INSURANCETHAI.NET
Sun 22/12/2024 12:02:27
Home » ความรู้รถยนต์ » รถเกียร์ออโต ติดไฟแดงเข้าเกียร์ว่าง(N),หรือ P หรือคาเกียร์ D แบบไหนดีกว่ากัน\"you

รถเกียร์ออโต ติดไฟแดงเข้าเกียร์ว่าง(N),หรือ P หรือคาเกียร์ D แบบไหนดีกว่ากัน

2015/05/02 1342👁️‍🗨️

รถเกียร์ออโต ติดไฟแดงเข้าเกียร์ว่าง(N),หรือ P หรือคาเกียร์ D แบบไหนดีกว่ากัน

บางคนบอกว่าเหยียบเบรกคาเกียร์ D เอาไว้เถอะ เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาระหว่างเกียร์ N และเกียร์ D เดี๋ยวเกียร์จะพังซะเปล่าๆ
บางคนบอกว่า ติดสัญญาณไฟจราจรนานๆ เกินกว่า 30 วินาที ให้ยัดเกียร์ออโตไปที่ตำแหน่งเกียร์ว่างหรือเกียร์ N แล้วดึงเบรกมือป้องกัน

รถไหลโดยไม่ตั้งใจ ยัดเกียร์ D เหยียบเบรกเอาไว้มันทั้งอันตรายและทำให้เกียร์สึกหรอเร็วกว่าปกติ

เน้นไปที่ความปลอดภัยในการใช้รถยนต์เกียร์อัตโนมัติ
เมื่อเข้าเกียร์ D แล้วเหยียบเบรกเอาไว้เพื่อรอสัญญาณไฟเขียว (ซึ่งบางแห่งนานมาก) ถึงแม้รถจะหยุดนิ่ง แต่ก็มีความเสี่ยงอาจทำให้เกิด

อุบัติเหตุ จากความเผอเรอเมื่อน้ำหนักเท้าขวาที่กดลงไปบนแป้นเบรก เพียงแค่ผ่อนน้ำหนักที่แป้นเบรกนิดเดียว เกียร์ออโตที่ใส่ตำแหน่ง D
หรือตำแหน่งของการขับเคลื่อนก็พร้อมที่จะทำให้รถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าทันที ไหลไปเสยท้ายรถคันอื่นแบบไม่ได้ตั้งใจ ทำให้คุณต้องเสีย
เงินเสียเวลา หากสภาพการจราจรเข้าขั้นจลาจล ติดหนักหนาสาหัสนานหลายนาที การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์จาก D มายังตำแหน่ง N หรือ
ตำแหน่งของเกียร์ว่างพร้อมๆ กับการใช้เบรกมือจะช่วยทำให้คุณใช้รถได้อย่างปลอดภัย

การเปลี่ยนเกียร์ออโตจากตำแหน่งเกียร์ D ไปยังตำแหน่งเกียร์ N หรือเกียร์ว่าง
มีผลต่อการสึกหรอของชุดเกียร์ออโต “ไม่มาก” อย่างที่บางคนเข้าใจ ในรถยนต์ที่ใช้ชุดส่งกำลังแบบอัตโนมัติหรือเกียร์ออโต เมื่อยัดเกียร์
ไปที่ตำแหน่งเกียร์ขับเคลื่อนหรือเกียร์ D ชุด Torque Covertor จะถูกเชื่อมเข้ากับชุดฟลายวีลที่ยึดโยงระหว่างเครื่องยนต์กับเกียร์ทันที

แต่จากการที่คุณเหยียบเบรกเอาไว้เพื่อป้องกันการเคลื่อนที่ไม่ให้รถขยับขับเคลื่อนเนื่องจากมีแรงเบรกมากพอที่จะเอาชนะแรงบิดจาก
เครื่องยนต์ที่ส่งผ่านมายังเกียร์ซึ่งยังไม่มีแรงบิดมากพอ เพราะเครื่องยนต์อยู่ในรอบเดินเบา การเหยียบเบรกพร้อมกับใส่เกียร์ D จึง
สามารถทำให้รถหยุดนิ่งอยู่กับที่ได้ เกียร์ซึ่งกำลังหมุนในตำแหน่งขับเคลื่อนหรือเกียร์ D แต่โดนระบบห้ามล้อหรือเบรกมาหยุดเอาไว้ กับ
การใส่ตำแหน่งเกียร์ว่างหรือเกียร์ N ควบคู่ไปกับการดึงคันเบรกมือคาไว้จนกว่าจะได้สัญญาณไฟเขียว อย่างไหนจะสึกหรอพังเร็วมากกว่า
กันสำหรับท่านที่มีภูมิปัญญาก็น่าจะมีความเข้าใจในจุดนี้ได้อย่างชัดเจน

ระบบเกียร์อัตโนมัติ ทั้งเกียร์สายพาน CVT หรือเกียร์แบบทอร์คคอนเวอร์เตอร์ฟันเฟืองนั้นมีระบบหล่อลื่นด้วยน้ำมันเกียร์พร้อมแรงดันใน
ระบบที่จะส่งถ่ายของเหลวหล่อลื่นไปทั่วเพื่อลดการสึกหรอและใช้หล่อลื่นกลไกภายใน การเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาระหว่างเกียร์ D และเกียร์ N
ในเกียร์อัตโนมัติยุคใหม่ ไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้เกียร์พังเร็วกว่า
กำหนดอย่างแน่นอน อยากจะบอกว่ารถส่วนตัวของผมมีอายุกว่า 18 ปีแล้ว เกือบทุกครั้งที่ติดสัญญาณไฟจราจรนานๆ เกิน 30 วินาที ผมจะ
ขยับจาก D ไปที่ N แล้วดึงเบรกมือคาเอาไว้จนกว่าจะได้สัญญาณไฟเขียวแล้วค่อยเหยียบเบรก ปลดเบรกมือแล้วเลื่อนคันเกียร์ไปยัง
ตำแหน่ง D พร้อมกับค่อยๆ ยกเท้าขวาออกจากแป้นเบรก เกียร์ออโตที่รับใช้มานานตั้งแต่ออกรถมาเมื่อ 18 ปีก่อน มีการบำรุงดูแลรักษา
เปลี่ยนถ่ายของเหลวน้ำมันเกียร์ทุกๆ 2-3 หมื่นกิโลเมตร ไม่เปลี่ยนเกียร์เล่นบ่อยๆ แบบยัดขึ้นยัดลงหรือขับแบบลากรอบคาเกียร์ต่ำเอาไว้
เพื่อเรียกแรงบิด ไม่พยายามขับลุยน้ำท่วมสูงๆ หรือแทบจะไม่เคยเอาไปลุยน้ำท่วมเลยแม้แต่ครั้งเดียวโดยการใช้งานหลักๆ เกียร์จะอยู่ใน
ตำแหน่ง D แล้วปล่อยให้ชุดทอร์คคอนเวอร์เตอร์ทำงานไปตามสมองกลเกียร์หรือ ECU
เนื่องจากไม่ได้มีบ้านอยู่บนภูเขาที่จำเป็นจะต้องเปลี่ยนเกียร์ขึ้น-ลงบ่อยครั้ง เกียร์ออโต 4 สปีดของค่าย GM ที่ติดมากับรถตั้งแต่ป้ายแดงก็
ยังไม่เคยเกิดปัญหาจนต้องเข้ารับบริการซ่อมแซมแม้แต่ครั้งเดียว

ในระหว่างการขับขี่หากรถหยุดชั่วขณะหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สี่แยกไฟแดง เราควรจะปรับตำแหน่งเกียร์จาก D ที่เราใช้กันอยู่เป็นประจำ
มาสู่ตำแหน่ง N หรือ เกียร์ว่าง ซึ่งจะความคล้ายคลึงกับการใช้งานในรถยนต์เกียร์ธรรมดา หรือไม่?
ระบบเกียร์อัตโนมัติ ถูกผลิตขึ้นมาให้มีตำแหน่งเกียร์ที่สำคัญ คือ P R N D และ บ้างก็จะมีตำแหน่งเกียร์พิเศษขึ้นมาเพื่อสนองตอบต่อการ
ใช้งานเช่น D3 , 2 , และ 1 ซึ่งการมีตำแหน่ง N ที่เท่ากับเกียร์ว่าง ทำให้หลายคนได้รับความเข้าใจมาแบบผิดว่า การเข้าตำแหน่งเกียร์
จะทำให้เกิดการเสื่อมสภาพมากกว่านี้ จะก่อให้เกิดผลต่อการทำงานของระบบเกียร์มากกว่า และวันนี้เรามี 3 เหตุผลที่คุณควรเปลี่ยนเกียร์
มาตำแหน่ง N เมื่อมีโอกาส ตราบเท่าที่คุณมองว่าสมควร

1. ปลอดภัยมากกว่า
ทุกครั้งที่คุณเหยียบเบรกเข้าเกียร์ D แม้รถจะหยุดนิ่ง แต่ก็มีความเสี่ยงสูงมากที่มันจะทำให้คุณเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะในการจราจรติดขัด
ที่คุณอาจจะเผลอเรอได้เพียงแค่คุณผ่อนน้ำหนักที่แป้นเบรก นิดเดียว รถที่อยู่ในตำแหน่ง D ก็พร้อมที่จะเคลื่อนไปข้างหน้าทันที ดังนั้น
หากรถติดขัดสาหัสมากนานหลายนาที การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ มายัง N ย่อมจะทำให้คุณปลอดภัยมากกว่าอย่างปฏิเสธไม่ได้

2. เรื่องสึกหรอ
แม้จะไม่มีข้อพิสูจน์ที่ฟันธงกันไปเลยว่า การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ จากตำแหน่งเกียร์ D ไป N จะมีผลต่อกระบวนการสึกหรอของชุด
เกียร์มากน้อยเพียงใด แต่ข้อเท็จจริงทางด้านเทคนิคในรถยนต์เกียร์อัตโนมัตินั้น คือ ทุกครั้งที่คุณเข้าตำแหน่งเกียร์ขับเคลื่อน ตัวชุด
Torque Covertor จะถูกเชื่อมเข้ากับชุดฟลายวีลที่ด้านหลังเครื่องยนต์
หากแต่ที่รถไม่ขับเคลื่อนนั้น เพราะว่า มีแรงเบรกมากพอที่จะเอาชนะแรงบิดจากเครื่องยนต์ ซึ่งยังไม่มีแรงบิดมากนักที่กำลังเครื่องยนต์รอบ
เดินเบา ทำให้รถหยุดนิ่งกับที่ได้ ซึ่งหมายความว่าทุกครั้งที่คุณเข้าเกียร์ D แล้วเหยียบเบรกไว้ จะมีการใช้งานระบบเบรกอย่างเต็มที่เพื่อ
เอาชนะแรงจากเครื่องยนต์ ซึ่งสามารถสร้างการเสื่อมสภาพให้กับเบรก ได้ในระยะยาวอย่างปฏิเสธไม่ได้ โดยเฉพาะชุดหม้อลมและท่อทาง
เดินน้ำมันที่จะรับแรงดันเป็นเวลานานๆ ต่อเนื่อง
เช่นเดียวกัน การคงตำแหน่งเกียร์ที่ D ในส่วนของตัวเกียร์เองก็ทำให้ชุด Torque convertor ถูกต่อติดกับเครื่องยนต์ตลอดเวลาและ ภาย
ในเจ้าตัวแปลงกำลังเครื่องยนต์นี้ก็มีการหมุนเวียนน้ำมันเกียร์เช่นกัน ซึ่งจุดนี้เองที่ทำมีการถกเถียงกันว่าเกียร์จะเสื่อมสภาพถ้าค้างเป็นเวลา
นานๆ หรือไม่นั่นเอง

ประเด็นที่ถกเถียงกันในเรื่องนี้ ก็มาจากในระบบเกียร์เองมีการใช้แรงดันน้ำมันในการทำงานเช่นกันเพื่อปรับตำแหน่งเกียร์ที่เหมาะสม และมี
แรงดันสูง ซึ่งอาจจะทำอันตรายต่อระบบถ้าเปลี่ยนไปๆมาๆ บ่อยครั้ง ในขณะที่อีกด้านหนึ่งก็มีเหตุผลที่น่าเชื่อถือว่า ถ้าน้ำมันมีการหมุนวน
มากๆ โดยไม่เคลื่อนไหว อาจจะก่อให้เกิดความร้อนสะสม มากขึ้นในน้ำมัน และมันคือศัตรูที่สำคัญ ที่ทำให้ระบบเกียร์เสื่อมสมรรถนะเร็วขึ้น
เช่นกัน รวมถึงในส่วนของระบบคลัทช์ระหว่างเฟืองเกียร์ด้วย ที่จะพร้อมทำงานตลอดเวลา ซึ่งจะเห็นได้ว่าไม่ว่าอย่างไรก็มีการเสื่อม
สมรรถนะได้ทั้งสิ้น

**ดังนั้นในเรื่องนี้ถ้ามองแล้วต้องมาพบกันตรงกลาง คือถ้าคิดว่ารถติดเวลานานมาก สาหัสมากก็ให้เปลี่ยนตำแหน่งจาก D มา N น่าจะดี
กว่า และเช่นเดียวกัน ถ้าตัวเลขเวลารอที่สี่แยกไม่ได้นานอย่างที่คิด ก็คงค้างที่ตำแหน่งเดิมแล้วเหยียบเบรกเอาก็น่าจะดีกว่าเช่นกัน ซึ่งทั้ง
หมดต้องอยู่ภายใต้ดุลพินิจของผู้ขับขี่

3. เรื่องความประหยัด
เรื่องของความประหยัดในการใช้น้ำมันของเครื่อง ระหว่างการเปลี่ยนตำแหน่งหรือไม่เปลี่ยน เรื่องนี้อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับชุด
เกียร์ แต่ก็อธิบายไม่ยาก และสามารถตอบได้จากเหตุผลข้อที่แล้วว่า ทุกครั้งที่เราเข้าเกียร์ D เหยียบเบรกแล้วรถไม่เคลื่อนมาจากการ
กำลังเบรกต้านไว้ มันก็คือการที่เราสั่งรถเดินหน้าอยู่ตลอดเวลา
ทั้งที่ความจริงเราไม่ได้จะเดินหน้า ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของเครื่องยนต์ โดยตรงเพราะในรถบางรุ่นจะมีการปรับการทำงานเครื่องยนต์ให้
สูงขึ้นอีกเล็กน้อยเพื่อความสะดวกและให้กำลังของการออกตัว และมันหมายถึงการสิ้นเปลืองน้ำมันนั่นเอง โดยเฉพาะเมื่อเครื่องยนต์
พยายามที่จะสู้กำลังเบรกอย่างต่อเนื่องยิ่งทำให้มีความต้องการเร่งในช่วงสั้นๆบ่อยครั้ง ซึ่งคุณสามารถสังเกตได้ว่าเมื่อเข้าเกียร์จะมีการใช้
รอบเครื่องยนต์ที่สูงกว่าตอนที่เราไม่เข้าเกียร์ D หรืออยู่ในตำแหน่งเกียร์ N
แม้การปรับตำแหน่งเกียร์ N ไป D จะมีข้อดีและเสียต่างกัน แต่การเปลี่ยนตำแหน่งนี้ ก็ยืนยันว่ามันไม่สร้างความสึกหรอเท่ากับ การ
เปลี่ยนตำแหน่งกับสู่เกียร์ P ไปมาเป็นประจำที่รถหยุดซึ่งบางคนมักทำติดเป็นนิสัย หากแต่ไม่ว่าวันนี้คุณจะมีเหตุผลอะไร ทางออกที่ดีใน
การถนอมชุดเกียร์และปลอดภัยที่สุด ในการขับขี่เพื่อป้องกันไม่เผลอเรอ คือการปรับตำแหน่งเกียร์ไปที่ N เมื่อรถติดเป็นเวลานานๆ แต่ทั้ง
นี้ทั้งนั้นส่วนที่สำคัญที่สุดคือคุณในฐานะผู้ขับขี่ต้องตัดสินใจว่าเมื่อไรควรจะปรับเข้าสู่ N





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow