ประกันการเดินทาง ปัจจัยกำหนดค่าเบี้ย การเลือกซื้อ
ค่าเบี้ยประกันเดินทาง ขึ้นอยุู่กับอะไร?
1. อายุ
2. ระยะเวลา
3. เส้นทาง
การเดินทางในประเทศแถบเอเชียมีค่าเบี้ยประกันที่ถูกกว่าการเดินทางไปในประเทศแถบยุโรปหรืออเมริกา เพราะอัตราค่าครองชีพและค่าขนส่งที่สูงกว่า บางกรณี บริษัทประกันภัย ระบุประเทศกลุ่มเสี่ยงที่ไม่รับคุ้มครอง เช่น ..
กรุงเทพประกันภัย
ประเทศที่ไม่คุ้มครองทวีปเอเชีย
– อัฟกานิสถาน- อาเซอร์ไบจาน
– เกาหลีเหนือ- อิรัก
– ปากีสถาน- อิหร่าน
– ทาจิกิสถาน- คีร์กีซสถาน
– ปาเลสไตน์- เลบานอน
– ซีเรีย
– เติร์กเมนิสถาน
– อุซเบกิสถาน
ทวีปแอฟริกา
ไม่คุ้มครองทุกประเทศ ยกเว้น สาธารณรัฐแอฟริกาใต้, อียิปต์, โมร็อกโก
ทวีปอเมริกาเหนือ
– นิการากัว
– คิวบา
4. เงื่อนไขความคุ้มครอง
ทุนประกันภัยแปรผันตาม เบี้ยประกัน ความคุ้มครองมากเบี้ยประกันภัยก็สูง ควรพิจารณา…
– ความเสี่ยงภัยของประเทศที่เราจะเดินทางไป
– ลักษณะกิจกรรมที่เราจะทำ
– ค่าครองชีพ ของประเทศนั้นๆ ซึ่งมีผลต่อค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
หากความเสี่ยงไม่มาก เดินทางไม่นาน อาจเลือกแบบประกันที่ให้ความคุ้มครองไม่มาก ทุนประกันน้อยลงได้ หรือในบางกรณีอาจเลือกเน้นเฉพาะความคุ้มครองในหมวดที่รู้สึกว่าจำเป็นที่สุด เช่น คุ้มครองอุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาลสูง แต่คุ้มครองการเดินทางหรือทรัพย์สินสูญหายต่ำ
“ราคา” มิได้เป็นปัจจัยที่หลักในการซื้อประกันภัย รวมถึง ประกันเดินทางด้วยเช่นกัน เพราะสุดท้าย การซื้อประกันภัยต้องให้ความสำคัญกับ “ความคุ้มครอง” เป็นหลัก ความคุ้มค่า ครอบคลุมความจำเป็น และให้การชดเชยอย่างสมเหตุผล การบริการ
กรณีเดินทางบ่อย การซื้อแบบรายปีอาจจะคุ้มกว่ารายเที่ยว
ประกันการเดินทางทั่วไป ให้ความคุ้มครอง3หมวดหลัก
1.การคุ้มครอง “คน”
โดยประกันบางแบบอาจมีเพิ่มความคุ้มครองพิเศษอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ เช่น ค่าโทรศัพท์กรณีฉุกเฉิน เป็นต้น
การคุ้มครอง “คน” คือการคุ้มครองตัวผู้เอาประกัน ซึ่งก็คือตัวคุณนั่นเอง เช่น …
– ค่ารักษาพยาบาล
– ค่าชดเชยกรณีเสียชีวิต
– ค่าเคลื่อนย้ายฉุกเฉิน
ถ้าซื้อประกันเดินทางไว้ในราคาหลักร้อย เราก็อาจได้ความคุ้มครองถึงหลักแสน
2.การคุ้มครอง “ทริป”
เป็นการคุ้มครองการเดินทางที่อาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น เช่น..
– เที่ยวบินล่าช้า
– ต่อเครื่องไม่ทัน
3.การคุ้มครอง “สิ่งของ”
เป็นการคุ้มครองทรัพย์สินที่จำเป็นต่อการเดินทางของเรา เช่น..
– สัมภาระและกระเป๋าเดินทาง
– หนังสือเดินทาง
– คอมพิวเตอร์ (เสียหาย ,สูญหาย ,ถูกขโมย ฯลฯ)
การเลือกประกันเดินทาง
1. เลือกตามไลฟ์สไตล์
– สายลุย Backpacker เดินทางคนเดียว วางแผนเอง เที่ยวเอง ชอบผจญภัย บุกป่า ลุยน้ำ ขึ้นเขา ให้เลือกแบบประกันเดินทางที่ให้ความคุ้มครองเรื่อง “คน” เป็นหลัก คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล เพราะเสี่ยงสูง
– นักธุรกิจ ทำงานต่างประเทศ อาจต้องเดินทางพร้อมกับทรัพย์สินมูลค่าสูง เลือกความคุ้มครอง “สิ่งของและสัมภาระ” ให้มากขึ้น
2. เลือกตามงบประมาณ
บางครั้งเมื่อเปรียบเทียบประกันเดินทาง จะพบว่ามีตัวเลือกมากหมาย หลายบริษัท หลายราคา หลายเงื่อนไข ควรตั้งงบไว้ในใจคร่าวๆก่อน แล้วค้นหาแผนประกัน ที่ใกล้เคียงกับงบประมาณ
3. เลือกตาม ระยะเวลาการเดินทาง
4. เลือกตามความถี่ในการเดินทาง
ถ้าเดินทางบ่อย ควรมองหา ประกันการเดินทาง แบบรายปี ที่ให้ความคุ้มครองและสิทธิพิเศษต่างๆ ที่ยาวนานและคุ้มค่ากว่า
5. เลือกตามจำนวนคน
หากเดินทางเป็นกลุ่ม ลองมองหาประกันเดินทางสำหรับเดินทางเป็นหมู่คณะ (หรือ ประกันเดินทางกลุ่ม อาจจะได้รับข้อเสนอที่ดีกว่าซื้อแยกกันก็ได้
6. เลือก ซื้อกับ ตัวแทน/นายหน้า ที่จะช่วยเหลือคุณได้
ซื้อประกันกับ ตัวแทน/นายหน้า ที่จะดูแลคุณได้ เพราะเมื่อมีปัญหาการเคลม คุณจะมีคนคอยช่วยเหลือนั่นเอง แต่ถ้าจะซื้อตรงกับบริษัทประกันภัย ก็อาจจะต้องดำเนินการเองทั้งหมด เพราะไม่มีคนกลาง หรือ หากเลือก คนกลางที่ไม่บริการดูแล ก็ไม่ต่างอะไรกับซื้อตรงบริษัทประกันภัย เช่นกัน
มีอีเมล ขอความช่วยเหลือจาก ผู้ซื้อประกันภัยรายหนึ่ง ให้ช่วยดำเนินการให้ เนื่องจาก เอกสารถูกส่งไปผิดที่และติดต่อ ประสานงานลำบาก ทางทีมงานก็ได้แต่แนะนำ เพราะไม่มีอำนาจ หน้าที่ใดๆ การคุยกับบริษัทประกันภัย และดำเนินการให้ได้ ต้องได้รับมอบอำนาจ หรือ เป็นตัวแทน/นายหน้า ลูกค้ารายนั้นๆ ดังนั้นรายนี้จึงต้องช่วยเหลือตัวเอง
จะไปขอ visa ต้องยื่นเชงเก้นประเทศไหนดี?
1.อยู่ประเทศไหนนานสุดให้ขอที่ประเทศนั้น
2.ถ้าอยู่ทั้งสองประเทศเป็นระยะเวลานานเท่ากัน ให้ยื่นประเทศที่ไปถึงประเทศแรก
กฎระเบียบในการขอวีซ่าในบางประเทศ เช่น กลุ่มเเชงเก้น หรือสหรัฐอเมริกา สถานทูตมีกฎระเบียบให้ผู้ยื่นขอวีซ่าจะต้องทำประกันภัยการเดินทางด้วย