ซื้อประกันให้ลูก vs ซื้อประกันให้ตัวเอง ต่างกันอย่างไร?
1.สะสมทรัพย์ ปัจจุบันผลตอบแทน ไม่เยอะ irr 1% กว่า
นอกจากนี้ยังพบว่า หลายบริษัทประกันชีวิตได้ถอดสินค้าประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ออกไปเป็นจำนวนมาก และเน้นไปที่ประกันสุขภาพ พร้อมปรับเปลียนผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตเป็นแบบ ควบการลงทุน เพื่อให้สามารถแข่งขันกับ กองทุน RMF,LTF ได้
2.ถ้าต้องการมีเงินก้อนให้ลูก เอาไปซื้อกองทุน หรือ หุ้นบลูชิบ อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
3.ถ้าต้องการ ให้บุตรมีหลักประกัน กรณีผู้ปกครองผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวไม่อยู่ ต้องทำประกันให้ตัวเอง ยกผลประโยชน์ให้ลูก
ในปัจจุบัน กรณีที่ควรซื้อประกันให้เด็ก มีกรณีเดียว คือ ต้องการประกันสุขภาพให้เด็ก
อย่างไรก็ตาม insurancethai.net มองว่า ผลตอบแทน ณ ปัจจุบัน ประกันชีวิตถือว่า น้อยที่สุด และ การออมในหุ้น กลุ่ม blue ship ยังให้ผลตอบแทนที่มากมายกว่า อย่างเทียบกันไม่ได้
โดยประกันชีวิตจะเด่นในด้านความคุ้มครองชีวิต ซึ่งไม่มีสินค้าใดในท้องตลาดจะแข่งได้
ผลตอบแทนด้านการลงทุนในหุ้นกลุ่มเสี่ยงน้อย (หุ้นกลุ่มบลูชิบ) ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด
ผลตอบแทนที่มากกว่าการซื้อหุ้นกลุ่มนี้ ก็คือ การนำเงินไปลงทุนในธุรกิจ
สำหรับ ธนาคารเป็นเพียงที่พักเงินเท่านั้น อัตราดอกเบี้ยปัจจุบัน 0.25%-2%(ประจำ) ระยะเวลา 0-2 ปี เป็นต้น
กองทุน RMF, LTF ให้ผลตอบแทนมากกว่า ฝากธนาคาร
และยังมี การเก็บออมในลักษณการซื้อฉลากออมสิน และ พันธบัตรรัฐบาลอีกด้วย
แบบประกันสะสมทรัพย์ (Saving)
เน้นการฝากเงิน เงินคืน จากการซื้อประกัน แต่เบี้ยประกันจะสูงกว่า แบบเน้นความคุ้มครอง เพราะ เบี้ยประกันถูกนำไปใช้ในการชำระส่วนของการออมเงิน
แบบประกันตลอดชีพ (Whole Life)
เน้นคุ้มครองชีวิต เบี้ยประกันต่ำ คุ้มครองสูง ครบสัญญาได้เงินคืน การยกเลิกกรมธรรม์ ในปีหลังๆได้เงินคืนค่อนข้างมาก
แบบประกันจำกัดระยะเวลา (Term)
เน้นคุ้มครองชีวิตที่สุด เบี้ยประกันต่ำที่สุด เป็นแบบจ่ายทิ้ง ไม่ได้เงินคืนใดๆ
LTF / RMF
LTF/RMF ให้ประโยชน์ทางภาษี หรือ ใช้ลดหย่อนภาษีได้ (ปัจจุบันไม่สามารถยกเว้นภาษีได้แล้ว) ตอบโจทย์เป้าหมายการเงินระยะยาว / ต่อยอดเงินลงทุนให้งอกเงยมากขึ้น
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund: LTF)
1. การซื้อ: เงินลงทุนใน LTF ไม่มีการกำหนดขั้นต่ำ แต่อย่าซื้อเกิน 15% ของรายได้ทั้งปีที่ต้องเสียภาษี และต้องไม่เกิน 5 แสนบาทด้วย โดยซื้อ LTF ปีไหน ก็จะใช้ลดหย่อนภาษีในปีนั้นๆได้
ถ้ามีรายได้ที่ต้องเสียภาษีตลอดทั้งปี 1,000,000 บาท จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ 150,000 บาท (15%)
2. การถือ LTF: ระยะเวลาการลงทุน LTF ต้อง “ถือ” ไม่น้อยกว่า 7 ปีปฏิทิน (หรือขั้นต่ำ 5 ปีเต็มเท่านั้น) ถ้าเราซื้อภายในปี 60 จะถือจนครบเงื่อนไขก็ต่อเมื่อ ถือจนครบถึงปี 66
3. การขาย LTF : LTF ที่ถือครบกำหนดแล้ว สามารถขายออกมาได้เลย ให้ขาย lot ที่ซื้อแรกๆก่อน ตามหลัก “เข้าก่อน ออกก่อน (FIFO)” ก่อนที่จะขาย แนะนำให้เช็กดูดีๆ ก่อน เพราะว่าอาจจะพลาดพลั้งขายก้อนที่ยังไม่ครบเงื่อนไขไปก่อนก็เป็นได้ จดไว้เป็นรายปีเลยว่าปีไหนซื้ออะไร ที่ไหน ครบกำหนดหรือยัง ครบเมื่อไหร่ อย่าจดรวมยอดเพราะจะแยกไม่ออก
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund: RMF)
1.การซื้อ: คล้ายกับ LTF ซื้อกอง RMF ปีไหนก็จะใช้ลดหย่อนภาษีในปีนั้นๆ ทั้งนี้ เงื่อนไขการ “ซื้อ” กองประเภทนี้จะซับซ้อนซ่อนเงื่อนมากขึ้น
1.1 ต้องซื้อ RMF ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 3% ของรายได้ทั้งปีที่ต้องเสียภาษี หรือ ไม่น้อยกว่า 5,000 บาท
1.2 ห้ามซื้อเกิน 15% ของรายได้ทั้งปีที่ต้องเสียภาษี
1.3 เมื่อรวมกับ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข. เบี้ยประกันบำนาญ และกองทุนการออมแห่งชาติ แล้วต้องไม่เกินวงเงิน 500,000 บาท
รายได้ตลอดทั้งปี 1,000,000 บาท สามารถซื้อกองทุน ได้ไม่เกิน 150,000 บาท (15%) ซึ่งเมื่อรวมกับยอดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข. เบี้ยประกันบำนาญ และ กองทุนการออมแห่งชาติแล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ต่อปีด้วย
2. ระหว่างทาง การถือ RMF : กองทุนประเภทนี้เกิดมาเพื่อให้เราถือยาวๆ เพิ่มโอกาสให้เงินงอกเงย และ สะสมเงินเพิ่มไปเรื่อยๆ เพื่อเตรียมเกษียณ เมื่อเริ่มซื้อต้อง “ลงทุนอย่างต่อเนื่องทุกปี ไปจนถึงอายุ 55 ปี” และ ต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปี ติดต่อกัน
3. การขาย RMF: ขาย RMF ได้เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ จะต้องถือกองทุน RMF ไม่ต่ำกว่า 5 ปีเต็มนับตั้งแต่วันที่ซื้อครั้งแรก
ความต่าง LTF / RMF
ถ้าเทียบความเสี่ยง และความยืดหยุ่นในการลงทุน
LTF จุดประสงค์ เพื่อสนับสนุนตาดหุ้นไทย ดังนั้น จึงมีข้อจำกัดประเภทหักทรัพย์ ที่ต้องลงทุนในหุ้นจดทะเบียน ไม่น้อยกว่า 65%
RMF จุดประสงค์ เพื่อสนับสนุนการออม ผ่านการลงทุน เพื่อเก็บไว้ใช้ยามเกษียณอายุการทำงาน ทำให้รูปแบบของกองทุน มีได้หลากหลาย ไม่ถูกจำกัดประเภทหลักทรัพย์ ซึ่งต่างจาก LTF
RMF มีหลากหลายมากกว่า LTF ทำให้ ระดับการยอมรับความเสี่ยงของผู้ลงทุน ที่มีแตกต่างกัน RMF น่าจะมีทางเลือกได้มากกว่า เพียงแต่ว่า มีข้อจำกัดเกิดขึ้นภายใต้จุดประสงค์ของกองทุน คือ
การลงทุนใน RMF เพื่อไว้ใช้ยามเกษียณอายุ จึงมีข้อกำหนดว่าต้องลงทุนอย่างต่อเนื่อง จนกว่าอายุผู้ลงทุนไม่น้อยกว่า 55 ปีบริบูรณ์จึงจะสามารถขายคืนได้
แต่สำหรับ LTF ให้สิทธิ์ทางภาษี (ปัจจุบันใช้ลดภาษีไม่ได้แล้ว) เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ผู้งทุนสนับสนุนตลาดหุ้นไทย จึงจำกัดข้อกำหนดระยะเวลาการลงทุนไว้เพียง 5 ปีปฏิทิน โดยไม่บังคับว่าต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปีหรือไม่ จึงเป็นข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัด ที่ต่างจาก RMF