INSURANCETHAI.NET
Mon 18/11/2024 0:27:22
Home » ประกันชีวิต » ข้อควรรู้ของการซื้อประกันชีวิต\"you

ข้อควรรู้ของการซื้อประกันชีวิต

2018/12/19 3096👁️‍🗨️

ควรทำประกันตั้งแต่อายุเท่าไร

การทำประกันชีวิตนับเป็นการออมทรัพย์ประเภทหนึ่ง (มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแบบประกันที่เลือกซือ) การเริ่มทำประกันชีวิตเร็วจึงทำให้มีเงินเก็บได้เร็ว (ไม่นับรวมถึงการเอาเงินไปลงทุนทำธุรกิจการค้า หรือ ช่องทางการทำกำไรอื่นๆที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า)

when-life-ins

ด้านการออมทรัพย์

การทำประกันชีวิตตอบโจทย์ได้ ในแง่ของการสร้างระเบียบวินัยในการเก็บออม (ผลตอบแทนอาจน้อยกว่า การลงทุนในด้านอื่นๆ )

การเริ่มทำประกันชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย จะทำให้ค่าเบี้ยประกันถูกกว่าคนที่มีอายุมากกว่า

การเริ่มทำประกันชีวิตขึ้นอยู่กับความพร้อมทางด้านการเงินในการชำระเบี้ยประกัน ซึ่งมีแบบประกันที่หลากหลายรองรับความต้องการของลูกค้าทุกเพศทุกวัย โดยจะต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับลูกค้า

การทำประกันภัยไม่ได้มีกรอบในการเริ่มต้นทำประกันภัย เพียงแต่มีเกณฑ์ในการกำหนดช่วงอายุของการรับประกันภัยของกรมธรรม์ในแต่ละประเภทซึ่งจะแตกต่างกันไป โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ช่วงอายุ 18 ปี ถึง 60 ปี ซึ่งส่วนมากแล้วกรอบช่วงอายุก็มักจะใช้กับกรมธรรม์ที่เกี่ยวกับชีวิต ร่างกายของผู้เอาประกันภัย เช่น ประกันชีวิต อุบัติเหตุ สุขภาพ เป็นต้น ส่วนการประกันทรัพย์สินกำหนดกรอบที่ให้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่เอาประกันภัยเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม หลักการรับประกันภัยคือหลักการรับความเสี่ยงภัย ซึ่งความเสี่ยงภัยก็อยู่คู่กับทุกคนตั้งแต่แรกเกิด

จ่ายเบี้ยปีละเท่าไรดี

ขึ้นอยู่กับ อาชีพ รายได้ ภาระความรับผิดชอบ เช่น ถ้าอาชีพมีความเสี่ยงสูง รายได้ไม่สูงมาก ภาระเยอะ ควรทำประกันวงเงินคุ้มครองที่สูง เนื่องจากหากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นจะได้ไม่เป็นภาระทั้งตนเองและคนที่รัก

เบี้ยประกันภัยรายปี อาจอยู่ที่ 10% ของเงินเดือน โดยกำหนดเป็นเดือนใดเดือนหนึ่งในรอบปีเพื่อที่จะบริหารจัดการกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้อย่างเป็นระบบ

วงเงินคุ้มครองอาจจะกำหนดเป็นเท่าของเงินเดือนหรือเป็นช่วงเวลาที่ไม่อาจทำงานได้
“เช่น เงินเดือน 10,000 บาท กำหนด 100 เท่า เท่ากับวงเงิน 1,000,000 บาท หรือ เงินเดือน 20,000 บาท ความเสี่ยงที่มิอาจทำงานได้ 5 ปี เท่ากับวงเงิน 1,200,000 บาท เป็นต้น”

การชำระเบี้ยประกันที่เหมาะสมกับผู้เอาประกันควรชำระเบี้ยฯ 10% ของรายได้ต่อปี และวงเงินความคุ้มครองพิจารณาจากภาระค่าใช้จ่าย และหนี้สินต่างๆ ที่ต้องรับผิดชอบ โดยทุกคนสามารถคำนวณภาระ หรือความต้องการความคุ้มครองด้วยวิธีพื้นฐาน โดยคำนวณภาระค่าใช้จ่ายของคุณและครอบครัว (1) นำค่าใช้จ่ายที่คุณหรือครอบครัวต้องใช้จ่ายต่อเดือน สมมติว่าเดือนละ 15,000 บาท คูณด้วย 12 เดือน (15,000 x 12) จะได้ ค่าใช้จ่ายต่อปีเท่ากับ 180,000 บาท และ (2) ดูจำนวนปี ที่คุณต้องการเตรียมไว้ให้ครอบครัว กรณีไม่แน่ใจให้ใช้ระยะเวลา 5 ปี (180,000 x 5 ปี = 900,000 บาท)

คำนวณหนี้สิน

สมมติว่าค่าผ่อนบ้าน และค่าผ่อนรถยนต์ สมมติภาระหนี้สินสองรายการนี้เท่ากับ 2,000,000 บาท รวมจำนวนเงินข้อ 1 และข้อ 2 เท่ากับ 2,900,000 บาท จากนั้นนำค่าใช้จ่ายและหนี้สินที่คำนวณไว้มาลบกับเงินที่ฝากธนาคารและเงินออมอื่นๆ สมมติเงินออมเท่ากับ 500,000 บาท (2,900,000 – 500,000 = 2,400,000 บาท) ดังนั้น จำนวน 2,400,000 บาท คือ จำนวนเงินความคุ้มครองสำหรับสร้างหลักประกันความมั่นคงของคุณและครอบครัว

การซื้อประกันเป็นการลงทุน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เราคาดไม่ถึง ส่วนการทำประกันด้วยวงเงินคุ้มครองเท่าไหร่ หรือประเภทใดที่เหมาะสมกับแต่ละคนนั้น จะขึ้นอยู่กับเป้าหมายที่ชัดเจนของผู้จ่ายเบี้ยประกัน ว่าต้องการซื้อประกันเพื่อชดเชยรายได้ที่ต้องสูญเสียจากความเสี่ยงในด้านใด ไม่ว่าจะเป็นชีวิต สุขภาพ หรืออุบัติเหตุ และยังต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่เราต้องการคุ้มครอง

การจ่ายเบี้ยประกันแต่ละปี อาจจะดูจากฐานรายได้เป็นสำคัญ ซึ่งอาจจะแบ่งสัดส่วน 3 – 10% ของรายได้ต่อปีมาเป็นค่าเบี้ยประกัน แล้วจึงมาดูว่าวงเงินคุ้มครองที่ได้รับจากบริษัท ปัจจุบันมีในด้านใดบ้าง วงเงินเท่าไร จากนั้น ค่อยเลือกแบบประกันและความคุ้มครองเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับเป้าหมายที่ต้องการ หากบริษัทที่ทำงาน มีความคุ้มครองให้เพียงพอแล้ว อาจจะมองในเรื่องของผลตอบแทนจากประกันแบบสะสมทรัพย์แทน

รายได้ไม่มากควรทำประกันแบบไหนก่อน

ให้ดูที่ความจำเป็น ของแต่ละบุคคลเป็นหลัก หากต้องการคุ้มครองสูง ให้ซื้อแบบตอลดชีพ

สะสมไว้ใช้ในบั้นปลายทำประกันแบบไหนดี

การคำนวณเงินออมไว้ใช้จ่ายสำหรับหลังเกษียณอายุ

เริ่มจากให้คำนวณค่าใช้จ่ายประจำที่จำเป็น
(1) ค่าใช้จ่ายสำหรับหลังเกษียณอายุต่อปี สมมติ เดือนละ 15,000 บาท ต่อปี เท่ากับ 180,000 บาท
(2) ระยะเวลากี่ปี (นับจากวันเกษียณอายุ ถึงวันที่คาดว่าจะเสียชีวิต) สมมติว่าเกษียณอายุ 60 ปี และมีชีวิตจนถึงอายุ 80 ปี มีระยะเวลาหลังเกษียณเท่ากับ 20 ปี (180,000 x 20) = 3,600,000 บาท

นำค่าใช้จ่ายที่คำนวณไว้มาลบกับเงินฝากธนาคารและเงินออมอื่นๆ
สมมติว่ามีเงินเก็บออมไว้ 1,000,000 บาท (3,600,000 – 1,000,000 = 2,600,000 บาท)
ถ้าปัจจุบัน อายุ 40 ปี เท่ากับจะเหลือเวลาอีก 20 ปี ในการเก็บออมเงินจำนวน 1,400,000 บาท ที่ต้องการสำหรับใช้ในบั้นปลายชีวิต

ถ้าไม่มีเงินส่งต่อควรทำยังไง

ขอรับเงินสด
กรณีนี้ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยจะสิ้นสุดทันที จำนวนเงินสดที่ได้รับคืนจะเป็นไปตามจำนวนที่ระบุในตารางเวนคืนเงินสดที่แนบอยู่ท้ายกรมธรรม์ประกันภัย

ขอเปลี่ยนเป็นมูลค่าใช้เงินสำเร็จ
กรณีนี้ระยะเวลาความคุ้มครองจะเท่าเดิมตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย แต่จำนวนเงินเอาประกันภัยจะลดลง จำนวนเงินเอาประกันภัยใหม่จะเป็นไปตามจำนวนที่ระบุในตารางมูลค่าใช้เงินสำเร็จที่แนบอยู่ท้ายกรมธรรม์ประกันภัย

ขอเปลี่ยนเป็นมูลค่าขยายเวลา
กรณีนี้จำนวนเงินเอาประกันภัยจะเท่าเดิมตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย แต่ระยะเวลาความคุ้มครองใหม่จะเป็นไปตามที่ระบุไว้ในตารางมูลค่าขยายเวลาที่แนบอยู่ท้ายกรมธรรม์ประกันภัย

ควรทำดังต่อไปนี้
1.เปลี่ยนระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัย
2.กู้เงินตามกรมธรรม์ เพื่อนำมาชำระค่าเบี้ยประกันภัย
3.ลดทุนประกันภัย หรือยกเลิกสัญญาเพิ่มเติมบางรายการเพื่อลดจำนวนเบี้ยประกันให้เหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจของผู้ถือกรมธรรม์
4.เปลี่ยนแบบประกันให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัย
5.ขอใช้สิทธิเปลี่ยนเป็นกรมธรรม์สำเร็จ หรือขยายระยะเวลาเอาประกันภัย

ตัวแทนขายแบบไหนที่ไม่ควรซื้อประกัน

ปัจจุบันการซื้อขายประกันไม่ใช่เรื่องเสี่ยงหรือน่ากลัวเหมือนในยุคแรกๆ แล้ว เนื่องจากมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการทำประกันมากขึ้น รู้ว่าประโยชน์และผลตอบแทนที่จะได้รับคืออะไร และการทำประกันก็เป็นทางเลือกหนึ่งในการลงทุนสำหรับการออมทรัพย์เงินที่มีความเสี่ยงน้อยมาก หรือแทบจะไม่มีเลย รวมทั้งปัจจุบันยังมีหน่วยงาน คปภ. ที่ให้ความคุ้มครองและร้องเรียนสำหรับผู้ทำประกันอีกด้วย

” เราสามารถศึกษาข้อมูลของบริษัทประกันก่อนที่จะซื้อประกันได้จากงบการเงินที่เปิดเผยในเว็บไซต์ของแต่ละบริษัทประกัน นอกจากนั้น เราไม่ควรซื้อประกันจากตัวแทนที่ไม่มีหมายเลขไลเซ่นส์ หรือนำเสนอเพื่อคอมมิชชั่นของตนมากกว่าความต้องการของลูกค้า ทั้งนี้ผู้ซื้อประกันชีวิตในแบบต่างๆ ควรถามตัวก่อนเสมอว่าต้องการซื้อประกันเพื่อเป้าหมายอะไรก่อน แล้วค่อยเลือกรูปแบบประกันที่ตอบสนองความต้องการของเราเองไม่ใช่ผู้ขายประกัน”

ตัวแทนประกันชีวิตต้องมีใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต โดยเมื่อเข้าพบลูกค้าตัวแทนฯ จะต้องแสดงใบอนุญาต หรือลูกค้าขอดูใบอนุญาตของตัวแทนทุกครั้ง ดังนั้น ไม่ควรทำประกันกับตัวแทนที่ไม่มีใบอนุญาต หรือใบอนุญาตหมดอายุ ส่วนจะดูว่าบริษัทไหนมั่นคงหรือไม่ เขาบอกว่า ตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิต 2551 กำหนดให้บริษัทจัดสรรเบี้ยประกันภัยไว้เป็นเงินสำรองประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยที่ยังมีความผูกพันอยู่ และเงินสำรองอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ซึ่งทำให้ธุรกิจประกันภัยมีความมั่นคงสูง สามารถมั่นใจบริษัทประกันภัยได้

หากเจอตัวแทนประเภทนี้ อย่าซื้อประกันเด็ดขาด นั่นก็คือตัวแทนที่ไม่สามารถตอบคำถามและแนะนำแบบประกันที่เหมาะกับสุขภาพทางการเงินของผู้เอาประกัน ซึ่งตัวแทนลักษณะดังกล่าวยังขาดความเข้าใจในหลักการประกันชีวิตและอาจนำไปสู่การทำประกันที่ไม่ตรงตามความต้องการหรือจ่ายเบี้ยเสียเปล่า

“พวกตัวแทนหรือนายหน้าที่ไม่มีบัตรอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และผ่านการอบรมเรื่องประกัน ส่วนจะเลือกบริษัทประกันแบบไหนให้แน่ใจว่าไม่เจ๊งแน่ หลักๆ คือ ดูที่ชื่อเสียงและฐานะทางการเงินครับ ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้จะเป็นเสียงสะท้อนทั้งความน่าเชื่อถือและคุณภาพการบริการ”

ประกันประเภทไหนเคลมภาษีได้
ทุกวันนี้เราสามารถนำประกันไปเคลมภาษีได้ โดยจะต้องเป็นประกันที่มีอายุกรมธรรม์ตั้งแต่ 10 ปีเป็นต้นไป จึงจะสามารถนำเบี้ยที่ชำระไปหักลดหย่อนภาษีได้ทุกปีที่มีการจ่ายค่าเบี้ยประกันปีละไม่เกิน 100,000 บาท

กรณีคู่สมรสไม่มีเงินได้ ให้หักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท และสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ได้เริ่มทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป การหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 172 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2551 ซึ่งสรุปหลักเกณฑ์ได้ดังนี้

1. กรมธรรม์ประกันชีวิต ที่มีความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติม ในส่วนของค่าเบี้ยประกันส่วนควบ ไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้

2. กรมธรรม์ที่มีการรับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนในระหว่างอายุกรมธรรม์ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้คือ กรณีได้รับเงินตอบแทนคืนทุกปี จะต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี หรือกรณีได้รับเงินตอบแทนคืนตามช่วงระยะเวลาที่กำหนดในกรมธรรม์ จะต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตสะสม ของแต่ละช่วงระยะเวลาที่มีการจ่ายเงินตอบแทนคืน หรือ(ค) กรณีได้รับเงินตอบแทนคืน ที่ไม่ใช่ (ก) หรือ (ข) ผลรวมของเงินตอบแทนคืนสะสม ตั้งแต่ปีแรกถึงปีที่มีการจ่ายเงินตอบแทนคืน ต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมทั้งหมดในช่วงเวลาดังกล่าว

ทั้งนี้ เงินตอบแทนคืนทั้ง 3 ข้อ ไม่รวมเงินปันผลตามกรมธรรม์ หรือเงินตอบแทนคืนที่จ่ายเมื่อสิ้นสุดการชำระเบี้ยประกันแล้ว หรือเงินตอบแทนคืนที่จ่ายเมื่อสิ้นสุดอายุกรมธรรม์

นอกจากนี้ ข้อ 3 ผู้มีเงินได้สามารถใช้หนังสือรับรองการชำระเบี้ยประกันที่ได้รับจากบริษัทประกันชีวิตเป็นหลักฐานในการหักลดหย่อนภาษีได้ โดยบริษัทต้องระบุจำนวนเบี้ยประกันชีวิต และเบี้ยประกันส่วนควบ แยกออกจากกัน และกรมธรรม์ที่มีการรับเงินตอบแทนคืนระหว่างอายุกรมธรรม์บริษัทต้องระบุเงื่อนไขตามข้อ 2 ด้วย






คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow