การเลือกซื้อประกันสุขภาพ
1.เลือกว่า คุณต้องการความคุ้มครองผู้ป่วยนอก ( OPD ) หรือไม่?
ดูจากค่าใช้จ่ายทางสุขภาพ ของคุณในปีที่ผ่านมาว่า สูง เพียงพอที่คุณจะได้รับผลประโยชน์จากความคุ้มครองผู้ป่วยนอกหรือไม่ เช่น ถ้าในปีก่อน ค่าใช้จ่ายในการพบแพทย์ของคุณมีเพียง เล็กน้อย การซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมอาจไม่จำเป็นสำหรับคุณ เนื่องจาก เบี้ยประกัน สำหรับ ความคุ้มครอง กรณีเป็นผู้ป่วยนอกนั้น เกือบจะเท่ากับเบี้ยประกันของ ผู้ป่วยใน (IPD )เลยทีเดียว
ผู้ป่วยใน (IPD) หมายถึง ผู้ป่วยที่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 6 ชั่วโมงขึ้นไป
ผู้ป่วยนอก (OPD) หมายถึง ผู้ป่วยที่รับการรักษาที่คลินิกหรือโรงพยาบาล โดยไม่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล เช่น เป็นหวัด เจ็บไข้ได้ป่วย บ่ดเจ็บ เล็กน้อย ตรวจรักษารับยาแล้วก็กลับบ้าน
2.เลือกแผนประกันภัยสุขภาพที่เหมาะสม
เลือกแผนประกันภัย ที่มีความคุ้มครองที่พอดีกับความต้องการและเหมาะสมกับโรงพยาบาลที่คุณใช้บริการ รวมถึงเหมาะสมกับสภาพร่างกายความเสี่ยงของคุณ เลือกแผนสูงย่อมดีกว่าต่ำ แต่ ถ้าสูงเกินจำเป็นก็สิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ หากซื้อไว้น้อยเกินไปก็อาจจะช่วยอะไรได้ไม่มากเมื่อต้องใช้ การปรึกษาตัวแทน/นายหน้า ก็เป็นทางเลือกที่ดี
3.เลือกบริษัทประกันภัย
เลือกบริษัทประกันที่มีความน่าเชื่อถือ มีนโยบายที่เป็นมิตรกับลูกค้าและตัวแทน มีความมั่นคง
ค่าใช้จ่าย หลักๆ ของการเข้ารับการรักษาพยาบาล
ค่าห้องพัก
ค่าผ่าตัด มีความคุ้มครองได้ 2 แบบ
– จ่ายเป็นเปอร์เซ็นต์ของวงเงินคุ้มครอง ในแต่ละโรคที่ระบุไว้ใน ตารางผ่าตัด
– จ่ายตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินวงเงินที่ระบุตามกรมธรรม์
ค่ายา, ค่าแพทย์เยี่ยมไข้ และอื่น
การซื้อประกันภัยสุขภาพไม่ต้องตรวจสุขภาพ
โดยทั่วไป การซื้อประกันสุขภาพ จะไม่มีการตรวจสุขภาพก่อนทำประกันแต่อย่างใด เพียงแค่แจ้งข้อมูลตอบคำถามในใบสมัครเท่านั้น และบริษัทประกันภัย อาจขอประวัติการรักษา สำหรับบางกรณี หากมีการแจ้งไว้
สิ่งสำคัญ สำหรับการสมัครทำประกันสุขภาพ คือ การแถลงข้อมูลตรงตามความเป็นจริง เพราะหากแถลงเท็จหรือปกปิด จะเป็นเหตุที่บริษัทประกันภัย ปฏิเสธการจ่ายสินไหมได้ เท่ากับที่ทำไว้สูญเปล่า และ อาจจะถูก ขึ้นบัญชีดำ
บางแผนประกันภัยสุขภาพมีการยกเว้นการจ่ายเงินชดเชยในบางกรณี เช่น โรคที่เคยเป็นต่อเนื่องมาก่อนการทำประกันภัย โรคที่บริษัทผู้รับประกันภัยยกเว้น การเข้ารับการรักษาโดยไม่ได้รับการแนะนำจากแพทย์ การฆ่าตัวตาย เป็นต้น
ระยะรอคอย (Waiting Period)
หลังจากการทำประกันภัยสุขภาพ จะมีระยะรอคอย (Waiting Period) ซึ่งเป็นระยะเวลาที่คุณจะยังไม่สามารถเรียกร้องเงินชดเชยได้ โดยทั่วไป 30 วัน เพื่อเป็นการป้องกันกรณีเจ็บป่วยก่อน การทำประกันภัยสุขภาพ เช่น วันนี้เป็นไข้ไม่สบาย แล้ววางแผนจะไปรับการรักษา จึงทำประกันสุขภาพ แล้วก็ใช้ประกันสุขภาพนั้นในวันถัดไป
บางแผนประกันภัยสุขภาพมีการจ่ายเงินชดเชยให้กับคุณในกรณีค่ารักษาพยาบาลสูงเกินวงเงินคุ้มครอง เช่น บริษัทประกันภัย กำหนดวงเงินความคุ้มครอง 100,000 บาทแต่ค่าใช้จ่ายจริงเท่ากับ 300,000 บาท บริษัทประกันภัยจะชดเชยให้ 80% ของ 200,000 บาท ที่เกินมานั้น ซึ่งช่วยในเรื่องของค่าใช้จ่ายสูงได้ แต่เบี้ยประกันอาจจะสูงกว่าแผนประกันสุขภาพทั่วไป
แผนประกันภัยสุขภาพบางแผนมีการบริการจาก บริษัทที่ให้บริการฉุกเฉิน โดยบริการให้กับปรึกษาและช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน รวมถึงบริการขนย้ายผู้ป่วยไปยังที่ๆปลอดภัยหรือเพื่อรับการรักษา
ค่ารักษาไม่ต้องสำรองเงินจ่าย
ปัจจุบันบริษัทประกันสุขภาพ มีการทำสัญญากับโรงพยาบาลต่างๆ เมื่อต้องไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล ก็ไม่ต้องสำรองเงินจ่าย จะจ่ายเฉพาะส่วนเกิน หากมี
สำหรับการทำประกันสุขภาพ ที่ยังไม่ถึง 2 ปี กรมธรรม์ บางครั้งพบว่า ในการเคลมประกันครั้งแรก ในวงเงินสูง อาจะมีการตรวจสอบประวัติก่อนการจ่ายสินไหม ซึ่งอาจใช้เวลา 30 วัน ดังนั้น คุณอาจจะต้องสำรองเงินจ่ายไปก่อน
ทำไมต้องทำประกันสุขภาพ
1.ลดภาระค่ารักษาพยาบาลในยามฉุกเฉิน
การซื้อประกันภัยสุขภาพเป็นการประกันภัยความเสี่ยงทางการเงิน ในกรณีที่คุณเกิด การเจ็บป่วย มีความจำเป็นที่จะต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง บริษัทประกันภัยจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของคุณตามวง เงินของบริการที่คุณซื้อ
2. ลดภาระของบุคคลรอบข้าง
ในกรณีเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหรือผ่าตัด การประกันภัยสุขภาพจะช่วยไม่ให้ค่าใช้จ่ายที่สูงทำ ให้สภาพคล่องทางการเงินของครอบครัวคุณติดขัด
3.เพิ่มความคุ้มครองจากประกันภัยสุขภาพของที่มีอยู่แล้ว
ในกรณีบริษัทของคุณมีการประกันภัยสุขภาพแบบกลุ่มเพื่อเป็นสวัสดิการ แต่คุณต้องการความคุ้มครองเพิ่มเติมหรือพิเศษ เพื่อสนองความต้องการของคุณ
ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสามารถ แบ่ง 2 ประเภท
ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน (IPD)
เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเมื่อต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ซึ่งจะประกอบด้วย ค่าห้องพัก ค่ายา ค่าแพทย์เยี่ยม ค่าผ่าตัด เป็นต้น ค่าใช้จ่ายเหล่านี้เป็นค่าใช้จ่ายเป็นพื้นฐานของการประกันภัยสุขภาพเพราะมักจะเกิดขึ้นอย่างกระทันหัน และมีมูลค่าสูง ค่าใช้จ่ายหลักที่น่าพิจารณาสำหรับผู้ป่วยใน มีสองส่วนได้แก่ ค่าห้องพัก ซึ่งโดยเฉลี่ยจะอยู่ประมาณ 800 – 1,000 บาท/คืน และ ค่าผ่าตัด ซึ่งโดยเฉลี่ยจะอยู่ในหลักหมื่น แต่สามารถถึงหลักแสนได้ในบางกรณี
ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (OPD)
เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการเข้ารับการรักษาโดยไม่ต้องพักที่โรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อ ครั้งจึงไม่สูงมากนัก โดยมากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้แก่ ค่าแพทย์และค่ายา ค่าใช้จ่ายเหล่านี้อาจรวมอยู่ในแผนประกันภัยเลยหรืออาจเป็น ความคุ้มครองเพิ่มเติมที่สามารถเลือกซื้อได้ตามความต้องการของผู้บริโภค
การประกันภัยสุขภาพยังรวมถึงการจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่เสียชีวิตเช่นเดียวกับการประกันภัยอุบัติเหตุ และ การบริการโยกย้าย ผู้ป่วยจากสถานที่เกิดเหตุ บางแผนให้ความคุ้มครองเฉพาะในประเทศ บางแผนให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลทั่วโลกซึ่งเหมาะกับผู้ที่ต้องเดินทางบ่อยครั้ง ซึ่งเบี้ยประกันภัยก็จะแตกต่างกันออกไปตามอายุและความคุ้มครอง
สำหรับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในต่างประเทศ คุณควรพิจารณาซื้อประกันภัยการเดินทางซึ่งมีทั้งแบบต่อครั้ง และแบบรายปี