครองตามความเสียหายจริง ไม่เกิน 400,000 บาท สำหรับจำนวนเงินเอาประกันภัยตั้งแต่10 ล้านบาทขึ้นไป)

7. เงิน กรณีถูกลักทรัพย์ที่ปรากฏร่องรอยงัดแงะ การชิงทรัพย์ การปล้นทรัพย์ ทั้งในเวลาทำงาน และนอกเวลาทำงาน
– เงินสด ภายในสถานที่เอาประกันภัย และในตู้นิรภัย หรือห้องนิรภัย : คุ้มครองตาม ความเสียหายจริง ไม่เกิน 200,000 บาท
(คุ้มครองตามความเสียหายจริงไม่เกิน 400,000 บาท สำหรับจำนวนเงิน เอาประกันภัยตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป)
– ตู้นิรภัย หรือห้องนิรภัย ภายในสถานที่เอาประกันภัยเสียหาย จากการถูกงัดแงะ : คุ้มครองตามความเสียหายจริง ไม่เกิน 20,000 บาท
(คุ้มครองตามความเสียหายจริง ไม่เกิน 40,000 บาท สำหรับจำนวนเงิน เอาประกันภัยตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป)

2. การสูญเสียทางการค้าและค่าเช่าอาคาร

กรณีได้รับความเสียหายจากสาเหตุที่คุ้มครองในหมวด 1 ข้างต้น จนไม่สามารถ ดำเนินธุรกิจต่อไปได้

– เงินชดเชย เหมาจ่ายรายวัน 1,000 บาท/วัน สูงสุดไม่เกิน 90 วัน
(เงินชดเชยเหมาจ่าย 2,000 บาท/วัน สูงสุดไม่เกิน 90 วัน สำหรับจำนวนเงินเอาประกันภัย ตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป)
– เงินชดเชย ค่าเช่าสถานที่ทำธุรกิจชั่วคราว ตามจริง ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาทสูงสุด 3 เดือน
(ตามจริง ไม่เกินเดือนละ 20,000 บาท สูงสุด 3 เดือน สำหรับจำนวนเงินเอาประกันภัย ตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป)

3. ความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก
กรณีบุคคลภายนอกได้รับความเสียหาย(บาดเจ็บ เจ็บป่วย เสียชีวิต และทรัพย์สิน)
จากการเข้ามาในสถานประกอบธุรกิจของผู้เอาประกันภัย รวมค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี คุ้มครองไม่เกิน 300,000 บาท/ครั้ง/ปี
(คุ้มครองไม่เกิน 600,000 บาท/ครั้ง/ปีสำหรับจำนวนเงินเอาประกันภัยตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป)

4. ความรับผิดตามกฎหมายอันเกิดจากการใช้สินค้าไม่ปลอดภัย

ชดเชยความเสียหายในนามผู้เอาประกันภัย (ผู้ประกอบการ) ให้กับผู้บริโภค ที่ได้รับความเสียหาย(บาดเจ็บเจ็บป่วยเสียชีวิต และทรัพย์สิน) จากการบริโภคสินค้าของ
ผู้เอาประกันภัย ในฐานะผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย โดยที่ผู้ประกอบการต้องเป็นผู้พิสูจน์
ความเสียหาย รวมค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี คุ้มครองไม่เกิน 300,000 บาท/ครั้ง/ปี
(คุ้มครองไม่เกิน 600,000 บาท/ครั้ง/ปี สำหรับจำนวนเงินเอาประกันภัยตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป)

5. ประกันภัยอุบัติเหตุสำหรับผู้เอาประกันภัย
– ชดเชยกรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง จากอุบัติเหตุทั่วโลก1,000,000 บาท
(ชดเชย 2,000,000 บาท สำหรับจำนวนเงินเอาประกันภัยตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป)
– ชดเชยรายวัน กรณีผู้เอาประกันภัยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) จากอุบัติเหตุทั่วโลก สูงสุด 365 วัน/อุบัติเหตุแต่ละครั้ง ชดเชยเหมาจ่าย 1,000 บาท/วัน (ชดเชยเหมาจ่าย 2,000 บาท/วัน สำหรับจำนวนเงินเอาประกันภัยตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป)

6. ค่าปลงศพ
กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต จากอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย ชดเชยเหมาจ่าย 50,000 บาท

กำหนดความเสียหายส่วนแรก (Deductible) ที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเอง ดังนี้

หมวด 1
ภัยเนื่องจากน้ำ 1,000 บาทแรก
อุบัติเหตุต่างๆ 1,000 บาทแรก
กระจก 1,000 บาทแรก

หมวด 2 การสูญเสียทางการค้า -เงินชดเชย เหมาจ่ายรายวัน(ในข้อ 2.1):3 วันแรก

หมวด 3 ความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก : ความเสียหายของทรัพย์สินของบุคคลภายนอก 1,000 บาทแรก

ข้อยกเว้นสำคัญ :
ข้อยกเว้นทุกหมวด :

ความเสียหายจากสงคราม การก่อความวุ่นวาย การกระทำของผู้ก่อการร้าย การปฏิวัติรัฐประหาร การประกาศกฎอัยการศึก อาวุธนิวเคลียร์ การแผ่กัมมันตภาพรังสี

ความเสียหายต่อทรัพย์สินต่างๆ ที่ระบุยกเว้นในกรมธรรม์ เช่น เงิน ทอง อัญมณี เงินตราโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ภาพเขียน แผนผัง สมุดบัญชี บัตรเครดิต บัตรธนาคาร บัตรเติมเงิน หนังสือหรือเอกสาร ต่างๆ เกี่ยวกับธุรกิจ เป็นต้น

ข้อยกเว้นหมวด 1 :
ทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างการขนส่ง
ความเสียหายจากควัน ลูกเห็บ
โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ต่อพ่วงทุกชนิด คอมพิวเตอร์แบบพกพา
ทรัพย์สินที่อยู่ในความดูแลรักษาของผู้เอาประกันภัยในฐานะผู้รับฝากทรัพย์

ข้อยกเว้นหมวด 3 และ 4 :
ความรับผิดตามกฎหมายที่เกิดจากคำพิพากษาจากศาลซึ่งไม่ใช่ศาลไทย
ความรับผิดอันเกิดจากการประกอบวิชาชีพ

ข้อยกเว้นหมวด 4 :
ความเสียหายต่อตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ของผู้เอาประกันภัย
ค่าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ที่ผู้เอาประกันภัยต้องจ่ายคืนผู้บริโภค
ค่าใช้จ่ายในการเรียกเก็บ หรือเรียกคืนสินค้าหรือ ผลิตภัณฑ์

ข้อยกเว้นหมวด 5 :
ความสูญเสียหรือเสียหายขณะอยู่ภายใต้ฤทธิ์สุรา ยาเสพติด
การฆ่าตัวตาย การแข่งรถ แข่งเรือ แข่งสกี การขับขี่/โดยสาร
รถจักรยานยนต์ การเข้าร่วมทะเลาะวิวาท

ข้อยกเว้นหมวด 6 :
การเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยภายใน 90 วันนับจากวันเริ่มคุ้มครอง

เกณฑ์พิจารณารับประกันภัย
รับประกันภัยธุรกิจ SME ที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัย เริ่มต้นที่ 500,000 บาท
สูงสุดไม่เกิน 30 ล้านบาท (พิจารณาจากการรวมมูลค่าอาคาร ทรัพย์สินภายในอาคาร เครื่องจักร และสต็อกสินค้า)

รับประกันภัยเฉพาะอาคารที่เป็นตึกทั้งหลัง ที่อยู่ในทุกทำเลที่ตั้ง ทั่วประเทศ (ยกเว้นเขตอันตรายตามประกาศของ คปภ.) และเครื่องใช้ต่างๆ

รับประกันภัยธุรกิจ SME เฉพาะ 17 ประเภท ที่อยู่ใน 3 กลุ่มธุรกิจ ดังต่อไปนี้

กลุ่ม 1 :
โรงงานผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม
โรงงานโลหะภัณฑ์
โรงกลึง
โรงงานทำกระเบื้องหรืออิฐ
โรงน้ำแข็ง
โรงพิมพ์
ร้านซ่อมเครื่องไฟฟ้า

กลุ่ม 2
ร้านให้เช่าและอัดวีดีโอ
ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า
ร้านค้า *
ร้านกาแฟ
ร้านถ่ายรูป
ร้านซักรีด
ร้านดัดผมหรือเสริมสวย
ร้านอาหาร
ภัตตาคาร

* หมายเหตุ : ร้านค้า ในข้อ 3. ข้างต้น ไม่รวมถึง

1. ร้านขายวัสดุก่อสร้าง
2. ร้านขายทอง/อัญมณี
3.ร้านขายแก๊ส
4. ร้านทำป้ายโฆษณา
5. ร้านซ่อมจักรยานยนต์ 6.ร้านขายยางรถยนต์
7. ร้านขายดอกไม้ไฟ
8. ร้านขายสี
9. ร้านขายน้ำมัน
10. ร้านขายปืน
11. ร้านขายผ้า

กลุ่ม3 โกดังเก็บสินค้า แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
3.1 ได้แก่
ผลิตภัณฑ์เคมี
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
เครื่องไฟฟ้า
เฟอร์นิเจอร์ไม้
ไม้อัด
เยื่อและกระดาษ
สิ่งทอ
เครื่องนุ่งห่ม
รองเท้า
เครื่องดนตรี
สินค้าการเกษตร
ผลิตภัณฑ์พลาสติก

3.2 ได้แก่ สินค้าประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุในกลุ่ม 3.1

4. ไม่รับประกันภัยธุรกิจที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า

5. สินค้าที่ไม่ได้รับความคุ้มครองภายใต้หมวด 4 “ความรับผิดตามกฎหมายอันเกิดจากการใช้สินค้าไม่ปลอดภัย” ได้แก่
1. ยา 2. สมุนไพร 3.เครื่องสำอาง 4. อาหารเสริม 5. สินค้าใช้แล้ว 6. สินค้ามือสอง 7. ยานยนต์ 8. ชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์9. อุปกรณ์การแพทย์และเครื่องมือแพทย์

ระยะเวลาคุ้มครอง : 1 ปี , 3 ปี หรือ 5 ปี
เบี้ยประกันภัย : เบี้ยประกันภัย ขึ้นอยู่กับกลุ่มประเภทธุรกิจ จำนวนเงินเอาประกันภัย และระยะเวลาเอาประกันภัย โปรดสอบถามที่จุดขาย เบี้ยประกันภัยระยะเวลาคุ้มครอง 1 ปี

ตารางความคุ้มครอง
เมืองไทย SME ยิ้มได้เมืองไทย SME ยิ้มได้

การประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อเลือกจำนวนเงินเอาประกันภัย ประเมินจากการรวมมูลค่าของอาคาร ทรัพย์สินภายใน เครื่องจักร และสต็อกสินค้า ดังนี้

– อาคาร : นำพื้นที่ใช้สอยของอาคาร (กว้าง X ยาว X จำนวนชั้น หน่วยเป็นตารางเมตร) คูณกับ ราคาต่อตารางเมตร คือ 8,000 บาท
– ทรัพย์สินภายในอาคาร เครื่องจักร และสต็อกสินค้า : อิงตามมูลค่าที่ผู้เอาประกันภัยแจ้ง รวมมูลค่าอาคาร ทรัพย์สินภายในอาคาร เครื่องจักร และสต็อกสินค้า เพื่อเลือกจำนวนเงินเอาประกันภัย

ตัวอย่าง อาคาร กว้าง 5 เมตร ยาว 12 เมตร จำนวน 3 ชั้น ดังนั้น พื้นที่ใช้สอยรวม = 180 ตารางเมตร
คูณราคาต่อตารางเมตร คือ 8,000 บาท ได้เป็นมูลค่าอาคาร = 1,440,000 บาท
มูลค่า ทรัพย์สินภายในอาคาร เครื่องจักร และสต็อกสินค้า ตามที่ผู้เอาประกันภัยแจ้ง = 500,000 บาท
รวมมูลค่าอาคาร ทรัพย์สินภายในอาคาร เครื่องจักร และสต็อกสินค้า = 1,940,000 บาท
ดังนั้น เลือกทำประกันที่จำนวนเงินเอาประกันภัย 2,000,000 บาท

หมายเหตุ เอกสารนี้ มิใช่หนังสือสัญญาประกันภัย รายละเอียดเฉพาะจะระบุไว้ในกรมธรรม์





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow