ซื้อประกันชีวิตกับ ตัวแทน / นายหน้า / พนักงานธนาคาร ต่างกันอย่างไร
ซื้อประกันชีวิตกับ ตัวแทน / นายหน้า / พนักงานธนาคาร ต่างกันอย่างไร?
ประกันชีวิตสินค้าที่ต้องบริการ!?
หมายความว่า ในแง่ของการคุ้มครอง ถ้าเมื่อต้องใช้ขึ้นมา เช่น เจ็บไข้ได้ป่วย เสียชีวิต
ประกันชีวิตถึงจะมีประโยชน์ ดังนั้น ถ้าเคลมไม่ได้ หรือ กรฯีบริษัทประกัน ไม่จ่ายสินไหมค่าชดเชยให้ สินค้าที่ซื้อก็ย่อมไร้ประโยชน์ ไร้ค่านั่นเอง ให้ฟรียังไม่มีประโยชน์เลย เพราะมันใช้ไม่ได้ ดังนั้น … ประเด็นสำคัญ ที่ต้องคำนึงถึง ก็คือ เรื่องว่า “มันใช้งานได้หรือไม่?” ซึ่งอาจมีปัญหาด้านเทคนิคได้ จึงต้องมีตัวกลางคอยให้บริการนั่นเอง
เมื่อเราไม่มีคนที่จะคอยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องราวของประกัน ไม่ว่าจะเป็นการเบิกเคลม การทำธุรกรรมต่างๆ นั่นย่อมทำให้ผู้เอาประกันเสียสิทธิ์ไปโดยไม่รู้ตัว เช่น บางอย่างสามารถเคลมประกันได้ แต่ก็ไม่ได้รับการแนะนำ
ถ้าเราซื้อประกันชีวิตกับประกันตัวแทนประกันชีวิต …
ถ้าเราซื้อประกันชีวิตกับเจ้าหน้าธนาคารหรือพนักงานประจำบริษัท …
ประเด็นที่ต้องมาพิจารณา
การเปลี่ยนอาชีพ ยิ่งทำนานโอกาสที่จะเปลี่ยนอาชีพยิ่งยาก
ถ้าเป็นตัวแทนประกันชีวิต ที่ทำมานานเป็สิบปี โอกาสที่จะเลิกขายประไปก็ย่อมจะน้อยกว่า ตัวแทนมือใหม่ๆ ถ้าเป็นกรณีของเจ้าที่พนักงานธนาคาร เมื่ออายุงานผลงานมากขึ้น ก็ย่อมเปลี่ยนตำแหน่งงาน หรือ ย้ายไปสาขาอื่น จะยังคงดูแลเราได้เหมือนเดิมหรือไม่?
ช่องทางการบริการ ติดต่อต่างๆ
ถ้าเราทำประกันชีวิตกับเจ้าหน้าที่ธนาคาร คิดว่าเราจะได้เบอร์ส่วนตัวเพื่อความสะดวกเอาไว้ติดต่อหรือไม่? หรือ มีช่องทางบริการไว้ติดต่อสื่อสารที่สะดวกหรือไม่? ไลน์? อีเมล์? facebook page? facebook ส่วนตัว ? … แน่นอนว่า อาชีพหลักของพนักงานธนาคารก็คือ เจ้าหน้าที่ธนาคาร จะมีเวลาดูแล หรือ พัฒนางานประกัน หรือ บริการให้เราได้อย่างเต็มที่ยอมเป็นไปได้ยาก รวมทั้งการอัพเดทข่าวสารสิทธิ์ต่างๆ เพราะอยู่ธุรกิจการเงินการธนาคาร ไม่ใช่อยู่วงการประกันภัยโดยตรง จึงต้องยอมรับว่า ด้วยศักยภาพนั้นทำได้ แต่จำกัดด้วยหน้าที่งานที่ทำ จำกัดด้วยเวลานั่นเอง
บริการดีกว่า เพราะ คุณเป็นคนให้รายได้(คอมมิสชั่น) กับเขา !?
ถ้าเป็นตัวแทนที่หาเลี้ยงชีพ โดยอาศัยคอมมิสชั่นที่ได้จากการขายซื้อประกันจากคุณ แน่นอนว่าคุณคือ คนที่ให้รายได้เขา กรณีของพนักงานธนาคาร รายได้หลักของเรามาจากการทำงานประจำ ซึ่งแน่นอนว่า หากขาดคุณไป เขาก็อยู่ได้