INSURANCETHAI.NET
Wed 18/12/2024 19:10:50
Home » การเงิน การลงทุน ธุรกิจ » การวางแผนภาษีส่วนบุคคล\"you

การวางแผนภาษีส่วนบุคคล

2012/04/22 2599👁️‍🗨️

การวางแผนภาษีส่วนบุคคล  เป็นการวางแผนภาษีของบุคคลธรรมดา  อาชีพประจำรับเงินเดือน / เจ้าของกิจการ / อาชีพอิสระ  ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีกฎหมาย

รายได้อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี
รายได้ที่ต้องเสียภาษีของบุคคลธรรมดา ตามกฎหมายเรียกว่า เงินได้พึงประเมิน หมายถึง เงินได้ของบุคคลใดๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปีใดๆ ได้แก่
1. เงิน
2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ที่ได้รับจริง
3. ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน
4. เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้
5. เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด

การคิดภาษีบุคคลธรรมดา

ภาษีที่ต้องชำระ  =  เงินได้สุทธิ  x  อัตราภาษี
เงินได้สุทธิ  =  เงินได้พึงประเมิน  –  ค่าใช้จ่าย  –  ค่าลดหย่อน  –  เงินบริจาค – …

1.  การลดยอดเงินได้ให้ต่ำลง  ทำได้โดย
1.1  แยกรายได้ที่ได้สิทธิยกเว้นภาษีออกไป
มีรายได้บางอย่างที่ กม.ยกเว้นภาษีให้  เช่น  ค่าเบี้ยเลี้ยง  ค่าพาหนะ  บำนาญตกทอด  หรือ  เงินส่วนแบ่งกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญ  หรือคณะบุคคล
1.2 แยกรายได้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายและเป็นประเภทภาษีสุดท้าย ( final tax ) ออกมา
เพราะ ผู้มีเงินได้สามารถเลือกได้ว่า  จะนำไปรวมคำนวนภาษีหรือไม่ก็ได้  ดังนั้นควรพิจารณาก่อนว่ามันจะคุ้มค่าหรือไม่  ที่จะนำรายได้ดังกล่าวเข้าไปรวมคำนวณ  เช่นดอกเบี้ย  เงินปันผล หรือเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งทางการค้าหรือหา กำไร
1.3 แยกรายได้จากต่างประเทศออก
 หากมีเงินได้จากต่างประเทศ  พิจารณาดูว่าสามารถวางแผนเพื่อลดหย่อนภาษี  หรือขอยกเว้นภาษีทั้งจำนวนได้หรือไม่  โดยดูว่าประเทศต้นทางที่เป็นแหล่งเงินได้  มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทยหรือไม่  ถ้ามีก็ไม่ต้องเสียให้ซ้ำซ้อน  ถ้าไม่มีก็ให้ใช้วิธีพักเงินรายได้ไว้ในต่างประเทศ  รอให้ข้ามปีภาษีก่อน (รอให้เลยวันที่ 31 ธันวาคม )  แล้วจึงนำเงินได้จำนวนนี้กลับเข้ามา  ก็จะทำให้ได้สิทธิยกเว้นภาษีทั้งจำนวน
1.4 เพิ่มหน่วยภาษีออกไป
อัตราภาษีบุคคลธรรมดาเป็นอัตราก้าวหน้า  ถ้าเราสามารถแตกฐานภาษีออกไปมากเท่าไร  ฐานภาษีของแต่ละคนก็ยิ่งต่ำลงเท่านั้น  วิธีที่นิยมคือ  การจัดตั้งคณะบุคคลขึ้นเป็นหน่วยภาษีใหม่  เพื่อกระจายรายได้ออกไป  และยังสามารถหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนได้เหมือนคนธรรมดาอีกด้วย
1.5 การเลื่อนระยะเวลารับรู้รายได้ออกไป
หากปีนี้ฐานรายได้สูง  และเราสามารถคุยกับคู่ค้า / นายจ้าง / ผู้จ่ายเงิน  ให้เลื่อนการจ่ายเงินออกไปเป็นต้นปีหน้าซึ่งคาดการณ์ว่า  ฐานรายได้จะต่ำกว่า  เป็นการเกลี่ยรายได้ ไม่ต้องแบกรับฐานภาษีที่สูงเกินไปในปีใดปีหนึ่ง
1.6 การเปลี่ยนเงินได้เป็นสวัสดิการ  ( fringe  benefits )
หากเรารับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนทั้งหมด  ก็ต้องเสียภาษีแบบเต็มที่ แต่หากเปลี่ยนรายได้บางส่วนเป็นสวัสดิการ เช่น  รถประจำตำแหน่ง  ค่าน้ำมันรถ  เบี้ยเลี้ยง  ซึ่งรายการเหล่านี้ได้สิทธิยกเว้นภาษี  เพราะถือเป็นสวัสดิการ  หรือถือเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของบริษัทได้ 
1.7  เลือกลงทุนในหลักทรัพย์  หรือออมเงินประเภทที่ได้รับการยกเว้นภาษีจากรัฐบาล  ผลตอบแทนที่ได้จะได้ไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษี

2.  เพิ่มค่าใช้จ่าย
2.1  เลือกอาชีพที่หักค่าใช้จ่ายได้สูงสุด
กรมสรรพากรแบ่งรายได้ของบุคคลธรรมดาออกเป็น 8 ประเภท  แต่ละประเภทสามารถหักค่าใช้จ่ายได้แตกต่างกัน
2.2 แยกรายได้ให้มาจากหลากหลายอาชีพ  เพื่อเพิ่มสิทธิหักค่าใช้จ่าย
การเป็นลูกจ้างรับเงินเดือนจะหักค่าใช้จ่ายสูงสุดได้  40% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 60,000  บาท  แต่หากสามารถทำให้รายได้มาจากหลายลักษณะอาชีพ  เช่น  ค่าที่ปรึกษาในฐานะ ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ  ค่าลิขสิทธิ์  หรือค่ารับเหมา  จะช่วยทำให้หักค่าใช้จ่ายจากแต่ละหมวดได้มากขึ้น
2.3 เครดิตภาษีเงินปันผล
อัตราภาษีของบริษัทที่จ่ายปันผลให้เรานั้นสูงกว่าหรือต่ำกว่าฐานภาษีของเรา เพราะถ้าบริษัทนั้นได้รับสิทธิยกเว้นภาษี  หรือใช้อัตราภาษีที่ต่ำอยู่แล้ว  อาจทำให้เราต้องเสียภาษีเพิ่มได้ถ้านำมารวมคำนวณภาษี

3.  เพิ่มค่าลดหย่อน
3.1 ใช้สิทธิค่าลดหย่อนตามที่กฎหมายกำหนดให้ได้มากที่สุด
ค่าลดหย่อนบุตร  ค่าเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย  การทำประกันชีวิต  การซื้อกองทุนต่างๆที่กม.ให้สิทธิลดหย่อนภาษีได้  
3.2 การเครดิตภาษีล่วงหน้า
สำหรับค่าลดหย่อนต่างๆที่เราจะใช้สิทธิลดหย่อนตามข้อ 3.1 นั้น หากเราไม่ต้องการมาทำเรื่อง
ขอภาษีคืนภายหลัง  ก็ให้ทำเรื่องเครดิตภาษีไว้ล่วงหน้า  โดยวิธีแสดงหลักฐานให้ฝ่ายบุคคลหรือฝ่ายบัญชีทราบว่า  เราได้มีค่าใช้จ่ายใดบ้างที่กฎหมายอนุญาตให้นำมาลดหย่อนภาษีได้  ฝ่ายบุคคลก็จะนำรายการเหล่านั้นไปรวมคำนวณ  ทำให้ยอดหักภาษี ณ ที่จ่ายลดลง  และแสดงตัวเลขใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากขึ้น

4.  เพิ่มยอดเงินบริจาค

4.1 เงินที่ได้บริจาคให้วัด  โบสถ์  หรือมัสยิด
สามารถขอใบอนุโมทนาบัตรมาลดหย่อนภาษีได้  นอกจากนี้ยังมีองค์กรการกุศล  ตามที่
กรม สรรพากรประกาศ  แต่รวมกันไม่เกิน  10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว
4.2 เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา
สิทธิหักลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกิน10% ของเงินคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow