INSURANCETHAI.NET
Sat 18/01/2025 15:02:34
Home » กรุงเทพประกันชีวิต » กรุงเทพประกันชีวิต เปลี่ยนแปลง วันหักบัญชีเงินฝาก เพื่อชำระเบี้ยประกัน\"you

กรุงเทพประกันชีวิต เปลี่ยนแปลง วันหักบัญชีเงินฝาก เพื่อชำระเบี้ยประกัน

2019/11/22 2045👁️‍🗨️

กรุงเทพประกันชีวิตเปลี่ยนแปลงวันหักบัญชีเงินฝากธนาคารเพื่อชำระเบี้ยประกันภัย

หลักเกณฑ์การส่งข้อมูลหักบัญชีเงินฝากธนาคารแบบใหม่ กรุงเทพประกันชีวิต
อ้างอิงตามวันที่ทำประกันภัย แทนจากเดิมที่อ้างอิงตามธนาคารที่ลูกค้าใช้ในการหักบัญชี

เรื่องการหักเบี้ยประกันชีวิต จากธนาคาร
กรุงเทพประกันชีวิต เปลี่ยนวันที่หักบัญชีธนาคารเพื่อชำระเบี้ยประกัน
จากเดิม การหักบัญชีธนาคารเพื่อชำระเบี้ยประกัน จะยึดถือเอาธนาคารที่ใช้ในการหัก เป็นหลัก หรือ หักตามวันที่กำหนดของแต่ละธนาคาร โดยทุกกรมธรรม์ จะหัก วันเดียวกัน หากใช้ธนาคารเดียวกัน โดยหากยังไม่ถึงวันครบกำหนด ก็จะผ่อนผันให้แล้วหักรอบต่อไปแทน เปลี่ยนเป็น หักตามวันครบกำหนดของกรมธรรม์ โดยไม่สนใจว่าเป็นธนาคารไหน

Ex ลูกค้าที่ใช้ธนาคารกรุงเทพในการหักเบี้ยประกันภัย

เดิมที กรุงเทพประกันชีวิต หักบัญชีเงินฝาก เพื่อจ่ายค่าประกันชีวิต ทุกวันที่ 8 ของเดือน(สำหรับลูกค้าที่ใช้ธนาคารกรุงเทพในการหักบัญชี) ไม่ว่าลูกค้าจะทำประกันวันใดก็ตาม ในเดือนใดๆ(วันครบกำหนด สามารถดูได้จากกรมธรรม์) โดยถ้ายังไม่ถึงรอบ ก็จะไปหักหลังวันครบกำหนด (หรือ วันคุ้มครอง, วันทำประกัน) จะไม่หักก่อนเพราะ เป็นการเอาเปรียบลูกค้า เนื่องจากต้องจ่ายเบี้ยก่อน นั่นเอง

ดังนั้น จะมีลูกค้าเพียงประมาณ 3.3% เท่านั้นที่หักตรงวัน (100คน ทำประกันกระจ่ายกันเฉลี่ยใน 30 วันของเดือน) ที่เหลือ 96.7% ได้ความคุ้มครองก่อนในขณะที่ยังไม่ชำระเบี้ย

ปัญหาที่ตามมาคือ ถ้าต้องเคลมประกันในช่วงวันดังกล่าวจะต้องจ่ายเงินสดเข้าไป หรือ ให้ตัวแทนรับรอง ตอนหลังบริษัทใช้ CV ในกรมธรรม์ เพื่อให้มั่นใจว่ามีเงินจ่ายแน่ๆ ถ้า CV ถึง

ปัญหาใหญ่อีกอย่าง คือ ทำให้ลูกค้าสับสน ตัวแทนต้องอธิบายแล้วเขียนภาพประกอบ บางครั้งการไปเก็บเบี้ยประกันที่ลูกค้าค้างชำระ การอธิบายความค่อนข้างยาก ลูกค้าหลายรายไม่เข้าใจ กลายเป็นเข้าใจว่าตัวแทน เอาเงินไป อะไรแบบนั้น

ตัวอย่าง SMS แจ้งให้ลูกค้าทราบ
เนื่องด้วยกรุงเทพประกันชีวิต ได้เปลี่ยนแปลงวันหักบัญชีเงินฝาก ธ.กรุงเทพ จากเดิมวันที่ 8 เป็นหักบัญชีตามวันครบกำหนดชำระเบี้ยของกรมธรรม์ กรณีหักไม่ผ่าน บริษัทจะส่งหักซ้ำวันที่ 10 20 28 (หากตรงวันหยุด จะหักในวันทำการถัดไป) และวันครบระยะเวลาผ่อนผัน (หากตรงวันหยุด จะหักในวันทำการสุดท้ายก่อนถึงวันหยุด) ทั้งนี้ กธ.xxx งวดวันที่ 24/10/62 และวันที่ 24/11/62 บริษัทจะส่งหักบัญชีของท่าน 2 งวด ในวันที่ 25/11/62 จำนวนเงิน yyy บาท สอบถามโทร. 02-777-8888

Ex ลูกค้า คุ้มครองวันที่ 25

จากรูปจะเห็นว่า วันครบกำหนด หรือ วันคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันชีวิตเล่มนี้ คือ ทุกวันที่ 25 ของเดือน ซึ่งตามหลักแล้ว วันที่ 25/9/2562 ต้องชำระเบี้ยเข้าบริษัท แต่ กลับกลายเป็นว่า เงินเข้าบริษัทเป็นวันที่ 3/10/2562 เพราะธนาคารไทยพาณิชย์ไปหักเบี้ยประกันวันที่3 (ตามแต่ละธนาคารที่ลูกค้าใช้ยื่นเพื่อผู้บัญชีหักเบี้ยประกัน)

เท่ากับว่า กรมธรรม์ฉบับนี้มีการค้างชำระเบี้ยประกัน ประมาณ 8 วัน (นับถึงวันที่หักเบี้ย คือ วันที่ 3 ของเดือนถัดไป) และเป็นอย่างนี้มาตลอด

เมื่อเริ่มใช้ระวันที่ในการหักใหม่ ก็จะต้องเคลียร์ยอดให้ตรงกับความเป็นจริง(ตรงกับ วันครบกำหนด (วันคุ้มครอง) ซึ่งจะพบว่า ….
เบี้ยที่หัก วันที่ 3/10/2562 เป็นของความคุ้มครองรอบ 25/9/2562 – 25/10/2562 หรือ เป็นเบี้ยประกันของวันที่ 25/9/2562 นั่นเอง

ดังนั้น เคสนี้ ธนาคารจะหักเบี้ยประกันอีกครั้งวันที่ 25/11/2562 (หักตามวันครบกำหนดรอบกรมธรรม์) และ หากหักไม่ผ่าน ระบบใหม่จะส่งหักซ้ำวันที่ 10 20 28

ขยายความเพิ่ม
วันที่หัก 3/10/2562 เป็นเบี้ยประกันรอบ 25/9/2562 – 25/10/2562
วันที่หัก 3/11/2562 ไม่ได้หัก (เพื่อไปทบให้ครบรอบ และเริ่มใช้ระบบใหม่)

ดังนั้นหากนับ 25/10/2562 ถึงวันนี้ 22/11/2562 เท่ากับว่า กรมธรรม์ฉบับนี้ ค้างชำระเบี้ยอยู่ 27 วัน และ ด้วยระบบใหม่ที่จะใช้ในครั้งแรก จะหักเงิน วันที่ 25/11/2562 จำนวน 2 ยอด (รอบเดิมที่ค้าง และ รอบใหม่) จากนั้นจะหักปกติ 1 ยอดในรอบต่อๆไป

ทำไมต้อง 2 ยอด?
ยอดที่ 1 เป็นการหักจาก ที่ค้าง 1 รอบ 25/10/2562 – 25/11/2562
ยอดที่ 2 เป็นเบี้ยประกันสำหรับรอบความคุ้มครอง 25/11/2562 – 25/12/2562

ทำไมเก็บเงินล่วงหน้าล่ะ?
ประกันภัยต้องจ่ายก่อนคุ้มครอง เช่นเดียวกับ ประกันรถยนต์ จ่ายเงินก่อนคุ้มครองทีหลัง เพียงแต่ที่ผ่านมา กรุงเทพประกันชีวิต เขาไม่ได้หักเบี้ยในวันครบกำหนดนั้น เพราะหักตามแต่ละธนาคาร และมีการเปลี่ยนในวันนี้เพื่อให้ถูกต้อง

ขยายความเพิ่ม
วันที่คุ้มครอง/วันครบกำหนด คือ วันที่ 25 (ประกันคุ้มครองวันที่ 25 ดูได้จาก เอกสารกรมธรรม์ )

เมื่อบริษัทต้องการเปลี่ยนวันหักใหม่ โดยให้หักตาม วันคุ้มครองของลูกค้าแต่ละคน (วันครบกำหนด) แทนเงื่อนไขเดิมที่ ใช้ วันหักของแต่ละธนาคาร จึงหยุดหักเบี้ยในวันเดิมนั้น แล้ว ไปรวมหักทีเดียวใน DUE ประกัน ที่จะถึง กลายเป็น 2 ยอด เพื่อปรับให้ตรงกับระบบใหม่ (ลูกค้าไม่ได้จ่ายเงินเพิ่ม) และ หลังจากนี้จะเป็น เดือนละ 1 งวด ปกติ และ วันในการหักบัญขีจะเปลี่ยนเป็นวันที่ ประกันคุ้มครอง (วันครบกำหนด) เช่น กรณีตัวอย่างนี้ คือ ต่อไปนี้ จะหัก ทุกวันที่ 25 แทน (เดิมหักวันที่3 เพราะใช้ธนาคารไทยพาณิชย์ ในหลักเกณฑ์เดิม)

จะเห็นว่า ที่ผ่านมา การที่ กรุงเทพประกันชีวิต หักเบี้ยประกันในหลักเกณฑ์เดิมที่ใช้ตามวันของแต่ละธนาคาร แทนการใช้ วันคุ้มครอง นั้น ทำให้การหักเบี้ยประกันเป็นแบบหักหลังคุ้มครอง ซึ่งไม่ถูกต้อง

เทียบเคียงเวลาซื้อประกันรถยนต์ จะมีวันครบกำหนดต่างกัน ขึ้นกับวันที่คุ้มครองประกันรถยนต์ และ คุณต้องจ่ายประกันเพื่อต่ออายุประกันรถยนต์ ไม่เกินวันนั้นๆ เพราะถ้าเกินประกันก็ขาด

การทำประกันรถยนต์ / ประกันชีวิต รายปี / ประกันอะไรก็แล้วแต่ ต้องจ่ายเงินก่อนทั้งสิ้น ( ไม่นับกรณี ตัวแทน/นายหน้า จ่ายเงินให้ก่อน หรือใช้เครดิตส่วนตัวให้)

ที่ทำให้ลูกค้าสับสน เพราะที่ผ่านมาบริษัทกรุงเทพประกันชีวิต ไม่ได้หักตามวันครบกำหนด แต่ไปหักตามวันที่ของธนาคารแต่ละแห่ง ลูกค้าบางส่วนจึงเข้าใจผิดคิดว่า ที่ผ่านมาหัก ตามวันครบรอบ ไม่ได้ค้างเงินประกัน เพราะคงไม่มีบริษัทไหนให้ค้างเงินประกัน (ยกเว้นกรณีอยู่ในช่วงผ่อนผัน 60 วัน ของกรุงเทพประกันชีวิต)

เหตุผลอย่างหนึ่งที่กรมธรรม์ยังไม่ขาดอายุ แม้จะยังไม่ชำระเบี้ย เพราะ กรุงเทพประกันชีวิต มีระยะเวลาผ่อนผันสำหรับการชำระเบี้ยประกันชีวิต 60 วัน โดยไม่คิดดอกเบี้ย (แต่ประกันรถยนต์ ประกันบ้าน ไม่มีระยะเวลาผ่อนผันการชำระเบี้ย)

และนี่เองที่อาจทำให้ลูกค้าคิดแบบนั้นมาตลอด ว่าไม่ได้ค้างเงินประกัน เพราะเคยชินกับรูปแบบเดิมตลอดมา และ หากตัวแทนไปอธิบายมาก อาจเข้าตัว อาจถูกกล่าวหาเป็นพวกเดียวกับบริษัทประกัน แก้ตัวแทนบริษัท ฯลฯ อีกทางเลือก ตัวแทนอาจให้ลูกค้าโทรไปถามบริษัทให้บริษัทอธิบายเองอาจจะดีกว่า ถ้าจะอธิบายเอง แค่สั้นๆ พอ เพราะลูกค้าแต่ละราย ความไว้วางใจมีให้ต่างกัน คุณต้องระมัดระวังและประเมินปัจจัยเหล่านี้ด้วย

Ex กรมธรรม์ของลูกค้า หลังจาก ปรับระบบเสร็จแล้ว

จะเห็นว่า หลังปรับเป็นการหักตามวันครบกำหนด (ระบบใหม่) แล้ว ลูกค้าไม่ได้ขาดทุนหรือ ถูกหักเงินเกินแต่อย่างใด เปลียนแปลงแค่วันหักบัญชีให้ตรงกับวันครบกำหนดเท่านั้น แค่นั้น ตามหลักการ จ่ายก่อนคุ้มครองทีหลัง

ในระบบรายงาน งวดล่าสุด 8/1 ถูกปรับวันที่ในการหักบัญชีเรียบร้อยแล้ว เป็นวันที่ 22/11/2562 และจากนี้ไป กรมธรรม์ฉบับจะถูกหักเบี้ยประกันมุกวันที่ 22 ของเดือน (เพราะกรมธรรม์นี้มี วันครบกหนด วันที่ 22) แทนวันที่เดิม (วันที่5 ธนาคารกรุงไทย) ซึ่งเดิมใช้การหักตามวันของแต่ละธนาคาร ทำให้ตลอดเวลาที่ผ่านมา เราเป็นหนี้บริษัทประกันชีวิตมาตลอดเพียงแต่ไม่รู้

ทำไมต้องวันที่ 22
เพราะกรมธรรม์ฉบับนี้ ครบกำหนดรอบ หรือก็คือ วันทำประกันที่มีผลคุ้มครองเริ่มต้นวันที่ 22 ซึ่งสามารถดูได้จาก เล่มกรมธรรม์ มีเขียนเอาไว้

จากรูป เงินคุณไม่ได้หายไปไหน เปลี่ยนแค่วันที่ให้ตรงวันคุ้มครอง

ประกันชีวิต (และประกันทุกประเภท) เป็นการจ่ายก่อนใช้ จ่ายก่อนคุ้มครองทีหลัง ดังนั้นเขาจะหักเงินจากบัญชีคุณก่อนเพื่อคุ้มครองรอบถัดไป (ที่ผ่านมาเขาหักตามแต่ละแบงค์ ไม่หักตามวันครบรอบ) ตอนนี้ปรับแล้วลองเช็คดูเงินคุณไม่ได้หายไปไหน
“การจ่ายเบี้ยประกันชีวิตไม่เหมือน ค่าน้ำ ค่าไฟที่ใช้ก่อนแล้วจ่ายทีหลัง”

การหักเบี้ยประกัน เปลี่ยนจากเดิมที่ยึดตาม “วันของแต่ละธนาคาร” เป็น “วันที่ครบกำหนด” ของแต่ละคน

ลูกค้าประกันชีวิตบางราย อาจเข้าใจผิดว่า การหักเงินจากบัญชีเพื่อจ่ายประกันนั้น เหมือนกับ การหักค่าน้ำค่าไฟ แต่ความเป็นจริงคือมันตรงข้ามกัน เพราะ ค่าน้ำค่าไฟ หักหลังจากใช้ แต่ประกันทุกอย่าง หักเงิน จ่ายเงินก่อนใช้ บางทีคุณอาจต้องขอบคุณบริษัท เพราะที่ผ่านมา เขาหักเงินค่าเบี้ยประกัน ของคุณหลังคุ้มครอง โดยแบกภาระเงินส่วนต่างนั้นเองก่อน เพียงแต่ไม่ได้แจ้งให้ทราบ พอจะปรับให้ถูกต้อง บางคนอาจจะคิดว่าบริษัทเอาเปรียบ

หวังว่า Content นี้ จะทำให้ผู้ถือ กรมธรรม์ประกันชีวิต ของกรุงเทพประกันชีวิต ทุกคนเข้าใจได้ หากไม่เข้าใจ โทรไปสอบถามเองได้เลย 02-777-8888

ล่าสุด ลูกค้าบางรายของ ตัวแทนประกันบางคน ก็ยกเลิกเวนคืนกรมธรรม์ไปก็มี เพราะ เข้าใจผิดคิดว่า บริษัทเอาเปรียบ เก็บเงินซ้ำอะไรแบบนั้น บางรายก็ไม่พอใจ ทำไมไม่แจ้งล่วงหน้า บางคนมีหลายกรมธรรม์ หักไปสองยอดแล้วอีกกรมธรรม์ ไม่พอหัก

สิ่งที่ต้องรู้

ข้อมูลที่ต้องรู้เพื่อจะได้เข้าใจตรงกัน

1.เบี้ยประกันภัยจะต้อง เป็นการจ่ายก่อนคุ้มครองทีหลัง
เบี้ยประกันภัย ไม่มีแบบว่า คุ้มครองให้คุณก่อน แล้วมาจ่ายทีหลัง ไม่ว่าจะเป็นประกันอะไรก็ตาม
เช่น ประกันรถยนต์ เราก็ต้องจ่ายเงินก่อน บริษัทจึงจะออกกรมธรรม์ ความคุ้มครอง ประกันชีวิตก็เช่นกัน ถ้านึกถึงประกันชีวิตที่จ่ายเป็นรายปี ก็จะเทียบได้ไม่ยาก เพราะคุณต้องจ่ายเบี้ยก่อนจะครบ

2.แล้วถ้าเป็นระบบประกันชีวิตรายเดือนละ?
หากคุณต้องไปจ่ายค่าประกันทุกเดือน จะสร้างความไม่สะดวก และอาจทำให้ลืมจ่าย ประกันขาด บริษัทประกันจึงอำนวยความสะดวกด้วยการ ให้หักเบี้ยประกันนั้น ผ่านบัญชีธนาคารที่คุณต้องการ
แต่จะหักตามวันที่ของแต่ละธนาคาร ไม่ได้หักตามวันที่ครบกำหนดประกัน ไม่ว่าลูกค้าจะประกันวันไหน หรือมี วันกำหนดครบรอบวันไหน ก็จะหักตามวันที่ของแต่ละธนาคารเท่านั้น หรือ ก็คือ ยึดเอาวันที่ของแต่ละธนาคารเป็นหลัก และห้ามหักก่อน วันที่ประกันจะครบกำหนด ให้หักหลังจากวันครบกำหนด สิ่งที่เกิดขึ้น คือ ลูกค้าจะค้างเบี้ยประกันตลอดเวลา ในช่องว่างระหว่าง วันครบกำหนดประกัน กับ วันที่หักของแต่ละธนาคาร

3. ตัวอย่าง
เช่น … หากใครยื่นธนาคารกรุงเทพ จะต้องหักเบี้ยประกันวันที่ 8 เท่านั้น (หากตรงวันหยุดให้หักวันทำการต่อไป ) ไม่ว่าคุณจะทำประกันวันที่เท่าไร (วันครบกำหนดประกันภัย) ก็ตาม ซึ่งจะเกิดช่วงเวลาความคุ้มครองที่ยังไม่ได้จ่ายเบี้ยขึ้น ระหว่าง วันที่ครบกำหนดประกัน(แต่ยังไม่ไปจ่ายเบี้ยประกัน) กับ วันที่จะหักเบี้ยประกันวันที่ 8 และช่วงเวลาของแต่ละคนไม่เท่ากัน เพราะทำประกันคนละวันกัน

ด้วยการที่ กรุงเทพประกันชีวิต มีระยะเวลาผ่อนผันสำหรับการชำระเบี้ยได้ 60 วัน(ไม่คิดดอกเบี้ย) ทำให้กรมธรรม์ประกันไม่ขาดอายุ ทำให้ช่วงเวลา ที่ไม่ได้ชำระเบี้ยที่เกิด นั้น ไม่มีผลกระทบต่อความคุ้มครองของประกันที่เราได้ทำไว้ เพราะมันหักบัญชีตามหลักเกณฑ์นี้ได้ทันก่อน 60 วันนั่นเอง แต่หากหักไม่ผ่านในครั้งแรก ก็จะหักในครั้งต่อไป 2 งวด

(เงื่อนไขที่ว่า ห้ามหักก่อน วันที่ประกันจะครบกำหนด แต่อนุญาต ให้หักหลังจากวันนั้น ทำให้สภาพที่แท้จริงของ กรมธรรม์ ยังคงค้างเงินประกันอยู่นั่นเอง แต่สถานะความคุ้มครองของกรมธรรม์ของคุณยังคงมีอยู่ เพราะ บริษัทกรุงเทพประกันชีวิต มีระยะเวลาผ่อนผันให้ 60 วัน ทำให้ยังไง ประกันก็ไม่ขาด แน่นอนถ้ามีเงินให้หัก อาจจะมีปัญหาหากต้องเคลมประกันในช่วงเเรกๆ เพราะประกันชีวิตยังไม่มีมูลค่าพอจะกู้ตัวมันเองในการจ่ายได้ )

4. การหักเบี้ยประกันที่ใช้ วันที่ถูกกำหนดขึ้นของแต่ละธนาคาร เป็นอย่างไร (หลักเกณฑ์เดิม)

บมจ.ธนาคารกสิกรไทย หักบัญชีทุกวันที่ 1 ของเดือน หลังวันครบกำหนดชำระเบี้ย
บมจ.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา หักบัญชีทุกวันที่ 2 ของเดือน หลังวันครบกำหนดชำระเบี้ย
บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ หักบัญชีทุกวันที่ 3 ของเดือน หลังวันครบกำหนดชำระเบี้ย
บมจ.ธนาคารทหารไทย หักบัญชีทุกวันที่ 4 ของเดือน หลังวันครบกำหนดชำระเบี้ย
บมจ.ธนาคารกรุงไทย หักบัญชีทุกวันที่ 5 ของเดือน หลังวันครบกำหนดชำระเบี้ย
บมจ.ธนาคารธนชาต หักบัญชีทุกวันที่ 6 ของเดือน หลังวันครบกำหนดชำระเบี้ย
บมจ.ธนาคารกรุงเทพ หักบัญชีทุกวันที่ 8 ของเดือน หลังวันครบกำหนดชำระเบี้ย
บมจ.ธนาคารยูโอบี หักบัญชีทุกวันที่ 28 ของเดือน หลังวันครบกำหนดชำระเบี้ย

– หากตรงกับวันหยุดให้หักวันทำการต่อไป
– หากเดือนไหนมีเงินไม่พอหัก จะหัก 2 ยอด ของเดือนถัดไป
– หากเดือนต่อไปนั้นยังหักไม่ได้อีก ก็จะหยุดหักบัญชี จะต้องจ่ายตรงเข้าแทน
– หากไม่จ่าย ภายใน 60 วันนับตั้งแต่ วันครบกำหนดประกันภัย ก็จะขาดอายุ แต่สำหรับกรมธรรม์ที่ทำมาหลายปีก็จะมีมูลค่าสามารถกู้จ่ายตัวมันเองได้ อัตโนมัติ แต่ต้องเสียดอกเบี้ยปีละ 8%

5. หลักการ
– ประกันชีวิต หรือ ประกันทุกใดๆ เป็นการ จ่ายเงินก่อนคุ้มครองทีหลัง ไม่เหมือนกับ ค่าน้ำ ค่าไฟ ที่คุณใช้ก่อนจ่ายทีหลัง เพราะ เขาไม่รู้ว่าคุณใช้ไปเท่าไร
– วันครบกำหนด = วัน DUE = วันที่ประกันคุ้มครอง => ดูได้ที่เล่มกรมธรรม์
– วันครบกำหนดประกัน เป็นวันสุดท้ายที่คุณต้องจ่ายเงินเข้าบริษัท เพื่อให้ประกันยังคงครองต่อเนื่องต่อไป
– ที่ผ่านมา คุณค้างชำระเบี้ย เพราะ วันที่ต้องจ่ายเบี้ยแต่ไม่ได้จ่ายชำระเข้าไป โดยเลื่อนไปเป็นหักเงินในวันของแต่ละธนาคารแทน

6. เนื่องจาก วันครบกำหนดประกันภัย กับ วันหักเงิน “ไม่ตรงกัน” บริษัทจึงเปลี่ยนให้หัก ตรงกับ วันครบกำหนดประกัน ตามที่แต่ละคนทำเอาไว้ เพื่อให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ จ่ายก่อนคุ้มครองทีหลัง
นั่นเท่ากับว่า ที่ผ่านบริษัทเสียเปรียบคุณ ตลอดเวลาที่ผ่าน บริษัทยอมแบกภาระนั้นเองโดยที่คุณอาจไม่รู้

หลักเกณฑ์การส่งข้อมูลหักบัญชีเงินฝากธนาคาร เริ่มใช้ 1 พฤศจิกายน 2562

งวดชำระเบี้ยประกันรายเดือน
• บริษัทส่งหักบัญชีตามวันครบกำหนดชำระเบี้ยประกันของแต่ละกรมธรรม์
• กรณีหักบัญชีไม่ผ่านจะส่งหักซ้ำวันที่ 10, 20 และ 28 ของเดือน
• หากไม่สามารถหักได้จะส่งหักซ้ำในเดือนถัดไปรวมเป็น 2 งวด (ตามวันครบกำหนดชำระของ กรมธรรม์)
• กรณีหักบัญชีไม่ผ่านจะส่งหักซ้ำ 2 งวดวันที่ 10, 20 และ 28 ของเดือน
• ส่งหักบัญชีซ้ำครั้งสุดท้าย 2 งวด ตามวันครบระยะเวลาผ่อนผันของกรมธรรม์ หากวันที่หัก บัญชีนั้นเป็นวันหยุดทางการหรือวันหยุดตามประเพณี บริษัทจะส่งข้อมูลให้ธนาคารในวันทำ การปกติก่อนถึงวันหยุดนั้น

งวดชำระเบี้ยประกันราย 3 เดือน, 6 เดือน, รายปี
• บริษัทส่งหักบัญชีตามวันครบกำหนดชำระเบี้ยประกันของแต่ละกรมธรรม์
• กรณีหักบัญชีไม่ผ่านจะส่งหักซ้ำวันที่ 10, 20 และ 28 ของเดือนจนครบระยะเวลาผ่อนผัน
• ส่งหักบัญชีซ้ำครั้งสุดท้ายตามวันครบระยะเวลาผ่อนผันของกรมธรรม์ หากวันที่หักบัญชีนั้น เป็นวันหยุดทางการหรือวันหยุดตามประเพณี บริษัทจะส่งข้อมูลให้ธนาคารในวันทำการปกติ ก่อนถึงวันหยุดนั้น

เงื่อนไขเพิ่มเติม
1. กรณีวันครบกำหนดชำระเบี้ยประกันภัยเป็นวันหยุดทางการหรือวันหยุดตามประเพณีให้ถือว่า วันทำการถัดไปเป็นวันครบกำหนดชำระเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์สำหรับงวดนั้น
2. กรณีกรมธรรม์ที่มีวันครบกำหนดอยู่ในช่วงสิ้นสุดของปีปฏิทิน บริษัทจะส่งข้อมูลหักบัญชี ในวันทำการสุดท้ายของปี





คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow