INSURANCETHAI.NET
Sat 23/11/2024 16:27:12
Home » ประกันภัย(ประกันวินาศภัย) » หลักการสำคัญของการประกันภัย\"you

หลักการสำคัญของการประกันภัย

2015/11/19 8073👁️‍🗨️

หลักการสำคัญของการประกันภัย
1. หลักการมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัย (INSURABLE INTEREST)
คือ หลักสำคัญพื้นฐานของการประกันภัย เพื่อเป็นการป้องกันมิให้มีการจงใจ เจตนาทำให้เกิดความเสียหายกับสิ่งที่เอาประกันภัย หรือ การทุจริตเพื่อหวังผลประโยชน์จากการประกันภัย จึงกำหนดให้ผู้เอาประกันภัยต้องมีส่วนได้เสียในสิ่งที่เอาประกันภัย
ผู้มีส่วนได้เสียในการประกันภัยมี 5 ประเภท
1. ผู้เป็นเจ้าของ (OWNERSHIP)
2. ผู้เป็นเจ้าหนี้ (CREDITOR)
3. ผู้เป็นตัวแทนของเจ้าของ (REPRESENTATIVE OF OWNER)
4. ผู้มีส่วนได้เสียอันเกิดจากสัญญา (INTEREST ARISING FROM CONTRACT)
5. ผู้มีส่วนได้เสียอันเกิดจากความรับผิดทางกฎหมาย (ONE WHO IS LEGALLY LIABLE)

2. หลักแห่งความสุจริตอย่างยิ่ง (UTMOST GOOD FAITH)
ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ต้องเปิดเผยความจริงเกี่ยวกับรายละเอียดที่จำเป็น สภาวะแวดล้อม และพฤติกรรมความเสี่ยงภัย เพื่อให้ผู้รับประกันภัยมีข้อมูลเพียงพอที่จะพิจารณาว่าควรรับประกันภัยหรือ ไม่ อย่างไร เพราะผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายทราบข้อมูลที่เอาประกันภัยเพียงฝ่ายเดียว ในขณะที่ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดชอบความเสียหายหากเกิดเหตุที่รับประกัน ภัยไว้ในอนาคต
การปฏิบัติตามหลักสุจริตใจมี 3 ประการ
1.การเปิดเผยข้อความจริง (DISCLOSURE) หมายถึง
การ เปิดเผยข้อความจริงอันเป็นสาระสำคัญในการพิจารณารับประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยทราบดีอยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นว่ามีการตามหรือไม่ มิฉะนั้นอาจมีผลให้สัญญาตกเป็นโมฆียะ
2. การไม่แถลงข้อความเท็จ (NON MISREPRESENTATION) หมายถึง
การ ที่ผู้เอาประกันภัยต้องตอบข้อถามของฝ่ายผู้รับประกันภัยให้ครบถ้วนตรงตาม ความเป็นจริงไม่ว่าจะเป็นโดยทางวาจาหรือลายลักษณ์อักษร มิฉะนั้นอาจมีผลให้สัญญาตกเป็นโมฆียะ
3.การให้คำรับรอง (WARRANTY) หมายถึง
การที่ผู้เอาประกันภัย ให้คำรับรองต่อผู้รับประกันภัยว่า จะปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติ
ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเคร่งครัด เพื่อประโยชน์ในเรื่องของความเสี่ยงภัยที่เอาประกันภัยไว้ หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ให้คำรับรองไว้ และเกิดเหตุขึ้น อาจมีผลให้ผู้รับประกันภัยปฏิเสธความรับผิดได้

3. หลักการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามจริง (PRINCIPLE OF INDEMNITY)
เป็น การป้องกันมิให้ผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์หวังผลกำไรจากการเกิดเหตุที่เอา ประกันภัยไว้ จึงกำหนดให้ผู้รับประกันภัย ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามความเสียหายที่ เกิดขึ้นจริงเท่านั้น

การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนมี 4 วิธี
1. การจ่ายเป็นตัวเงิน (CASH PAYMENT)
2. การซ่อมแซม (REPAIR) เป็นการซ่อมแซมความเสียหายบางส่วนให้คืนสภาพเดิม
3. การหาของแทน (REPLACEMENT) เป็นการหาของทดแทนในชนิดและคุณภาพ เท่าเทียมกัน
4. การกลับคืนสภาพเดิม (REINSTATEMENT) เป็นการจัดการให้มีสภาพและ ยังประโยชน์ได้เหมือนก่อนเกิดเหตุ เช่น สร้างให้ใหม่

4. หลักการเฉลี่ย (DOCTRINE OF CONTRIBUTION)
เป็นหลักการมีส่วนร่วมในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยทำประกันภัยไว้ตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไป

การร่วมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนทำได้3วิธี
1. ชดใช้เท่าๆ กัน (BY EQUAL SHARE)
2. ชดใช้ตามอัตราส่วนของการรับประกันภัย (BY PRO RATA)
3. ชดใช้ตามลำดับของการรับประกันภัย (BY PRIMARY AND EXCESS INSURANCE)

5.หลักการรับช่วงสิทธิ์ (PRINCIPLEOFSUBROGATION)
การรับช่วงสิทธิ์ หมายถึง การที่ผู้รับประกันภัยเข้าไปใช้สิทธิ์แทนผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ ในการเรียกร้องค่าสินไหมจากบุคคลภายนอกผู้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งที่ เอาประกันภัย เท่ากับจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ได้จ่ายให้ไปแล้วตามสัญญาประกันภัยเป็นหลักการที่ช่วยป้องกันมิให้เกิดการเรียกร้องค่าสินไหมซ้ำซ้อน
หลักการรับช่วงสิทธิ์ ใช้เฉพาะกับการประกันวินาศภัยและเฉพาะกับภัยที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เท่านั้น โดยผู้ก่อเหตุต้องมิใช่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์

6. หลักสาเหตุใกล้ชิด (DOCTRINE OF PROXIMATE CAUSE)
เป็นหลักการที่กำหนดให้ผู้รับประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนกรณีเกิดความเสียหายจากสาเหตุใกล้ชิดกับภัยที่มีการเอาประกันภัยไว้
สาเหตุใกล้ชิด หมายถึง เหตุที่เกิดขึ้นจากผลโดยตรงของการเกิดภัยที่เอาประกันภัยไว้และเป็นการเกิด ขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยตลอดไม่มีการขาดตอน ซึ่งหากไม่เกิดภัยนั้น เหตุใกล้ชิดก็จะไม่เกิดขึ้น

principles-of-insurance





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow