INSURANCETHAI.NET
Fri 22/11/2024 0:43:02
Home » ความรู้รถยนต์ » 200 เรื่องน่ารู้ สำหรับคนใช้รถ[Chapter4]\"you

200 เรื่องน่ารู้ สำหรับคนใช้รถ[Chapter4]

2013/06/17 1019👁️‍🗨️

car-charpter4
151.. ควรปิดคอมเพรสเซอร์แอร์ ก่อนดับเครื่อง ช่วยยืดอายุตู้แอร์ ระบบทำความเย็นทั้งภายในรถและอาคาร อาศัยหลักการถ่ายเทความเย็น และระบายความร้อน ซึ่งตู้แอร์ หรือคอยล์เย็น จะมีสารทำความเย็นบรรจุอยู่ภายใน โดยมีพัดลมทำหน้าที่เป่าลม การปิดพัดลมหลังดับเครื่อง ความเย็นยังคงอยู่ภายในระบบ ตู้แอร์จึงชื้น และกลายเป็นที่สะสมฝุ่นละออง ซึ่งจะทำให้ลมผ่านได้ไม่สะดวก เกิดการอุดตัน และตู้รั่ว
152.. การปิดคอมเพรสเซอร์ หรือปิดสวิทช์ AC ก่อนดับเครื่องยนต์อย่างน้อย 5 -10นาที จะช่วยไล่ความชื้นในตู้แอร์ ไม่เป็นที่สะสมฝุ่น นอกจากจะช่วยยืดอายุตู้แอร์ ยังช่วยลดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ ที่มักเกิดพร้อมๆ กับความชื้นอีกด้วย
153.. แอลกอฮอล์มีความหนาแน่นของพลังงาน ต่ำกว่าของเบนซิน การที่แกสโซฮอลสิ้นเปลืองกว่าเพราะแอลกอฮอล์มีพลังงานสะสมในตัวมันน้อยกว่า เมื่อเทียบมวลเท่ากัน เช่น มีพลังงานกี่กิโลแคลอรีต่อมวลหนึ่งกิโลกรัมเท่ากัน หรือกล่าวได้ว่าแอลกอฮอล์มีความหนาแน่นของพลังงาน หรือค่าความร้อน (HEATING VALUE) ต่ำกว่าของเบนซิน
154. น้ำยาเติมหม้อน้ำช่วยลดตะกอนและควบคุมอุณหภูมิของน้ำ น้ำยาเติมหม้อ หรือน้ำยาหล่อเย็น (COOLANT) ถูกมองว่าเป็นตัวการทำให้หม้อน้ำและปั๊มน้ำรั่วอยู่เสมอ นั่นก็เพราะผู้ใช้รถจะพบปัญหาเหล่านี้หลังจากที่ได้เติมน้ำยาหล่อเย็น ซึ่งในความเป็นจริงเกิดจากระบบหล่อเย็นของรถขาดการบำรุงรักษามาเป็นเวลานาน หรือใช้น้ำที่มีค่าเป็นกรดเป็นด่างมากเกินไป จนเกิดการผุกร่อน
155. เราควรบำรุงรักษาหม้อน้ำด้วยการเปลี่ยนถ่ายน้ำยาในระบบหล่อเย็นปีละครั้ง รวมทั้งทำความสะอาดถังพักน้ำด้วย ส่วนการผสมน้ำยาหล่อเย็น ควรทำตามอัตราส่วนที่ผู้ผลิตระบุไว้
156. หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าจานเบรคใช้ได้ดีกับรถทุกรุ่นทุกขนาด แม้ว่าคุณสมบัติที่ดีของจานเบรคคือ ระบายความร้อนได้เร็ว ส่วนใหญ่ผู้ผลิตรถจึงใช้กับล้อหน้าที่ผ้าเบรคจับตัวจานเบรคแทบจะตลอดเวลา ดุมเบรคที่ระบายความร้อนได้ช้ากว่าเพราะมีฝาครอบ แต่มีพื้นที่สัมผัสมากกว่าจานเบรคและไม่มีปัญหาเบรคลอคเหมือนจานเบรคใช้ในล้อหลัง รถที่ใช้งานแบบทั่วไป รวมทั้งรถที่มีระบบเอบีเอส ซึ่งวิศวกรผู้ผลิตรถยนต์จะเลือกใช้จานเบรคตามความเหมาะสม การที่เจ้าของรถนำรถไปดัดแปลงใช้จานเบรคในล้อหลัง ต้องระวัง เพราะหากล้อหลังหยุดก่อนล้อหน้าเมื่อเบรค อาจทำให้รถหมุนได้
157. การเปลี่ยนกรองอากาศมาเป็นแบบกรองเปลือย ที่ไม่มีกล่องป้องกันฝุ่น และท่อนำอากาศ อาจจะช่วยให้อากาศเข้าได้สะดวกขึ้น แต่ความหนาแน่นของมวลอากาศน้อยลงเพราะอุณหภูมิความร้อนภายในห้องเครื่องยนต์ ซึ่งปริมาณอากาศกับห้องเผาไหม้เท่าเดิม จึงให้กำลังตกลงเมื่อเครื่องร้อน อีกทั้งมีฝุ่นละอองมาก ทำให้ต้องล้างหรือทำความสะอาดบ่อยๆ การใช้หัวเทียนใหม่ช่วยให้การจุดระเบิดสมบูรณ์ แต่ไม่ได้เพิ่มกำลังเครื่องยนต์ให้สูงกว่ามาตรฐานผู้ผลิตรถยนต์ได้กำหนดไว้
158 .เปลี่ยนกรองอากาศใหม่ จะช่วยให้ประหยัดค่าน้ำมันไปได้นับพันบาท การใช้ลมเป่าใส่กรองอากาศที่นิยมทำกัน เมื่อมีฝุ่นติดเต็ม จนมองไม่เห็นสีเดิม วิธีนี้ช่วยให้ฝุ่นละอองเบาบางลงอากาศไหลผ่านได้ดียิ่งขึ้น แต่ถ้าเป่าแรงเกินไปแผ่นกรองอาจเสียหายจนใช้งานต่อไม่ได้ เพราะมีรูกว้างจนฝุ่นขนาดใหญ่สามารถผ่านเข้าไปได้ คิดแล้วไม่คุ้ม ยอมจ่ายเงินซื้อของใหม่มาใส่จะคุ้มกว่า การล้างคาร์บูเรเตอร์ หรือหัวฉีด แถมยังประหยัดค่าน้ำมันทางอ้อม อีกด้วย
159. เดินเบาก่อนดับถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นไม่น้อยทีเดียว โดยเฉพาะเวลาที่เราขับรถทางไกลเวลานานๆ เพราะการปล่อยให้เครื่องยนต์เดินเบา หลังจากที่ต้องทำงานหนักมานาน ก็เสมือนกับการที่เราปล่อยให้เครื่องยนต์ปรับอุณหภูมิภายในให้เหมาะสม และระบายความร้อนที่สะสมอยู่ในชิ้นส่วนต่างของเครื่องยนต์ด้วย
160. เพื่อการรักษาเครื่องยนต์ให้สามารถใช้งานได้ยาวนาน เราจึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้รถซะใหม่ นั่นคือ ปล่อยให้เครื่องยนต์เดินเบาไว้ซัก 1-3 นาที ก่อนที่จะดับเครื่องทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้งานรถติดต่อกันนานเท่าใด ถ้าเป็นกรุงเทพก็ปล่อยให้เดินเบาซัก 1 นาที ก็น่าจะพอหอมปากหอมคอกับช่วงเวลาที่เร่งรีบ แต่ถ้าเป็นการเดินทางไกลใช้ความเร็วค่อนข้างสูง ติดต่อกันนานๆแล้ว ก็ควรจะปล่อยให้เครื่องเดินเบาไว้อย่างน้อยสัก 2-3 นาที
161. การดูแลน้ำมันเครื่อง หน้าที่หลักของน้ำมันเครื่องคือ ช่วยหล่อลื่นระบบต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ให้เดินสะดวก ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์จึงจำเป็นต้องตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำเมื่อใช้ไปนาน ๆ เพราะจะมีสิ่งปลอมปนทำให้ประสิทธิภาพในการหล่อลื่นลดน้อยลงตามอายุการใช้งาน
162. การเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง แนะนำให้เปลี่ยนน้ำมันเครื่องทุก ๆ 3 เดือน หรือทุก ๆ10,000 กิโลเมตร (แล้วแต่ว่าจะถึงจุดไหนก่อน อย่างเช่น รถวิ่งทางไกลมาถึงระยะ 10,000กิโลเมตร ภายใน 2 เดือนครึ่ง ก็ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องได้เลยไม่ต้องรอให้ครบ 3 เดือน) หรืออาจจะดูตามคู่มือรถของท่านแล้วก็ปฏิบัติตามนั้น ถ้าจะให้ดีในการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องควรจะเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเครื่องด้วยทุกครั้ง เพราะความสกปรกในไส้กรองอาจเข้าไปทำให้น้ำมันที่เติมใหม่มีสิ่งปลอมปน
163. การเช็คระดับน้ำมันเครื่อง การเช็คระดับน้ำมันเครื่องให้ทำหลังจากดับเครื่องยนต์ทิ้งไว้เป็นเวลา 2 นาที เพื่อให้น้ำมันไหลลงด้านล่างของเครื่องก่อน และรถจะต้องจอดอยู่บนพื้นราบด้วยให้ดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องออกมาแล้วใช้ผ้าเช็คก้านวัดให้ไม่มีรอยน้ำมันเครื่องเดิมที่ติดขึ้นมาแล้วเสียบก้านวัดน้ำมันเครื่องกลับเข้าที่จนสุด ดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องออกมาอีกครั้งหนึ่ง ตรวจดูระดับน้ำมันเครื่องบนปลายก้านวัด ถ้าน้ำมันเครื่องอยู่ระหว่างขีดล่างและขีดบนแสดงว่าระดับน้ำมันเครื่องถูกต้องแล้ว ถ้าน้ำมันเครื่องอยู่ที่ขีดล่างหรือต่ำกว่าให้เติมน้ำมันเครื่องจนได้ระดับที่ถูกต้อง
164.. การอ่านค่าจากก้านวัดระดับน้ำมันเครื่อง MAX หมายความว่า มาก / MIDหมายความว่า ปานกลาง/ MIN หมายความว่า น้อย เมื่อดึงก้านน้ำมันเครื่องขึ้นมาจะมีน้ำมันติดปลายก้านวัดมาด้วยให้ดูว่าน้ำมันเครื่องที่ติดอยู่สูงสุดอยู่ในระดับใด
165. .ประโยชน์ของน้ำมันเครื่อง ช่วยระบายความร้อนจากเครื่องยนต์ ช่วยลดการเสียดทาน และสึกหรอของเครื่องยนต์ รักษาความสะอาดภายในเครื่องยนต์ ลดตะกอนสะสมป้องกันการเกิดสนิม และการกัดกร่อนช่วยให้รถสตาร์ทติดง่าย ฉะนั้นการเลือกใช้น้ำมันเครื่องจึงมีความสำคัญมาก
166. แบตเตอรี่ ขุมพลังไฟฟ้าแหล่งสำคัญที่ถูกบรรจุอยู่ในห้องเครื่องคอยจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ที่มีอยู่ในรถยนต์ไม่ว่าจะเป็นวิทยุ แอร์ โทรทัศน์ ที่ต่างสรรหามาติดกันในรถรวมไปถึงการจ่ายไฟฟ้าเพื่อการสตาร์ทเครื่องยนต์ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยแบตเตอรี่ทั้งสิ้น
167.ขั้นตอนในการเติมน้ำกลั่นแบตเตอรี่ เปิดฝาจุกด้านบนของหม้อแบตเตอรี่ 6 ฝา ให้หมด แล้วเช็คดูว่าทั้ง 6 ช่องน้ำกลั่นอยู่ในระดับที่ถูกต้องหรือไม่ ถ้าลดลงจนไม่ท่วมแผ่นทองแดงให้เติมน้ำกลั่นลงไปในช่องที่น้ำกลั่นลดลงไป (แต่ละช่องน้ำกลั่นจะลดลงไม่เท่ากัน) โดยให้ท่วมแผ่นทองแดงประมาณ 10-15 มิลลิเมตร อย่าเติมน้ำกลั่นให้ล้นออกมาจากหม้อแบตเตอรี่ ถ้าน้ำกลั่นหกเลอะออกมานอกหม้อแบตเตอรี่ ให้รีบนำผ้ามาเช็ดให้แห้งทันที เมื่อเติมเสร็จเรียบร้อยให้ปิดจุกฝาทั้ง 6 ฝาให้เรียบร้อย
168.. ในส่วนของขั้วแบตเตอรี่ ทั้งขั้วบวกและขั้วลบ ปัญหาที่เกิดขึ้นคือขี้เกลือขึ้นบริเวณขั้วทั้ง 2 ข้าง ของแบตเตอรี่ รวมไปถึงสิ่งสกปรกอื่นที่ติดเป็นคราบ ถ้าพบให้รีบทำความสะอาดโดยทันที โดยใช้น้ำร้อน เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นสาเหตุทำให้รถสตาร์ทติดยาก การจ่ายไฟไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ จุดต่าง ๆ ที่ต้องตรวจสอบอีกคือ ขั้วสายไฟที่ต่อแบตเตอรี่หลวมหรือไม่ ฝาปิดช่องเติมน้ำกลั่นหมุนเกลียวแน่นหรือเปล่า ตรวจเช็คว่ามีรอยรั่วของหม้อแบตเตอรี่หรือไม่ ถ้ามีต้องรีบแก้ไข
169. การทำความสะอาดแบตเตอรี่ ถ้าเกิด ขึ้เกลือขึ้นในขั้วแบตเตอรี่ทั้ง 2 ข้าง ให้ถอดขั้วทั้ง 2 ออกมา ใช้แปรงลวดขัดบริเวณที่เกิดขี้เกลือบริเวณทั้งสองข้างถ้าเป็นรอยสกปรกธรรมดาใช้ผ้าเช็ดก็ได้ เมื่อทำความสะอาดเสร็จให้ใช้จาระบีทาที่ขั้วแบตเตอรี่และขั้วทองแดงทั้งสองขั้ว ให้ใส่ขั้วกลับลงไปที่เดิม โดยให้สายขั้วบวกใส่ในตำแหน่งขั้วบวก สายขั้วลบใส่ในตำแหน่งขั้วลบ
170.ข้อแนะนำเพิ่มเติมควรทำความสะอาดหม้อแบตเตอรี่ด้านนอก ทุก ๆ 6 เดือน โดยการยกหม้อแบตเตอรี่ออกจากรถแล้วใช้แอมโมเนียเช็ด ควรถอดขั้วแบตเตอรี่และทำความสะอาดทุก ๆ 3 เดือน อย่าให้โลหะอย่างเช่น ไขควง แหวน โดนขั้วแบตเตอรี่ เพราะอาจทำให้เกิดประกายไฟได้
171.ขณะจอดรถอย่าเปิดไฟ หรือวิทยุทิ้งเอาไว้นาน ๆ เพราะมันจะดึงไฟแบตเตอรี่ทำให้แบตเตอรี่อ่อน หรือในเวลาที่จะสตาร์ทรถควรจะปิดแอร์หรือวิทยุไว้ชั่วคราวก่อน
172. .หม้อน้ำถือว่าเป็นตัวจักรสำคัญอีกตัวหนึ่งของรถยนต์ เพราะหม้อน้ำจะช่วยระบายความร้อนในการทำงานของเครื่องยนต์ให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง น้ำที่ใช้เติมหม้อน้ำก็ให้ใช้น้ำที่ใสสะอาดธรรมดาไม่มีตะกอน อย่างเช่น น้ำประปาทั่วไป สามารถผสมน้ำยารักษาหม้อน้ำลงไปด้วยได้ เพื่อเป็นสารช่วยในการบำรุงรักษาไม่ให้หม้อน้ำเกิดสนิม ลดการกัดกร่อน และยังช่วยให้เครื่องเย็นเร็ว
173.. พัดลมและสายพานจะทำหน้าที่สัมพันธ์กัน เมื่อสายพานหมุนพัดลมก็จะทำงานด้วยเพื่อทำหน้าที่เป่าลมไปยังหม้อน้ำเป็นการระบายความร้อนหากสายพานเกิดการชำรุดจนขาดใช้การไม่ได้จะทำให้พัดลมไม่หมุนและน้ำมีความร้อนสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเราจึงควรตรวจเช็คสายพานอยู่เสมอ
174.. หากพบว่าสายพานเก่าหรือเกิดการชำรุดให้รีบถอดเปลี่ยนทันที เพราะอาจจะไปขาดกลางทางได้
175. ถ้าพบว่าสายพานขาดขณะที่ใช้รถและหม้อน้ำมีความร้อนสูงห้ามเปิดฝาหม้อน้ำเติมน้ำโดยเด็ดขาด เพราะไอน้ำร้อนจะพุ่งกระจายออกมาเป็นอันตรายจนถึงขั้นเสียโฉมได้ ควรรอให้เครื่องเย็นเสียก่อน ที่สำคัญควรมีสายพานสำรองเอาไว้ในรถเพื่อเปลี่ยนได้ทันทีด้วย อาจจะเป็นสายพานเก่าที่เปลี่ยนออกก็ได้
176. การเปลี่ยนไส้กรองอากาศ ถอดฝาครอบหม้อกรองอากาศออก ถอดไส้กรองอากาศตัวเก่าออก ใช้ผ้าหมาด ๆ เช็ดทำความสะอาดภายในหม้อกรอง วางไส้กรองอากาศตัวใหม่ลงไปในหม้อกรองอากาศปิดฝาครอบหม้อกรองอากาศกลับเข้าที่แล้วขันน็อตทั้งหมดให้แน่น
177.. ไส้กรองน้ำมัน ไส้กรองน้ำมันเบนซินและดีเซลควรจะเปลี่ยนทุก ๆ 1 ปี หรือ20,000 กิโลเมตร อย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อมาถึงก่อนหรือเปลี่ยนมือท่านสงสัยว่าไส้กรองตัน เนื่องจากระบบการเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันมีความยุ่งยาก ควรทำโดยช่างเทคนิคของศูนย์หรือช่างตามอู่ต่างๆ ที่มีความชำนาญงาน ไส้กรองอาจจะถูกเปลี่ยนก่อนกำหนดถ้าพบว่ามีสิ่งสกปรกติดมาในน้ำมันที่เติม
178. การดูแลจานจ่ายและหัวเทียน (เครื่องเบนซิน)การตรวจสอบจานจ่ายควรทำทุก ๆ10,000 กิโลเมตร หรือตามที่บอกไว้ในหนังสือคู่มือรถของท่าน ซึ่งช่างจะทำการตรวจสอบอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็นส่วนประกอบของจานจ่ายด้วย อย่างเช่นปั้มเร่งน้ำมัน คอนเดนเซอร์ หน้าทองขาว การตั้งไทม์มิ่งจุดระเบิด
179. การเปลี่ยนหัวเทียนควรเปลี่ยนทุก ๆ 1 ปี หรือใช้งานไปได้ประมาณ 20,000กิโลเมตร ในส่วนของการปรับเขี้ยวหัวเทียนควรปรับทุก 6 เดือน หรือเมื่อใช้งานประมาณ 10,000กิโลเมตร เพราะเมื่อใช้งานไปนาน ๆ เขี้ยวหัวเทียนจะสึกหรอจากการเผาไหม้จึงต้องมีการปรับ
180 . เพื่อความเรียบร้อยและสมบูรณ์ของหัวเทียน ตรวจสอบระยะเขี้ยวหัวเทียนปรับแต่งตามคำแนะนำในหนังสือคู่มือ ใช้กระดาษทรายปลายมีดทำความสะอาดเขม่าที่ติดอยู่ตามขั้วหัวเทียน หากเขี้ยวหัวเทียนเปียกชื้นด้วยน้ำมันหล่อลื่น แสดงว่าระบบควบคุมน้ำมันหล่อลื่นบกพร่องให้ปรึกษาช่างจะดีที่สุด
181.. การทำงานของคอยล์จุดระเบิด คอยล์จะมีหน้าที่หลักคือ แปลงไฟจากแบตเตอรี่ให้เป็นไฟฟ้าแรงสูงเพื่อป้อนให้กับหัวเทียนทำการจุดระเบิดให้รถสตาร์ทติด เมื่อพบปัญหารถสตาร์ทไม่ติดตรวจสอบระบบอื่น ๆ แล้วไม่พบสิ่งผิดปกติให้สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากคอยล์ ควรนำรถเข้าศูนย์เพื่อให้ช่างตรวจเช็คอีกครั้ง การจะตรวจเช็คด้วยตนเองนั้นทำได้เพียงแค่การทำความสะอาดสายคอยล์ และตรวจดูความแน่นของสายขั้วสายไฟ
182. การทำงานของมอเตอร์สตาร์ทหรือไดสตาร์ท มอเตอร์สตาร์ทมีอยู่ 2 แบบ คือแบบเฉลี่ย และแบบขับล่วงหน้า หรือบางที่เราจะเรียกว่า ไดสตาร์ท รถรุ่นใหม่นิยมใช้แบบขับล่วงหน้าหรือได้สตาร์ทกันมากกว่ามอเตอร์สตาร์ทจะทำงานร่วมกับโซลินอยด์ ซึ่งควบคุมกระแสไฟจากแบตเตอรี่ที่ใช้ในการสตาร์ทเครื่องเช่นเดียวกันการตรวจสอบคงจะต้องอาศัยช่างอย่างเดียว
183.. ถ้าเกิดกรณีที่อุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างใดอย่างหนึ่งภายในรถไม่ทำงานสิ่งแรกที่ควรทำก็คือตรวจดูว่าฟิวส์ขาดหรือไม่ โดยการตรวจดูแผนผังที่หน้าหรือฝากล่องฟิวส์ดูว่าฟิวส์ตัวไหนบ้างที่ควบคุมอุปกรณ์ที่ไม่ทำงานให้เช็คฟิวส์เหล่านั้นก่อนแล้วจึงเช็คฟิวส์ตัวอื่น ๆ ที่เหลือ ถ้าเช็คแล้วว่าเกิดจากสาเหตุฟิวส์ขาดก็ให้เปลี่ยนฟิวส์ เมื่อเปลี่ยนเสร็จให้ทดลองเปิดอุปกรณ์ดูว่าทำงานหรือไม่
184. ในกรณีหลอดไฟหน้าขาดจำเป็นต้องเปลี่ยนหลอดไฟใหม่ ส่วนใหญ่หลอดไฟที่ใช้ในรถยุคปัจจุบันจะเป็นหลอดไฟแบบ “ฮาโลเจน” เพราะจะให้ความส่องสว่างที่ดีกว่า ในการเปลี่ยนหลอดไฟชนิดนี้ให้ใช้มือจับเฉพาะส่วนฐานที่เป็นโลหะเท่านั้น ห้ามจับส่วนที่เป็นหลอดแก้วและโปรดระวัง แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ บังเอิญไปจับโดนบริเวณหลอดแก้วให้ใช้ผ้าสะอาดชุบแอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาด เพราะหลอดไฟฮาโลเจนตัวหลอดจะมีความร้อนสูงมากเมื่อโดนคราบไขมันจะทำให้หลอดร้อนจัดมากขึ้นหลอดนั้นอาจแตกได้
185.. น้ำมันเบรกจะมีขายอยู่ตามปั้มน้ำมันทั่วไป คุณภาพมาตรฐานอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน ไม่แตกต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับท่านมากกว่าว่าต้องการหรือชอบยี่ห้อไหน หรืออาจจะดูตามมาตรฐานของคู่มือรถที่บอกมาก็ได้
186. การตรวจสอบน้ำมันเบรกนั้นทำได้ง่ายเพียงแค่มองด้วยตาเปล่าเพราะบริเวณกระปุกน้ำมันเบรกที่อยู่ในห้องเครื่องยนต์จะมีขีดบอก MAX หมายถึงสูงสุด MIN หมายถึงต่ำสุด ต้องตรวจเช็คเสมอ เพราะถ้าหากปล่อยให้น้ำมันเบรกแห้งหรือรั่วออกไปจนหมดหรือเหลือน้อย การเบรกจะไม่มีประสิทธิภาพอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ น้ำมันเบรกควรจะเปลี่ยนทุก ๆ 1 ปี หรือ 20,000กิโลเมตร แล้วแต่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่งจะมาถึงก่อน
187. น้ำมันเบรกจะสามารถทำปฏิกิริยากับสีรถได้ ในการเติมน้ำมันเบรกพยายามอย่าทำน้ำมันเบรกหกหรือหยดลงบริเวณตัวถัง หรือถ้าเลี่ยงไม่ได้ให้รีบเช็ดให้แห้งทันที อย่าปล่อยทิ้งไว้นานเพราะจะทำให้สีรถถลอกได้และห้ามวางขวดน้ำมันเบรกบนฝากระโปรงรถเด็ดขาด
188. น้ำมันเบรกที่ใช้ควรจะอยู่ในเกรดเดียวกัน ห้ามเติมข้ามเกรดเป็นอันขาด อีกทั้งให้เช็คถึงคุณสมบัติว่าสามารถใช้ได้นานเท่าไหร่ถึงจะได้เวลาในการถ่ายน้ำมันเบรกเก่าออก แล้วเติมน้ำมันเบรกใหม่เข้าไป ในการถ่ายน้ำมันเบรกเก่าออก แล้วเติมน้ำมันเบรกใหม่เข้าไป ในการถ่ายน้ำมันเบรกควรใช้บริการช่างจะดีกว่าโดยจะไปตามปั้มที่ให้บริการถ่ายน้ำมันหรือศูนย์ต่าง ๆ ก็ได้
189. เบรกมือหรือเบรกจุดที่ 2 ที่มีติดอยู่ภายในรถยนต์ ซึ่งเบรกมือนี้จะใช้เฉพาะในเวลาที่รถจอดหยุดนิ่งสนิท หรือในเวลาที่รถติดและรถขึ้นสะพานทางลาดชัน ระบบเบรกมือจะมีระบบกลไกที่ใช้ล็อคล้อหลังไม่ให้เคลื่อนที่ บริเวณที่ตั้งของเบรกมือจะอยู่ที่บริเวณเกียร์หรือถัดลงมาด้านล่าง(สำหรับรถเก๋ง) แต่พวกรถกระบะรุ่นเก่าจะอยู่บริเวณด้านล่างพวงมาลัยทางซ้ายมือ
190. การดูแลเบรกมือคงไม่มีอะไรมาก มีแต่เพียงในเวลาที่ใส่เบรกมือแล้วจะขับรถออกไปให้ปลดเบรกมือลงก่อนทุกครั้ง จะสังเกตุได้จากไฟสีแดงที่เป็นสัญลักษณ์ที่หน้าปัดรถว่าในขณะนี้เราใส่เบรกมือรถอยู่ ถ้าเราปลดเบรกมือลงไฟที่หน้าปัดก็จะหายไป
191. แต่ถ้าเราลืมปลดเบรกมือรถในบางรุ่นก็สามารถเคลื่อนตัวไปได้แต่รถก็จะฝืด ๆ เร่งไม่ค่อยขึ้นและผลกระทบที่ตามมาก็คือ ระบบเบรกทางด้านหลังจะเสียหายได้ สำหรับรถยนต์ในบางรุ่นถ้าไม่ปลดเบรกมือลงรถยนต์ก็จะวิ่งไม่ได้ จนกว่าจะปลดเบรกมือลงให้เรียบร้อย
193. สำหรับการตรวจสอบคลัตซ์และเกียร์ควรจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของช่างจะดีที่สุดเพราะในส่วนภายในจะมีความสลับซับซ้อนต้องอาศัยความรู้ความชำนาญของช่าง
194.เราสามารถตรวจเช็คคลัตซ์ได้ก็คือ การสังเกตุสิ่งผิดปกติ อย่างเช่น เมื่อพบว่าคลัตซ์แข็ง เหยียบคลัตซ์ต้องใช้แรงมาก มีกลิ่นเหม็นไหม้ออกมาจากคลัตซ์ (และเบรก) มีเสียงดัง เสียงโลหะกระทบกันเมื่อเหยียบคลัตซ์ยกขาออกเสียงก็จะหาย เข้าเกียร์ยาก ถ้าพบว่ามีอาการเช่นนี้ก็ให้รีบเตรียมแจ้งรายละเอียดให้ช่างทราบเพื่อการแก้ไขได้ถูกจุด
195.ในการเช็คน้ำมันเกียร์จะต้องทำหลังจากที่ดับเครื่องยนต์เป็นเวลา 2 นาที โดยการใช้แม่แรงยกรถขึ้นและรถจะต้องอยู่ในระดับเดียวกัน จากนั้นให้ถอดนอตเติมน้ำมันออก ระดับน้ำมันเกียร์จะต้องอยู่เสมอขอบล่างของรูเติมน้ำมัน ให้สอดนิ้วมือเข้าไปในรูเติมน้ำมันดูว่าได้ระดับหรือไม่ ถ้าไม่ได้ระดับให้เติมน้ำมันเกียร์ช้า ๆ จนกระทั่งน้ำมันเกียร์เริ่มไหลออกจากรูเดิมใส่นอตเติมน้ำมันกลับเข้าที่และขันให้แน่น
196. น้ำมันที่ใช้กับเกียร์ธรรมดาต้องเป็นน้ำมันเครื่องชนิด SF หรือ SG ที่มีความหนืด20W-40 หรือ 20W-50 เท่านั้น และควรถ่ายน้ำมันเกียร์ธรรมดาทุก ๆ 1 ปี หรือ 20,000กิโลเมตร เมื่ออย่างใดอย่างหนึ่งมาถึงก่อน (ที่กล่าวมานี้สำหรับรถบางรุ่นที่ไม่มีกระปุกเช็คน้ำมันเกียร์บริเวณห้องเครื่องยนต์)
197. ในรถยนต์บางรุ่นจะมีกระปุกน้ำมันเกียร์อยู่ภายในห้องเครื่องทำให้ตรวจสอบระดับน้ำมันเกียร์ได้ง่าย กระปุกน้ำมันเกียร์จะคล้ายกับกระปุกน้ำมันเบรกแต่จะเล็กกว่ามีขีดบอกระดับMAX สูงสุด MIN คือ ต่ำสุด เช่นเดียวกัน ซึ่งน้ำมันเกียร์จะต้องอยู่ในระดับสูงสุดเสมอ ถ้าต่ำลงมามากก็ให้เติมน้ำมันเกียร์กลับลงไป
198.. การเช็คระดับน้ำมันเกียร์อัตโนมัติจะตรงกันข้ามกับเกียร์ธรรมดาคือจะต้องเช็คในเวลาที่อุ่นเครื่องยนต์ได้สักพักแล้วโดยให้นำรถเข้าจอดบนพื้นที่ได้ระดับแล้วจึงค่อยดับเครื่องยนต์ ดึงก้านวัดน้ำมันเกียร์ออกมาจากตัวเกียร์ แล้วใช้ผ้าสะอาดเช็ดก้านวัด เสียบก้านวัดน้ำมันกลับเข้าที่แล้วดึงออกมาอีกครั้ง (ทำเช่นเดียวกับวัดระดับน้ำมันเครื่อง) เช็คระดับน้ำมันเกียร์ที่ก้านวัด ระดับน้ำมันเกียร์ควรจะอยู่ระหว่างขีดบนและขีดล่าง ถ้าระดับน้ำมันอยู่ต่ำกว่าขีดล่างให้เติมน้ำมันจนอยู่ในระดับขีดบนให้ใช้น้ำมันเกียร์อัตโนมัติสูตรพิเศษของยี่ห้อรถยนต์ท่านเท่านั้น
199.ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์อัตโนมัติทุก ๆ 1 ปี หรือ 20,000 กิโลเมตรเมื่ออย่างใดอย่างหนึ่งมาถึงก่อน ควรดูแลน้ำมันเกียร์ให้สม่ำเสมอ เพราะราคาซ่อมเกียร์แพงมาก
200. การเติมลมยาง ในการบำรุงรักษายางนั้นวิธีที่จะเหมาะที่สุดคงจะเป็นการรักษาระดับของลมยางให้มีแรงดันลมที่ถูกต้องอยู่เสมอ เพราะเป็นสิ่งที่สำคัญมาก แรงดันลมในยางทั้ง 4ล้อจะมีกำหนดมาให้ในคู่มือที่ติดมากับรถ ว่าล้อหน้าต้องเติมกี่ปอนด์ ล้อหลังเติมกี่ปอนด์ต่อตารางนิ้ว วิธีที่ดีที่สุดก็คงจะต้องเติมตามคู่มือที่ให้มา





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow