ผู้รับผลประโยชน์จากการทำประกันชีวิต เป็นใคร?
ผู้ที่จะรับผลประโยชน์จากการทำประกันชีวิต เป็นใครก็ได้
ตามกฎหมายระบุว่า ไม่จำเป็นต้องเป็นญาติ หรือผู้ที่เกี่ยวดองทางสายเลือด
ขึ้นอยู่กับ 2 ฝ่ายที่จะทำข้อตกลงร่วมกัน ระหว่างฝ่ายผู้ทำประกัน กับบริษัทรับทำประกัน
ส่วนใหญ่บริษัทประกันจะไม่นิยมให้ผู้ทำประกันยกผลประโยชน์ให้แก่ผู้ที่ไม่ใช่ญาติ เพราะกลัวปัญหาฆาตกรรมเพื่อหวังเงินประกัน
ผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์ประกันชีวิต คือบุคคลที่จะได้รับสินไหมทดแทน หรือรับจำนวนเงินใช้ให้
ผู้รับประโยชน์ไม่ใช่คู่สัญญาโดยตรงในสัญญาประกันชีวิต แต่เข้ามาเกี่ยวข้องในสัญญาด้วยเพียงในฐานะผู้รับค่าสินไหมทดแทน
ปกติผู้เอาประกันภัยเป็นผู้รับประโยชน์คนแรกโดยอัตโนมัติ แต่ในบางกรณีที่จำเป็นต้องมีผู้อื่นมารับสินไหมแทน จึงได้กำหนดให้ระบุผู้รับประโยชน์ เช่น ในกรณีผู้เอาประกันภัยมรณกรรม เป็นต้น
หน้าที่ของผู้รับประโยชน์ มีดังนี้
กรณีผู้เอาประกันเสียชีวิต ผู้รับประโยชน์จะต้องแจ้งให้บริษัททราบโดยเร็วที่สุด ถ้าช้าเกินกว่า 15 วัน จะต้องมีเหตุพิสูจน์ว่าทำไมจึงแจ้งช้า
ต้องเป็นผู้รวบรวมเอาเอกสารเกี่ยวกับการมรณกรรมไปมอบบริษัท เช่น ใบมรณะบัตร สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน ใบรับรองแพทย์ เป็นต้น
ต้องให้ความร่วมมือในการพิสูจน์ศพ กรณีถูกฆาตกรรม หรือ อุบัติเหตุ
ในทางทฤษฎี ผู้เอาประกันภัยจะให้ผู้ใดเป็นผู้รับประโยชน์ก็ได้ แต่ในทางปฎิบัติบริษัทประกันชีวิตจะกำหนดให้ผู้เอาประกันภัย และผู้รับประโยชน์จะต้องมีความผูกพัน ซึ่งจะเน้นไปที่การเป็นสายโลหิต หรือเป็นครอบครัว เช่น บิดา มารดา และบุตร เป็นหลักสำคัญ
หากเป็นบุคคลอื่นนอกจากที่กล่าวไว้ จะต้องแสดงหลักฐาน หรือแจ้งสาระของความผูกพันให้บริษัทพิจรณา
ที่บริษัททำการกวดขันเช่นนี้ ก็เพื่อรักษา หรือผดุงไว้ซึ่งศีลธรรม เพราะมีการหวังผลประกันภัยด้วยการฆาตกรรมผู้เอาประกันภัย ซึ่งมักจะปรากฎบ่อยครั้งแม้ในประเทศที่เจริญ และมีความนิยมการทำประกันภัยเป็นจำนวนมากกว่าประเทศไทยถึงร้อยเท่าก็ตามที
ผู้รับประโยชน์เสียชีวิตก่อนผู้เอาประกันภัย จะเป็นอย่างไร?
สัญญาประกันภัยจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ผู้เอาประกันภัยสามารภทำเรื่องเปลี่ยนแปลงผู้รับประโยชน์ได้ หากไม่ทำอะไร กรมธรรม์ก็ไม่มีการระบุตัวผู้รับประโยชน์ หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในเวลาต่อมา ผลประโยชน์ก็จะตกสู่กองมรดก บริษัทประกันภัยไม่สามารถริบไว้ได้