INSURANCETHAI.NET
Thu 09/01/2025 11:16:10
Home » ประกันภัย(ประกันวินาศภัย) » ประกันภัยทางธุรกิจสำหรับผู้บริหาร\"you

ประกันภัยทางธุรกิจสำหรับผู้บริหาร

2015/05/22 1515👁️‍🗨️

ประกันภัยทางธุรกิจสำหรับผู้บริหาร

ปัจจุบัน ผลการตัดสินใจของผู้บริหารหรือคณะกรรมการบริษัท รวมทั้งวิธีการที่จะทำให้เกิดคำตัดสินนั้น ไม่เพียงส่งผลกระทบในเรื่องผลการดำเนินงานของบริษัทและการประกอบอาชีพของพวก เขาเท่านั้น แต่ผลการตัดสินใจเช่นนั้นยังได้เพิ่มความเสี่ยงในการที่จะก่อให้เกิดการฟ้อง ร้องค่าเสียหายจากผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งก่อให้เกิดภาระหนี้สินอื่นๆ แก่บริษัทและผู้บริหารเหล่านั้นตามมาได้อีกด้วย

แนวโน้มการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผู้บริหารบริษัทมีเพิ่มขึ้นตลอดเวลา และมีการขยายขอบเขตออกไปทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทั้งในภูมิภาคเอเชียและแถบอื่นๆ ทั่วโลก การฟ้องร้องเช่นนี้มีมาจากหลากหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทเอง ลูกจ้างหรือพนักงานของบริษัท กลุ่มหรือหน่วยงานด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่างๆ องค์กรของรัฐ รวมทั้งกลุ่มเจ้าหนี้บริษัทด้วย และยิ่งไปกว่านั้น การที่ตลาดสินค้าต่างๆ ขยายตัวเชื่อมโยงกันทั่วทั้งโลก ผู้บริหารของบริษัทที่เข้าไปตั้งสำนักงานในประเทศต่างๆก็ต้องยอมรับข้อ กฎหมายของแต่ละประเทศที่สินค้าและบริการของบริษัทตนเข้าไปวางจำหน่ายอยู่ ด้วย

เพราะฉะนั้น สำหรับผู้บริหารขององค์กรต่างๆ การที่คุณในฐานะเป็นผู้บริหารบริษัท เริ่มคิดเรื่องการทำประกันภัยที่เรียกกันติดปากในเวลานี้ว่า Directors & Officers Insurance เอาไว้ ก็สามารถช่วยตัวคุณในยามคับขันได้เป็นอย่างดี คอลัมน์ประกันภัยในฉบับนี้จึงขอถือโอกาส นำเสนอหลักการและรายละเอียดบางอย่างที่คุณควรจะได้รู้ เพื่อเป็นประโยชน์ในการพิจารณาก่อนที่จะหาซื้อประกันชนิดนี้เอาไว้ โดยผู้เขียนได้รับความอนุเคราะห์ในการให้สัมภาษณ์ และให้ข้อมูลรายละเอียดจาก มร.สตีเวน บาร์เน็ต กรรมการผู้จัดการและประธานคณะผู้บริหาร และคุณประสิทธิ์ หงสรานากร ผู้อำนวยการฝ่าย Financial Lines บริษัท นิวแฮมพ์เชอร์ อินชัวรันส์ จำกัด ซึ่ง M&W ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วย

โดยหลักการแล้ว ประกันภัยชนิดนี้ เป็นการคุ้มครองการจ่ายชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการถูกกล่าวหาว่าละเลย เพิกเฉย การรายงานเท็จ หรือการกระทำความผิดโดยไม่ได้จงใจของผู้บริหารหรือคณะกรรมการของบริษัท หรือถึงแม้จะเป็นการตั้งใจบริษัทประกันก็จะจ่ายชดใช้ค่าเสียหายให้ก่อน แล้วจึงไปไล่เบี้ยเอากับผู้บริหารเองทีหลัง

ประกันภัยประเภทที่คุ้มครองและรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการ ปฏิบัติงานของผู้บริหารหรือคณะกรรมการหรือบริษัท (Directors & Officers Liability and Company Reimbursement Insurance) ซึ่งเป็นประกันภัยประเภทพื้นฐานที่ครอบคลุมการดำเนินการโดยทั่วไป

ประกันภัยที่คุ้มครองในเรื่องของหลักทรัพย์ (Entity Cover Securities Claims) ซึ่งมุ่งเน้นธุรกรรมที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ของบริษัท

ประกันภัยประเภทที่คุ้มครองบริษัทเกี่ยวกับการจ้างงาน (Entity Cover Employment Practice Claims) ซึ่งจะเป็นการคุ้มครองที่เกี่ยวกับการการจ้างงาน ที่อาจส่งผลทำให้เกิดความเสียหายแก่ลูกจ้าง

ในการตัดสินใจของผู้บริหารไม่ว่าจะเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจใดๆก็ตาม ย่อมจะส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาบริษัทหรืออีกนัยหนึ่งก็อาจจะทำให้เกิดความ เสียหายได้เช่นกัน ยิ่งในสมัยนี้ที่การขยายตัวทางธุรกิจโยงใยไปจนถึงกลุ่มคนจำนวนมากขึ้นและกิน พื้นที่ทางการตลาดกว้างไกล ดังนั้นหากจะถามว่า บริษัทใดหรือองค์กรใดบ้างที่ควรจะถือกรมธรรม์ประกันภัยชนิดนี้เอาไว้ในมือ วันนี้เรามีข้อมูลมาให้คุณผู้บริหารเองพิจารณาว่า เหมาะสมกับองค์กรของตนมากน้อยแค่ไหน

ถึงแม้ว่าเราจะไม่มีตัวเลขของการทำประกันประเภทนี้ สำหรับบริษัทในประเทศไทย แต่ก็พอประมาณการได้ว่า ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ มีประกันภัยประเภทนี้อยู่ในมือ

ประเด็นแรกที่เราควรจะพิจารณาก็คือ ประเภทของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโอกาสที่จะเกิดความเสียหายในเรื่องการเงิน เช่น สถาบันการเงินต่างๆ เช่นธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารที่เป็นวาณิชธนกิจ ก็ถือว่าเป็นธุรกิจที่น่าจะมีประกันภัยประเภทนี้

ในปัจจุบันสถาบันการเงินสำคัญๆ ส่วนใหญ่ของไทย เช่นธนาคารพาณิชย์ บริษัทจัดการลงทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทประกันภัยต่างๆ มีประกันภัยประเภทนี้เอาไว้คุ้มครองความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่ ตั้งใจ

ส่วนธุรกิจประเภทอื่นที่ต้องเกี่ยวพันกับคนหมู่มาก เช่น บริษัทที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร บริษัทที่เกี่ยวกับการผลิต บริษัทที่เกี่ยวกับการบริโภคพื้นฐานเช่นไฟฟ้า น้ำประปา การให้บริการ ร้านค้าปลีก ค้าส่ง และอสังหาริมทรัพย์ หรือแม้กระทั่งการขนส่ง ก็เป็นธุรกิจที่น่าจะมีประกันภัยประเภทนี้เอาไว้ในมือเช่นกัน

นอกจากนั้นแล้ว ประกันภัยประเภทนี้ยังสามารถจัดการคุ้มครองผู้บริหารและผู้จัดการดูแลผล ประโยชน์ขององค์กรที่ไม่หวังผลกำไรต่างๆ ด้วย และที่สำคัญและเป็นประโยชน์มากก็คือผู้ที่ต้องดำเนินธุรกิจกับต่างประเทศ ก็ยังสามารถซื้อประกันที่ครอบคลุมความรับผิดชอบไปได้จนถึงประเทศที่ประกอบ ธุรกิจ รวมไปถึงอเมริกาและแคนาดาด้วยเช่นกัน

เมื่อมองกันอย่างถ้วนถี่ดีแล้ว คราวนี้คุณเริ่มอยากจะมีประกันภัยประเภทนี้ขึ้นมา ก็ต้องมาดูกันซิว่าควรจะซื้ออะไรครอบคลุมขนาดไหนกับใครดี

ประการแรกก็คือบริษัทที่เราจะซื้อประกัน อย่าลืมว่าเรื่องนี้เวลาที่เกิดปัญหาขึ้นมา มันอาจจะมีการเรียกร้องความเสียหายมากมายจนแทบกระอัก เพราะฉะนั้นบริษัทที่จะมีปัญญามาจ่ายให้เรา ก็ต้องมีพื้นฐานทางการเงินที่แข็งแกร่ง และมีเครดิตที่เป็นที่น่าเชื่อถือที่ได้รับการจัดอันดับจากสถาบันการจัด อันดับที่เชื่อถือได้

ถ้าจะให้ดี หากบริษัทนั้นเคยมีประสบการณ์การที่ต้องเจอกับปัญหาในระดับนี้ก็น่าจะดีกว่าบริษัทที่ยังอ่อนประสบการณ์

ประเด็นต่อมาที่คุณต้องพิจารณาก็คือการครอบคลุม การทำตกทำหล่นบางประเด็นอาจจะทำให้เกิดปัญหาเมื่อถึงเวลาที่ต้องจ่ายสินไหม ทดแทน จนเป็นที่ถกเถียงกันไม่เลิกระหว่างคุณกับบริษัทประกันภัย

และถ้ายังมองไม่ออกหรือกลัวว่าจะมีอะไรตกหล่น วันนี้เรามีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่จะมาฝากกันที่จะทำให้คุณพอจะมองออกว่า เราควรจะทำประกันภัยธุรกิจสำหรับผู้บริหารครอบคลุมมากน้อยแค่ไหน

ประเภทของธุรกิจ หากธุรกิจของคุณมีความสลับซับซ้อน หรือมีผลส่งทอดกันไปหลายสาย หรือที่เกี่ยวข้องกับการเงิน เตรียมการเอาไว้หน่อยว่าการฟ้องร้องอาจจะสูงกว่าธรรมดา

ประเทศที่บริษัทของคุณจดทะเบียนเอาไว้ รวมแม้กระทั่งสาขาที่บริษัทไปตั้งอยู่ ที่ต้องพึ่งพากฎหมายของประเทศนั้นๆ เป็นเครื่องตัดสินหากเกิดปัญหาขึ้นมา

ประเภทของการจดทะเบียนบริษัท ว่าเป็นบริษัทจำกัด บริษัทมหาชน จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือไม่ ซึ่งหากบริษัทยิ่งประกอบไปด้วยผู้ถือหุ้นมากหน้าหลายตา และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แน่นอนว่าการเกิดเหตุก็จะกว้างตามไปด้วยเช่นกัน

ลักษณะโครงสร้างขององค์กร ที่อาจมีบริษัทย่อยอยู่หลายบริษัทในหลายๆ เครือข่ายธุรกิจ

ขนาดของสินทรัพย์และเงินทุน ซึ่งการคิดค่าเบี้ยประกันจะต้องนำเอาตัวเลขเงินทุนมาเป็นตัวกำหนด

ความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ รวมไปถึงการก่อหนี้ของบริษัท ความสามารถในการประกอบธุรกิจ และอนาคตในการทำธุรกิจ ยิ่งประเด็นของเรื่องต่างๆ ซับซ้อนมากขึ้น คุณก็ควรจะต้องพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนมากขึ้นตามไปด้วย

การฟ้องร้องที่อาจจะเกิดขึ้นหรือเคยเกิดขึ้นมาแล้ว ซึ่งบริษัทประกันต้องนำเอาเรื่องราวเหล่านี้มาเป็นตัวประกอบในการพิจารณาการ รับประกันด้วย

มีการประกอบธุรกิจที่เชื่อมโยงไปถึงอเมริกาเหนือ หรือแคนาดาหรือไม่ หรืออาจจะเคยไปออกหลักทรัพย์หุ้นกู้ หรือก่อหนี้ในเขตพื้นที่นั้นบ้างหรือไม่

มีการถือประกันประเภทนี้อยู่ในมือมาก่อนหรือไม่ เพราะถ้ามีประกันประเภทนี้อยู่แล้ว ก็อาจจะแค่พิจารณาว่าควรจะต้องมีการเพิ่มความครอบคลุมมากขึ้นหรือไม่

อย่างที่เคยกล่าวกันมาตลอดว่า ประกันภัย อยากซื้อแต่ไม่อยากใช้ ซึ่งประกันภัยทางธุรกิจสำหรับผู้บริหาร (Directors & Officers Insurance) ประเภทนี้ก็ไม่เว้นเช่นกัน แต่ถ้าถามว่าจำเป็นหรือไม่ เพราะค่าเบี้ยประกันสำหรับการทำประกันประเภทนี้ค่อนข้างสูง แต่ถ้าหากเกิดเหตุการฟ้องร้องขึ้นมา ค่าเสียหายที่ถูกเรียกร้องมันมากมายมหาศาลเกินกว่าค่าเบี้ยที่คุณจะต้อง จ่ายอย่างแน่นอน

คุณประสิทธิ์ หงสรานากร ยังได้เล่าด้วยว่า นอกเหนือจากการประกันภัยทางธุรกิจสำหรับผูบริหาร (AIG Business Guard for Directors & Officers Insurance) แล้ว ฝ่าย Financial Lines ของบริษัท นิวแฮมพ์เชอร์ อินชัวรันส์ (AIG SEAsia) ยังได้รับคุ้มครองการประกันภัยประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้ด้วย

ประกันภัยประเภทที่คุ้มครองเกี่ยวกับการบริหารการลงทุน (Invesment Management Insurance) ซึ่งนับว่ามีความสำคัญมากสำหรับบริษัทที่ทำหน้าที่บริหารจัดการลงทุนให้กับ ผู้อื่น

ประกันภัยที่คุ้มครองเกี่ยวกับอาชีพเฉพาะ (Professional Liability Insurance) ซึ่งการประกอบวิชาชีพชนิดนี้ อาจจะส่งผลทำให้เกิดความเสียหายให้กับผู้อื่นโดยไม่ได้เจตนาเช่นกัน

ประกันภัยที่เกี่ยวกับการก่ออาชญากรรมทางการพาณิชย์ (Commercial Crime Insurance) ที่เกี่ยวโยงกับการที่บริษัทเกิดความเสียหายจากลูกจ้าง หรือลูกจ้างร่วมกับผู้อื่น ก่ออาชญากรรมทางธุรกิจทำให้เกิดความเสียหายต่อบริษัท

ที่มา finansa-asset.com





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow